นันยางเท็กซ์ไทล์ ผู้บริหาร

ธุรกิจสิ่งทอครบวงจรเพื่อการส่งออก 100 % เริ่มตั้งแต่กระบวนการ ปั่นด้าย, ทอผ้า, ย้อมผ้า และผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป บริษัทฯ มีความมั่นคงมากกว่า 50 ปี ที่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของบริษัทชั้นนำในธุรกิจสิ่งทอครบวงจรของประเทศ, ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2000 และได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI, มีพนักงานมา

กรุงเทพฯ-20 พ.ย.-เอสซีจี กลุ่มบริษัท นันยางเท็กซ์ไทล์ (NANYANG TEXTILE GROUP หรือ NYG) โดย นายวิบูลย์ ตวงสิทธิสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ที่สามจากซ้าย) และ ทรูบิสิเนส ในเครือทรู โดย นายทรงธรรม เพียรพัฒนาวิทย์ (ที่สามจากขวา) หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจองค์กร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น

นันยางเท็กซ์ไทล์ เปิด “แฮช ดีไซเนอร์ ฮับ” และ “นิตเต็ด แฟบริก โคดีไซเนอร์ สเปซ” อาณาจักรผ้าครบวงจร ตั้งเเต่ให้ความรู้เรื่องผ้า การออกแบบแพตเทิร์น การผลิตเพื่อจำหน่าย ขายผ้าดี ซื้อขั้นต่ำได้ อยู่ใจกลางซอยสุขสวัสดิ์ 35 หวังเจาะกลุ่มดีไซเนอร์หน้าใหม่ เเละผู้ที่อยากมีธุรกิจเสื้อผ้าเป็นของตัวเอง  


เป็นเพียง 1% อุตสาหกรรมสิ่งทอของโลกที่ทำธุรกิจครบวงจร สำหรับ “นันยางเท็กซ์ไทล์” ให้บริการด้านสิ่งทอแบบครบวงจรมายาวนานกว่า 62 ปี ตั้งแต่การปั่นเส้นด้ายไปทอเป็นผ้าผืน จนถึงการตัดเย็บเสื้อผ้า ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในฐานะผู้นำอาเซียนด้านนวัตกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มครบวงจร ซึ่งให้บริการแบบมืออาชีพ มีธุรกิจในเครือ 14 บริษัท มีพนักงานกว่า 16,000 คน

ล่าสุด กลุ่มบริษัทนันยางเท็กซ์ไทล์ ภายใต้ผู้บริหาร คุณวิบูลย์ ตวงสิทธิสมบัติ ซีอีโอของกลุ่มบริษัทนันยางเท็กซ์ไทล์ เปิดตัว “แฮช ดีไซเนอร์ ฮับ” อาณาจักรผ้ายืดนวัตกรรมยุคใหม่ ใจกลางซอยวัดสน ซอยสุขสวัสดิ์ 35 แหล่งค้าส่งผ้ายืดที่ใหญ่ที่สุดในไทย 

นอกจากนั้นยังเปิดจุดนัดพบ สำหรับผู้ที่สนใจทำธุรกิจเสื้อผ้าตั้งแต่ให้ความรู้เรื่องวัตถุดิบ การออกแบบแพตเทิร์น จนถึงการผลิตเพื่อจำหน่าย หรือ  “นิตเต็ด แฟบริก โคดีไซเนอร์ สเปซ” Knitted Fabric Co-designer Space

นันยางเท็กซ์ไทล์ ผู้บริหาร

คุณวิบูลย์ ตวงสิทธิสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) กลุ่มบริษัทนันยางเท็กซ์ไทล์ กล่าวว่า กลุ่มบริษัทนันยางเท็กซ์ไทล์ เป็นผู้นำธุรกิจสิ่งทอและโซลูชั่นการผลิตเครื่องนุ่งห่มแบบครบวงจรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มากว่า 62 ปี ด้วยนวัตกรรมผ้าผืนที่ผลิตให้กับแบรนด์เสื้อผ้าชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศหลากหลายแบรนด์ อาทิ ไนกี้ ยูนิโคล่ โอ๊ค-ลี่ย์ และ มูจิ มีกำลังการผลิต 58 ล้านตัวต่อปี จากโรงงานทั้งหมด 6 แห่ง ในไทย สปป.ลาว และเวียดนาม

