Michael kors แบรนด์ระดับ ไหน

ไม่ว่าเป็นแผนการตลาด หรือแค่เหตุบังเอิญ 2-3 ปีมานี้ Versace ก็ประสบความสำเร็จในการกลับมาเป็นที่สนใจได้อีกครั้ง ยืนยันได้จากเพลง Versace on the Floor ของ Bruno Mars ที่ดังไปทั่วโลก จนใครๆ ต่างร้องตามได้ ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ผลประกอบการและยอดขายอยู่ในแดนบวกต่อเนื่อง ล่าสุดแบรนด์แฟชั่นหรูของอิตาลีกลายเป็นข่าวดังอีกครั้ง หลังสื่อทั่วโลกรายงานว่า บรรลุข้อตกลงขายกิจการให้ Michael Kors แบรนด์สัญชาติอเมริกันในวงการเดียวกันแล้ว

นอกจากเงินกว่า 2,150 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 70,950 ล้านบาท) ที่ฝ่ายแบรนด์อเมริกันทุ่มลงไป และความดังของฝั่งแบรนด์อิตาลีแล้ว ยังมีอีกเหตุผลที่ทำให้ Big Deal ในวงการแฟชั่นครั้งนี้น่าสนใจ  

 

ก้าวที่สองของการขยายอาณาจักรแฟชั่นภายใต้แบรนด์ Michael Kors

ด้วยความหลงใหลในแฟชั่นและเชื่อมั่นในฝีมือ Michael Korsจึงก่อตั้งแบรนด์แฟชั่นชื่อเดียวกับตัวเองขึ้นเมื่อปี 1981 โดยหลังได้เงินลงทุนจาก Silas Chou กับ Lawrence Stroll ซึ่งเคยพา Tommy Hilfiger ปี 1992 ก็ทำ IPO และภายใต้การบริหารของ John Idol ที่เคยเป็น CEO ของแบรนด์ Donna Karen มาก่อน Michael Kors ก็เป็นที่รู้จักในวงกว้างและยอดขายเพิ่มขึ้น ภายใต้ Concept “แบรนด์หรูที่ราคาเข้าถึงได้”

Michael kors แบรนด์ระดับ ไหน
Michael kors แบรนด์ระดับ ไหน

 Michael Kors ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Michael Kors

ปี 2012 Michael Korsขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง จนมีสาขามากมายอยู่ตามเมืองใหญ่ทั่วโลก ทั้งใน London, Milan, Munich, Seoul และ Tokyo รวมถึงในสาขาใหญ่ขนาด 7,000 ตารางฟุตใน Rue St. Honore ย่านซึ่งเต็มไปด้วยร้านเสื้อผ้าหรูของกรุง Paris

แต่มาถึงปี 2017 ต้องเผชิญกับช่วงขาลงเช่นเดียวกับแบรนด์แฟชั่นอื่นๆ หลังผู้บริโภคหันไป Online Shopping กันมากขึ้น และการเดินเข้าซื้อถึงร้านที่ลดลง จนต้องทยอยปิดสาขากว่า 100 แห่ง

Michael kors แบรนด์ระดับ ไหน
Michael kors แบรนด์ระดับ ไหน

อย่างไรก็ตาม ในปีเดียวกัน Michael Kors ยังมีความเคลื่อนไหวเพิ่มเติม ซึ่งเรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อย โดยเข้าซื้อกิจการ Jimmy Choo แบรนด์รองเท้าหรูสัญชาติอังกฤษด้วยเงิน 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 39,600 ล้านบาท) เป็นการส่งสัญญาณว่า การรุกตลาดแฟชั่นหรูคือเป้าหมายต่อไป ดังนั้นการซื้อกิจการ Versace จึงตอกย้ำว่า Luxury Brand มีความสำคัญต่อธุรกิจของ Michael Kors ในอนาคต

CEO ของ Michael Korsกล่าวถึง Big Deal ล่าสุดในวงการแฟชั่นว่า “การได้ Versace มาเป็นแบรนด์ในเครือ จะทำให้เรามุ่งสู่การเป็นแบรนด์กลุ่มธุรกิจด้านแฟชั่นและแบรนด์หรูชั้นนำของโลก”

จับตาดู “Versace on the Kors”

