กล้าม เนื้อ แถบ ใน แถบ นอก

            กะบังลม (อังกฤษ: Diaphragm หรือ Thoracic diaphragm)
            เป็นแผ่นของกล้ามเนื้อโครงร่างในร่างกายขึงอยู่ด้านล่างของซี่โครงกะบังลมกั้นระหว่างช่องอก (ประกอบด้วยหัวใจ ปอด และซี๋โครง เป็นต้น) และช่องท้อง ทำหน้าที่สำคัญในการหายใจในทางกายวิภาคศาสตร์กะบังลมบางครั้งอาจหมายถึง โครงสร้างแบนอื่นๆ เช่น กะบังลมเชิงกรานหรือฐานเชิงกราน (pelvic diaphragm; เช่นในโรค "กะบังลมหย่อน" ที่หมายถึงการ หย่อนของฐานเชิงกรานทำให้ทวารหนัก มดลูก หรือกระเพาะปัสสาวะยื่นออกมานอกช่องคลอด) แต่โดยทั่วไปแล้วคำว่า "กะบังลม" หมายถึงกะบังลมหน้าอก สัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นเช่นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานมีกะบังลมหรือ โครงสร้างคล้ายกะบังลมแต่มีลักษณะจำเพาะที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตำแหน่งของปอดในช่องท้อง เป็นต้น

หน้าที่ของกล้ามเนื้อ หน้าที่ของกล้ามเนื้อกระบังลม หน้าที่ของกล้ามเนื้อหน้าท้อง
            กระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบหายใจจะทำงานได้ต้องมีองค์ประกอบอื่นๆร่วมกันคือ กระดูก และกล้ามเนื้อ
1. กระดูก (bone) กระดูกที่เกี่ยวข้องกับระบบการหายใจประกอบด้วย
            1.1 กระดูกสันหลังส่วนนอก (thoracic vertebrae) ซึ่งเป็นกระดูกที่เป็นที่เกาะของกระดูกซี่โครงโดยกระดูกสันหลังส่วน นอกมีทั้งหมด 12 ชิ้น
            1.2 กระดูกซี่โครง (ribs) กระดูกซี่โครงมีทั้งหมด 24 ชิ้น (12 คู่ ) ข้างละ 12 ชิ้นกระดูกซี่โครคู่ที่ 1-7จะโค้งจากระดูกสัน หลังตอนอกมาเกาะกับกระดูกอกทางด้านหน้าเรียกว่าทรูริบส์ (true ribs)กระดูกซี่โครงคู่ที่ 8-10 เชื่อมต่อกันและไปเชื่อมกับ กระดูกอ่อนของกระดูกซี่โครงที่อยู่ข้างบน กระดูกซี่โครงคู่ที่ 11-12 จะไม่มีกระดูกอ่อนและไม่มีการเชื่อมต่อกับกระดูกใด ๆ เรียกว่า กระดูกซี่โครงลอยหรือ โฟลติงริบส์ (Floating ribs)
            1.3 กระดูกอก (sternum) เป็นกระดูกที่อยู่ทางด้านหน้าของลำตัว มีรูปร่างแบนตรง ยาวประมาณ15-20 เซนติเมตร โดยเริ่ม จากบริเวณส่วนล่างของคอลงมาจนถึงส่วนบนของช่องท้องมีกระดูกซี่โครงมาเชื่อมต่อ 7 คู่ส่วนปลายด้านล่างของกระดูกเป็น กระดูกอ่อนยื่นออกมา เรียกว่าไซฟอยด์โพรเซสส์(xiphoid process) กระดูกต่าง ๆ เหล่านี้เชื่อมต่อกันเป็นโครงร่างของกระดูก ส่วนอก เรียกว่า กล่องอก (thoracic cage)

