หลักธรรมพัฒนาตนเองให้เป็นคนเก่ง

ในช่วงวันหยุดยาวในวันพระใหญ่แบบนี้ ถือเป็นโอกาสดีในการเข้าวัดทำบุญเสริมสร้างสิริมงคลกัน วันนี้เราจึงมาพูดถึงหลักธรรมคำสอนที่เหมาะกับการทำงาน นั่นก็คือ “อิทธิบาท 4” ก็คือ 4 หลักการ ที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ทุกอย่างที่เราต้องการ ถ้าเราสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม…

1. ฉันทะ : มีใจรักในงานที่ทำ

หลักธรรมพัฒนาตนเองให้เป็นคนเก่ง

การทำงานให้ประสบความสำเร็จ จุดเริ่มต้นที่ง่ายๆ แต่สำคัญอย่างมาก คือการมีความสุขกับงานที่ทำอยู่ และการจะมีความสุขกับงานได้นั้น ก่อนอื่นคือคุณต้องชื่นชอบในสิ่งที่ทำ และพึงพอใจกับหน้าที่ที่ได้รับ ลองสังเกตตัวเองดูว่า ทุกวันนี้ทำงานแล้วรู้สึกสนุกไหม หรือพอถึงเวลางานทีไรแล้วรู้สึกเหมือนร่างกายจะพัง พลังแทบไม่มีทุกที แบบนี้ก็น่าเป็นห่วงแล้วล่ะว่าคุณอาจจะไม่ได้ชอบในงานหรือสิ่งที่คุณทำอยู่เท่าไร ลองเปลี่ยนมาทำอะไรที่คุณชอบและสนุกไปกับมันดีกว่านะ

2. วิริยะ : มุ่งมั่นทุ่มเทกับงานที่ได้รับมอบหมาย

หลักธรรมพัฒนาตนเองให้เป็นคนเก่ง

ถึงแม้ว่าคุณจะชอบและรักในงานของคุณแค่ไหน แต่ถ้าหากขาดสิ่งนี้ไปประตูสู่ประสบความสำเร็จก็น่าจะไกลหน่อย นั่นคือความขยันหมั่นเพียร หลายๆ ครั้งที่คุณอาจจะรู้สึกว่างานก็เยอะ เดดไลน์ก็ใกล้เข้ามาแล้ว แต่ถ้าเอาแต่ผลัดก็ไม่มีวันเสร็จสักที ความขยันก็เหมือนบันไดที่พาคุณเดินไปสู่ความสำเร็จทีละขั้น ถึงแม้ว่ามันอาจจะเหนื่อย เมื่อยล้า ไม่สบายเหมือนขึ้นลิฟต์ ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป แต่ก็ทำให้คุณถึงจุดหมายของคุณได้อย่างแน่นอน

3. จิตตะ : มีสมาธิและจดจ่อกับงานที่ทำอยู่

หลักธรรมพัฒนาตนเองให้เป็นคนเก่ง

หลายครั้งในเวลาที่คุณทำงาน อาจมีเรื่องต่างๆ มารบกวนการทำงานของคุณ ซึ่งทำให้คุณไม่มีสมาธิในการทำงาน จิตใจฟุ้งซ่านเอาแต่คิดเรื่องอื่น เช่น ตอนทำงานนี้ ก็อาจจะพะวงว่างานนั้นจะเป็นอย่างไร หรือพอทำงานใหม่ ก็คิดว่างานเก่าที่ยังไม่เสร็จจะส่งทันไหมนะ และทุกๆ ครั้งที่มีสิ่งรบกวนเหล่านั้น ก็จะทำให้ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับงานได้อย่างที่ควรจะเป็น และผลลัทธ์ที่ออกมาก็จะไม่มีประสิทธิภาพ ขาดความรอบคอบและความใส่ใจในตัวงาน ทางแก้ก็คือตั้งสติ และมีสมาธิจดจ่ออยู่กับปัจจุบันเสมอ

