ขั้นตอนการเก็บกล้องจุลทรรศน์

กล้องจุลทรรศน์ ( Microscope ) คือ เครื่องมือขยายขอบเขตของประสาทสัมผัสทางตา ให้เห็นสิ่งที่ไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่า เช่น จุลินทรีย์ เซลล์เม็ดเลือด เป็นต้น

ประเภทของกล้องจุลทรรศน์ ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น2ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Light Microscope) เป็นกล้องที่ได้รับการพัฒนาจากในอดีตอย่างมาก และใช้แสงที่ดีที่สุด ในปัจจุบันมีกำลังขยายถึง 2,000 เท่าและเป็นกล้องที่ราคาถูก แบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1.1 กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงแบบธรรมดา  ประกอบด้วยเลนส์ 2 ชนิดคือ เลนส์ใกล้วัตถุและเลนส์ใกล้ตา โดยใช้แสงผ่านวัตถุแล้วขึ้นมาที่เลนส์จนเห็นภาพที่บนวัตถุอย่างชัดเจน

ขั้นตอนการเก็บกล้องจุลทรรศน์

(ที่มา https://happypa.wikispaces.com/รู้จักและใช้งานกล้องจุลทรรศน์)

1.2 กล้องที่ใช้แสงแบบสเตอริโอ เป็นกล้องที่ประกอบด้วยเลนส์ที่ทำให้เกิดภาพแบบ 3 มิติ ใช้ศึกษาวัตถุที่มีขนาดใหญ่แต่ตาเปล่าไม่สามารถแยกรายละเอียดได้จึงต้องใช้กล้องชนิดนี้ช่วยขยาย

1. ควรดูแลรักษากล้องให้สะอาดอยู่เสมอ และเมื่อไม่ได้ใช้กล้องควรใช้ถุงคลุมกล้องไว้เสมอ เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกเข้าไปสัมผัสกับเลนส์ของกล้อง

2. ในการทำความสะอาดหรือการประกอบกล้อง ควรทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ชิ้นส่วนถูกกระแทกหรือหลุดตกหล่น กรณีที่กล้องหรือส่วนประกอบใดๆของกล้องตกหรือกระแทก จะมีผลให้เมื่อประกอบกล้องแล้วภาพที่เห็นไม่คมชัด เป็นเพราะระบบภายใน (ปริซึม) อาจเกิดการคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งกรณีนี้ ควรส่งให้กับบริษัทซ่อม เพราะการตั้งศูนย์ของปริซึมและระบบเลนส์ภายในนั้นต้องใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนและความชำนาญของช่าง

3. ห้ามใช้มือหรือส่วนใดๆของร่างกาย สัมผัสถูกส่วนที่เป็นเลนส์ และหลีกเลี่ยงการนำเลนส์ออกจากตัวกล้อง

4. ในกรณีที่ถอดเลนส์ออกจากตัวกล้อง ควรใช้ฝาครอบด้วยทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้าไปข้างใน ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่ชัดของการมองภาพ

5 สำหรับเลนส์ใกล้วัตถุ 100ที่ใช้กับ Oil immersion หลังจากใช้แล้ว ควรทำความสะอาดทุกครั้ง โดยการเช็ดด้วยกระดาษเช็ดเลนส์ cotton bud หรือผ้าขาวบางที่สะอาด และนุ่ม ชุบด้วยน้ำยาไซลีน หรือส่วนผสมของแอลกอฮอล์และอีเทอร์ ในอัตราส่วน 40:60 ตามลำดับ

6 ควรหมุนปรับปุ่มปรับความฝืดเบาให้พอดี ไม่หลวมเกินไป ซึ่งจะทำให้แท่นวางสไลด์เลื่อนหมุดลงมาได้ง่าย หรือฝืดจนเกินไปทำให้การทำงานช้าลง

7 ปุ่มปรับภาพหยาบนั้น ควรหมุนในลักษณะทวนเข็มนาฬิกาอย่างช้าๆ จนกว่าจะได้ภาพ ห้ามปรับปุ่มปรับภาพทั้งซ้ายและขวาของตัวกล้องในลักษณะสวนทางกัน เพราะนอกจากจะไม่ได้ภาพตามต้องการแล้ว ยังจะทำให้เกิดการขัดข้องของฟันเฟือง

8 ในกรณีต้องการใช้แสงมากๆควรใช้การปรับไดอะแฟรม แทนการปรับเร่งไฟไปตำแหน่งที่กำลังแสงสว่างสุด (กรณีหลอดไฟ) จะทำให้หลอดไฟมีอายุยาวขึ้น

9 ก่อนปิดสวิตช์ไฟทุกครั้งควรหรี่ไฟก่อนเพื่อยืดอายุการใช้งาน และเมื่อเลิกใช้ก็ควรปิดสวิตช์ทุกครั้ง

10 การเสียบปลั๊กไฟของตัวกล้องไม่ควรใช้รวมกันกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น เพราะจะทำให้หลอดไฟขาดง่าย

11 หลังจากเช็ดส่วนใดๆของกล้องก็ตาม ถ้าไม่แน่ใจว่าแห้งหรือปราศจากความชื้นแล้ว ควรเป่าลมให้แห้ง โดยใช้พัดลม หรือ ลูกยางเป่าลม (ห้ามเป่าด้วยปากเพราะจะมีความชื้น)

