ชื่อ นามสกุล เป็นข้อมูลส่วน บุคคล ประเภท ใด

PDPA (Personal Data Protection Act, B.E. 2562 (2019)) คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562  โดยวันที่ 1  มิถุนายน 2565 เป็นวันที่ พ.ร.บ. PDPA นี้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายทั้งฉบับ


เหตุผลในการประกาศใช้ PDPA เนื่องมาจากเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ช่องทางสื่อสารต่างๆ มีหลากหลายขึ้น ทำให้การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลทำได้ง่ายขึ้น และหลายครั้งก็นำมาซึ่งความเดือดร้อนรำคาญหรือสร้างความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูล ตลอดจนสามารถส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศได้ด้วย จึงต้องมีกฎหมาย PDPA ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่รวมถึงการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลขึ้น

ชื่อ นามสกุล เป็นข้อมูลส่วน บุคคล ประเภท ใด

ข้อมูลส่วนบุคคล

คือข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรม และข้อมูลนิติบุคคล ไม่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ. PDPA คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้

ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ได้แก่ ชื่อ - นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, วันเกิด, อีเมล, การศึกษา, เพศ, อาชีพ, รูปถ่าย, ข้อมูลทางการเงิน นอกจากนี้ยังรวมถึง ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) ด้วย เช่น ข้อมูลทางการแพทย์หรือสุขภาพ, ข้อมูลทางพันธุกรรมและไบโอเมทริกซ์, เชื้อชาติ, ความคิดเห็นทางการเมือง, ความเชื่อทางศาสนาหรือปรัชญา, พฤติกรรมทางเพศ, ประวัติอาชญากรรม, ข้อมูลสหภาพแรงงาน เป็นต้น

สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ได้แก่

  • สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ (Right to be informed) 
  • สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access)
  • สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to data portability)
  • สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to object)
  • สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคล (Right to erasure (also known as right to be forgotten) 
  • สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล (Right to restrict processing)
  • สิทธิในการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (Right of rectification) 


ดูรายละเอียดในแต่ละประเด็นได้ที่: PDPA ในฐานะเจ้าของข้อมูล เรามีสิทธิทำอะไรได้บ้าง?

ชื่อ นามสกุล เป็นข้อมูลส่วน บุคคล ประเภท ใด

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล

  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) คือ บุคคลที่ข้อมูลระบุไปถึง
  • ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ “ตัดสินใจ” เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  • ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล “ตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ทั้งนี้บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าว ต้องไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล สามารถทำได้ในกรณีต่อไปนี้

  • ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูส่วนบุคคล
  • จัดทำเอกสารประวัติศาสตร์ หรือจดหมายเหตุเพื่อประโยชน์สาธารณะ การศึกษาวิจัยหรือการจัดทำสถิติ
  • ป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล
  • จำเป็นเพื่อปฏิบัติกฎหมาย หรือสัญญา
  • จำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือของบุคคลอื่น
  • จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ และการปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐ

ชื่อ นามสกุล เป็นข้อมูลส่วน บุคคล ประเภท ใด

การส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ (Cross-border Personal Data Transfer)

ประเทศปลายทางหรือองค์การระหว่างประเทศ ที่รับข้อมูลส่วนบุคลต้องมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  (PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) ที่เพียงพอ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล หรือเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย/สัญญา หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญเท่านั้น

บทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม PDPA

เพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคล หรือ (PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) ถูกนำไปใช้ในทางที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์มากกว่าโทษ การให้ข้อมูลแต่ละครั้งจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนให้ข้อมูล เช่นการให้ข้อมูลเพื่อจัดส่งสินค้า หากมีการขอข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับการจัดส่ง เจ้าของข้อมูลก็มีสิทธิปฏิเสธการให้ข้อมูลนั้น และในส่วนของผู้เก็บข้อมูล ก็ต้องรู้ขอบเขตในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล มีระบบในการควบคุม/ยืนยันตัวตนในการเข้าถึงข้อมูล และจำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบายองค์กรเพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม เพราะหากไม่ทำตาม PDPA อาจได้รับโทษดังนี้