ด้วยเงินที่ทุ่มลงไปไม่น้อยกับ Deal นี้ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่าอาจมากเกินไปด้วยซ้ำ แน่นอนว่า Michael Kors ต้องมีแผนไว้แล้วจะทำอย่างไรกับแบรนด์ใหม่ที่เพิ่งได้มา

โดย CEO วัย 59 ปีของ Michael Korsเผยว่า จะทำให้ Versace มียอดขายทั่วโลกเพิ่มเป็น 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 66,000 ล้านบาท) ผ่านทั้งการเปิดสาขากว่า 100 แห่ง พร้อมรุกช่องทาง Online โดยมีกลุ่มวัยรุ่นฐานะดีเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ขณะที่ Collection ใหม่ๆ ที่เพิ่งเปิดตัวจาก Runway ก็ยังมีความสำคัญ

ด้าน Donatella Versace ผู้ร่วมก่อตั้ง Vesace เมื่อปี 1978 กับ Gianni พี่ชายที่เสียชีวิตจากการฆาตกรรมเมื่อปี 1997 ซึ่งปัจจุบันควบตำแหน่ง Designer ใหญ่ และรองประธานกรรมการ เชื่อว่าการเป็นส่วนหนึ่งของ Michael Kors จำเป็นต่อความสำเร็จของแบรนด์ในระยะยาว 

Michael kors แบรนด์ระดับ ไหน
Michael kors แบรนด์ระดับ ไหน

Donatella Versace (ชุดดำ) และเหล่านางแบบดังยุค 90 ใน Collection ล่าสุุด   

วิเคราะห์กันว่า Deal นี้ส่งผลให้จำนวนแบรนด์หรูหรือแบรนด์แฟชั่นยุโรปที่ยังดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นอิสระลดลง หลังการขยายตัวของกลุ่มธุรกิจนี้ผ่านการซื้อกิจการ ทั้งในทวีปยุโรปด้วยกัน เช่น การที่ LVMH มีทั้ง Louis Vitton, Dior และ TAG Heuer เป็นแบรนด์ในเครือ

ส่วนฝั่งอเมริกาก็เริ่มขยับแล้ว ด้วยการที่ Tapestry บริษัทผู้ถือหุ้นและเจ้าของ Coach เพิ่งซื้อกิจการ Stuart Weitzman และ Kade Spade แบรนด์รองเท้าหรูและกระเป๋าสตรีร่วมชาติเมื่อปี 2015 และ 2017 ตามลำดับ นั้นจำเป็นต่อทั้ง Michael Kors และ Versace ท่ามกลางพฤติกรรมการซื้อสินค้าของเหล่า Fashionista ที่เปลี่ยนไปและกำลังซื้อของชาวจีนที่เพิ่มขึ้นจนทำให้จีนเป็นตลาดที่ทวีความสำคัญในอนาคต

การได้ Versace มาอยู่ในมือจะปรับภาพลักษณ์ให้ Michael Korsเป็นแบรนด์หรูมากขึ้น และเมื่อนำยอดขายจากทั้งรองเท้า Jimmy Choo กับ Versace ที่เป็นสินค้าราคาแพง จะส่งให้ผลประกอบการโดยรวมของทั้ง 3 แบรนด์ภายใต้กลุ่มบริษัท Capri Holdings ที่เพิ่งก่อตั้งเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และสามารถสู้กับกลุ่มธุรกิจแบรนด์หรูคู่แข่งได้ในระยะยาว

การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ของ Michael Kors สะท้อนภาพการแข่งขันในธุรกิจแฟชั่นที่แบรนด์จากสหรัฐอเมริกา พยายามจะเข้ามาแข่งขันกับแบรนด์ยุโรปโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแบรนด์ฝรั่งเศส ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “รากเหง้าแห่งแฟชั่น”  ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์อย่าง Chanel, Dior หรือ Louis Vuitton ก็ถือกำเนิดและฐานบัญชาการหลักอยู่ที่นี่

ธุรกิจแฟชั่นในมือ 2 ค่ายใหญ่

การควบรวมธุรกิจแฟชั่นเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ยุค 1990 และนั่นทำให้ปัจจุบันนี้แบรนด์แฟชั่นชั้นสูงตกอยู่ในมือ 2 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย กลุ่ม LVMH ของตระกูล Arnault และ Kering ของตระกูล Pinault 

