อาชีพ นักดนตรี ทำ อะไร บ้าง

อาชีพ นักดนตรี ทำ อะไร บ้าง

  📌 วันนี้ขอมาแชร์บทความดี ๆ จาก “Mugen Guitar Shop” จะมีอะไรบ้างนั้นลองไปดูกันเลย

📌 1. การขยันขันแข็งในการฝ้กซ้อม จะช่วยให้มีความคล่องตัว ช่วยเพิ่มพูนฝีมือ เพิ่มพูนความเข้าใจ เพิ่มพูนความเร็ว การขยันฝึกซ้อมนั้น จะต้องทำให้เป็นนิสัย แม้จะได้ชื่อว่าเป็นผู้เก่งแล้ว ก็ยังต้องหมั่นฝึกซ้อมอยู่เสมอ

📌 2. หมั่นศึกษาหาความรู้ทางดนตรีเพิ่มเติมอยู่เสมอจากครู อาจารย์ จากเพื่อนร่วมงาน จากตำหรับตำรา จากการฟัง ฯลฯ วิวัฒนาการและเทคโนโลยี ก้าวไปบ้างหน้าตลอดเวลาถ้าหยุดศึกษา จะกลายเป็นคนล้าหลัง และตามเพื่อนพ้องไม่ทัน

📌 3. มีความละเอียดละออในการฟัง การอ่าน การเขียนและการเล่น อย่าปล่อยให้รายละเอียดที่ไพเราะน่าสนใจ หรือกลเม็ดต่างๆ ผ่านไป โดยมิได้กระทบประสาทสัมผัสของเรา

📌 4. หมั่นดูแลรักษาเครื่องมือประจำตัวที่ใช้ประกอบอาชีพ หรือเล่นเป็นประจำ ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ เสียงทุกเสียงต้องไม่เพี้ยนเลย(เป็นอันขาด) สภาพของเครื่องตนตรีต้องใช้การได้ดีตลอดเวลา

📌 5. ลดอัตตาในตนเองให้มากที่สุด จงเป็นคนถ่อมตัว อย่าถือว่า ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ อย่าคิดว่าเราเองต้องเป็นฝ่ายถูกตลอดกาล การคิดเช่นนั้นจะทำให้เราไม่ได้อะไร ที่ใหม่ๆ และกลายเป็นคนโง่ที่คิดว่าตัวเองฉลาด

📌 6. อย่าตำหนิติเตียนผู้มีฝีมือด้อยกว่า จงแนะนำสิ่งที่น่าสนใจแก่เขา ตามกำลังความสามารถของเขาที่จะรับได้ จงให้กำลังใจแก่เขา และส่งเสริมให้เขามีฝีมือขึ้นมาเสมอเรา หรือก้าวไปกว่าเรา ความเจริญและความดีงามของสังคม อยู่ที่การมีคนที่มีคุณภาพจำนวนมาก

📌 7. เป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ไม่ว่าในหมู่เพื่อนร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ในธุรกิจการดนตรี รับฟังและเคารพในความคิดเห็นของคนอื่น อย่าเป็นตัวสร้างปัญหาให้กับบุคคลอื่นเสมอๆ จะทำให้เรากลายเป็นบุคคลที่น่าเบื่อหน่าย

📌 8. เป็นผู้ที่ตรงต่อเวลา ไม่ว่าเป็นการนัดฝึกซ้อมหรือในการแสดงจริง ต้องตรงต่อเวลาจริงๆ ทั้งต้องเผื่อเวลาไว้สำหรับอุปสรรคในการเดินทางด้วย งานทุกงานควรเริมต้นและจบลงตามกำหนดการ

📌 9. เมื่อมีโอกาสถ่ายทอดความรู้สู่ผู้อื่น จงกระทำในลักษณะ แนะนำ แจกแจงให้เห็น จงอย่าสอน ถ้าจะสอนต้องคำนึงถึงความยอมรับในตัวเรา จากผู้เรียนให้มากที่สุด

📌 10. จงเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น อย่าถือวิสาสะหยิบหรือเคลื่อนย้ายเครื่องมือของผู้อื่น โดยเจ้าของไม่ได้อนุญาตเสียก่อน

