อาชีพ ค้าขาย ยื่นภาษีแบบไหน

ผ่านช่วงปีใหม่เดือนกว่าแล้ว พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เตรียมจ่ายภาษีออนไลน์รึยัง ? วันนี้ Fillgoods ชวนไปไขปัญหากังวลใจของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่กำลังกังวลเรื่องภาษี ว่าสำหรับคนขายออนไลน์ที่ไม่ได้ยื่นจดทะเบียนธุรกิจในรูปแบบบริษัทจะต้องยื่นภาษีอะไรบ้างและต้องยื่นเมื่อไหร่ ภาษีน่ารู้ฉบับร้านค้าออนไลน์ มีคำตอบมาฝากคุณ


พ่อค้าแม่ค้าต้องภาษีออนไลน์อะไรบ้าง

อาชีพ ค้าขาย ยื่นภาษีแบบไหน

เงินที่ได้รับจากการทำธุรกิจหรือการขายของออนไลน์ นับเป็นเงินได้ประเภทหนึ่งซึ่งแยกจากรายได้ประจำและต้องนำไปคำนวณรวมกับการยื่นภาษีประจำปี ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าที่ไม่ได้ยื่นจดทะเบียนธุรกิจในรูปแบบบริษัทจะต้องยื่นภาษีกับกรมสรรพากร 2 ครั้งใน 1 ปี ได้แก่

1. ภาษีบุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90

บุคคลที่มีเงินได้ทุกคนต้องยื่นภาษีบุคคลประจำปีกับกรมสรรพากร ถึงแม้พ่อค้าแม่ค้าจะไม่มีรายได้จากงานประจำ แต่รายได้จากการขายของออนไลน์นับเป็นเงินได้ในมาตรา 40 (8) หรือเงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่เงินที่ได้จากการทำอาชีพอิสระอย่างการขายของออนไลน์หรือการขายสินค้าแบบซื้อมาขายไป  การขายอสังหาริมทรัพย์ การพาณิชย์ ฯลฯ คนขายออนไลน์ต้องยื่นภาษีโดยการสรุปรายได้ทั้งหมดจากปี 2563 หรือรายได้ทั้งหมดจากช่วงปีที่ผ่านมา

  • ซึ่งมีสูตรการคำนวณคือ “เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อนภาษี = เงินได้สุทธิ”
  • ผู้มีเงินได้ในมาตรา 40 (8) สามารถคิดค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ได้

2. ภาษีกลางปี ภ.ง.ด. 94

เนื่องจากคนขายออนไลน์จัดเป็นผู้มีเงินได้ในมาตรา 40 (8) จึงต้องมีการยื่นภาษีกลางปี  ภ.ง.ด. 94 อีกครั้งซึ่งจะเป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดตั้งแต่เดือน 1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2564 กลุ่มที่เข้าข่ายต้องยื่นภาษีนี้ก็คือ คนโสดรายได้เกิน 60,000 บาท คนมีคู่สมรสได้เกิน 120,000 บาท ซึ่งไม่รวมจากรายได้จากงานประจำ ซึ่งนับว่าเป็นข้อดีที่จะช่วยให้จ่ายภาษีได้ถูกลง หากพ่อค้าแม่ค้าไม่ยื่นภาษีกลางปี ภ.ง.ด. 94 รายได้ทั้งหมดจะถูกนำไปรวมกับ ภาษีบุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90 และต้องจ่ายภาษีแพงขึ้นั่นเอง

คนขายออนไลน์ต้องมีรายได้เท่าไหร่จึงจะต้องจ่ายภาษีออนไลน์

รายได้สุทธิภาษีที่ต้องจ่าย0 – 150,000*ได้รับการยกเว้นภาษี*150,001 – 300,0005%300,001 – 500,00010%500,001 – 750,00015%750,001 – 1,000,00020%1,000,001 – 2,000,00025%2,000,001 – 5,000,00030%5,000,001 บาทขึ้นไป35%

รายการใช้ลดหย่อนภาษีที่คนขายออนไลน์ต้องรู้

รายการลดหย่อนอัตราลดหย่อน1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว60,000 บาท2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส60,000 บาท3. ค่าลดหย่อนบุตรบุครคนแรกลดหย่อน 30,000 บาท บุตร 2 คนขึ้นไป 60,000 บาท4. ค่าลดหย่อนบิดามารดาหากมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้ค่าลดหย่อนคนละ 30,000 บาท5. ค่าลดหย่อนผู้พิการและทุพพลภาพ60,000 บาท6. ค่าฝากครรภ์และทำคลอด60,000 บาท

 