LVMH ก่อตั้งขึ้นในปี 1987 เมื่อ Louis Vuitton ควบรวมกิจการกับ Moët Hennessy บริษัทเครื่องดื่มชื่อดัง 1 ปีต่อมา พวกเขาก็ซื้อกิจการ Givenchy นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ตลอดทศวรรษแบรนด์ Berluti, Kenzo, Céline, Loewe, Marc Jacobs, Fendi และ Christian Dior ก็ถูกไล่ซื้อจนอยู่ใต้ชายคาเครือบริษัทนี้จนหมด ยังไม่หยุดแค่นั้นพอร์ตธุรกิจบิวตี้ ก็มี Sephora, Kat Von D Beauty, Benefit Cosmetics, และ Fenty Beauty by Rihanna ที่อยู่เครือ LVMH เช่นกัน

ส่วน Kering ซึ่งเดิมรู้จักกันในนามของ Pinault-Printemps-Redoute และต่อมาก็เรียกกันว่า PPR ก่อตั้งเมื่อปี 1963 ในช่วงเวลาเดียวกันกลุ่มธุรกิจนี้ก็รวมตัวแบรนด์ดัง ไม่ว่าจะเป็น Gucci และ Yves Saint Laurent มาอยู่ในเครือเดียวกัน และกระทั่งวันนี้กลุ่มบริษัท Kering ก็มีแบรนด์อย่าง Alexander McQueen, Balenciaga และ Brioni ตามมาในภายหลัง

ระดับรายได้ของทั้ง 2 เครือนี้เมื่อปี 2017 ก็(แค่) 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ…

ส่วนแบรนด์ดัง แบรนด์ใหญ่ระดับโลกที่ยังอยู่ได้แบบเดี่ยวๆ ได้น่ะเหรอ กวาดตามองไปแล้วก็น่าจะมีแค่ Chanel แบรนด์เดียวเท่านั้น

มะกันพาวเวอร์ ขอลุยสู้เครือยุโรป

สถานการณ์เดียวกันเกิดขึ้นในฝั่งสหรัฐอเมริกาบ้าง แต่ช้ากว่านานนับทศวรรษ เมื่อ Coach ซื้อกิจการของ Kate Spade เมื่อปีที่แล้วด้วยมูลค่า 2,400 ล้าน หลังจาก 2 ปีก่อนหน้านั้นได้เข้าซื้อแบรนด์รองเท้า Stuart Weitzman แล้วรีแบรนด์องค์กรจาก Coach Inc. เป็น Tapestry Inc. ซึ่งในตอนนั้นทาง Tapestry Inc. อธิบายการควบรวมที่เกิดขึ้นว่า “แทนที่จะเติบโตจากแบรนด์และพอร์ตโฟลิโอของเราในปัจจุบันเท่านั้น การขยายไปสู่แคทริกอรี่และตลาดใหม่ๆ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ”

เช่นเดียวกัน ก่อนที่จะซื้อกิจการของ Versace ทาง Michael Kors ได้ซื้อ Jimmy Choo ไปแล้วตั้งแต่ปี 2017 Florence Allday นักวิเคราะห์จาก Euromonitor แสดงความเห็นว่า “การซื้อกิจการของ Versace ทำให้กลุ่มธุรกิจของ  Michael Kors ต่อสู้กับ Kering ได้สมน้ำสมเนื้อมากขึ้น”

Michael kors แบรนด์ระดับ ไหน

Jonathan Akeroyd ซีอีโอ Versace, Donatella Versace และ John D. Idol ประธานและซีอีโอของ Michael Kors

“คอลเลกชั่นล่าสุดของ Donatella Versace ในปี 2017 ซึ่งระลึกถึงการจากไปของ Gianni พี่ชายของเธอสร้างกำไรให้ Versace  กระเตื้องขึ้นมาอีกครั้ง แต่ถ้าหากปราศจากพลังทางการเงินของกลุ่มธุรกิจ มันก็ยากที่ Versace จะแข่งขันกับคู่แข่งจากอิตาลีด้วยกันอย่าง Gucci”

และทั้งหมดนี้ คือ เบื้องหลังดีล Michael Kors ซื้อกิจการของ Versace ที่ฉายภาพใหญ่ของธุรกิจแฟชั่นไฮเอนด์ ที่วันนี้ถ้าไม่รวมกันเพื่อใช้พลังของเม็ดเงินมาเกื้อหนุนกันเอง การเปิดสนามรบระดับทั่วโลกเป็นไปได้ยาก ดังนั้น “รวมกันเราอยู่” จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่นั่นก็ทำให้โลกแห่งรันเวย์อยู่ในเงื้อมือของคนหยิบมือเดียวเท่านั้น