📌 11. จงเป็นผู้มองโลกในแง่ดีเสมอ ให้อภัยคน อย่าเป็นคนโกรธง่าย อย่าใช้ยาเสพติด เมื่อต้องการอารมณ์สุนทรีย์ นักดนตรีควรจะมีอารมณ์สุนทรีย์โดยธรรมชาติ มองโลกให้กว้าง

📌 12. อย่าเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น ทั้งฝีมือและพฤติกรรม คนแต่ละคนมีจริตและสิ่งเอื้ออำนวยที่แตกต่างกัน โดยธรรมชาติ ไม่มีอะไรที่จะเปรียบเทียบกันได้ ความกระตือรือร้น ความทะเยอทะยาน ที่จะมีฝีมือและความรู้ที่มากขึ้น ควรขึ้นอยู่กับความท้าทายจากสิ่งที่เราเรียนรู้นี้ มิใช่เกิดขึ้นเพราะอยากเอาชนะผู้อื่น เราจะไม่วันชนะใคร ตราบเท่าที่เราอยากเอาชนะ

ถ้าน้อง ๆ เป็นอีกคนหนึ่งที่หลงใหลในเสียงดนตรี อยากทำงานในสายนี้ แต่ก็ติดอยู่ตรงที่ว่าเล่นดนตรีไม่เป็นสักอย่าง จะทำยังไงดี? บทความนี้มีคำตอบ!

อย่างแรกเลยที่ต้องทำความเข้าใจคือ ในสายดนตรีไม่ได้มีแค่ มือกลอง กีตาร์ เบส และนักร้อง ที่ออกมายืนเบื้องหน้าเท่านั้น! แต่ยังต้องอาศัยทีมงานคอยจัดแจงเรื่องต่าง ๆ และมีองค์ประกอบที่หลากหลายอยู่เบื้องหลัง แถมสำคัญมาก ๆ อีกด้วย วันนี้เราจะมายกตัวอย่างให้ฟังว่ามีอะไรบ้าง! และแน่นอนว่าทุกตำแหน่งไม่จำเป็นจะต้องมีความรู้ด้านดนตรีเฉพาะทาง

1.อาชีพดูแลศิลปิน ( Artist Relations )

อาชีพ นักดนตรี ทำ อะไร บ้าง

ตำแหน่งนี้ถือว่าเป็นตำแหน่งที่ใครหลาย ๆ คนใฝ่ฝัน เพราะดูเหมือนว่าได้ใกล้ชิดกับศิลปิน ได้ดูคอนเสิร์ตฟรี ยิ่งถ้าได้ดูแลศิลปินที่เราเป็นแฟนคลับอยู่แล้ว บอกได้เลยว่าฟินสุด ๆ แต่... หน้าที่นี้ต้องอาศัยความรับผิดชอบสูง ต้องดูแลตั้งแต่สุขภาพกาย สุขภาพใจ เพื่อให้พร้อมทำงานอยู่เสมอ รู้วิธีรับมือกับศิลปินแต่ละคน มีจิตวิทยา รับผิดชอบความปลอดภัย ความสะดวกเรียบร้อยต่าง ๆ ในการทำงาน ทั้งการซักซ้อม, การเป็นกำลังใจ รวมถึงสังเกต Feedback ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ปัจจุบันหน้าที่นี้ยังต้องช่วยถ่ายรูป รวมไปถึงเทคแคร์แฟนคลับ เรียกได้ว่า ดูแลกันแบบ 360 องศาในการพาศิลปินไปออกงาน (ทั้ง Music Video, ออกงานทุกประเภท) รู้รายละเอียดของงานทุกส่วน รับผิดชอบให้ทุกคนทำงานตรงเวลาเพื่อให้ผ่านลุล่วงไปด้วยดี และด้วยความใกล้ชิดกับศิลปิน ต้องสร้างทัศนคติที่ดีด้วย ป้องกันให้เกิดข้อผิดพลาดในงานน้อยที่สุด เตรียมรับมือทุกสถานการณ์

คุณสมบัติที่สำคัญ

  • เข้าใจการทำงานและอยู่ร่วมกับศิลปินได้ดี
  • มีความรับผิดชอบสูงเพราะต้องรับผิดชอบคนหมู่มาก
  • รอบคอบกับทุกสิ่ง
  • ตรงต่อเวลา สามารถดูแลเรื่องเวลาให้กับทุกฝ่ายได้
  • มีไหวพริบ รับมือและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
  • ชอบดูแลเอาใจใส่คนรอบตัว ช่างสังเกต
  • มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รู้จักการประนีประนอม
  • มีความรู้เกี่ยวกับดนตรี และการเล่นคอนเสิร์ตบ้าง เช่น รายละเอียดการ Sound Check