หมวดรายการลดหย่อนหมวดประกันและการลงทุน

รายการลดหย่อนอัตราลดหย่อน1. ประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์สูงสุด 100,000 บาท ตามที่จ่ายจริง2. ประกันสุขภาพบิดามารดาสูงสุด 15,000 บาท3. ประกันสุขภาพตัวเองสูงสุด 25,000 บาท4. ประกันชีวิตแบบบำนาญสูงสุด 200,000 บาท5. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสูงสุด 10,000 บาท6. กองทุนกบข.และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนไม่เกิน 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท7. เงินสะสมจากกองทุนการออมแห่งชาติ กอช.สูงสุด 13,200 บาทต่อปี8. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)ไม่เกิน 30% ของรายได้ สูงสุด 500,000 บาท9. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)ไม่เกิน 30% ของรายได้ สูงสุด 500,000 บาท10. กองทุนการออมพิเศษ (SSFX)สูงสุด 200,000 บาท 11. เบี้ยประกันชีวิตบำนาญไม่เกิน 15% ของเงินได้ สูงสุด 200,000 บาท 12. เงินประกันสังคม5,850 บาท

 

รายการลดหย่อนหมวดอสังหาริมทรัพย์

รายการลดหย่อนอัตราลดหย่อน1. ดอกเบี้ยบ้านสูงสุด 100,000 บาท 2. โครงการซื้อบ้านครั้งแรก120,000 บาท3. ช้อปดีมีคืนสูงสุด 30,000 บาท (รายการสินค้าที่ซื้อตั้งแต่ 23 ต.ค. – 31 ธ.ค. 63

 

หมวดรายการเงินบริจาค

รายการลดหย่อนอัตราลดหย่อน 1. เงินบริจาคทั่วไป10% ของรายได้หลังลดหย่อน2. เงินบริจาคพรรคการเมืองสูงสุด 10,000 บาท3. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ2 เท่าจากเงินบริจาค ที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน

 

รู้แล้วเตรียมตัวให้พร้อม ภาษีทั้ง 2 ต้องยื่นเมื่อไหร่ ?

อาชีพ ค้าขาย ยื่นภาษีแบบไหน

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์สามารถส่งเอกสารยื่นภาษีได้ที่ กรมสรรพากร หรือยื่นออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.rd.go.th โดยการยื่นภาษีทั้ง 2 จะมีระยะเวลา ดังนี้

ระยะเวลายื่นภาษีบุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90

  • ยื่นภาษีแบบเอกสารได้ตั้งแต่วันที่  1 มกราคม 2564  – 31 มีนาคม 2564
  • ยื่นภาษีแบบออนไลน์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564  – 31 มิถุนายน 2564

ระยะเวลายื่นภาษีกลางปี ภ.ง.ด. 94

  • ยื่นภาษีแบบออนไลน์ได้ตั้งแต่  1 กรกฎาคม 2564 – 31 กันยายน 2564

หนทางรับมือกับการยื่นภาษีประจำปีของร้านค้าออนไลน์ก็คือการจัดทำบัญชี รายรับรายจ่ายประจำปีอย่างแม่นยำ เพื่อที่จะนำรายละเอียดนั้นมาใช้ยื่นภาษีประจำปีได้อย่างแม่นยำ ซึ่งคนขายออนไลน์สามารถนำระบบจัดการบัญชีหรือระบบจัดการหลังบ้านที่มีระบบรายงานการขายทั้งเงินเข้าและเงินออกเข้ามาช่วยจัดการ เพียงเท่านี้ร้านค้าก็จะไม่ต้องเหนื่อยเรื่องการจดบัญชีอีกต่อไป

ตามกฎหมายมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้เงินที่ได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม และการขนส่ง เป็นเงินได้พึงประเมินซึ่งต้องเสียภาษี

สำหรับแม่ค้าตลาดนัดและแม่ค้าออนไลน์สามารถหักลดค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60% และในกรณีที่มีค่าลดหย่อน เฉพาะค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท จะสามารถนำฐานรายได้ มาคำนวณอัตราการจ่ายภาษีคร่าว ๆ ได้ดังนี้

  • รายได้ทั้งปีระหว่าง 60,000 – 525,049 บาท ต้องยื่นภาษีเงินได้ แต่ไม่ต้องเสียภาษี
  • รายได้ทั้งปีระหว่าง 525,050 บาท ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้และต้องเสียภาษีเริ่มต้น 1 บาท
  • รายได้ทั้งปีตั้งแต่ 1,000,001 บาท ต้องเสียภาษี 11,500 บาท
  • รายได้ทั้งปีตั้งแต่ 2,000,000 บาท ต้องเสียภาษี 63,500 บาท

