ตัวอย่างโครงการพัฒนาอาชีพ กศน

โครงการพัฒนาผู้เรียน "ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพิ่มรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี"

          ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ มียุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพ   และขีดความสามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้และเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม  สำนักงาน กศน. จึงได้ดำเนินการปรับปรุงเอกสารประกอบการใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบ   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยการจัดทำแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำตามหลักสูตร กศน.พุทธศักราช ๒๕๕๑ และปรับสาระการเรียนรู้ ๕ สาระได้แก่ สาระทักษะการเรียนรู้  สาระความรู้พื้นฐาน สาระการประกอบอาชีพ สาระทักษะการดำเนินชีวิต และสาระการพัฒนาสังคม โดยให้มีความชัดเจนในเรื่องการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะด้านอาชีพที่สอดคล้องกับกลุ่มอาชีพใหม่ ๕ ด้าน คือ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และบริหารจัดการและการบริการ

          เพื่อสนองนโยบายดังกล่าว ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพระนครศรีอยุธยา  จึงได้จัดโครงการ “ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพิ่มรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี”     ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์ทางด้านอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ มีความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตชิ้นงานเพิ่มมากขึ้น และเพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          กศน.ตำบลเกาะเรียนจึงได้ดำเนินการตามนโยบายของ สำนักงาน กศน.ได้จัดโครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพิ่มรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เน้นในด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาของ กศน.ตำบลเกาะเรียน และ กศน.ตำบลคลองสวนพลู จำนวน ๔๐ คน กำหนดให้มีการอบรมจำนวน ๒ วันคือวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ จะเป็นการบรรยายโดยวิทยากรคือ นายไพฑูรย์ การสมศาสตร์   วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ จะลงมือภาคปฏิบัติ มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน ๕๑ คนโดยมีนายลำดวน   ไกรสัมฤทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน และนางซ่าร่าห์ วิเศษศักดิ์ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียนเป็นประธานในพิธีเปิด

    วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

         

ตัวอย่างโครงการพัฒนาอาชีพ กศน

         

ตัวอย่างโครงการพัฒนาอาชีพ กศน

         

ตัวอย่างโครงการพัฒนาอาชีพ กศน

         

ตัวอย่างโครงการพัฒนาอาชีพ กศน

กิจกรรมภาคฝึกปฏิบัติวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ 

         วิทยากรให้ความรู้ นางภคมน  ศรีสำอางค์

          

ตัวอย่างโครงการพัฒนาอาชีพ กศน

          

ตัวอย่างโครงการพัฒนาอาชีพ กศน

          

ตัวอย่างโครงการพัฒนาอาชีพ กศน

          

ตัวอย่างโครงการพัฒนาอาชีพ กศน

          

ตัวอย่างโครงการพัฒนาอาชีพ กศน

         กิจกรรมโครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพิ่มรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ของ กศน.ตำบลเกาะเรียนได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วขอขอบพระคุณคณะทีมงานทุกท่านได้แก่ นายพานิช  ศรีงาม ผอ.กศน.อย., อ.เอมอร  บริบูรณ์ ที่ปรึกษาโครงการ อ.สุภาพ ไกรทอง พิธีกร , อ.จีรภา  โกพัฒน์ตา ครูอาสาฯ กศน.ตำบลเกาะเรียนและเป็นที่ปรึกษา ที่ดี , อ.จักรกฤดิ  ไตรสารศรี ครู กศน.ตำบลคลองสวนพลู , อ.สิทธิ  ศรีทองคำ ครู กศน.ตำบลกะมัง ที่มาช่วยรับรายงานตัวและช่วยถ่ายรูปในโครงการค่ะ

1. ชื่อโครงการ  โครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ (ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน)

2.ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์/ จุดเน้นของสำนักงาน กศน. ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพการศึกษา จุดเน้นการดำเนินงาน 1.6 มุ่งเน้นการฝึกหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในวิชาช่างพื้นฐาน( ช่างไม้ ช่างปูน ช่างเชื่อม ช่างก่อสร้าง ช่างประปา       ช่างไฟฟ้า ฯลฯ) และวิชาชีพระยะสั้นอื่นๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน บริบทของพื้นที่ และส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอาชีพ ในอันที่จะประกอบอาชีพที่สร้างรายได้ได้จริง ยุทธศาสตร์ที่ ๓ จัดการศึกษา

เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทุกช่วงวัยและพัฒนาคุณภาพชีวิต จุดเน้นการดำเนินงาน 3.5 ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนในเชิงรุกที่หลากหลาย ทันสมัย สร้างสรรค์ ต่อเนื่อง และตอบสนองความต้องการของประชาชนและชุมชนและความจำเป็นเร่งด่วนต่างๆของแต่ละชุมชน รวมทั้งมีการบูรราการความรู้ในชุมชนเพื่อเชื่อมโยงกับหลักสูตรต่างๆของ กศน. และใช้ทุนทางสังคมของแต่ละชุมชนให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ โดยใช้ กศน.ตำบล/แขวง ที่ดำเนินการอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน/ ผู้รับบริการ