2.อาชีพส่งเสริมการขาย ( Promoter Artist )

อาชีพ นักดนตรี ทำ อะไร บ้าง

เป็นตำแหน่งที่สำคัญมาก ๆ ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ เพราะต้องวางแผนกลยุทธ์ กำหนดทิศทางต่าง ๆ เพื่อให้ศิลปินไปสู่เป้าหมายสูงสุด แน่นอนว่าวงดนตรียุคนี้จะให้มาเล่นคอนเสิร์ตอย่างเดียวก็คงไม่พอ พฤติกรรมของผู้ฟังเปลี่ยนไป แถมเดี๋ยวนี้วงดนตรีก็มากหน้าหลายตา จะทำยังไงให้คนจำศิลปินได้ ก็ต้องอาศัย "Promoter" มาช่วยวางแผนทางการตลาด อาทิเช่น ต้องวิเคราะห์เพลงและตัวตนศิลปิน ว่าควรเป็นไปในทิศทางใด ควรขายให้คนกลุ่มไหน คิดวิธีที่จะทำให้ผลงานไปถึงกลุ่มผู้ฟัง รวมถึงสื่อที่ใช้ในการโปรโมททั้งหมด (รูปภาพ, MV, Video) ช่องทางการจัดจำหน่าย ต้องตามทันโลก รู้หมดว่าในขณะนี้อะไรกำลังเป็นกระแส! เห็นภาพรวมทั้งหมด เป็นงานที่ทำงานร่วมศิลปินและฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติที่สำคัญ

  • ต้องมีความรอบรู้ทุกกระแส รวมถึงเทรนด์แฟชั่น หลงใหลทุกอย่างที่เกี่ยวกับเพลง
  • มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการตลาดเพื่อวางแผนให้ถูกต้อง
  • มีความเข้าใจเกี่ยวกับโปรดักชัน ทั้งภาพนิ่งและ Music Video
  • สามารถสื่อสารทำความเข้าใจกับบุคคลที่เกี่ยวข้องและแต่ละฝ่ายได้เป็นอย่างดี
  • เป็นคนช่างสังเกต สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุง และพร้อมปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้เสมอ

3.อาชีพประชาสัมพันธ์ ( Public Relation )

อาชีพ นักดนตรี ทำ อะไร บ้าง

เมื่อศิลปินทำเพลงขึ้นมาเสร็จกระบวนการเรียบร้อยแล้ว เพลงถูกปล่อยออกมาก็ต้องอาศัยตำแหน่งนี้เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก โดยจะต้องดูว่าสื่อไหนที่ตรงกับกลุ่มคนฟังของศิลปิน จากนั้นก็เขียนข่าวส่งสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคลื่นวิทยุ , สำนักข่าวบันเทิง, สิ่งพิมพ์, สื่อออนไลน์, งานแถลงข่าว หรืออื่น ๆ ซึ่งความยากอยู่ตรงที่จะมีวิธีการอย่างไรให้สื่อมวลชนมีความสนใจในตัวศิลปิน อาจจะต้องคิดแคมเปญทำร่วมกับสื่อต่าง ๆ อีกด้วย และที่สำคัญต้องผลักดันให้ศิลปินอยู่ในหน้าสื่อต่าง ๆ อยู่เสมอ โดยต้องคำนึงถึงความเหมาะสม

คุณสมบัติที่สำคัญ

  • เข้าใจในตัวตนศิลปิน เพื่อจะสามารถผลักดันไปในสื่อที่เหมาะสม และเข้าใจในธรรมชาติของสื่อต่าง ๆ
  • สามารถสร้างโอกาสและช่องทางในการประชาสัมพันธ์ได้อยู่เสมอ
  • มีทักษะการสื่อสารที่ดี มีบุคลิกภาพที่ดี
  • สนใจสื่อต่าง ๆ รอบตัว ทันทุกเทรนด์ ทันกระแส
  • ชอบเข้าสังคม

4.อาชีพทำเนื้อหาเกี่ยวกับดนตรี (Online Music Content)

