การถวายของแด่พระสงฆ์

บ่อยครั้งที่เราจะไม่เข้าใจว่าเหตุใดต้องประเคนของ สิ่งของ หรือภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ จึงรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับการประเคนเพื่อให้เกิดความเข้าเกี่ยวกับการประเคน  ไว้ดังนี้


#ผ้าประเคน #ผ้ารับประเคน
#ผ้ากราบ #ประเคน

-ลักษณะของการประเคน และหลักเบื้องตนของการประเคน

ความหมายของการประเคน
รวบรวมจากข้อมูลหลายที่

>>การประเคน คือ มอบถวายแก่พระภิกษุ (มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา)

>>ประเคน หมายถึง การถวายของ การส่งของให้พระถึงมือ ของที่ประเคนนั้นจะต้องไม่ใหญ่หรือหนักจนยกคนเดียวไม่ได้ ถ้าเป็นของเคี้ยวของฉันจะต้องประเคนในกาล คือ ตั้งแต่เช้าถึงเทียงวันเท่านั้น หลังจากนั้นเป็นวิกาล ไม่ควรประเคน (พระธรรมกิตติวงศ์ หรือ เจ้าคุณทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม)

>>ประเคนหมายถึง ถวายของพระภิกษุด้วยวิธียกส่งให้ด้วยมือตามแบบที่กำหนดไว้ ถ้าเป็นสิ่งที่ยกได้ต้องยกให้พ้นพื้นแล้วจึงประเคน ถ้าเป็นสิ่งของที่ยกไม่ได้ ให้ใช้สายสิญจน์วงรอบสิ่งนั้นแล้วประเคนสายสิญจน์แทน เช่นในการประเคนอาหารแด่พระภิกษุ เราต้องใช้มือทั้ง ๒ จับของที่จะถวายนั้นส่งให้พระภิกษุด้วยอาการเคารพ ในระยะที่ไม่ใกล้หรือไกลเกินไป. ถ้าเป็นผู้หญิง ต้องวางสิ่งของนั้นลงบนผ้าหรือสิ่งอื่นที่พระภิกษุทอดมาให้. อาหารที่ประเคนแล้ว หากมีผู้ที่ไม่ใช่ภิกษุไปจับต้อง ต้องประเคนใหม่ สำนักงานราชบัณฑิตสภา)

>>การประเคนพระ หมายถึงการถวายสิ่งของให้พระภิกษุได้รับถึงมือด้วยอาการเคารพ คือ ด้วยกิริยาอาการที่แสดงถึงความมีศรัทธาเลื่อมใส มีความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตนต่อพระภิกษุผู้รับประเคนนั้นเป็นอย่างดี (กัลยาณมิตร)

กล่าวโดยสรุป การประเคนหมายถึง การถวายสิ่งของให้ถึงมือพระสงฆ์ด้วยความเคารพ 

ประวัติความเป็นมาของการประเคน

หลายๆ คนสงสัยว่า ทำไมต้องประเคน มาดูที่มาเพื่อให้เข้าใจว่า เหตุที่ต้องประเคน

ในสมัยพระพุทธกาล มีพระภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้มีปกติประพฤติถือเอาทุกอย่างเหมือนผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) คือ ไม่มีความประสงค์ที่จะรับอาหารบิณฑบาตที่ชาวบ้านถวาย มีแต่แสวงหาอาหารเครื่่องเซ่นเจ้าที่ชาวบ้านเอาไปวางไว้ที่ป่าช้าบ้าง ที่โคนต้นไม้ บ้าง ที่ธรณีประตูบ้าง มาฉันเอง เหมือนกับการแสวงหาผ้าบังสุกุล ชาวบ้านเห็นเข้า ก็กล่าวติเตียน

พระภิกษุทั้งหลายได้ยินคำิติเตียนนั้น จึงกราบทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ พระองค์ทรงตรัสถามความประพฤติเป็นไปดังกล่าวนั้น กับภิกษุรูปนั้น ทรงติเตียนว่าการกระทำดังกล่าวไม่เหมาะสม ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสแห่งชนผู้ยังไม่เลื่อมใส เป็นต้น

พระพุทธองค์ จึงทรงบัญญัติเป็นสิกขาบทว่าภิกษุใด กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วงช่องปาก เป็นปาจิตตีย์

ต่อมาทรงบัญญัติเพิ่มเติม ว่า ภิกษุใด กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ล่วงช่องปาก เป็นปาจิตตีย์ ยกเว้นน้ำ และไม้สีฟัน