อย่างไรก็ตาม หากเหล่าพ่อค้าแม่ค้ามีเอกสารค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิต ต้นทุนสินค้า ค่าขนส่ง ค่าจ้างลูกจ้าง หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขาย และพิสูจน์ได้ว่า มีค่าใช้จ่ายจริงมากกว่าการหักค่าใช้จ่ายเหมา เมื่อนำรายได้ไปคำนวณภาษีแล้ว จะสามารถลดจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียเพิ่มได้อีก

นอกจากนี้ หากมีรายได้จากการขายทั้งปีเกิน 1,800,000 บาทขึ้นไปก่อนหักค่าใช้จ่าย ซึ่งรายรับจากการขายนี้ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% ของรายได้ พ่อค้าแม่ค้าต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 นับ หลังจากมียอดขายเกิน 1,800,000 ล้านบาท โดยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) และเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี)

อาชีพ ค้าขาย ยื่นภาษีแบบไหน

ในกรณีที่พ่อค้าแม่ค้ายื่นแบบประเภทภาษีบุคคลธรรมดาในปีนี้ จะสามารถยื่นค่าลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้สูงสุดถึง 23 รายการ ดังนี้

ลดหย่อนภาษี เพื่อตนเองและครอบครัว

ค่าลดหย่อนส่วนตัว : ลดหย่อนได้ 60,000 บาท ที่นำไปหักจากรายได้ที่ต้องยื่นภาษีเงินได้ โดยเป็นสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ยื่นภาษีทุกคน สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ค่าลดหย่อนคู่สมรส : จำนวน 60,000 บาท แต่มีเงื่อนไขว่าคู่สมรสไม่มีรายได้ ไม่ว่ากรณีสามี หรือ ภรรยา เป็นผู้ไม่มีรายได้ และมีเงื่อนไขว่าต้องจดทะเบียนสมรส อีกทั้งต้องอาศัยอยู่ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 180 วัน

ค่าลดหย่อนบุตร : ค่าลดหย่อนสำหรับผู้ที่มีบุตรได้คนละ 30,000 บาท แต่ภายหลังนโยบายรัฐบาลสนับสนุนให้คนมีบุตร จึงแก้ไขประมวลรัษฎากรใหม่ สำหรับบุตรคนที่ 2 และเกิดตั้งแต่ปี 2561 สามารถลดหย่อนบุตรตั้งแต่คนที่ 2 คนละ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไขต้องเป็นบุตรโดย “ชอบด้วยกฎหมาย”

สำหรับกรณีผู้ที่มี “บุตรบุญธรรม” เพียงอย่างเดียว สามารถลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท แต่ถ้ามีทั้งบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย และบุตรบุญธรรม ให้นับจำนวนลดหย่อนบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จากนั้นจึงลดหย่อนบุตรบุญธรรม แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 3 คน

ค่าลดหย่อนบิดามารดา : ให้ลดหย่อน ภาษี ได้คนละ 30,000 บาท สำหรับผู้เสียภาษีที่ดูแลพ่อแม่ อย่างไรก็ตาม ในกรณีพ่อแม่เสียชีวิตระหว่างปี ภาษี ก็สามารถหักค่าลดหย่อนในปีภาษีนั้นได้เช่นกัน (พี่น้องสามารถเปลี่ยนสิทธิยื่นค่าลดหย่อนบิดามารดาได้ แต่ต้องเป็นคนละปีภาษี)

ค่าลดหย่อนดูแลผู้พิการหรือทุพพลภาพ : ให้ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท สำหรับผู้ดูแลผู้พิการหรือทุพพลภาพ ซึ่งกรณีค่าลดหย่อนประเภทมีการจำแนกเป็น 2 กรณี คือ กรณีแรก หากเป็นบุตร คู่สมรส หรือ พ่อแม่ ให้ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท และกรณีที่ 2 เป็นบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กรณี ให้ลดหย่อนได้ 60,000 บาทเช่นกัน แต่ได้คนเดียว

ทั้งนี้ ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ เป็นสิทธิลดหย่อนนอกเหนือจาก ค่าลดหย่อนคู่สมรส ค่าลดหย่อนบุตรและค่าลดหย่อนบิดามารดา หากคู่สมรส บุตร หรือ บิดามารดา เป็นผู้พิการด้วย ให้หักค่าลดหย่อนประเภทนี้เพิ่มขึ้นจากค่าลดหย่อนแต่ละประเภทได้

