ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ใช้อะไรบ้าง

การย้ายที่อยู่นั้นเป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ อย่างการย้ายที่อยู่เพื่อไปทำงานหรือไปเรียนหนังสือ และเหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่พบได้มาก คือ การย้ายบ้านใหม่ที่จะต้องมีการย้ายสำเนาทะเบียนบ้านไปยังบ้านหรือคอนโดหลังใหม่ ซึ่งเจ้าของมือใหม่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าเรื่องนี้ต้องทำอย่างไรบ้าง ดังนั้นในบทความนี้เราจึงจะมาแนะนำเรื่องการย้ายทะเบียนบ้านว่าทำได้อย่างไร มีวิธีไหนบ้าง และมีเอกสารใดบ้างที่ต้องเตรียมเพื่อดำเนินการดังกล่าว

5 เรื่องสำคัญเกี่ยวกับการย้ายทะเบียนบ้านที่คุณควรรู้

เมื่อไปดูบ้านใหม่หรือคอนโดใหม่ หลายคนต่างก็ให้ความสำคัญกับรายละเอียดเกี่ยวกับการอยู่อาศัย, เฟอร์นิเจอร์ และการตกแต่ง จนเมื่อพร้อมที่จะเข้าอยู่แล้วก็มาคิดได้ว่าจะต้องทำเรื่องย้ายทะเบียนบ้านให้พร้อมด้วยเช่นกัน ซึ่งคนที่ยังไม่เคยย้ายทะเบียนบ้านมาก่อน อาจจะรู้สึกงง ๆ อยู่เหมือนกันว่าต้องทำอย่างไรดี และไม่แน่ใจว่าจริง ๆ แล้วต้องทำการย้ายทะเบียนหรือไม่ ดังนั้นมาดู 5 เรื่องสำคัญเกี่ยวกับการย้ายทะเบียนบ้านที่คุณควรรู้ต่อไปนี้ เพื่อจะได้เข้าใจมากขึ้น

1.ซื้อบ้านใหม่ ต้องย้ายทะเบียนบ้านหรือไม่

ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ใช้อะไรบ้าง

ทะเบียนบ้านเป็นเอกสารทางราชการที่มีความสำคัญ จะมีการระบุรายละเอียดของที่ตั้งบ้านและบุคคลต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ภายในบ้าน โดยทั่วไปแล้วเมื่อมีการย้ายที่อยู่ ทางทะเบียนราษฎร์ได้มีข้อกำหนดให้ผู้ที่ย้ายเข้าที่อยู่ใหม่ต้องทำการแจ้งย้ายเข้าบ้านภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการย้ายบ้าน  โดยหากไม่ทำตามจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่มีการย้ายเข้าที่อยู่อาศัยใหม่ เจ้าของบ้านจะต้องทำการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านภายในช่วงเวลาที่กำหนดดังกล่าว

ในกรณีที่เป็นลูกบ้านเดิมและต้องการย้ายทะเบียนบ้านเข้าที่อยู่ใหม่ ต้องแจ้งเจ้าบ้านเดิมให้ทำการย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านภายใน 15 วัน เพื่อไม่ให้โดนโทษปรับ เนื่องจากเป็นความผิดตามกฎหมาย ดังนั้นหากซื้อบ้านใหม่และต้องการย้ายเข้าทะเบียนบ้านหลังใหม่  อย่าลืมแจ้งเจ้าบ้านเดิมให้ทราบด้วย เพื่อให้ทำการย้ายชื่อออกเป็นไปอย่างถูกต้อง 

ข้อกำหนดอีกอย่างหนึ่งที่ควรรู้ คือ ตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ. 2535 กำหนดให้พื้นที่ 3 ตารางเมตรนั้น มีผู้อยู่อาศัยได้ 1 คน ดังนั้นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านจึงมีได้แค่ 1 คนเท่านั้น ซึ่งเมื่อเจ้าบ้านได้ย้ายเข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านนั้น ๆ เป็นเวลา 1 ปีและทำการขายบ้าน ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3 % ของราคาขายหรือราคาประเมิน (ขึ้นอยู่กับว่าราคาใดจะถูกกว่ากัน) ดังนั้นการมีทะเบียนบ้านจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

การย้ายทะเบียนบ้านเข้าเขตที่อยู่ใหม่นั้น มีความสำคัญคือจะทำให้เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัย มีสิทธิ์ได้รับการรักษาพยาบาลในเขตนั้น ๆ รวมถึงมีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการใช้เป็นเอกสารราชการสำหรับการดำเนินการต่าง ๆ ดังนั้นหากไม่อยากเสียสิทธิ์ที่ควรได้และเป็นการทำตามกฎหมายทะเบียนราษฎร์ ก็ควรทำเรื่องย้ายทะเบียนบ้านให้เรียบร้อย

2.สามารถแจ้งย้ายบ้านปลายทางได้ไหม?

ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ใช้อะไรบ้าง

การย้ายทะเบียนบ้านนั้นสามารถทำได้ด้วยการย้ายออก โดยทำการแจ้งย้ายภายใน 15 วันหลังย้ายออกจากบ้านเดิม แต่ทั้งนี้หากไม่สะดวกที่จะแจ้งย้ายออกก็สามารถแจ้งย้ายบ้านปลายทางได้เช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วสำหรับผู้ซื้อบ้านใหม่อย่างมาก การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางนั้น

สามารถไปแจ้งย้ายเข้าที่อยู่ใหม่ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องไปแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิม  โดยการดำเนินการดังกล่าวจะทำได้ไม่เกินครั้งละ 3 คน หมายความว่าถ้ามีสมาชิกที่จะย้ายเข้าบ้านใหม่และต้องการแจ้งย้ายปลายทาง ทำได้ไม่เกิน 3 คนในคราวเดียวกัน หากสมาชิกในบ้านมีมากกว่านั้นอย่างเช่น 5 คน ก็จะต้องทำการแจ้งย้าย 2 รอบเป็นอย่างต่ำ

โดยในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางนี้ สมาชิกในบ้านจะต้องไปยืนยันตัวตนกับเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งเหตุผลในการย้ายปลายทาง หากเป็นการย้ายบ้านในพื้นที่เขตเดียวกันจะไม่สามารถทำการแจ้งย้ายปลายทางได้ ต้องทำการย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านเดิมแล้วทำเรื่องย้ายเข้าบ้านหลังใหม่เท่านั้น

3.เอกสารที่ต้องเตรียมในการย้ายทะเบียนบ้านมีอะไรบ้าง?

ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ใช้อะไรบ้าง

การย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านหลังใหม่โดยเจ้าของบ้านเอง สามารถเตรียมเอกสารเพื่อประกอบการยื่นคำขอที่ประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้

1.สัญญาซื้อขายบ้านหรือโฉนดที่ดิน

หลังจากที่ทำการซื้อบ้านและทำการโอนกรรมสิทธิ์จากทางโครงการบ้านมาแล้วเรียบร้อย เจ้าของบ้านจะได้รับทะเบียนบ้านเปล่า พร้อมด้วยหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายบ้าน พร้อมสิ่งปลูกสร้างและสัญญาซื้อขายที่ดินกับสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งโฉนด แต่หากไม่ได้ซื้อเงินสดก็จะได้รับเป็นสัญญาจำนองที่ใช้แทนโฉนดตัวจริง ซึ่งเอกสารดังกล่าวนี้สามารถนำไปประกอบการยื่นเรื่องเพื่อขอย้ายบ้านได้

2.เอกสารประจำตัว

บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงและทะเบียนบ้านเล่มจริง หรือเอกสารดังที่กล่าวถึงในข้อ 1

  •       สัญญาซื้อขายพร้อมสำเนา
  •       สัญญาจะซื้อจะขายพร้อมสำเนา
  •       สัญญาจำนองพร้อมสำเนา
  •       สำเนาทะเบียนบ้านเดิมจำนวน 2 ฉบับ และค่าธรรมเนียม 20 บาท

เอกสารทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ให้นำไปยื่นที่ทำการเขตหรือเทศบาลเพื่อทำการขอย้าย จากนั้นนายทะเบียนจะทำการตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ ถ้าถูกต้องเรียบร้อยดีก็จะมอบสำเนาทะเบียนบ้านและหลักฐานต่าง ๆ คืนมาให้ แต่หากเป็นกรณีที่เป็นการย้ายทะเบียนบ้านโดยที่ไม่ใช่เจ้าบ้าน จะต้องเตรียมเอกสารเพื่อใช้ในการยื่นคำร้องขอย้ายทะเบียนบ้านปลายทางดังต่อไปนี้

  •       บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย
  •       บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายปลายทางเข้าอยู่ใหม่
  •       สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านหลังที่จะย้ายเข้าไปอยู่
  •       ในกรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้งย้ายได้ด้วยตนเอง ต้องมีหนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าแนบไปด้วย
  •       หนังสือมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่

