นโยบายการเงินแก้ปัญหาการว่างงาน



  • ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (FED) ใช้นโยบายการเงิน (Monetary Policy) ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Funds rate) อย่างรวดเร็ว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จนอัตราดอกเบี้ยลดลงเข้าใกล้ร้อยละ 0 (0.25%) แต่ก็ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จึงต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเชิงปริมาณ มาตรการ Unconventional monetary policy หรือเรียกว่า Quantitative Easing(QE) โดยธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาทำการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงินเพื่อรักษาความเชื่อมั่นและสร้างสภาพคล่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดำเนินต่อไปได้ในภาวะไม่ปกติได้แก่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งนี้ในการใช้มาตรการ QE ครั้งแรกหรือ QE1 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2008 - เดือนมีนาคม 2010 ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล และเข้าซื้อตราสารหนี้ที่หนุนหลังโดยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (Mortgage backed securities :MBS) จากสถาบันการเงิน ผ่านโครงการ Term Asset-Backed Securities Loan Facilities: TALF) เพื่อให้สถาบันการเงินที่มีปัญหามีสภาพคล่องสามารถปล่อยเงินกู้ได้และให้เงินกู้ระยะสั้นแก่สถาบันการเงินผ่านTerm Auction facilities ผลจาก QE1 ช่วยให้ตลาดการเงินทำงานเป็นปกติมากขึ้นในระดับหนึ่ง แต่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องจึงนำมาตรการQEมาใช้อีกเป็นครั้งที่ 2 หรือ QE2 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2010 - เดือนมิถุนายน 2011โดยดำเนินนโยบายรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อกระตุ้นการลงทุน การบริโภคและธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาทยอยซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวและตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ได้รับค้ำประกันโดยหน่วยงานของรัฐ (Agency Mortgaged - back securities) ที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาถืออยู่โดยจะทยอยซื้อในแต่ละเดือน (เดือนละ35,000ล้านดอลลาร์) เป้าหมายของQE2เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มสภาพคล่อง ต่างจาก QE1 เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ลดการผันผวนในตลาดการเงินซึ่งผลของQE2 สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่งเท่านั้น จึงนำมาตรการQEมาใช้อีกเป็นครั้งที่ 3 หรือ QE3 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2012 โดยครั้งนี้ไม่กำหนดช่วงเวลาโดยจะทยอยซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ในแต่ละเดือนจนกว่าอัตราการว่างงานจะลดลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับคืนมาอย่างต่อเนื่อง

  • การเข้าช่วยเหลือสถาบันการเงินในการขยายการปล่อยกู้ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา แทบจะแปลงสภาพเป็นธนาคารพาณิชย์ผู้ให้กู้โดยตรง ทั้งนี้เนื่องจากวงเงินเครดิตที่ผ่านมาได้กู้กันเต็มที่ และเต็มวงเงินแล้ว และยังไม่สามารถใช้หนี้ได้ จึงต้องขยายการปล่อยกู้ต่อไปเพื่อให้สถาบันเหล่านั้นอยู่ต่อได้และการปรับปรุงระบบการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ เช่น เงินลงทุน การปล่อยเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ย ให้มีความเสี่ยงที่น้อยลง เนื่องจากที่ผ่านมาการปล่อยกู้เป็นไปได้ง่ายเกินไปจนทำให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง

  • การกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้นโยบายการคลัง ภาครัฐมีนโยบายใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทางด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ช่วยเหลือการว่างงานและการลดภาษี เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคเอกชนให้มีการบริโภค การลงทุนและการจ้างงาน และ การฟื้นฟูสถาบันการเงิน ช่วยเหลือบริษัทอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหา การจัดตั้งองค์กรเพื่อทำหน้าที่ซื้อหนี้เสียจาก สถาบันการเงิน แต่ทั้งนี้สหรัฐอเมริกากำลังจะประสบปัญหาหน้าผาทางการคลัง (Fiscal Cliff) เนื่องจากมาตรการด้านการคลังชั่วคราวในการกระตุ้นเศรษฐกิจกำลังจะสิ้นสุดและรัฐมีหนี้สาธารณะในสัดส่วนที่สูงและขาดดุลงบประมาณสูงมาก ในปี2011ขาดดุลงบประมาณ สัดส่วนร้อยละ9.5ของGDP ทำให้รัฐต้องตัดงบประมาณแบบอัตโนมัติ (Sequestration) โดยรัฐจะต้องตัดงบประมาณรายจ่ายลง100พันล้านดอลลาร์ต่อปีเป็นเวลา 10ปีโดยเริ่มตัดลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐตั้งแต่ต้นปี 2013 ดังนั้นในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายการคลังคงจะทำได้ยาก
นโยบายการเงินแก้ปัญหาการว่างงาน

ผู้ดูแลเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่ง นอกจากรัฐบาลแล้วยังมีธนาคารกลาง(แบงก์ชาติ) ของประเทศนั้นๆ อีกด้วย ฉะนั้นแล้วเราจะได้ยิน "นโยบายการคลัง" รัฐบาลเป็นผู้ควบคุม หรือ "นโยบายการเงิน" ธนาคารกลางเป็นผู้ควบคุมจากในข่าวบ่อยๆ ซึ่งวันนี้จะมาพูดถึง นโยบายการเงินกันครับ

