ลำดับ เหตุการณ์สำคัญ อยุธยา

การสถาปนากรุงศรีอยุธยา

     ในราวปี พ.ศ. 1893 เมื่อกรุงสุโขทัย เริ่มเสื่อมอำนาจลง หัวเมืองต่าง ๆ จึงแข็งข้อ เมืองอู่ทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุง
สุโขทัยเป็นเมืองใหญ่ พระเจ้าอู่ทอง จึงเริ่มสะสมกองกำลัง และเป็นผู้นำคนไทย ที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง และตอนล่าง ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นอิสระจากสุโขทัย โดยตั้งราชธานีบริเวณหนองโสน หรือบึงพระราม ซึ่งก็คือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน เหตุที่ย้ายเมืองมาสร้างราชธานีที่กรุงศรีอยุธยา ก็เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ และเป็นที่รวม ของแม่น้ำหลายสาย จึงเป็นปากประตูสู่เมืองทางด้านเหนือทั้งสุโขทัยและเชียงใหม่ พระเจ้าอู่ทองทรงเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์อู่ทอง ทรงพระนาว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ครองราชย์ปกครองกรุงศรีอยุธยาอยู่นาน เป็นเวลาถึง 20 ปี

      กรุงศรีอยุธยามีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาโดยลำดับ ทั้งนี้เพราะทำเลที่ตั้ง มีความเหมาะสมหลายประการ คือ

 1. ในด้านยุทธศาสตร์ มีภูมิประเทศเป็นเกาะ มีแม่น้ำล้อมรอบ 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี

 2. ในด้านเศรษฐกิจ

 เป็นศูนย์กลางการคมนาคม เพราะมีแม่น้ำไหลผ่านถึง 3 สายพื้นดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะในการทำอาชีพเกษตรกรรม ตั้งอยู่ใกล้ทะเล และส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้า ในการค้า กับต่างประเทศกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีอยู่เป็นระเวลาถึง 417 ปี มีกษัตริย์ปกครองถึง 5 ราชวงศ์ ดังนี้

 - ราชวงศ์อู่ทอง (พ.ศ. 18931913 และ พ.ศ. 19311952)

ราชวงศ์สุวรรภูมิ (พ.ศ. 19131931 และ พ.ศ. 19522112)

 ราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 21122172)

 ราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ. 21722231)

 ราชวงศ์บ้านพลูหลวง (พ.ศ. 22312310)

 การปกครอง

     การจัดการปกครองในระยะแรก เป็นการนำเอาลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย และการปกครองของขอมเข้ามาใช้ ฐานะของพระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยสุโขทัย คือ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ ทรงมีอำนาจสูงสุด ในการปกครอง ซึ่งเรียกว่า การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

     การจัดระเบียบการปกครองในสมัยอยุธยา แบ่งได้เป็น 2 สมัย ดังนี้ คือ

1. สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. 18931991) มีลักษณะดังนี้

 การปกครองส่วนกลาง หรือการปกครองภายในราชธานี เรียกว่า การปกครองแบบจตุสดมภ์ มีขุนนาง 4 ฝ่าย ทำหน้าที่ดังนี้

 กรมเวียง มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในราชธานี

 กรมวัง มีหน้าที่เกี่ยวกับงานพระราชพิธีต่าง ๆ

 กรมคลัง มีหน้าที่เก็บพระราชทรัพย์ และผลประโยชน์ของแผ่นดิน

 กรมนา มีหน้าที่ดูแลการทำเรือกสวน ไร่นา และเก็บเสบียงไว้ใช้ในยามสงคราม

       การปกครองส่วนภูมิภาค ได้แก่ เมืองที่อยู่นอกราชธานี โปรดให้เจ้านาย และขุนนางที่ไว้วางพระทัยไปปกครอง แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

 เมืองหน้าด่่าน ได้แก่ เมืองที่อยู่รอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ

 เมืองชั้นใน ได้แก่ เมืองที่อยู่ไม่ไกลราชธานีมากนัก

 เมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชธานีมาก

 หัวเมืองประเทศราช ได้แก่ หัวเมืองที่อ่อนน้อม ยอมเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา โปรดให้เจ้านายพื้นเมืองปกครองกันเอง

 2. การปรับปรุงการปกครองครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

     สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้โปรดให้ปฏิรูปการปกครองครั้งสำคัญ ในปี พ.ศ. 1991 การปฏิรูปการปกครองดังกล่าวได้ใช้ตลอดมาจนสิ้นสุดสมัยอยุธยาผลการปรับปรุงการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีดังนี้คือเปลี่ยนชื่อกรมต่าง ๆ ของจตุสดมภ์ เป็นดังนี้

 กรมเวียง ใช้ชื่อว่า นครบาล

 กรมวัง ใช้ชื่อว่า ธรรมาธิกรณ์

 กรมคลัง ใช้ชื่อว่า โกษธิบดี

 กรมนา ใช้ชื่อว่า เกษตราธิการ

    โปรดให้แยกงานฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน โดยกำหนดให้สมุหกลาโหมเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร และสมุหนายก เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือนแบ่งหัวเมืองชั้นนอกเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลำดับ

 การปกครองหัวเมืองประเทศราช โปรดให้เจ้านายของชนชาตินั้น ปกครองกันเอง โดยต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามลำดับ

 ปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับการปกครองในสมัยอยุธยา คือการแย่งชิงราชสมบัติและอำนาจของขุนนางฝ่ายต่าง ๆ เนื่องจากขาดความสามัคคี และไม่มีระบบการสืบราชสมบัติที่แน่นอนขาดประสิทธิภาพ

 สังคมในสมัยอยุธยา

  สังคมไทยในสมัยอยุธยา ประกอบด้วยบุคคล 5 กลุ่ม ได้แก่ พระมหากษัตริย์ และเจ้านายชั้นสูง ขุนนาง ไพร่ ทาส และผู้ที่ได้รับการยกย่องเลื่อมใสจากคนทุกกลุ่ม คือ พระสงฆ์

 ลักษณะการแบ่งชนชั้นในสังคมไทยมีลักษณะไม่ตายตัว บุคคลอาจจะเสื่อมตำแหน่งฐานะทางสังคมของตนได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถ และคุณประโยชน์ที่มีต่อประเทศชาติ

ข้อใดเรียงลำดับเหตุการณ์ของกรุงศรีอยุธยา

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในอาณาจักรอยุธยา.
1 สมัยราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 1 : พ.ศ. 1893 – 1913).
2 สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครั้งที่ 1 : พ.ศ. 1913 – 1931).
3 สมัยราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 2 : พ.ศ. 1931 – 1952).
4 สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครั้งที่ 2 : พ.ศ. 1952 – 2112).
5 สมัยราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112 – 2173).

อยุธยามีเหตุการณ์สำคัญอะไรบ้าง

เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์อยุธยา.
1. สงครามช้างเผือก ... .
2. สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1. ... .
3. การประกาศอิสรภาพและยุทธหัตถี ... .
เรื่องเก่า - ชวนรู้ ... .
4. สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2..

ราชวงศ์ในสมัยอยุธยามีอะไรบ้าง

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33. พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง

กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยอยู่ทั้งหมดกี่ปี

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ.1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง สูญเสียเอกราชแก่พม่า 2 ครั้ง ...