นี่คือ ประวัติความเป็นมาของการบัญบัติสิกขาบทไม่ให้พระภิกษุฉันอาหารที่ยังไม่ได้รับประเคนจากชาวบ้าน

สิกขาบทดังกล่าวนี้ เป็นสิกขาบทที่เป็นไปเพื่อการขัดเกลา เพื่อสำรวมระวังให้ไม่เป็นผู้หยิบฉวยของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้้องได้รับจากมือของผู้อื่นซึ่งเป็นผู้มอบให้ ซึ่งก็คือ การประเคน

วิธีประเคน 

นั่งหรือยืนห่างจากพระประมาณ ๑ สอก จับของที่ประเคนด้วยมือทั้ง ๒ หรือ มือเดียวก็ได้ ยกให้สูงขึ้นจากพื้นเล็กน้อยแล้วน้อมประเคนด้วยความเคารพ 

>>ถ้าเป็นบุรุษ พระจะรับด้วยมือทั้งสอง 

>>ถ้าเป็นสตรี พระจะทอดผ้าสำหรับประเคน เรียกว่า ผ้ารับประเคน ออกมารับ พึงวางของบนผ้าแล้วปล่อยมือ 

เมื่อประเคนเสร็จแล้วพึงไหว้ หรือกราบแล้วแต่กรณี
ทั้งนี้การประเคน เป็นการยกให้ด้วยความเต็มใจ เป็นการป้องกันมิให้พระถูกกล่าวหาว่า "เป็นขโมย"

อย่างไรก็ตามมีพระวินัย บัญญัติห้ามพระสงฆ์หยิบสิ่งของมาขบฉันเองโดยไม่มีผู้ประเคน ยกเว้นน้ำเปล่าที่ไม่ผสมสี เช่น น้ำฝน น้ำปะปา เป็นต้น การประเคนของจึงเป็นการสนับสนุนให้พระสงฆ์ปฏิบัติตามพระวินัยได้ถูกต้อง

1.เป็นวัตถุสิ่งของที่บุรุษผู้มีกำลังปานกลางพอจะยกได้

2.หัตถบาสปรากฏ คือ เขาอยู่ในหัตถบาส(บ่วงมือ) ซึ่งเป็นระยะที่ใกล้ อันแสดงถึงการให้ที่ถูกต้อง คือนับจากด้านหลังของพระภกษุและด้านหน้าของผู้ประเคน ประมาณ ๒ ศอกกับอีกหนึ่งคืบ ทั้งผู้ให้และผู้รับต้องอยู่ในหัตถบาส

5.พระภิกษุรับประเคนสิ่งของนั้น ด้วยกาย หรือ ด้วยของที่เนื่องด้วยกาย การประเคน ย่อมใช้ได้ ด้วยองค์ 5 ประการ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

จากหนังสือ คำวัด ได้กล่าวถึง หลักเบื้องต้นในการประเคน
มีดังนี้ 

1. ของนั้นไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป สามารถจับยกได้โดยคนเดียว 

2. ผู้ประเคนควรเข้าไปอยู่ในหัตถบาส หมายถึง เอามือประสานกันแล้วยื่นไปข้างหน้าห่างจาก พระสงฆ์ประมาณ ๑ ศอก 

3. ถ้าเป็นชาย ยกของที่จะประเคนถวายพระสงฆ์ได้เลย ถ้าเป็นผู้หญิง ให้วางของที่จะประเคนลงบนผ้ารับประเคน และ 

4. เมื่อประเคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่าไปจับเลื่อนของที่ประเคนแล้ว หากเผลอไปจับเลื่อนถือว่าขาดประเคนต้องประเคนใหม่

เสริมความสิริมงคลด้วยการทำบุญถวายสังฆทาน การทำบุญโดยการถวายสิ่งของแก่พระสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นของใช้ หรืออาหารแห้ง ยังเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ ~

การถวายของแด่พระสงฆ์

7 ม.ค. 2021 · โดย kkptrk

การทำบุญ “ถวายสังฆทาน” ช่วยเสริมดวง เพิ่มความสิริมงคลแก่ผู้ถวาย โดยการถวายของใช้ที่เป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์ และยังสามารถทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ วันนี้ Wongnai จึงได้นำ การทำบุญถวายสังฆทานให้ถูกวิธี เพื่อเสริมความมงคล มาให้ทุกคนได้ถวายอย่างถูกวิธีและครบถ้วน