4. วิมังสา : ทบทวนในงานที่ทำและพัฒนาต่อยอด

หลักธรรมพัฒนาตนเองให้เป็นคนเก่ง

อีกสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำงาน แบบที่เราไม่สามารถขาดสิ่งนี้ไปได้นั่นคือปัญญา หรือความรู้ ความสามารถ ต่อให้เรารักในงานที่ทำอยู่ ขยันหมั่นเพียร ใจจดจ่อขนาดที่ว่าทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจให้งานเพียงอย่างเดียว แต่หากขาดการพินิจพิเคราะห์ ไตร่ตรอง ใช้สมองคิด งานก็อาจจะผิดพลาดได้ และหลังจากที่ทำงานสำเร็จลุล่วงแล้ว ก็ควรมีการติดตามผลหลังจากนั้นเช่นกัน หากมีข้อผิดพลาดก็เรียนรู้จากสิ่งนั้น และปรับปรุงในครั้งต่อๆ ไป ให้ดีขึ้นกว่าเดิม

พระพุทธศาสนา.. กับการ"พัฒนาตนเอง".. - การพัฒนา... หมายถึง... ...

Posted by คิดดี พูดดี ทำดี on Tuesday, October 20, 2020

            สารณียธรรม หมายถึง ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกันธรรมที่ให้เกิดความสามัคคี หรือหลักการอยู่ร่วมกันในการอยู่ร่วมกันในสังคม สมาชิกในสังคมต้องแสดงออกถึงความรักความสามัคคี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข โดยการประพฤติตามหลักสารณียธรรม ๖ ประการ ดังนี้

พระพุทธศาสนากับการพัฒนาตนเอง
   การพัฒนา  หมายถึง  การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างให้ดีขึ้น  โดยอาจเป็นสิ่งที่ยังไม่ดีให้กลายเป็นดี  หรือสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น  โดยเฉพาะการพัฒนาตนเอง  ซึ่งอาจมองได้เป็น  ๒  ทาง  คือ การพัฒนาตนให้เป็นคนดี กับ การพัฒนาตนให้เป็นคนเก่ง
   พระพุทธศาสนามีหลักธรรมที่ส่งเสริมให้มนุษย์สามารถพัฒนาตนให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง  อยู่มากมาย  ตัวอย่างหลักธรรมเหล่านี้  ได้แก่
๑)  หลักธรรมสำหรับการพัฒนาตนให้เป็นคนดี
   ๑)  เบญจศีล  หรือ  ศีล  ๕  เป็นหลักธรรมที่ว่าด้วยการรักษากายและวาจาให้เรียบร้อยเป็นข้อปฏิบัติในการละเว้นจากความชั่ว  และรู้จักควบคุมตัวให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียน  มี  ๕  ประการ คือ
(๑)  การไม่ฆ่าสัตว์หรือทรมานทำร้ายสัตว์
(๒)  การไม่ลักขโมยสิ่งของของผู้อื่น
(๓)  การไม่ประพฤติผิดลูกเมียของผู้อื่น
(๔)  การไม่พูดโกหก
หลักธรรมพัฒนาตนเองให้เป็นคนเก่ง