คุณวิบูลย์ บอกต่อว่า ตลาดหลักของกลุ่มบริษัทจะเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อจำนวนมาก หรือการสั่งซื้อล็อตใหญ่ แต่ด้วยนโยบายขององค์กรที่ต้องการให้ระบบนิเวศน์ของธุรกิจสิ่งทอและแฟชั่นในประเทศไทยเติบโต ประกอบกับการเห็นถึงความสามารถของคนไทยเจเนอเรชั่นใหม่ๆ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ไม่แพ้ต่างประเทศ และเข้ามาประกอบธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นมากขึ้น จึงเปิด แฮช ดีไซเนอร์ ฮับ เพื่อเจาะตลาดดีไซเนอร์ที่ต้องการใช้วัตถุดิบคุณภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ต้องการเติบโตในธุรกิจเสื้อผ้าให้สามารถเข้าถึงวัตถุดิบคุณภาพทัดเทียมกับแบรนด์ในต่างประเทศ

นันยางเท็กซ์ไทล์ ผู้บริหาร

“แฮช ดีไซเนอร์ ฮับ เป็นอาณาจักรผ้ายืดนวัตกรรมยุคใหม่สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย ส่วน Knitted Fabric Co-Designer Space คือ จุดนัดพบคนรักเสื้อผ้าให้ความรู้ตั้งแต่วัตถุดิบ หรือผ้าแต่ละชนิด รูปแบบแพตเทิร์น จนถึงการตัดเย็บเพื่อจัดจำหน่าย โดยเฉพาะเรื่องวัตถุดิบนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบและตัดเย็บ หากเข้าใจตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบ ก็สามารถพัฒนารูปแบบของเสื้อผ้าไปได้อย่างหลากหลาย” 

โดย แฮช ดีไซเนอร์ ฮับ ได้คัดสรรผ้านวัตกรรมเดียวกับที่จำหน่ายให้กับแบรนด์ดังต่างๆ และเหมาะสมสำหรับการทำตลาดในประเทศนับพันรายการมาจำหน่ายในราคาเริ่มต้นกิโลกรัมละ 160-460 บาท ด้วยยอดสั่งซื้อขั้นต่ำเพียง 3 กิโลกรัม โดยลูกค้า 80% เป็นลูกค้าที่เคยผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายอยู่แล้ว แต่ต้องการลองผ้าชนิดใหม่ที่มีนวัตกรรม ส่วนอีก 20% เป็นผู้ที่ต้องการเริ่มต้นสร้างแบรนด์ของตัวเอง

นันยางเท็กซ์ไทล์ ผู้บริหาร

สำหรับดีไซเนอร์และผู้ประกอบการธุรกิจเสื้อผ้าที่สนใจ สามารถเข้ามาใช้บริการได้ที่ HATCH Designer Hub ซอยสุขสวัสดิ์ 35 (วัดสน) เปิดให้บริการวันจันทร์-วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. มีที่จอดรถ เครื่องดื่ม และ WiFi ให้บริการฟรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02 816 8232 หรือติดตามความเคลื่อนไหวของกิจกรรมต่างๆ ทาง  facebook.com/hatchdesignerhub/

ธุรกิจสิ่งทอครบวงจรเพื่อการส่งออก 100 % เริ่มตั้งแต่กระบวนการ ปั่นด้าย, ทอผ้า, ย้อมผ้า และผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป บริษัทฯ มีความมั่นคงมากกว่า 60 ปี ที่ติดอันดับ 1 ของบริษัทชั้นนำในธุรกิจสิ่งทอครบวงจรของประเทศ, ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2000 และได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI, มีพนักงานมากกว่า 14,000 คน มีโรงงานทั้งในและต่างประเทศ มากกว่า 13 โรงงาน มูลค่าการส่งออกมากกว่า 8,000 ล้านบาทต่อปี