Miranda Priestly บรรณาธิการบริหารของ Runway เคยอธิบายให้ Andrea Sachs เลขาฯ ของเธอ ฟังยาวเหยียด (ยาวซะจนนับถือ Meryl Streep เลยทีเดียว จำบทได้ยังไง) โดยเปรียบเทียบถึงความยิ่งใหญ่ของวงการแฟชั่นกับเสื้อสเวตเตอร์สีฟ้าเก๋ากึ๊กของแอนดี้ เอาไว้ว่า

“This…Stuff”? Oh. Okay. I see. You think this has nothing to do with you. You go to your closet and you select , I don’t know that lumpy blue sweater, for instance because you are trying to tell the world that you take yourself too seriously to care about what you put on your back. But what you don’t know is that that sweater is not just blue, its not turquoise. It’s not lapis. Its actually cerulean. And you’re also blithely unaware of the fact that in 2002, Oscar de la Renta did a collection of cerulean gowns. And then i think it was Yves Saint Laurent – wasn’t it who showed cerulean military jackets?And then cerulean quickly showed up in the collections of eight different designers. And then it, uh, filtered down through the department stores and then trickled on down into some tragic Casual Corner where you, no doubt, fished it out of some clearance bin. However, that blue represents millions of dollars and countless jobs and its sort of comical how you think that you’ve made a choice that exempts you from the fashion industry when, in fact you’re wearing a sweater that was selected for you by the people in this room from a pile of stuff.

กระเป๋า Michael Kors เป็นแบรนด์ระดับไหน

จากการนำของดีไซเนอร์ชาวอเมริกัน ไมเคิล คอร์ส (Michael Kors) ก่อตั้งเป็นแบรนด์แฟชั่นระดับ High-Street เมื่อปี 1981 ที่โดดเด่นด้วยฝีมือการตัดเย็บอันเป็นเอกลักษณ์ เน้นความทันสมัย ความสวยงามเหนือกาลเวลา ผสมผสานแนวสปอร์ตเล็ก ๆ แต่ก็ยังดูคลาสสิก ทำให้กระเป๋าของไมเคิลนั้นเข้าถึงกลุ่มลูกค้าตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงไฮโซเซเลบ และยก ...

MK คือยี่ห้ออะไร

Michael Kors เป็นแบรนด์เสื้อผ้าจากสหรัฐอเมริกาที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2003 โดย Michael Kors นักออกแบบชื่อดัง ผู้ซึ่งเคยเป็นดีไซเนอร์ให้กับแบรนด์ Hi-end ดังอย่าง CELINE ก่อนที่จะผันตัวมาทำแบรนด์เป็นของตนเอง ซึ่งนอกเหนือจากแฟชั่นเครื่องแต่งกายแล้ว Michael Kors ยังมีชื่อเสียงในด้านกระเป๋าที่มีดีไซน์ที่เรียบหรูและโมเดิร์น ...

Michael Kors มีสาขาไหนบ้าง

ICONSIAM (ไอคอนสยาม) ชั้น M. ... .
Central Village Suvarnabhumi (เซ็นทรัล วิลเลจ สุวรรณภูมิ) Zone G No. ... .
CentralwOrld (เซ็นทรัลเวิลด์) ชั้น1. ... .
Central Embassy (เซ็นทรัล เอ็มบาสซี) ชั้น 1. ... .
Siam Paragon (สยามพารากอน) ... .
Online (ออนไลน์) ... .
Central Ladprao (เซ็นทรัล ลาดพร้าว) ... .
Siam Premium Outlets Bangkok (สยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ).

MK มาจากประเทศอะไร

เอ็มเค เริ่มจากร้านอาหารไทยร้าน เล็ก ๆ มีเนื้อที่เพียง 1 คูหาที่สยาม สแควร์ ซอย 3 ดำเนินกิจการโดยคุณป้าทองคำ เมฆโต ซึ่งซื้อกิจการต่อมาจากเจ้าของชาวฮ่องกงเดิม คุณมาคอง คิงยี (Makong King Yee) ที่มาของ คำว่า เอ็มเค หลังจากที่คุณมาคอง คิงยี ย้ายครอบครัวไปอยู่บอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2505 คุณป้าทำกิจการด้วยใจรักงาน ...