นโยบายการเงิน คือ มาตรการทางการเงินชนิดหนึ่งที่ธนาคารกลาง(แบงก์ชาติ) เป็นผู้ควบคุมเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินภายในประเทศ ตัวอย่างเช่น หากเศรษฐกิจภายในประเทศกำลังเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืดนั้น ธนาคารกลางจะประกาศนโยบายทางการเงินออกมา เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เงินฝืดหรือเงินเฟ้อมากเกินไป โดยนโยบายการเงินหลักๆแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

  1. นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
  2. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด

โดยทั้ง 2 นโยบายต่างใช้ในเวลาที่ต่างกัน ยกตัวอย่างในช่วงเศรษฐกิจซบเซา ธนาคารกลางจะใช้ "นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย" เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจในประเทศไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืด หรือกล่าวคือเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ตัวอย่าง การใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย 

  1. การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เปรียบเสมือนการลดดอกเบี้ยอ้างอิง ซึ่งเมื่อดอกเบี้ยอ้างอิงปรับตัวลดลงอาจนำมาสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รวมถึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากด้วยเช่นกัน ฉะนั้นหากเมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง จะส่งผลให้สนับสนุนภาคการลงทุนมากขึ้น เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดการจ้างงานมากขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ผู้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น 
  2. การซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาล เมื่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีการหมุนเวียนน้อยจนเกินไปหรือเกิดภาวะเงินฝืด ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตและการบริโภคลดลง ฉะนั้นธนาคารกลางจะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยการนำเงินเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น ผ่านการซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาล ซึ่งจะทำให้เอกชนหรือรัฐบาลได้รับเงินจากการขายพันธบัตรให้กับธนาคารกลาง ทำให้เอกชนหรือรัฐบาลสามารถนำเงินมาใช้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้ และจะส่งผลให้เกิดการสนับสนุนการลงทุนและบริโภคตามลำดับ
  3. การปรับลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้รับเงินฝากจากประชาชนเข้ามา ธนาคารพาณิชย์ต้องสำรองเงินส่วนหนึ่งไว้ตามกฎหมาย ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งจะนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจต่อไป ตัวอย่างเช่น หากอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 10% หมายความว่า ทุกๆ การฝากเงิน 100 บาท ธนาคารพาณิชย์จะต้องเก็บสำรองไว้ 10 บาท ในขณะที่อีก 90 บาท ธนาคารสามารถนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ ฉะนั้น หากมีการประกาศลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ จะทำให้มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น

กลับกันหากประเทศกำลังเติบโตอย่างร้อนแรง ธนาคารกลางจะใช้ "นโยบายการเงินแบบเข้มงวด" ซึ่งการดำเนินการจะตรงข้ามกับตัวอย่างด้านบน ตัวอย่างเช่น ปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย, ขายพันธบัตรเพื่อดึงออกจากระบบเศรษฐกิจ หรือเพิ่มอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น

จากตัวอย่างดังกล่าว เป็นเพียงเครื่องมือส่วนหนึ่งที่ธนาคารกลางสามารถควบคุมได้ อีกทั้งยังมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารกลางสามารถเข้ามาแทรกแซงได้ ขึ้นอยู่กับประเทศนั้นใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบใด ซึ่งการใช้นโยบายเหล่านี้ใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืดหรือเงินเฟ้อมากเกินไป จะเห็นได้ว่า นโยบายการเงิน เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางต้องพิจารณาการใช้นโยบายให้ดี เพราะจะกระทบเศรษฐกิจออกเป็นวงกว้าง

นโยบายการคลังใช้แก้ปัญหาอะไรบ้าง

นโยบายการคลัง หมายถึง นโยบายการใช้งบประมาณของรัฐ เพื่อให้บรรลุ เป้าหมายทางด้านเศรษฐกิจมหภาค – อาทิ เพิ่มระดับการจ้างงาน – รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ – เพิ่มระดับการจ้างงาน รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และลดความเหลื่อมล ้าในการกระจาย

นโยบาย การเงิน มีความสําคัญอย่างไร

นโยบายการเงินส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและราคาสินค้าและบริการ การปรับขึ้นลงของราคาสินค้าและบริการเรียกว่าอัตราเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้อที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไปจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ธปท. จึงดำเนินนโยบายการเงินเพื่อให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมกับดูแลให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ และระบบการเงินมี ...

เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลควรดำเนินนโยบายใดเพื่อแก้ปัญหา

ในกรณีที่เศรษฐกิจซบเซา รัฐบาลควรกระตุ้นโดยด าเนินนโยบายขาดดุล ทางการคลัง คือ การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล หรือลดอัตราภาษี หรือทั้งสอง อย่างรวมกัน แต่หากเศรษฐกิจมีภาวะเฟื่องฟูหรือขยายตัวมากเกินไป จนเกิดภาวะเงินเฟ้อ

รัฐบาลใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลังในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อเงินฝืดและแก้ไขปัญหาการว่างงานได้อย่างไร

การแก้ไขปัญหาเงินฝืด จะตรงกันข้ามกับการแก้ไข ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ 1. นโยบายการคลัง รัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรให้น้อยลง เพิ่มการใช้จ่ายให้มากขึ้น ใช้งบประมาณขาดดุล เพื่อการจ้างงาน 2. นโยบายการเงิน ธนาคารกลางควรเพิ่มปริมาณเงินใน ระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการลงทุน การจ้างงาน