“เบน-วิบูลย์ ตวงสิทธิสมบัติ” ซีอีโอ กลุ่มบริษัทนันยางเท็กซ์ไทล์ ธุรกิจสิ่งทอครบวงจรสัญชาติไทย บอกถึงความเปลี่ยนแปลงสุด “ท้าทาย” ที่กำลังเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

แม้จะเป็นบริษัทที่ค่อนข้าง “โลว์โปรไฟล์” ด้วยเหตุผลที่ผู้บริหารมักใช้ปฏิเสธการเป็นข่าวว่า “คนอื่นรู้ดีกว่าผมเยอะ” แต่สำหรับ “นันยางเท็กซ์ไทล์” ที่นี่คือ อาณาจักรธุรกิจสิ่งทอรายใหญ่ ที่ขยับจากบริษัทแห่งประเทศไทย ไปลงสนามอยู่ในหลายประเทศ โดยเข้าไปลงทุนทั้งในจีน สหรัฐอเมริกา และลาว และมีแผนจะขยายโรงงานไปยังกัมพูชาและพม่าเร็วๆ นี้

มีโรงงานผลิตถึง 16 แห่ง แถมเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่ทำธุรกิจสิ่งทอครบวงจร เรียกว่าตั้งแต่ ขายเส้นด้าย ขายผ้า ไปจนเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยมีกำลังผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปประมาณ 37 ล้านชิ้นต่อปี ผลิตผ้าได้กว่า 17,000 ตัน และผลิตเส้นด้ายน้ำหนักรวมถึง 41 ล้านปอนด์ ต่อปี !

การออกมาพูดถึงสถานการณ์สิ่งทอในครั้งนี้ จึงมองลอดผ่านสายตาของคน “เล่นจริง เจ็บจริง”

“วันนี้จีนไม่ได้มีต้นทุนที่ถูกที่สุดอีกแล้ว บวกกับตอนนี้ก็มีเรื่องของข้อตกลงทางการค้าทั้งหลายที่กำลังจะเกิดขึ้น เหล่านี้จะทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอเปลี่ยนไปอย่างมาก ค่าแรง ไม่ใช่ตัวแปรแห่งชัยชนะอีกต่อไป”

เมื่อโจทย์ไม่ใช่ค่าแรงที่ถูก แต่คือการทำต้นทุนให้ถูก ต้องมองสิทธิประโยชน์ทางภาษี ขณะที่ “Mindset” ลูกค้าก็เปลี่ยนไป “ราคา” ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

“กระทั่งบายเออร์ (ผู้ซื้อ) เอง วันนี้ก็ชัดเจนว่า ซื้อของแล้วไม่ค่อยต่อมาก เพราะว่า ค่าแรงทุกประเทศขึ้นเหมือนกันหมด วันนี้จีนค่าแรงแพงกว่าไทย ขณะที่ค่าแรงไทย อินโดฯ กัมพูชา ก็ปรับขึ้น ฉะนั้นเท่ากับว่า บายเออร์ที่หวังว่าจะซื้อของถูกคงไม่มีอีกแล้ว และเริ่มเข้าใจว่า ราคาจะไม่ลง มีแต่จะเพิ่มขึ้น”

ในยุคที่เกมเปลี่ยน โจทย์ที่โยนใส่ธุรกิจในวันนี้คือ “ลูกค้าจะซื้อกับใคร? ”

เขาบอกว่า ลูกค้าไม่เพียงต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ มีระบบ มีมาตรฐาน ส่งมอบตรงเวลา เหมือนที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ยังปรารถนา บริษัทที่มี “จรรยาบรรณ” ในการทำธุรกิจด้วย ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงานอย่างถูกกฎหมาย ดูแลความปลอดภัยและความเป็นอยู่ของพนักงาน กระทั่งสินค้าที่เป็นมิตรต่อโลกและสิ่งแวดล้อม

เหล่านี้ล้วนเป็น “Priority” ที่แบรนด์ระดับโลกให้ความตระหนักถึง

“เราเริ่มทำเรื่องนี้มา 7-8 ปี แล้ว มองว่า สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญ และไม่ใช่แค่เพื่อลูกค้าเท่านั้น แต่ผมเชื่อว่า การลดคาร์บอน ก็คือ การลดต้นทุนขององค์กรด้วย ทำอย่างไรจะให้คาร์บอนลดลง ก็ต้อง ทำกระบวนการทำงานให้สั้นลง ใช้เวลา และทรัพยากรให้น้อยลง ต้นทุนก็ถูกลงด้วย”