สังฆทานคืออะไร

“สังฆทาน” คือ การถวายสิ่งของแก่หมู่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการถวายกลาง ๆ ไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปหนึ่งรูปใด เมื่อถวายให้แล้วก็ถือว่าพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปมีสิทธิ์ใช้สอยสิ่งของเหล่านั้นตามสะดวก อาจจะมีเพียงตัวแทนสงฆ์เพียงรูปเดียวมารับประเคน ก็ถือว่าเป็นสังฆทานเหมือนกัน

การถวายทานแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามีอานิสงส์มาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร ว่าการถวายสังฆทานแก่คณะพระสงฆ์ มีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานเฉพาะเจาะจงแก่พระพุทธเจ้า แม้ยังทรงพระชนม์อยู่

การถวายสังฆทานนั้น เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าคือการนำถังใส่จตุปัจจัยสีเหลืองไปถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูปเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสังฆทานอาจหมายถึงการถวายปัจจัยวัตถุใด ๆ ก็ได้ ที่เป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์โดยส่วนรวม เช่น การถวายกุฏิวิหาร หนังสือ ปากกา จาน หรือแม้กระทั่งไม้กวาด แม้จะกล่าวคำถวายหรือไม่กล่าว หรือกล่าวคำถวายเป็นอย่างอื่น แต่อาการแห่งการถวายเป็นการอุทิศให้แก่สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ก็จัดเป็นสังฆทานได้

สิ่งของที่จะถวายสังฆทาน มักเป็นสิ่งของที่จำเป็นสำหรับภิกษุสามเณร ถ้าต้องการอุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลให้แก่ผู้ใด ผู้ถวายทานก็มักจะบอก หรือเขียนชื่อ-นามสกุล ให้แก่พระภิกษุ เพื่อท่านจะได้ทำพิธีอุทิศส่วนกุศลไปยังผู้ที่บอกชื่อนั้น ๆ

สิ่งของถวายสังฆทานที่มีความเหมาะสม

สิ่งของที่นำมาถวายสังฆทาน ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ถวายว่าจะซื้อแบบสำเร็จรูป หรือสิ่งของนำมาจัดชุดสำหรับถวายเอง แต่ของที่จะมาไปถวายควรมีความเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อพระสงฆ์ ตัวอย่างสิ่งของที่มีความเหมาะสมในการถวาย ดังนี้

1. หนังสือและอุปกรณ์การเรียน เนื่องจากในปัจจุบันพระสงฆ์ส่วนใหญ่มีโอกาสในการศึกษา จึงมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์การเรียน โดยเฉพาะหนังสือธรรมะ หนังสือบาลี สมุด กระดาษ ปากกา และดินสอ เพราะต้องใช้ในการศึกษาพระธรรม

2. ผ้าไตรจีวร แม้จะเป็นสิ่งที่พบเห็นในชุดสังฆทาน แต่ส่วนใหญ่มักเป็นของที่ไม่ได้ขนาดและไม่มีคุณภาพ ดังนั้นผู้ถวายสังฆทาน ควรเลือกอย่างเหมาะสม เช่น ผ้าไตรจีวรที่ทำจากผ้ามัสลิน *เพราะเนื้อผ้าเหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้น

3. ยารักษาโรค ควรถวายยาดี มีคุณภาพ และเป็นยาสามัญทั่ว ๆ ไป ที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน

4. ของใช้ส่วนตัว เช่น มีดโกน *ควรเลือกยี่ห้อที่มีคุณภาพ เพราะพระสงฆ์ใช้ในการปลงผมได้อย่างสะดวกและปลอดภัย สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน รองเท้า และผ้าขนหนู เป็นต้น

5. เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง ในยุคโลกหมุนตามเทคโนโลยี วัดต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งยังมีหลายวัดที่ยังขาดแคลนอุปกรณ์เหล่านี้อีกเป็นจำนวนมาก อุปกรณ์ให้แสงสว่าง เช่น ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย และหลอดไฟ

6. ผลิตภัณฑ์และชุดอุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาล้างจาน ไม้กวาด และไม้ถูพื้น

7. อาหารแห้ง และเครื่องดื่ม พระสงฆ์บางวัดที่ไม่ได้มีการออกบิณฑบาตร อาจจะจำเป็นของกินอาหารสำเร็จรูป เช่น โจ๊ก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ข้าวสาร ชา กาแฟ น้ำดื่ม หรือน้ำผลไม้

วิธีถวายสังฆทาน

พิธีการถวายสังฆทานนั้น ไม่ได้มีขั้นตอนยุ่งยาก ทุกคนสามารถปฎิบัติตามขั้นตอนได้ ดังนี้