2. กล้ามเนื้อ (muscle) กล้ามเนื้อที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการหายใจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
            2.1 กล้ามเนื้อหายใจเข้า (inspiratory muscle) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อสำคัญคือ
                        2.1.1 กล้ามเนื้อกระบังลม (diaphragm) มีความสำคัญที่สุด อากาศที่หายใจเข้าประมาณร้อยละ 75เกิดจากการหด ตัวของกล้ามเนื้อนี้ขณะที่หายใจออกกล้มเนื้อกระบังลม มีลักษณะเป็นรูปโดม และเมื่อหายใจเข้ากล้ามเนื้อกระบังลมจะลดตัวต่ำ ลงเพิ่มขนาดของช่องอกในแนวตั้งให้มากขึ้น และยังช่วยดันให้ซี่โครงส่วนล่างเคลื่อนที่ขึ้นด้วยขณะที่หายใจแบบปกติ กล้ามเนื้อ กระบังลมจะเคลื่อนตัวต่ำลง 1-2เซนติเมตร แต่ถ้าหายใจเข้าเต็มที่กล้ามเนื้อกระบังลมอาจเคลื่อนตัวต่ำลงได้ถึง 10-12 เซนติเมตร เส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อกระบังลม คือ ประสาทเฟรนิก (phrenic nerve) ถ้าหากเส้นประสาทนี้ถูกทำลาย ทำให้กล้ามเนื้อ กระบังลมทำงานไม่ได้และเป็นอัมพาต
                        2.1.2 กล้ามเนื้อยึดซี่โครงด้านนอก (external intercostals muscle) มีความสำคัญน้อยกว่ากล้ามเนื้อกระบังลม โดยเมื่อ หดตัวจะทำให้อากาศไหลเข้าปอดได้ประมาณร้อยละ 25 การหดตัวของกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงด้านนอก ทำให้กระดูกซี่โครง ทางด้านหน้าเคลื่อนขึ้นด้านบนและออกไปทางด้านหน้าทำให้เพิ่มขนาดของช่องอกทางแนวนอน เส้นประสาทที่มาเลี้ยงคือ เส้น ประสาทระหว่างซี่โครง (intercostals nerve)
            2.2 กล้ามเนื้อหายใจออก (expiratory muscle) ในการหายใจธรรมดาไม่จำเป็นต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อ แต่อาศัย การคืนตัวกลับของปอดโดยปอดหดตัวกลับและเกิดการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดการหายใจเข้าแต่ถ้าหากมีการ หายใจออกมากกว่าธรรมดาจะมีการหดตัวของกล้ามเนื้อหายใจออก คือกล้ามเนื้อหน้าท้อง (abdominal muscle) ซึ่งจะไปดัน กล้ามเนื้อกระบังลมขึ้นทำให้ช่องอกแคบลง นอกจากนี้ยังมีความสำคัญและจำเป็นในการไอ จาม อาเจียน เบ่งปัสสาวะและ อุจจาระการหดตัวของกล้ามเนื้อยึดซี่โครงด้านใน (internal intercostals muscle) ก็ทำให้ซี่โครงลดต่ำลงทำให้เกิดการหายใจออก เช่นกัน

- การหายใจเข้า กล้ามเนื้อกระบังลมหดตัวส่วนโค้งของกะบังลมจะต่ำลงด้านล่าง กระดูกซี่โครงยกขึ้น ปริมาตรช่องอกเพิ่มขึ้น ความดันอากาศในปอดต่ำลง
- การหายใจออก กล้ามเนื้อกระบังลมคลายตัวกะบังลมจะอยู่ในสภาพโค้งขึ้นเหมือนเดิมพร้อมกับกระดูกซี่โครงและกระดูกอก ลดตัวลงปริมาตรของช่องอกลดลงเป็นจังหวะของการกระดูกซี่โครงลดลงปริมาตรช่องอกลดลงความดันเพิ่มขึ้นอากาศออก

กระบังลม
            - มีส่วนช่วยเปลี่ยนแปลงปริมาตรของช่องอกเป็นแผ่นกล้ามเนื้อเรียบแข็งแรงกั้นระหว่างช่องอกกับช่องท้อง
            - การหายใจเข้าและการหายใจออกซึ่งเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลมอยู่ในการบังคับของระบบประสาท อัตโนมัติแต่บางครั้งกล้ามเนื้อกระดูกซี่โครงกับกล้ามเนื้อกะบังลมทำงานไม่สัมพันธ์กัน โดยกะบังลมหดตัวในช่วงหายใจออก ทำให้เกิดการสะอึก ดังนั้นการหายใจเข้าจึงเป็นการทำให้ปริมาตรทรวงอกเพิ่มขึ้นได้มี 2 วิธี คือ
            1. การหดตัวของกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงแถบนอก ( External intercostals muscle )
            2. การหดตัวของกะบังลม ( Diaphragm )

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/กะบังลม
ที่มา : http://iyayaya.exteen.com/page-4