อีกหัวใจสำคัญ ซึ่งดูจะเป็น “ดีเอ็นเอ” ของพวกเขาไปแล้ว ก็คือ การพัฒนานวัตกรรม (Innovation) ไม่ใช่แค่เพิ่งเริ่มทำ หรือ ตามกระแสใครเขา แต่สำหรับ นันยางเท็กซ์ไทล์ พวกเขาเริ่มเรื่องนี้มากว่า 20 ปีแล้ว

ตึก NIC หรือ Nan Yang Inspiration Center สร้างขึ้นเพื่อยืนยันจุดยืนในเรื่องนี้ ที่นี่เป็นแหล่งรวมผลงานนวัตกรรมของนันยาง ที่ทำร่วมกับพาร์ทเนอร์ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา

เขาบอกว่า แม้รับจ้างผลิตให้กับแบรนด์ระดับโลก แต่ในมุมมองของเขา ก็ไม่ได้ต้องการแค่ให้ลูกค้ามาสั่งซื้อสินค้าแล้วจบ แต่ยังต้องการทำ “นวัตกรรม” ไปพร้อมกับลูกค้า

“ผมมองว่า นี่เป็นการสร้างอนาคตร่วมกัน ลูกค้าทุกเจ้า ถ้าซื้อผมแค่ปีเดียวแล้วหายไป ผมว่า เขาเสียเวลา ผมก็เสียเวลา ผมอยาก ให้เขารู้สึกว่า เราจะทำอินโนเวชั่นไปพร้อมกัน เมื่อเขาเห็นความตั้งใจของเรา เขาก็คงอยากทำกับเราต่อไป”

เขายกตัวอย่างแบรนด์ “ไนกี้” ที่ทำการค้าร่วมกันมากว่า 20 ปี ตั้งแต่ยอดขายไนกี้ปีละแค่กว่า 100 ล้านดอลลาร์ จนวันนี้พุ่งไปถึง 8-9 พันล้านดอลลาร์แล้ว

และการทำนวัตกรรม ไม่จำเป็นต้องทำแบบโดดเดี่ยว แต่สามารถจับมือกับพันธมิตรเก่งๆ มาเติมเต็มจุดแข็งให้ได้ เช่นเดียวกับการจับมือ “อินวิสต้า” หนึ่งในผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกในกลุ่มผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสารตั้งต้นทางเคมี โพลิเมอร์ และเส้นใยประเภทต่างๆ ฯลฯ เพื่อพัฒนาเนื้อผ้าที่มีส่วนผสมของ เส้นใยยืดสแปนเด็กซ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบชีวภาพ (Bio-derived spandex) อย่าง น้ำตาลเด็กโตรส จากข้าวโพด ช่วยลดการปล่อยก๊าซคอร์บอนไดออกไซค์ ให้น้อยกว่ากระบวนการผลิตเส้นใยยืดแบบเดิม และเป็นนวัตกรรมของอุตสาหกรรมเส้นด้ายและสิ่งทอ ที่ยังไม่มีผู้ผลิตมาก่อนในโลก

“อินวิสต้า มีแบรนด์สินค้าที่รู้จักกันทั่วโลก การได้ร่วมงานกันจะทำให้เรามีคนรู้จักมากขึ้น และเขาช่วยทำการตลาดให้เราด้วย สำหรับนันยาง เรามองหา คนที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน เป็นคนที่ทำอินโนเวชั่น ทำของแปลกๆ ใหม่ๆ และมองไปข้างหน้า”

เขาว่า “ความกลัว” ทำให้ปรับตัวเร็ว ส่วน “อินโนเวชั่น” เกิดได้เพราะใจรัก

และความรักในนวัตกรรม ก็ทำให้เห็นโอกาสใหม่ๆ “ไม่รู้จบ” เช่นเดียวกับการเตรียม "ขยายตลาด" เจาะธุรกิจผลิตชุดยูนิฟอร์มในไทย ซึ่งเขาบอกว่ายังเติบโตมาก เพราะองค์กรไม่ได้สนใจที่ของถูกอีกต่อไป แต่ต้อง “ดี” กับพนักงานด้วย

