Non-tariff barriers ตัวอย่าง

– การกีดกันสินค้านำเข้าจะดำเนินการผ่านด้านผู้บริโภคเช่นการให้ข้อมูลกับผู้บริโภคเรื่องความปลอดภัยของสินค้าดังนั้นการส่งออกสินค้าของไทยอาจไม่ถูกกีดกันจากมาตรการทางการค้าหากแต่จะถูกปฏิเสธจากผู้บริโภคเอง

– ต้องติดตามกฎระเบียบอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะมาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้าสาหรับสินค้านำเข้า

– ต้องติดตามการแจ้งเตือนอย่างใกล้ชิดเนื่องจากเป็นการส่งสัญญาณให้รู้ว่าสินค้าใดกำลังประสบปัญหาการส่งออกไปประเทศต่างๆเหล่านี้

– ธุรกิจไทยอาจมีต้นทุนธุรกรรมเพิ่มขึ้นในการดำเนินการด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมาตรการด้านแรงงานเด็กและแรงงานบังคับและมาตรการด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกฯลฯ

– ต้องติดตามมาตรการต่างๆที่แตกต่างกันระหว่างมาตรการระดับประเทศและมาตรการระดับท้องถิ่นหรือมลรัฐ

 

 

สหรัฐอเมริกา:เน้นคุ้มครองผู้ผลิต

 

– เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

– เพื่อรักษาระดับการแข่งขันให้เท่าเทียมกับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศที่มีกฎระเบียบหย่อนยานกว่า

– เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันทางการค้าในตลาดต่างประเทศ

สหภาพยุโรป:เน้นด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

– มีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหนึ่งมากมายครอบคลุมตั้งแต่วัตถุดิบกระบวนการผลิตผลผลิตและบรรจุภัณฑ์

– เน้นการแวดระวังล่วงหน้าก่อนเกิดปัญหา

– ระบบ Rapid Alert ที่มีการแจ้งเตือนประเทศสมาชิกอย่างรวดเร็วและมีการจัดระดับของความรุนแรงจากการนำเข้าสินค้าจากประเทศใดๆซึ่งจะเป็นข้อมูลสาหรับการส่งออกของไทยในการเตรียมการป้องกันมิให้เกิดปัญหา

จีน:เน้นคุ้มครองผู้ผลิต

 

เลียนแบบกฎระเบียบเหมือนสหภาพยุโรปเช่น WEEE (Waste on Electric and Electronic Equipment) และRoHS (Restrictions on Hazardous Substances)

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

ทำความเข้าใจกับมาตรการกีดกันทางการค้า (Trade Barriers) ในการค้าระหว่างประเทศ มาดูกันว่าการกีดกันทางการค้า คืออะไร? และทำอย่างไร

การกีดกันทางการค้า คืออะไร?

การกีดกันทางการค้า คือ มาตรการในการค้าระหว่างประเทศที่แต่ละประเทศใช้เพื่อจำกัดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งเรียกว่า มาตรการกีดกันทางการค้า (Trade Barriers) โดยอาจเป็นได้ทั้งมาตรการกีดกันทางการค้าทางภาษี และ มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี

มาตรการกีดกันทางการค้า (Trade Barriers) คือมาตรการทางการค้าที่มีจุดประสงค์เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าดังกล่าวภายในประเทศ จากการเข้ามาของสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงปกป้องการขาดดุลการค้าจากการนำเข้าสินค้ามามากกว่าการส่งออก

ตัวอย่างเช่น การห้ามนำเข้ารถยนต์ใช้แล้วจากต่างประเทศของประเทศหนึ่งด้วยเหตุผลบางอย่าง แต่เหตุผลที่แท้จริงก็คือการปกป้องอุตสาหกรรมรถยนต์ภายในประเทศ

การกีดกันทางการค้า (Trade Barriers) สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ มาตรการกีดกันทางการค้าทางภาษี (Tariff Barriers) และ มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers)


ข้ามไปที่หัวข้อที่ต้องการอ่าน


มาตรการกีดกันทางการค้าทางภาษี

มาตรการกีดกันทางการค้าทางภาษี คือ มาตรการกีดกันทางการค้าที่รัฐบาลจะใช้การจัดเก็บ ภาษีศุลกากรขาเข้า หรือ ภาษีนำเข้า ในอัตราที่สูง (หรือสูงขึ้น) เพื่อทำให้ผู้นำเข้าสามารถนำเข้าสินค้าได้ยากขึ้นตามราคาสินค้าที่สูงขึ้นตามภาษีนำเข้าที่รัฐจัดเก็บ

การกีดกันทางการค้า ด้วยภาษีที่สูงตาม มาตรการกีดกันทางการค้าทางภาษี (Tariff Barriers) จะส่งผลให้สินค้าประเภทเดียวกันที่ต้องนำเข้า มีราคาแพงกว่าสินค้าภายในประเทศ