การศึกษาต่อเนื่อง

ตัวบ่งชี้ที่ 6  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่อง

          มาตรฐานที่ 2 คุณภาพการจัดการศึกษา/ การให้บริการ

ตัวบ่งชี้ที่ 1  คุณภาพของหลักสูตร

ตัวบ่งชี้ที่ 3  คุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูและผู้สอนที่เน้นผู้เรียน/                                     ผู้รับบริการเป็นสำคัญ

ตัวบ่งชี้ที่คุณภาพผู้สอน/วิทยากรสอนการศึกษาต่อเนื่อง

ตัวบ่งชี้ที่คุณภาพสื่อที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน/ผู้รับบริการ

ตัวบ่งชี้ที่คุณภาพการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

ตัวบ่งชี้ที่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

3. หลักการและเหตุผล

                   พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551  มาตราที่ 6 (1) ความเสมอภาคในการเข้าถึงและได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง ทั่วถึง เป็นธรรมและมีคุณภาพเหมาะสมกับสภาพชีวิตของประชาชน การให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้  มาตราที่ 7(1) ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนและสังคม ที่ใช้ความรู้และภูมิปัญญาเป็นฐานในการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงและคุณภาพชีวิต ตามแนวทางการพัฒนาประเทศ (2)ภาคีเครือข่ายเกิดแรงจูงใจและมีความพร้อมในการมีส่วนร่วมเพื่อจัดกิจกรรมการศึกษา  มาตรา  9(1)ผู้เรียนเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์ มีส่วนร่วมในกิจกรรม การเรียนรู้และสามารถเลือกรับบริการได้หลากหลายตามความต้องการของตนเอง  และจากผลการประเมินสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มาตรฐานที่ 1 ตัวบ่งชี้ที่ 1.6  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทางการศึกษาต่อเนื่อง  1.7 ผู้เรียนมีงานทำหรือมีรายได้เสริม มีทักษะในการทำงาน  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริตยุทธศาสตร์ที่ ๑ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพการศึกษา จุดเน้นการดำเนินงาน 1.6 มุ่งเน้นการฝึกหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในวิชาช่างพื้นฐาน( ช่างไม้ ช่างปูน ช่างเชื่อม ช่างก่อสร้าง ช่างประปา ช่างไฟฟ้า ฯลฯ) และวิชาชีพระยะสั้นอื่นๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน บริบทของพื้นที่ และส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอาชีพ ในอันที่จะประกอบอาชีพที่สร้างรายได้ได้จริง ยุทธศาสตร์ที่ ๓ จัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทุกช่วงวัยและพัฒนาคุณภาพชีวิต จุดเน้นการดำเนินงาน 3.5 ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนในเชิงรุกที่หลากหลาย ทันสมัย สร้างสรรค์ ต่อเนื่อง และตอบสนองความต้องการของประชาชนและชุมชนและความจำเป็นเร่งด่วนต่างๆของแต่ละชุมชน รวมทั้งมีการบูรราการความรู้ในชุมชนเพื่อเชื่อมโยงกับหลักสูตรต่างๆของ กศน. และใช้ทุนทางสังคมของแต่ละชุมชนให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ โดยใช้ กศน.ตำบล/แขวง ที่ดำเนินการอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด

                   กศน.ตำบลบ้านหวด ได้จัดกิจกรรมเพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนทั่วไปในตำบลบ้านหวดอาทิ การสานตะกร้าพลาสติก  การทำอาหารและขนมไทย  การสานพรมเช็ดเท้า และการเย็บกระเป๋าผ้าด้นมือ  ซึ่งมีการต่อยอดในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ยังมีประชาชนอีกหลายกลุ่มที่ยังมีความต้องการในการร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและกอร์ปกับปัจจุบันเศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก มีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น จึงเห็นว่าควรจะได้มีการจัดฝึกอาชีพให้กับประชาชนที่สนใจ เพื่อจัดการศึกษาพัฒนาความรู้ความสามารถในการเลือกช่องทางมองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ ทักษะอาชีพและการบริหารจัดการ ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

                   กศน.ตำบลบ้านหวด ได้เล็งเห็นความสำคัญความต้องการของประชาชนดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ(ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน)ดังกล่าวขึ้น

 

4. วัตถุประสงค์

            1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนที่ว่างงาน สามารถเลือกและมองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการได้

          2.  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สร้างอาชีพเสริมเพิ่มค่าครองชีพในการดำรงชีวิตประจำวันให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

5.เป้าหมาย

เชิงปริมาณ   

-  ประชาชนที่ว่างงาน หรือมีอาชีพอยู่แล้วต้องการต่อยอดอาชีพเดิม หรือเปลี่ยนอาชีพใหม่ หรือหาอาชีพเสริม   จำนวนผู้รับบริการ 86 คน

6) วิธีดำเนินการ  ระบุกิจกรรมหลักที่ต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

กิจกรรมหลัก

วัตถุประสงค์

กลุ่ม

เป้าหมาย

เป้าหมาย

พื้นที่ดำเนินการ

ระยะเวลา

งบประมาณ

1. หลักสูตรระยะสั้น(ไม่เกิน 30 ชั่วโมง) (งบทักษะชีวิต)