อาชีพ นักดนตรี ทำ อะไร บ้าง

ฟังดูแล้วอาจจะเป็นเรื่องธรรมดา! แต่อย่างที่รู้กันว่าสมัยนี้สื่อออนไลน์มีความสำคัญกับสังคม แหล่งข่าวที่สำคัญส่วนมากก็มาจากอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ และใคร ๆ ก็สามารถทำได้ แถมยังได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่เป็นอย่างดี โดยสื่อออนไลน์อย่างง่ายที่สุดคือ Facebook page ที่เราเห็นกันอย่างคุ้นตา

3 ไอเดียในการทำเพจเนื้อหาเกี่ยวกับดนตรี

  1. Facebook Page มีเนื้อหาแนะนำศิลปินใหม่ ๆ ,จัดอันดับเพลงที่ชอบประจำสัปดาห์, รีวิวผลงานศิลปิน เช่น ฟังหูไว้หู - Funghoowaihoo, NOW Independent Music, เสพย์สากล - Sepsakon, เนชอบฟังเพลง
  2. Facebook Fanpage ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปินที่ชื่นชอบ อัปเดตตารางงาน หรือข่าวสารเกี่ยวกับศิลปินในทุกแง่มุม เช่น Cherpang BNK48 Fanclub
  3. Music Streaming คือ Platform การฟังเพลงในรูปแบบออนไลน์ อย่าง ฟังใจ - Fungjai , Joox Music

ทั้ง 3 ไอเดียนี้เป็นตัวอย่างของการทำสื่อออนไลน์ที่เกี่ยวกับดนตรี สามารถต่อยอดไปได้หลายอย่าง เมื่อมีฐานแฟนหรือยอดกดไลค์ที่เยอะ ก็จะมีรายได้มาจากผู้ที่สนใจซื้อพื้นที่โฆษณาในเพจ นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดเป็นงานอีเวนต์ /คอนเสิร์ตได้อีกด้วย เนื่องจากมีทั้งฐานแฟนเพจที่เป็นที่รู้จัก และ มี Connection นักดนตรีต่าง ๆ

5.ผู้จัด ( EVENT, Concert )

อาชีพ นักดนตรี ทำ อะไร บ้าง

ถ้าเราเป็นผู้เล่นไม่ได้ ก็เป็นผู้จัดหรือผู้ว่าจ้างเองเลยละกัน! ซึ่งอาชีพนี้ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ทั้งทีมงานในหลายฝ่าย, ต้นทุน, สปอนเซอร์ และอื่น ๆ แต่ถ้าเริ่มคิดที่จะจัดงานเป็นของตัวเองแล้ว อาจจะเริ่มต้นจากเล็ก ๆ ถึงแม้จะมีความเสี่ยงสูงแต่ไม่ต้องกังวลไป ประสบการณ์จะสอนเราเอง! วันนี้เราจะมาบอกแนวคิด และการเตรียมตัวเบื้องต้นสำหรับคนที่กำลังสนใจอยากเป็นผู้จัด

หากอยากเริ่มต้นจัดคอนเสิร์ตต้องทำอย่างไรบ้าง?

  • ต้องหมั่นดูคอนเสิร์ตบ่อย ๆ จดรายละเอียดของแต่ละงานลงโน้ต เพื่อประเมินข้อดีข้อเสีย วิเคราะห์รายละเอียดต่าง ๆ เช่น การจัดการภายในคอนเสิร์ต, ที่จอดรถเพียงพอหรือไม่, แสง สี เสียงเป็นอย่างไรบ้าง, ระบบการซื้อ-ขายบัตร, อาหารในงาน รวมถึงการทำประชาสัมพันธ์ของงานนั้น ๆ
  • หาโอกาสที่จะได้พบกับประสบการณ์จัดคอนเสิร์ต โดยการติดตามข่าวสารการเปิดรับสมัครทีมงาน เพื่อได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ๆ
  • เมื่อมีประสบการณ์ระดับหนึ่งแล้ว อาจเริ่มจัดงานเล็ก ๆ ที่อยากทำ เพื่อเป็นการทดลองและสั่งสมประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ

การที่เราได้มีโอกาสเป็นผู้จัดสักครั้งหนึ่ง เป็นงานที่เหนื่อยแต่เมื่อจบงานแล้วเราจะได้เรียนรู้กับสิ่งต่าง ๆ มากมาย และจะได้ทดสอบว่าเรามีความฝันทางด้านนี้จริงหรือเปล่า