ทำธุรกิจสิ่งทอในวันนี้ท้าทายมากขึ้น เขาบอกว่า สิ่งทอเมืองไทย แม้คนธุรกิจนี้จะมีเชื้อชาติไทย แต่อย่าไปคิดว่า ต้องเป็นบริษัทเมืองไทย (Thai Company) เท่านั้น สิ่งที่ต้องมองคือ "การเป็นบริษัทแห่งภูมิภาค" (Regional Company) หรือ "มากกว่าภูมิภาค" (More Regional Company)

“อุตสาหกรรมสิ่งทอในโลกนี้ใหญ่โตมหาศาลมาก ขึ้นกับว่าคุณจะไปอยู่ที่ไหน เหมือนกับ ที่ไหนมีข้าวกิน มีข้าวขาย ก็ไปที่นั่น ที่ไหนแข่งขันได้ก็ไปที่นั่น”

โดยหัวใจของการเคลื่อนทัพออกนอกบ้าน เขาบอกว่า “คน” สำคัญที่สุด องค์กรต้องมีคนที่มีความสามารถและมีความพร้อม

สำหรับ นันยางเท็กซ์ไทล์ สินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดขององค์กรคือ “ลูกค้า” รองลงมาคือ “พนักงาน”

สำหรับธุรกิจที่ใครก็ว่า “Sunset” อาทิตย์อัศดง คนในสนามบอกเราว่า ทุกอุตสาหกรรมมีขึ้นมีลง สิ่งทอไทยถูกมองว่า Sunset ตั้งแต่ 20 ปีก่อน แต่วันนี้ก็ยังอยู่ได้ และยอดขายก็ไม่ได้เปลี่ยนไป นั่นสะท้อนถึงการปรับตัวของผู้ประกอบการไปตามเกมธุรกิจที่เปลี่ยนไป

เพราะถ้ามัวแต่จับลูกค้าราคาถูก อุตสาหกรรมนี้ “No sun” (ดับแสง) ไปนานแล้ว

วิบูลย์ ยังบอกว่า แม้จะเป็นบริษัทครอบครัว แต่นันยางเท็กซ์ไทล์ ก็เชื่อในการบริหารแบบมืออาชีพ โดยที่ผ่านมาจึงมีทีมงานมืออาชีพทั้งไทยและต่างชาติเข้ามาร่วมงานด้วยจำนวนมาก พร้อมขนาดนี้ แต่พอถามถึงแผนเข้าตลาดหลักทรัพย์ เจ้าตัวกลับตอบว่า..

เวลานี้ยังไม่มีความจำเป็น เพราะไม่ได้ต้องการระดมทุนเพื่อใช้เงิน

ที่สำคัญ “สิ่งทอไทย” ก็คงไม่เป็นที่สนใจเท่าไรนัก ในสายตานักลงทุน อยู่ดี

....................................................

ล้อมกรอบ

“เบน-วิบูลย์ ตวงสิทธิสมบัติ” คือ ทายาทรุ่น 2 ของกลุ่มบริษัทนันยางเท็กซ์ไทล์ ลูกชายคนโตของ “ชวลิต ตวงสิทธิสมบัติ” มีพี่น้อง 6 คน ศึกษามาทางด้านบริหารธุรกิจ และ MBA เริ่มเข้ามาในธุรกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 นันยางเท็กซ์ไทล์ เริ่มจากทำธุรกิจขายเสื้อผ้า มาผลิตเสื้อผ้าส่งออก จนพัฒนาสู่ธุรกิจสิ่งทอครบวงจร หลายคนอาจสับสนกับแบรนด์รองเท้าดังแต่ นันยางเท็กซ์ไทล์ ทำสิ่งทอเท่านั้นไม่มีรองเท้า ส่วนคำว่า “นันยาง” เป็นภาษาจีน แปลว่า “ทะเลใต้”