เมื่อเตรียมเอกสารครบแล้วให้เดินทางไปยื่นคำร้องที่ทำการเขตหรือเทศบาล พร้อมกับแจ้งว่าต้องการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง  เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งหากเรียบร้อยดี ก็จะสามารถทำการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางได้สำเร็จ ทั้งนี้การย้ายทะเบียนบ้านเข้าเป็นลูกบ้านนั้น ต้องดำเนินการยื่นเรื่องภายใน 15 วัน ไม่เช่นนั้นอาจต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

4.มีบ้านหลายหลัง ทำยังไงกับทะเบียนบ้านดี

ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ใช้อะไรบ้าง

คนที่ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ อย่างเช่นคนที่ชอบซื้อบ้านหรือคอนโดไว้หลายแห่งเพื่อลงทุน อาจจะมีคำถามว่าต้องขอทะเบียนบ้านอย่างไร เนื่องจากมีอยู่ด้วยกันหลายแห่ง ซึ่งตามที่กฎหมายกำหนดนั้นจะอนุญาตให้บุคคล 1 คนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเพียง 1 แห่งเท่านั้น ไม่อนุญาตให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลายแห่ง ด้วยเหตุผลในเรื่องของสิทธิ์การเลือกตั้งและสิทธิ์อื่น ๆ ดังนั้นหากมีบ้านหลายหลังก็อาจจะต้องหาผู้ที่เป็นญาติมาเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนแทน เพื่อไม่ให้ทะเบียนบ้านว่าง

ดังที่กล่าวมาข้างต้น หากมีคำถามต่อมาว่าหากไม่สามารถหาญาติหรือผู้เกี่ยวข้องที่จะมาใส่ชื่อเป็นเจ้าบ้านให้ได้ แล้วต้องปล่อยทะเบียนบ้านว่าง ไม่มีชื่อบุคคลในทะเบียนดังกล่าวจะเป็นอย่างไร คำตอบ คือ เมื่อต้องการขายบ้านหลังดังกล่าวโดยที่ครอบครองมาได้ไม่ถึง 5 ปี เจ้าของหรือผู้ขายจะต้องเสียภาษีธุรกิจในอัตรา 3.3 % จากราคาประเมิน เช่น บ้านราคา 2 ล้านบาท ที่เป็นทะเบียนบ้านเปล่าไม่มีชื่อเจ้าบ้านในทะเบียน เมื่อจะขายต้องเสียภาษีในอัตรา 3.3 % คิดเป็นจำนวนเงิน 66,000 บาท

แต่หากเป็นบ้านที่มีชื่อเจ้าของบ้านในทะเบียนก็ไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้ แต่จะต้องชำระค่าอากรในอัตรา 0.5 % แทนซึ่งก็เท่ากับต้องจ่ายเพียง 10,000 บาทเท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นจำนวนเงินที่แตกต่างกันมากพอสมควร ดังนั้นหากไม่อยากเสียเงินภาษีในอัตราที่สูงดังที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ก็ต้องหาผู้เกี่ยวข้องที่จะมาถือทะเบียนบ้านแทนเจ้าของจริงให้ได้

ทั้งนี้เรื่องสำคัญอีกอย่างที่ต้องรู้ คือ แม้จะเป็นการซื้อบ้านในนามนิติบุคคล แต่ทะเบียนบ้านหลังดังกล่าวไม่มีชื่อของเจ้าบ้านผู้ถือครอง ตอนที่จะขายก็ต้องเสียภาษีธุรกิจในอัตรา 3.3 % เช่นเดียวกัน ดังนั้นคนที่จะซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อลงทุนหรือเก็งกำไรต้องคำนึงถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง หากหาคนที่มาเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนไม่ได้จริง ๆ ก็ต้องจ่ายภาษีตามข้อกำหนดโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

5.ทะเบียนบ้านหายหรือชำรุด ทำอย่างไรได้บ้าง?

ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ใช้อะไรบ้าง

เนื่องจากทะเบียนบ้านเป็นเอกสารราชการที่มีความสำคัญ ต้องใช้ประกอบในการยื่นขอคำร้องต่าง ๆ เช่น ทำธุรกรรม, สมัครงาน หรือสมัครเรียนต่อ ดังนั้นจึงเป็นเอกสารที่จะต้องมีพร้อมไว้เสมอ แต่หากมีการสูญหายหรือชำรุดก็ต้องรีบทำเรื่องยื่นขอทะเบียนบ้านเล่มใหม่ให้เร็วที่สุด โดยดำเนินการเพื่อขอเล่มทะเบียนบ้านใหม่ในกรณีที่สูญหายนั้น ไม่จำเป็นต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ เพียงแค่เจ้าของบ้านนำบัตรประจำตัวประชาชนของตนเองไปติดต่อที่นายทะเบียนเขตหรืออำเภอก็สามารถดำเนินการได้ทันที