อาชีพ นักดนตรี ทำ อะไร บ้าง

Early Bird - บัตรที่มีโปรโมชั่นราคาพิเศษสำหรับการซื้อก่อน พร้อมสิทธิพิเศษอื่น ๆ

Headliner - วงหลักของแต่ละงาน เป็นวงที่สามารถดึงดูดผู้ชมให้อยากดูมากที่สุด

Rider - รายละเอียดที่ศิลปินใช้แจ้งกับผู้จัดว่ามีอุปกรณ์และเครื่องดนตรีอะไรบ้างที่จำเป็นต้องใช้ รวมถึงตำแหน่งในการแสดง

Sound Check - ตรวจสอบความถูกต้องและพร้อมใช้งานของระบบเสียงทั้งหมด รวมถึงปรับแต่งเสียงให้เหมาะสมก่อนทำการแสดงจริง

Pre - Light - ตรวจสอบความถูกต้องของแสงให้พร้อมใช้งานตามที่ได้ดีไซน์มา ให้เข้ากับเพลงนั้น ๆ รวมถึงลำดับในการใช้แสงพร้อมโชว์ทั้งหมด

Run Through - เป็นขั้นตอนรีเช็คระบบของทุกฝ่ายเหมือนแสดงจริง ตั้งแต่เริ่มจนจบ เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจคิวในการแสดงทั้งหมด

สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเรียนรู้ 5 อาชีพนี้ ก็มีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนอยู่ด้วย โดยจะเน้นไปที่ภาพรวมของวงการดนตรีทั้งหมด

  • มหาวิทยาลัยศิลปากรคณะดุริยางคศาสตร์วิชาเอกธุรกิจดนตรีและบันเทิง หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมบันเทิง
  • มหาวิทยาลัยมหิดล คณะดุริยางคศิลป์ วิชาเอกธุรกิจดนตรี ศิลปศาสตรมหาบัณฆิต สาขาดนตรี

สำหรับใครที่อยากจัดคอนเสิร์ตหรืออีเวนต์ดนตรี สามารถเข้าเรียนได้ที่

  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการผลิตอีเวนต์ และการจัดการนิทรรศการและการประชุม

อาชีพ นักดนตรี ทำ อะไร บ้าง

อาชีพทางด้านดนตรีมีอาชีพอะไรบ้าง

1. นักดนตรี ... .
2. นักร้อง ... .
3. นักเรียบเรียงเพลง และ นักเรียบเรียงเสียงประสาน ... .
4. นักประพันธ์เพลง ... .
5. อาชีพนักจัดรายการเพลงหรือ ดีเจ ... .
6. อาชีพนักเต้น หรือ แดนเซอร์ ... .
7. อาชีพผู้อำนวยการสร้างผลงานเพลง หรือ โปรดิวเซอร์.

นักดนตรีมีคุณสมบัติอะไรบ้าง

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพนักดนตรี มีความขยันหมั่นเพียรในการฝึกซ้อมเพื่อเล่นดนตรี อดทน ทันสมัย มีความคิดริเริ่ม มีความเชื่อมั่นในตนเอง สำคัญที่สุด คือ กล้าแสดงออก

อาชีพนักแต่งเพลงมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง

ประพันธ์บทเพลง และระบุตัวโน๊ตเสียงสูงต่ำ ของการขับร้องและการเล่นเครื่องดนตรี ในแต่ละวันทำอะไร? 1. ศึกษาทฤษฎีดนตรี และแต่งเพลงสำหรับนักร้องและนักดนตรี 2. กำหนดเสียง เครื่องดนตรี จังหวะของเพลง และเรียบเรียงตัวโน้ตเพื่อให้ได้บทเพลงตามต้องการ

นักดนตรีทํางานที่ไหน

ถาม : เรียนคณะดนตรีจบแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง ตอบ : นักดนตรี,ดุริยางค์ทหาร/ตำรวจ,นักแต่งเพลงมเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร,ซาวน์เอนจิเนียร์ อาจารย์สอนดนตรี,Youtuber หรือ จะเป็นธุรกิจด้านห้องซ้อมดนตรีและธุรกิจด้านจำหน่ายเครื่องดนตรี