1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนที่ว่างงาน สามารถเลือกและมองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการได้

2.  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สร้างอาชีพเสริมเพิ่มค่าครองชีพในการดำรงชีวิตประจำวันให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

นักศึกษาและประชาชนทั่วไป

20 คน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวด

มกราคม-มิถุนายน 2558

2,300 บาท

กิจกรรมหลัก

วัตถุประสงค์

กลุ่ม

เป้าหมาย

เป้าหมาย

พื้นที่ดำเนินการ

ระยะเวลา

งบประมาณ

2. หลักสูตรช่างพื้นฐาน

1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนที่ว่างงาน สามารถเลือกและมองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการได้

2.  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สร้างอาชีพเสริมเพิ่มค่าครองชีพในการดำรงชีวิตประจำวันให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

นักศึกษาและประชาชนทั่วไป

33 คน

พื้นที่ตำบลบ้านหวด

มกราคม-มิถุนายน 2558

29,700 บาท

3.หลักสูตรพัฒนาอาชีพ(ต่อยอดอาชีพเดิม)

1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนที่ว่างงาน สามารถเลือกและมองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการได้

2.  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สร้างอาชีพเสริมเพิ่มค่าครองชีพในการดำรงชีวิตประจำวันให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

นักศึกษาและประชาชนทั่วไป

33 คน

พื้นที่ตำบลบ้านหวด

มกราคม-มิถุนายน 2558

29,700 บาท

4. นิเทศติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินโครงการฯ

เพื่อติดตาม ประเมินผล ความสำเร็จการจัดกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอาชีพ

86 คน

ตำบลบ้านหวด

อ.งาว

จ.ลำปาง

มกราคม  

255๙มิถุนายน 2559

-

7) วงเงินงบประมาณทั้งโครงการ

            แผนงาน : ขยายโอกาสและพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ผลผลิตที่ 4  ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบ กิจกรรมจัดการศึกษานอกระบบ(งบดำเนินงาน)เพื่อดำเนินกิจกรรมจัดการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ : หลักสูตรระยะสั้น (ไม่เกิน 30 ชั่วโมง) จำนวน  2,300 บาท

          1. หลักสูตรระยะสั้น(ไม่เกิน 30 ชั่วโมง) (งบทักษะชีวิต)

- ค่าวิทยากร                 2,300  บาท

          แผนงาน : เร่งรัดและผลักดันการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน (งบรายจ่ายอื่น) กิจกรรมส่งเสริมศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน จำนวน  59,400 บาท

          1. หลักสูตรช่างพื้นฐาน

                   - ค่าวิทยากร                 10,000  บาท

                   - ค่าวัสดุ                               19,700  บาท

                             รวม                 29,700  บาท

          2. หลักสูตรพัฒนาอาชีพ(ต่อยอดอาชีพเดิม)

                    - ค่าวิทยากร                 10,000  บาท

                   - ค่าวัสดุ                               17,700  บาท

                             รวม                 27,700  บาท

หมายเหตุ   ค่าใช้จ่ายสามารถถั่วเฉลี่ยได้ตามค่าใช้จ่ายจริง

8) แผนการใช้จ่ายงบประมาณ    ระบุแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามกิจกรรมโดยจำแนกเป็นรายไตรมาส

กิจกรรมหลัก

ไตรมาส 1

(ต.ค.ธ.ค.พ.ศ2557)

ไตรมาส 2

(ม.ค.มี.ค.พ.ศ2558)

  ไตรมาส 3

 (เม.ย.มิ.ย.พ.ศ2558)

    ไตรมาส 4

 (ก.ค.ก.ย.พ.ศ2558)

การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

-

/

/

-

บริหารจัดการ/นิเทศ

-

/

/

-

9) ผู้รับผิดชอบโครงการ            กศน.ตำบลบ้านหวด

10) เครือข่าย                       อบต.ตำบลบ้านหวด

                                      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวด

                                      โรงเรียนบ้านหวด,โรงเรียนปางหละ,โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๘๕

11) โครงการที่เกี่ยวข้อง           โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

12) ผลลัพธ์ (Outcome)        

ประชาชนที่ได้รับการฝึกอาชีพ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ หรือเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้

13) ดัชนีชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ

          13.1 ตัวชี้วัดผลผลิต (Output)

                   - เชิงปริมาณ     จำนวนผู้รับบริการ  86   คน

                   - เชิงคุณภาพ     ประชาชนที่ได้เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาหลักสูตรที่เข้ารับการอบรม

13.2 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcome)

          1. ผู้เข้ารับการฝึกอาชีพมีความพึงพอใจต่อการฝึกอาชีพตามที่ตนเองต้องการ ตามที่จัดให้

2. ผู้เข้ารับการฝึกอาชีพสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพ หรืออาชีพเสริมต่อไป ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

14) การติดตามและประเมินผลโครงการ   ระบุวิธีการติดตามและเมินผลโครงการ

           1.  ติดตามจากการสุ่มตรวจและนิเทศ    

           2. ติดตามจากประชาชน ที่เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอาชีพนำไปใช้ประโยชน์