(๕)  การไม่ดื่มสุราหรือเสพสิ่งเสพติด
   ๒)  เบญจธรรม  หรือ  เบญจกัลยาณธรรม  เป็นหลักธรรมที่เกื้อกูลแก่การรักษาเบญจศีลโดยมุ่งเน้นที่การกระทำเพิ่ม  มิใช่การละเว้นเพียงอย่างเดียว  มี  ๕  ประการ  ได้แก่
๑)  เมตตาและกรุณา  คือ  มีความรักและปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
๒)  สัมมาอาชีวะ  คือ  การทำมาหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต
๓)  กามสังวร  คือ  รู้จักสำรวม  ระมัดระวัง  และยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์
๔)  สัจจะ  คือ  มีความซื่อสัตย์  ซื่อตรง
๕)  สติสัมปชัญญะ  คือ  รู้จักยั้งคิดและรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า  สิ่งใดควรทำและไม่ควรทำ
๒)  หลักธรรมสำหรับการพัฒนาตนให้เป็นคนเก่ง
   ๑)  อิทธิบาท  ๔  หมายถึง  หลักธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จสมดังความมุ่งหมาย  มี  ๔  ประการ  ได้แก่
๑)  ฉันทะ  ความพอใจ  คือ  ความต้องการที่จะทำสิ่งนั้นๆอยู่เสมอ  และยังปรารถนาที่จะทำให้สิ่งนั้นได้ผลดียิ่งขึ้น
พระพุทธศาสนากับการพัฒนาครอบครัว
   พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับครอบครัว  เพราะถือว่าครอบครัวที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้และการพัฒนา  พระพุทธศาสนาจึงมีหลักธรรมที่ส่งเสริมให้มนุษย์พัฒนาครอบครัวอยู่มากมาย  ตัวอย่างหลักธรรมเหล่านี้ได้แก่
๑) หลักธรรมที่แสดงความสัมพันธ์ของคนในฐานะที่แตกต่างกัน
   ทิศ  ๖  เป็นหลักธรรมที่แสดงความสัมพันธ์ของคนในฐานะที่แตกต่างกัน  บอกหน้าที่ที่บุคคลพึงปฏิบัติต่อกันและที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทางสังคมดุจทิศที่อยู่รอบตัว  สำหรับหลักธรรมในทิศ  ๖  ที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาครอบครัว  คือ  ปุรัตถิมทิศ  หรือทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดา บิดา กับ ปัจฉิมทิศ  คือ ทิศเบื้องหลัง  ได้แก่ สามี ภรรยา
   ๑)  ปุรัตถิมทิศ  หรือ ทิศเบื้องหน้า  คือ  ทิศตะวันออก ได้แก่  มารดาบิดา  เพราะเป็นผู้มีอุปการคุณแก่เรามาก่อน  สำหรับหลักเกณฑ์ที่บุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดาและหลักเกณฑ์ที่มารดาบิดาพึงอนุเคราะห์บุตรธิดา  มีดังนี้

 การบำรุงมารดาบิดา

การอนุเคราะห์บุตรธิดา 

 ท่านเลี้ยงเรามา  เราเลี้ยงท่านตอบ                            ห้ามปรามจากความชั่ว                                                 ช่วยทำการงานของท่าน ให้ตั้งอยู่ในความดี ดำรงวงศ์ตระกูล ให้ศึกษาศิลปวิทยา ประพฤติตนให้เหมาะกับความเป็นทายาท หาคู่ครองที่สมควร เมื่อท่านล่วงลับ  ทำบุญอุทิศให้ท่าน มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันควร   ๒)  ปัจฉิมทิศ  หรือ ทิศเบื้องหลัง  คือ ทิศตะวันตก  ได้แก่ สามี-ภรรยา  เพราะติดตามเป็นกำลังสนับสนุนอยู่ข้างหลัง  ซึ่งหลักเกณฑ์การบำรุงภรรยา  และการอนุเคราะห์สามี  มีดังนี้