ทั้งหมดจะส่งผลให้ผู้บริโภคต้องการนำเข้าสินค้าดังกล่าวน้อยลง และหันไปใช้สินค้าชนิดเดียวกันที่ผลิตขึ้นภายในประเทศแทน

ตัวอย่างเช่น ประเทศ T เก็บภาษีนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ 300% เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ที่อยู่ภายในประเทศ T ให้ไม่ต้องเผชิญกับการแข่งขันจากรถยนต์ที่ผลิตจากต่างประเทศ

สรุปให้รวบรัดกว่านั้น มาตรการกีดกันทางการค้าทางภาษี (Tariff Barriers) คือ การกีดกันทางการค้าที่จะทำให้สินค้านำเข้าแพงขึ้นจนผู้ซื้อไม่อยากนำเข้าสินค้าดังกล่าว เพื่อทำให้สินค้าจากต่างประเทศไม่ถูกนำเข้ามาแข่งขันภายในประเทศได้ง่าย

แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากว่ารัฐบาลต้องการส่งเสริมการส่งออกสินค้า รัฐบาลก็จะจัดเก็บภาษีการส่งออกในระดับที่ต่ำหรือไม่เก็บภาษีขาออกเลย


มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี

มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี คือ มาตรการกีดกันการนำเข้าสินค้าด้วยวิธีใดก็ตามที่ไม่ใช่การใช้ภาษีนำเข้า แต่จะใช้ประเด็นละเอียดอ่อนบางอย่างเป็นข้ออ้างและเงื่อนไขในการห้ามนำเข้าสินค้า หรือจำกัดการนำเข้าสินค้าบางอย่าง

การกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี อาจเป็นการห้ามนำเข้าอย่างเด็ดขาด หรือสามารถนำเข้าแต่ต้องใช้ใบอนุญาตินำเข้า หรือจำกัดการนำเข้าสินค้าจากทุกประเทศหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง

สำหรับประเด็นที่นำมาใช้เป็นเหตุผลของ มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers) ได้แก่

  • มาตรฐานของสินค้า
  • สวัสดิภาพสัตว์
  • ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม
  • กฎหมายแรงงาน
  • มาตรฐานด้านแรงงาน

ตัวอย่างเช่น ประเทศ U ห้ามนำเข้าสินค้าเกี่ยวกับมะพร้าวจากประเทศ T ด้วยประเด็นสวัสดิภาพสัตว์ โดยให้เหตุผลว่า ประเทศ T ใช้ลิงเก็บมะพร้าวจากสวน ซึ่งเป็นการกระทำที่ถือว่าเป็นการทรมาณสัตว์

นอกจากนี้ การกีดกันทางการค้าด้วยวิธีที่ไม่ใช่ภาษียังสามารถทำได้ด้วยวิธีอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอุปสรรคในการนำเข้าสินค้า ตัวอย่างเช่น การกำหนดคุณภาพสินค้าเอาไว้มากเกินปกติ และ การยืดเวลาตรวจสอบสินค้านำเข้าให้นานกว่าปกติ

Tariff Barriers คืออะไร

สรุปให้รวบรัดกว่านั้น มาตรการกีดกันทางการค้าทางภาษี (Tariff Barriers) คือ การกีดกันทางการค้าที่จะทำให้สินค้านำเข้าแพงขึ้นจนผู้ซื้อไม่อยากนำเข้าสินค้าดังกล่าว เพื่อทำให้สินค้าจากต่างประเทศไม่ถูกนำเข้ามาแข่งขันภายในประเทศได้ง่าย

มาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร คืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง

มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-tariff Barriers/Non-tariff Measures) หมายความถึงมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร ซึ่งเป็นกฎระเบียบข้อบังคับของภาครัฐบาลที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศได้แก่ มาตรการกึ่งภาษีอากร การควบคุมราคา การควบคุมปริมาณข้อกำหนดในการนำเข้าสินค้าบางชนิด การตรวจสอบคุณภาพสินค้า การตรวจสอบแหล่ง ...

มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรมีลักษณะอย่างไร

มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากร (NTMs) มักถูกมองว่าเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าหรือเป็นอุปสรรคทางการค้าที่ประเทศต่างๆนำมาใช้ เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตและผู้บริโภคของตน การติดตามการกำหนดมาตรการ NTMs ในกรอบพหุภาคี ได้เน้นการดูผลจากกระบวนการระงับข้อพิพาททางการค้าต่างๆขององค์การการค้า

NTMs หรือ Non Tariff Measures มีความหมายว่าอย่างไร

๑.๒ มาตรการที่มิใช่ภาษี(Non - Tariff Measures: NTMs) มาตรการที่มิใช่ภาษี (NTMs) หมายถึง มาตรการที่นอกเหนือจากภาษีศุลกากรทั่วไป ซึ่งอาจมีผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อสินค้า ปริมาณการค้าหรือราคาในระบบการค้าระหว่างประเทศ๑๐ ๖ ถือได้ว่าเป็นทั้งแม่บทของกฎเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศและเครื่องมือเกี่ยวกับการค้าโลก