วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

​ธนาคารแห่งประเทศไทยกับบทบาทด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นอกเหนือจากการทำหน้าที่ตามบทบาทหน้าที่หลักในการรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจการเงินของประเทศแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังมุ่งมั่นในการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนในมิติต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance)

วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

​การธนาคารเพืื่อความยั่งยืน

วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

การธนาคารเพื่อความยั่งยืนหมายถึง การธนาคารที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจและสังคมในระยะยาว โดยดําเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และอยู่ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดี (ESG) ตลอดจนการช่วยสร้างแรงผลักดันให้ทุกภาคส่วนทั้งภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และรัฐบาลดําเนินการในทิศทางที่นําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อทั้งระบบเศรษฐกิจและตัวสถาบันการเงินเอง

>>รายละเอียด

วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 5/2565

วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

แถลงข่าวร่วมกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย

วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย
Media Briefing มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ : มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

อินโฟกราฟฟิก & มัลติมีเดีย

วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ลูกหนี้เตรียมตัวให้พร้อม ลงทะเบียนมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ออนไลน์ ได้ตั้งแต่ 26 ก.ย. ถึง 30 พ.ย. 65 นี้

วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

พาเดินสำรวจ Smart City เมืองขอนแก่น ​ดำเนินรายการโดย คุณชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร แบงก์ชาติ

วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

อัตราแลกเปลี่ยน

เงินตราต่างประเทศ

ประจำวันที่ 25 ต.ค. 2565

สกุลเงิน อัตราซื้อ อัตราขาย
ตั๋วเงิน เงินโอน
USD 37.9312 38.0312 38.3593
EUR 37.2491 37.3603 38.1108
JPY 25.2072 25.3157 26.0190

วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วัตถุประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

​เกี่ยวกับ ธปท.

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นองค์กรของรัฐที่มี บทบาทหน้าที่ หลักในการบริหารจัดการให้ระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย โดยผ่านการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพในอัตราที่เหมาะสมกับศักยภาพของประเทศ ซึ่งถือเป็นการร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เอื้อให้ประชาชนสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนในระยะยาว ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรที่มองไกล มีหลักการและร่วมมือ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของไทย” และค่านิยมร่วม “ยืนตรง มองไกล ยื่นมือ ติดดิน” โดยมีพันธกิจ “มุ่งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจการเงินที่มีเสถียรภาพ และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและทั่วถึง”

สำหรับทิศทางการดำเนินงานของ ธปท. ในภาพรวมนั้น ธปท. จะดำเนินงานตาม แผนยุทธศาสตร์ 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565) ภายใต้หัวข้อ “ธนาคารกลางท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง” (Central Bank in a Transformative World) เพื่อรองรับสภาพแวดล้อมที่เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่มีความผันผวน (Volatility) ไม่แน่นอน (Uncertainty) ซับซ้อน (Complexity) และคลุมเครือ (Ambiguity) ที่ทวีความเร็วและแรงกว่าช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอาจเรียกสภาพแวดล้อมดังกล่าวว่า VUCA+ โดยมีพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต รูปแบบธุรกิจ บริการทางการเงิน และระบบเศรษฐกิจ (disruptive technology) เป็นตัวเร่งสำคัญ นอกจากนี้ ระบบเศรษฐกิจสังคมไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทายที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการสะสมปัญหาเชิงโครงสร้างและความเปราะบางของสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่มากขึ้น 

ธปท. ตระหนักว่าภายใต้สภาพแวดล้อม VUCA+ โลกกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เร็วและแรงกว่าที่เคยเป็นมา แผนยุทธศาสตร์ 3 ปีของ ธปท. จึงได้กำหนดแนวทางเพื่อให้ ธปท. ทำหน้าที่ธนาคารกลางได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในช่วง 3 ปีข้างหน้า สามารถขับเคลื่อนให้ระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศมีพัฒนาการและปรับตัวได้อย่างเท่าทัน รวมทั้งส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจการเงินไทยเติบโตได้เต็มศักยภาพและมีความทนทานสามารถรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ ธปท. ยังให้ความสำคัญกับการวางรากฐานสำคัญขององค์กร (internal transformation) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และภารกิจของ ธปท. ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างชัดเจน ดังนั้น ในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565) จึงได้กำหนดประเด็นความท้าทายสำคัญ 7 ด้าน และการปรับเปลี่ยนรากฐานสำคัญขององค์กร 3 ด้าน ดังนี้

ประเด็นความท้าทายสำคัญ 7 ด้าน 

1. ระบบการเงินเข้าสู่โลกการเงินดิจิทัลอย่างรวดเร็ว

2. กรอบและกลไกการกำกับดูแลเสถียรภาพระบบการเงินต้องเท่าทันกับความเสี่ยงและสภาพแวดล้อมใหม่

3. นโยบายการเงินและนโยบายการคลังต้องคำนึงถึงขีดจำกัด โดยเฉพาะจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง

4. อัตราแลกเปลี่ยนจะผันผวนสูงและการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของภาคเอกชนจะมีความสำคัญมากขึ้น 

5. ภัยคุกคามทางไซเบอร์และความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีจะเป็นความเสี่ยงหลักของระบบการเงิน

6. การดำเนินงานโดยคำนึงถึงความยั่งยืน (sustainability) ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

7. การรักษาความเป็นอิสระและความน่าเชื่อถือของธนาคารกลางต้องเผชิญกับความท้าทายที่หลากหลายขึ้น

การปรับเปลี่ยนรากฐานสำคัญขององค์กร 3 ด้าน

รากฐานที่ 1 ปลดล็อกและเสริมสร้างศักยภาพของพนักงานให้เป็นพลังขององค์กร

รากฐานที่ 2 ปรับวัฒนธรรมองค์กรและกระบวนการทำงานไปสู่การเป็นองค์กรที่มีความคล่องตัวสูง

รากฐานที่ 3 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลเป็นเครื่องมือหลักในทุกกระบวนการทำงาน