12 เมื่อแน่ใจว่าแห้งและสะอาดแล้ว จึงคลุมด้วยถุงพลาสติก

13 เก็บกล้องไว้ในที่ที่ค่อนข้างแห้งและไม่มีความชื้น


การทำความสะอาดเลนส์


1. เป่าหรือปัดเศษผงหรือวัสดุอื่นๆที่อาจจะก่อให้เกิดรอยขูดขีดบนพื้นผิวเลนส์ โดยใช้ลูกยางบีบ หรือปัดด้วยแปรงขนอ่อนๆ แต่ถ้ายังไม่สามารถเอาออกได้ให้ใช้ผ้าขาวบางที่สะอาดและนุ่มชุบด้วยน้ำเช็ดเบาๆ

2. เตรียมน้ำยาเช็ดเลนส์ (อีเทอร์:แอลกอฮอล์ = 60:40)

3. ทำความสะอาดทั้งเลนส์ใกล้ตา และเลนส์ใกล้วัตถุ ใช้ cotton bud หรือ กระดาษเช็ดเลนส์พันรอบปลายคีบ แล้วชุบด้วยน้ำยาเช็ดเลนส์เพียงเล็กน้อย แล้วจึงเริ่มเช็ดเลนส์จากจุดศูนย์กลางของเลนส์แล้วหมุนทำรัศมีกว้างขึ้นเรื่อยๆไปสู่ขอบเลนส์อย่างช้าๆ

4. ในการใช้น้ำยาเช็ดเลนส์ต้องระวังด้วยว่าน้ำยานั้นสามารถละลายสีของกล้องและละลายกาวของเลนส์ได้

5. ในการผสมน้ำยาเช็ดเลนส์อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามอุณหภูมิและความชื้น หากอีเทอร์มากเกินไปอาจทำให้มีรอยการเช็ดอยู่บนเลนส์ได้ แต่ถ้าแอลกอฮอล์มากเกินไปจะมีรอยเป็นคราบอยู่บนเลนส์เช่นกัน

การถือกล้อง โดยใช้มือหนึ่งจับแขนกล้อง อีกมือหนึ่งรองรับที่ฐาน ต้องยกกล้องในสภาพที่กล้องตั้งตรงเสมอ เพื่อป้องกันส่วนประกอบของกล้องเลื่อนหลุด เช่น เลนส์ใกล้ตา

2.             นำกล้องมาวางไว้บนโต๊ะให้ห่างจากขอบโต๊ะเล็กน้อย

3.             ตั้งลำกล้องให้ตรง โดยที่เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายต่ำสุดอยู่ตรงกับแนวลำกล้อง แล้วเปิดไฟ

4.             นำสไลด์ที่เตรียมไว้วางบนแท่นวางวัตถุ ให้วัตถุอยู่ตรงบริเวณที่แสงผ่าน

5.             ปรับเลนส์ตาทั้งสองให้ระยะห่างพอดีกับช่วงตาของผู้ศึกษา แล้วเริ่มปรับหาระยะภาพที่กำลังขยายต่ำสุดโดยใช้ปุ่มปรับภาพหยาบ ถ้าแสงสว่างเกินไปให้ลดความสว่างโดยใช้ไดอะแฟรม

6.             เมื่อเจอภาพแล้วต้องการปรับความคมชัด ก็ให้ใช้ปุ่มปรับภาพละเอียด

7.             เมื่อต้องการขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น ควรหมุนเปลี่ยนกำลังขยายเลนส์ใกล้วัตถุโดยใช้จานหมุน จากนั้นให้ปรับความคมชัดภาพด้วยปุ่มปรับภาพละเอียด

การถือกล้องจุลทรรศน์ที่ถูกต้องควรทำอย่างไร

การจับกล้องและเคลื่อนย้ายกล้อง ต้องใช้มือหนึ่งจับที่แขนและอีกมือหนึ่งรองที่ฐานของกล้อง ตั้งลำกล้องให้ตรง เปิดไฟเพื่อให้แสงเข้าลำกล้องได้เต็มที่ หมุนเลนส์ใกล้วัตถุ ให้เลนส์ที่มีกำลังขยายต่ำสุดอยู่ในตำแหน่งแนวของลำกล้อง

วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์และการดูแลรักษาเป็นอย่างไร

1. ก่อนใช้กล้องจุลทรรศน์เช็ดเลนส์ทุกอันให้สะอาดด้วยกระดาษเช็ดเลนส์เท่านั้น 2. ห้ามใช้นิ้วมือหรือสิ่งอื่นใดแตะเลนส์ยกเว้นกระดาษเช็ดเลนส์ 3. ห้ามถอดชิ้นส่วนออกจากกล้องจุลทรรศน์ 4. ห้ามใช้น้ามันกับเลนส์ใกล้วัตถุอื่นๆ ยกเว้นเลนส์ใกล้วัตถุใช้น้ามัน (100x) 5. ห้ามดึงสไลด์ออกจากแท่นขณะกาลังใช้เลนส์ใกล้วัตถุใช้น้ามัน (100x) 6. ...

ข้อใดเรียงลำดับขั้นตอนการใช้กล้องจุลทรรศน์

1. นำสไลด์ที่ต้องการจะศึกษาวางบนแท่นวางวัตถุ 2. มองผ่านเลนส์ใกล้ตาพร้อมกับหมุนปุ่มปรับภาพหยาบช้าๆ 3. เมื่อต้องการเก็บกล้องจุลทรรศน์ หมุนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายต่ำสุดให้อยู่ตรงกลางแท่นวางวัตถุ เลื่อนแท่นวางวัตถุให้อยู่ที่ตำแหน่งต่ำสุด เก็บสไลด์ตัวอย่าง