 การบำรุงภรรยา                                                   การอนุเคราะห์สามี                                                  ยกย่องให้สมเกียรติกับฐานะที่เป็นภรรยา จัดงานบ้านให้เรียบร้อย ไม่ดูหมิ่น สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี ไม่นอกใจ ไม่นอกใจ มอบความเป็นใหญ่ในบ้านให้ รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้ หาเครื่องประดับให้ในโอกาสอันควร ขยัน  ไม่เกียจคร้านการงานทั้งปวง
๒)  หลักธรรมสำหรับการครองเรือน
    ฆราวาสธรรม  เป็นหลักธรรมสำหรับการครองเรือนหรือการครองชีวิตของคฤหัสถ์  มี  ๔  ประการ  ได้แก่
๑)  สัจจะ  คือ  ความจริงใจ  ความซื่อสัตย์  ความซื่อตรง  พูดจริง  ทำจริง
๒)  ทมะ  คือ  การฝึกฝน  การข่มใจ  ฝึกนิสัย  ปรับตัว  รู้จักควบคุมจิตใจ  ฝึกหัดดัดนิสัย  แก้ไขข้อบกพร่อง  ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา
๓)  ขันติ  คือ  ความอดทน  ตั้งใจทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร  เข้มแข็ง  ทนทาน  ไม่หวั่นไหว  มุ่งมั่นในจุดหมาย
๔)  จาคะ  คือ  ความเสียสละ ๓)  หลักธรรมเพื่อพัฒนาวงศ์ตระกูลให้ยั่งยืน
   กุลจิรัฏฐิติธรรม  เป็นหลักธรรมสำหรับดำรงความมั่งคั่งของตระกูลให้ยั่งยืน  หรือทำให้ตระกูลมั่งคั่งอยู่ได้นาน  มี  ๔  ประการ  ได้แก่
๑)  นัฏฐคเวสนา  คือ  ของหาย  ของหมด  รู้จักหามาไว้
๒)  ชิณณปฏิสังขรณา  คือ  ของเก่า  ของชำรุด  รู้จักบูรณะซ่อมแซม
๓)  ปริมิตปานโภชนา  คือ  รู้จักประมาณในการกินการใช้
๔)  อธิปัจจสีลวันตสถาปนา  คือ  ตั้งผู้มีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน
๒)  วิริยะ  ความเพียร  คือ  ความขยันที่จะทำสิ่งนั้นด้วยความอดทนและไม่ท้อถอย
๓)  จิตตะ  ความคิด  คือ  การตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและทำสิ่งนั้นด้วยความคิด  ไม่ปล่อยจิตให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป
๔)  วิมังสา  ความไตร่ตรอง  คือ  การหมั่นใช้ปัญญาพิจารณาหาข้อดีข้อบกพร่อง  รู้จักคิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง
   ๒)  พละ  ๕  หมายถึง  หลักธรรมอันเป็นกำลังหรือทำให้เกิดความมั่นคง  คือช่วยให้การทำงานลุล่วงสำเร็จได้  มี  ๕  ประการ  ได้แก่
๑)  สัทธา  คือ  มีความเชื่อมั่นหรือสัทธาในสิ่งที่ตนเองทำ
๒)  วิริยะ  คือ  ความเพียร  ปราศจากความเกียจคร้าน
๓)  สติ  คือ  มีความระลึกได้  ไม่ประมาท
๔)  สมาธิ  คือ  มีจิตตั้งมั่น  ไม่มีความฟุ้งซ่าน
๕)  ปัญญา  คือ  มีความรู้ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่กระทำ

หลักธรรมใดคือการพัฒนาตนให้เป็นคนเก่งมีความสามารถ

หลักธรรมที่เอื้อใช้พัฒนาตนเองให้เป็นคนดี ได้แก่ - เบญจศีล คือ เอื้อประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน พูดจาสุภาพ ซื่อตรง - เบญจธรรม คือ เป็นคนมีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือกิจกรรมของโรงเรียน หลักธรรมที่เอื้อใช้ในการพัฒนาตนเองให้เป็นคนเก่ง คือ - อิทธิบาท 4 ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา

พัฒนาตนเองใช้หลักธรรมใด

๒. การพัฒนาตนเอง การพัฒนาตนเอง หมายถึง การนำหลักธรรมมาประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เช่น อริยสัจ 4 ไตรลักษณ์ อิทธิบาท 4 พรหมวิหาร 4 มรรคมีองค์ 8 และอนันตริยกรรม

หลักธรรมใดช่วยพัฒนาให้เป็นคนเก่งมีความสามารถตามหลักพระพุทธศาสนา

หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาที่มีความสอดคล้อง ที่สามารถฝึกฝนการพัฒนาตนเอง คือ สิกขา 3 หรือไตรสิกขา เป็นข้อที่จะต้องศึกษา ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักส าหรับศึกษา คือในการฝึกหัดอบรม กาย วาจา จิตใจ และปัญญาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน ได้แก่ 1) อธิสีลสิกขา สิกขาคือศีลอันยิ่ง ข้อ ปฏิบัติส าหรับฝึกอบรมในทางความ ...

หลักพุทธธรรมใดที่สามารถใช้ในการพัฒนาตนของมนุษย์

การพัฒนาตนหรือการการฝึกฝนตนถือว่าเป็นหลักของบัณฑิตผู้ฉลาดมีปัญญาในโลก นี้ก็จะต้องฝึกฝนตนเองเพื่อความเจริญก้าวหน้าด้วยคุณธรรมต่างๆดังที่พระพุทธศาสนาใช้ หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาตนตามแบบโลกิยะคือภาวนา4อันได้แก่กายภาวนาสีลภาวนาจิตต ภาวนาและปัญญาภาวนาและหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาตนตามแบบโลกุตตระคือภาวนา 2อันได้แก่การเจริญการ ...