1. บูชาพระรัตนตรัย

จุดธูป 3 ดอก เทียน 2 เล่ม (*ด้านซ้ายและขวาของ พระพุทธรูป หรือด้านขวาและซ้ายมือของเรา) กล่าวภาษาบาลี

คำกล่าวบูชาพระ

อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวังตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมังนะมะสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ (กราบ)

คำกล่าวอาราธนาศีล

มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ

*เสร็จแล้วพระจะให้ศีล เราพนมมือกล่าวรับศีลจากพระ รับศีลจบแล้วตั้งนะโม เพื่อเป็นการเคารพนบนอบต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งนะโม 3 จบ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)

2. กล่าวคำถวายสังฆทาน

คำกล่าวถวายสังฆทาน

อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุ สังโฆอิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

กล่าวคำแปลถวายสังฆทาน

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ เมื่อกล่าวคำถวายเสร็จ พระจะกล่าวพร้อมกันว่า “สาธุ”

3. ประเคนทานวัตถุแด่พระภิกษุสงฆ์

โดยหลังจากประเคนถวายพระภิกษุสงฆ์แล้ว เมื่อพระสงฆ์ผู้นำสวดอนุโมทนาด้วยบทยะถา วาริวะหา ให้ผู้ถวายทานเริ่มกรวดน้ำ

คำกล่าวกรวดน้ำ

ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะนิโชติระโส ยะถา

*ถึงบทที่พระสงฆ์ผู้นำสวดถึง “มณีโชติรโส ยะถา” ก็ให้หยุดการกรวดน้ำ แล้วพนมมือรับพรพระต่อไปจนจบ

บทสวดรับพรพร้อมกัน

สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ

สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง

*จากนั้นให้นำน้ำที่กรวดแล้ว ไปเทลงดิน ใต้ต้นไม้ อย่างมีสติ

จบไปแล้วสำหรับการทำบุญถวายสังฆทานให้ถูกวิธี เพื่อเสริมความมงคล ที่ Wongnai เอามาฝากทุกคนกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการถวายสังฆทานแก่ทุกคน สามารถทำบุญเพิ่มสิริมงคลได้ง่าย ๆ แถมช่วยให้จิตใจสงบและอิ่มความสุขกันนะคะ

การถวายของแด่พระสงฆ์เรียกว่าอะไร

“สังฆทาน” คือ การถวายสิ่งของแก่หมู่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการถวายกลาง ๆ ไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปหนึ่งรูปใด เมื่อถวายให้แล้วก็ถือว่าพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปมีสิทธิ์ใช้สอยสิ่งของเหล่านั้นตามสะดวก อาจจะมีเพียงตัวแทนสงฆ์เพียงรูปเดียวมารับประเคน ก็ถือว่าเป็นสังฆทานเหมือนกัน

การยกสิ่งของถวายพระภิกษุเรียกว่าอะไร

การประเคน หมายถึงการถวายของ, การส่งของให้พระถึงมือ ของที่ประเคนนั้นต้องไม่ใหญ่หรือหนักจนคนเดียวยกไม่ได้ ถ้าเป็นของเคี้ยวของฉันจะต้องประเคนในกาล คือตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวันเท่านั้น หลังจากนั้นเป็นวิกาล ไม่ควรประเคน

วิธีปฏิบัติในการถวายสิ่งของแด่พระภิกษุอย่างไรบ้าง

การประเคน มีวิธีปฏิบัติ คือ ผู้ชายถือของเดินเข่าเข้าไปหาพระภิกษุใน ระยะหัตถบาส (ช่วงแขน) แล้วยกของขึ้น ประเคนส่งมือต่อมือ การประเคนส่งมือต่อมือ ส่วนผู้หญิงถือของเดินเข่าเข้าไปหา พระภิกษุในระยะหัตถบาสแล้ววางของ บนผ้าที่พระภิกษุทอดออกมา (ผ้ารับ ประเคน) เมื่อประเคนเสร็จแล้วควรไหว้ หรือกราบ

ถวายของพระสงฆ์กราบกี่ครั้ง

3. เมื่อประเคนเสร็จแล้ว ให้กราบ 3 ครั้ง หรือไหว้ 1 ครั้งก็ได้ ถ้าของที่จะประเคนมีมากให้ประเคนของให้หมดเสียก่อน แล้วจึงกราบหรือไหว้ ไม่นิยมกราบหรือไหว้ทุกครั้งที่ประเคน