แต่หากเจ้าของบ้านไม่สะดวกที่จะไปแจ้งขอทะเบียนบ้านเล่มใหม่ด้วยตนเอง ให้ทำหนังสือมอบอำนาจกับผู้ที่จะไปทำการยื่นขอ โดยเอกสารที่จะต้องเตรียม คือ

  •       หนังสือมอบอำนาจที่ออกโดยเจ้าบ้าน
  •       บัตรประชาชนของเจ้าของบ้าน (ตัวจริง)
  •       บัตรประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ (ตัวจริง)
  •       ค่าธรรมเนียม 20 บาท

การยื่นขอทะเบียนบ้านเล่มใหม่นั้น ในกรุงเทพฯ สามารถไปดำเนินการขอเล่มใหม่ได้ที่สำนักงานเขตของพื้นที่เจ้าบ้านอยู่  หากเป็นต่างจังหวัดสามารถไปยื่นเรื่องขอได้ที่ว่าการอำเภอในพื้นที่เจ้าบ้านอาศัยอยู่ได้เลย ในกรณีที่เจ้าบ้านสูญหายหรือเสียชีวิตโดยที่ยังไม่มีเจ้าบ้านใหม่ หากต้องการยื่นขอทะเบียนบ้านเล่มใหม่ในกรณีที่สูญหายหรือชำรุด สามารถให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนั้นทำการเดินเรื่องได้ทันที

โดยจะต้องนำเอกสารถือครองกรรมสิทธิ์พร้อมด้วยบัตรประชาชนของตนเองไปยื่นขอเล่มทะเบียนบ้านใหม่ แต่หากเจ้าของกรรมสิทธิ์ยังเป็นผู้เยาว์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้ผู้ปกครองเป็นผู้ดำเนินการแทน แม้ว่าการขอทะเบียนบ้านเล่มใหม่นั้นจะทำได้ไม่ยาก แต่ทั้งนี้ก็ควรเก็บรักษาเล่มทะเบียนบ้านให้ดี เพื่อความปลอดภัย ไม่เกิดการชำรุดหรือสูญหายที่จะทำให้ต้องเสียเวลาไปขอใหม่กันอยู่บ่อย ๆ

ถึงตอนนี้เจ้าของบ้านมือใหม่ก็คงจะได้รู้แล้วว่าการย้ายทะเบียนบ้านนั้นต้องทำอย่างไร และมีเอกสารอะไรที่ต้องใช้บ้าง  เมื่อจะย้ายเข้าคอนโดหรือบ้านใหม่จะได้ทำการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี ทำให้การย้ายบ้านเป็นไปได้อย่างราบรื่น ไร้ปัญหา สามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ในบ้านหลังใหม่ได้อย่างสบายใจ

ย้ายทะเบียนบ้านปลายทางได้ไหม

เอกสารในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย หรือบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่นพร้อมสำเนา บัตรที่ลงชื่อเจ้าของบัตร กำกับไว้ เจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่ บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่ หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้านที่จะเข้าอยู่ใหม่ (กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้งย้ายได้)

ย้ายทะเบียนบ้านปลายทางเสียค่าใช้จ่ายไหม

ขั้นตอนการติดต่อ ยื่นหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่จะย้ายเข้า นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานและลงรายการ ในใบแจ้งการย้ายที่อยู่โดยให้ผู้แจ้งลงลายมือชื่อ ในช่องผู้แจ้งย้ายออกและช่องผู้แจ้งย้ายเข้าสำหรับช่อง เจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้าให้เขียนชื่อ-สกุลตัวบรรจง และเสียค่าธรรมเนียม 5 บาท

ย้ายทะเบียนปลายทางที่ไหน

4. ขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางต้องทำอย่างไรบ้าง ยื่นหลักฐาน การยื่นหลักฐานต่างๆ ของการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางนั้นต้องยื่นให้แก่นายทะเบียนท้องที่ซึ่งต้องการย้ายเข้า โดยยื่นได้ที่สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ทำการเทศบาล ตามแต่รูปแบบการปกครองของท้องที่นั้นๆ

ย้ายสำเนาทะเบียนบ้านออนไลน์ได้ไหม

ซึ่งการย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิมจะไม่สามารถทำการจองคิวออนไลน์ได้ กลับกันการย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านหลังใหม่จะสามารถย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ด้วยการจองคิวผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ได้