ค่าฝากครรภ์และทำคลอด : หักได้ตามจริง แต่ไม่เกินท้องละ 60,000 บาท สำหรับกรณีลูกแฝดนับเป็นท้องเดียว

เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป : หักค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท กรณีประกันชีวิตทั่วไปให้ตัวเอง โดยรวม “เงินฝากแบบมีประกันชีวิต” ด้วย นอกจากนี้ กรณีเบี้ยประกันคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ให้หักค่าลดหย่อนได้ แต่ไม่เกิน 10,000 บาท (ต้องเป็นคู่สมรสตลอดปีภาษี)

เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา : ประกันสุขภาพพ่อแม่ หักลดหย่อนตามที่จ่ายจริง รวมไม่เกิน 15,000 บาท และในกรณีคู่สมรสไม่มีรายได้ ก็สามารถนำประกันสุขภาพของพ่อแม่คู่สมรสไปหักลดหย่อนได้ ไม่เกินปีละ 15,000 บาท เช่นเดียวกัน

เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง : ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ผู้ซื้อประกันสุขภาพให้ตนเองสามารถลดหย่อนได้ แต่ต้องไม่เกิน 25,000 บาท และ เมื่อรวมกับ “เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป” และ “เงินฝากแบบมีประกัน” ต้องไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ ต้องเป็นการคุ้มครองประกันสุขภาพที่รับประกันโดยบริษัทประกันชีวิต หรือ บริษัทประกันวินาศภัยในไทย

อาชีพ ค้าขาย ยื่นภาษีแบบไหน

ลดหย่อน ภาษี เพื่อการลงทุน

กบข./กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์โรงเรียนครูเอกชน : ทั้ง 3 ประเภท คือ เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอชน ให้หักค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 500,000 บาท แต่กรณีกองทุนสำรองเลี้ยง มีเงื่อนไขเพิ่มเติม หักได้ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) : หักค่าลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท แต่หากผู้มีเงินได้จ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. หรือ กองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน เมื่อรวมกันแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ : ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสีย ภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท แต่หากไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี “เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป” สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท

เงินประกันสังคม : ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกินปีละ 9,000 บาท เนื่องจากอัตราการหักเงินสมทบสูงสุด 750 บาทต่อเดือน

เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.): ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 13,200 บาท สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีระบบสวัสดิการสังคมอื่น

กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) : เงินซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม ( Super Saving Fund : SSF) ตามที่มีการลงทุนจริงในแต่ละปี แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท โดยต้องถือให้ครบ 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ เริ่มตั้งแต่ปี 2563-2567

เมื่อรวมกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. หรือ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน รวมถึง กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญและกองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ค้าขาย ยื่นภาษีประเภทไหน

หากเป็นร้านค้าธรรมดาต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยการคำนวณจากเงินได้สุทธิ แต่ถ้าจดทะเบียนเป็นบริษัท 'นิติบุคคล' เป็นห้างหุ้นส่วนหรือในรูปแบบของบริษัท ก็ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยคำนวณจากกำไรสุทธิ

พ่อค้าแม่ค้า ต้องยื่นภาษีไหม

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่มาทางนี้ ไม่ว่าเราจะขายอะไรก็ตามแต่ถ้ามีรายได้ยังไงก็ต้องยื่นภาษีนะ เพราะยังถือว่าเป็นบุคคลธรรมดาที่ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยจะเสียภาษีหรือไม่เสียภาษีนี้จะต้องขึ้นอยู่กับว่าเรามี "เงินได้สุทธิ" หรือ "กำไรสุทธิ" เมื่อหักค่าใช้จ่าย

อาชีพอิสระ เสียภาษียังไง

อาชีพอิสระเหล่านี้ ต้องคิดภาษียังไง? โดยทั้งแม่ค้าออนไลน์และฟรีแลนซ์อื่นๆ หากไม่ได้มีการจดทะเบียนในรูปแบบของบริษัท ก็จะมีการคิดภาษีแบบเดียว คือ การคำนวณภาษีรายได้แบบบุคคลธรรมดา ตามสูตร (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

คนทำงานยื่นภาษีอะไร

มนุษย์เงินเดือน ที่มีรายได้ทางเดียวจากเงินได้ประเภทที่ 1 จะต้องยื่นแบบแสดงรายการเงินได้ ที่เรียกว่า ภ.ง.ด. 91 เมื่อมีเงินได้ต่อเดือนเกินกว่า 10,000 บาท หรือ มากกว่า 120,000 บาทต่อปี ส่วนจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่นั้น จะต้องขึ้นอยู่กับ "เงินได้สุทธิ" ของแต่ละบุคคล