พร้อมกันแล้วหรือยังกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ใกล้จะบังคับใช้ ซึ่งเป็นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่อาจจะถูกนำไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับการอนุญาติ หรือมีการเก็บข้อมูลไปโดยไม่ทันได้รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นจากทางฝั่งของผู้ประกอบการที่จัดเก็บข้อมูลจากการสมัครงาน หรือจากเจ้าของเว็บไซต์ต่างๆ ที่ต้องการเก็บข้อมูลของผู้ที่เข้ามาใช้งานในเว็บไซต์ เพื่อนำไปประมวลผลและพัฒนากับเว็บไซต์นั้นๆ แต่สำหรับใครที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดไว้ วันนี้เราขอพาทุกคนไปทำความเข้าใจกันให้ดีมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร ?

เมื่อพูดถึง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA เราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ข้อมูลหรือ Data ที่ได้รับการคุ้มครองนั้นคือข้อมูลประเภทใด เพราะอย่างที่เรารู้กันว่า ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีด้านการสื่อสารในรูปแบบดิจิทัลถูกนำมาปรับใช้มากมาย ซึ่ง ‘ข้อมูลส่วนบุคคล’ ได้ถูกจัดเก็บผ่านการสมัครสมาชิกหรือการให้ข้อมูลส่วนตัวผ่านทางช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นข้อมูลที่ได้จากคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถเข้าถึงได้อย่างอัตโนมัติ หรือถูกจัดไว้อย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บรวบรวมเพื่อประมวลผล เป็นส่วนหนึ่งของระบบข้อมูล หรือใช้ในการประมวลผลตามคำสั่งที่กำหนดไว้

สำหรับพ.ร.บ.ฉบับนี้ยังจะคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่สามารถอ้างอิงหรือระบุตัวตนของผู้ใช้งานหรือเจ้าของข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม และถ้าหากเจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูล นำข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ไปใช้เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของตนเอง ก็ควรที่จะต้องทำความเข้าใจถึงขั้นตอนการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนพื้นฐานและทำตามกฎหมายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมมากที่สุด

ข้อมูลส่วนบุคคลแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

อย่างที่ได้อธิบายไปข้างต้นแล้วว่าข้อมูลส่วนบุคคลคือข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้ทั้งในทางตรงและทางอ้อม โดยขอบเขตของการนำข้อมูลไปใช้นั้นจะต้องพิจารณาถึงความสามารถในการระบุไปถึงเจ้าของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการติดตามพฤติกรรมหรือกิจกรรมต่างๆ ที่สามารถเชื่อมโยงถึงเจ้าของข้อมูลเพื่อระบุตัวบุคคลได้ ซึ่งข้อมูลประเภทนี้ประกอบไปด้วย

  • ชื่อ-นามสกุล หรือชื่อเล่น
  • เลขประจำตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขบัตรประกันสังคม, เลขใบอนุญาตขับขี่, เลขประจำตัวผู้เสียภาษี, เลขบัญชีธนาคาร, เลขบัตรเครดิตต่างๆ และรวมไปถึงการถ่ายเอกสารหรือเก็บภาพสำเนาต่างๆ ของข้อมูลข้างต้น
  • ที่อยู่, อีเมล, หมายเลขโทรศัพท์
  • ข้อมูลของอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ เช่น IP Address, MAC address, Cookie ID เป็นต้น
  • ข้อมูลระบุทรัพย์สินของบุคคล เช่น ทะเบียนรถยนต์, โฉนดที่ดิน
  • ข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลข้างต้นได้ เช่น วันเกิดและสถานที่เกิด, เชื้อชาติ, สัญชาติ, น้ำหนัก, ส่วนสูง, ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่, ข้อมูลทางการแพทย์, ข้อมูลทางการศึกษา, ข้อมูลทางการเงิน, ข้อมูลการจ้างงาน เป็นต้น
  • ข้อมูลที่สามารถใช้ในการค้นหาข้อมูลส่วนบุคคลของคนอื่นๆ ในอินเทอร์เน็ต

ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว

แม้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวจะเป็นข้อมูลส่วนตัว แต่ข้อมูลที่ว่านั้นก็จะมีความละเอียดอ่อนและสุ่มเสี่ยงต่อการนำไปใช้ในการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ทำให้การเก็บข้อมูลต่างๆ นั้น ต้องทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ และต้องได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลด้วย

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ข้อมูลที่มีความอ่อนไหวต้องได้รับการจัดการและได้รับความคุ้มครองมากกว่าข้อมูลประเภทอื่นๆ นั้น เพราะว่าอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสิทธิเสรีภาพ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิเสรีภาพในความคิด ความเชื่อทางศาสนา การแสดงออก การชุมนุม สิทธิในชีวิตและร่างกาย การอยู่อาศัย การไม่ถูกเลือกปฏิบัติ หรือการเลือกปฏิบัติต่างๆ

  • เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์
  • ความคิดเห็นทางการเมือง
  • ความเชื่อในลิทธิ ศาสนา หรือปรัชญา
  • พฤติกรรมทางเพศ
  • ประวัติอาชญากรรม
  • ข้อมูลด้านสุขภาพร่างกาย ความพิการ หรือข้อมูลสุขภาพจิต
  • ข้อมูลสหภาพแรงงาน
  • ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ
  • ข้อมูลอื่นๆ ที่กระทบต่อเจ้าของข้อมูล

ข้อมูลที่ไม่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล

  • เลขทะเบียนบริษัท
  • ข้อมูลสำหรับการติดต่อทางธุรกิจต่างๆ ที่ไม่ได้ระบุถึงตัวบุคคล เช่น เบอร์โทรศัพท์ อีเมลที่ใช้ในการทำงาน อีเมลบริษัท ที่อยู่สำนักงาน เป็นต้น
  • ข้อมูลของผู้ตาย
  • ข้อมูลนิรนาม (Anonymous Data) ด้วย เนื่องจากมีกระบวนการทางเทคนิคที่ทำให้ข้อมูลนั้นไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ขอบเขตของการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้

ในการเก็บรวบรวม ใช้ เผยแพร่ หรือเก็บรักษาเพื่อใช้ในการประมวลผลนั้น สิ่งที่สำคัญเลยก็คือต้องทำตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ เนื่องจากการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลนั้น จะต้องมีการแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลให้กับเจ้าของข้อมูลทราบ พร้อมด้วยการเก็บบันทึกว่าจะนำข้อมูลนั้นไปใช้ในการประมวลผลอะไรบ้าง รวมไปถึงการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว จะต้องมีการแจ้งและขอความยินยอมอย่างชัดแจ้ง โดยต้องแจ้งให้ทราบว่าจะเก็บข้อมูลเหล่านั้นไปใช้สำหรับวัตถุประสงค์ใด ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลนานแค่ไหน และจะมีการคุ้มครองข้อมูลอย่างเหมาะสม

และเพื่อให้การเตรียมตัวของคุณกลายเป็นเรื่องง่าย สามารถวางแผนและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการที่ข้อมูลถูกละเมิด เลือกให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยดูแลการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายมากที่สุด คุณสามารถสร้างฟอร์มเพื่อรับคำขอ PDPA จากเจ้าของข้อมูลอย่างง่ายดายผ่าน PDPA Form ได้ทันที

อะไรบ้างที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล

1. “ข้อมูลส่วนบุคคล” คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมแต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมเฉพาะ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขประจำตัว ข้อมูลสุขภาพ ฯลฯ (มาตรา 6)

ทะเบียนรถ เป็นข้อมูลส่วนบุคคลไหม

ข้อมูลส่วนบุคคลแบ่งออกเป็นกี่ประเภท ที่อยู่, อีเมล, หมายเลขโทรศัพท์ ข้อมูลของอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ เช่น IP Address, MAC address, Cookie ID เป็นต้น ข้อมูลระบุทรัพย์สินของบุคคล เช่น ทะเบียนรถยนต์, โฉนดที่ดิน

สัญชาติ เป็น ข้อมูลอ่อนไหวไหม

ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว” (Sensitive data) หมายความว่า ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใดซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลใน ...

ข้อมูลส่วนบุคคลทางอ้อม มีอะไรบ้าง

ข้อมูลทางอ้อม.
ชื่อจริง นามสกุล.
ที่อยู่.
หมายเลขโทรศัพท์.
หมายเลขบัตรประชาชน.
Email..
รูปถ่ายของบุคลลนั้น ๆ.
ประวัติการศึกษา.