เมนส์ มาเร็วกว่าปกติ 10 วัน

ทำไมบางเดือนรู้สึกว่าเมนมาเยอะเหลือเกิน แต่บางเดือนมานิดเดียวก็หมดแล้ว หรือบางทียังไม่ถึงรอบก็มีเลือดออกมา ความแปรปรวนเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ หรือควรต้องกังวลใจ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยให้รู้กันไปเลยว่า ประจำเดือนปกติควรมีประมาณแค่ไหน แล้วแบบไหนควรไปหาหมอ

ประจำเดือนปกติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

อันดับแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่า รอบเดือนและประจำเดือนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน โดยประจำเดือนปกติสามารถเกิดขึ้นได้ทุกๆ 21-35 วัน และมีติดต่อกันได้ตั้งแต่ 2-7 วัน การมาแต่ละเดือนอาจจะไม่ใช่วันเดียวกันเป๊ะ แต่ก็สามารถมาเร็วหรือช้ากว่าเดินที่ผ่านมาได้บวก/ลบ 7 วัน

ไม่ว่าประจำเดือนของเราจะมาทุกๆ กี่วัน มานานหรือไม่นาน มาในปริมาณมาก มาน้อย ปวดท้องหรือไม่ปวด ก็เป็นสิ่งที่ต้องสังเกตกันไปในแต่ละคนว่า ประจำเดือนปกติ ของตัวเองนั้นเป็นแบบไหน

มามากแบบไหนคือไม่ปกติ

จากที่บอกไว้ด้านบนว่า ประจำเดือนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นประจำเดือนมามากของแต่ละคนก็แตกต่างกันเช่นกัน บางคนอาจจะมีประจำเดือนมากทุกเดือนเป็นปกติ ในขณะที่บางคนไม่ใช่ แต่รู้สึกว่าเดือนนี้มามากกว่าปกติที่เคยสังเกตมา ก็อาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือไปปรึกษาหมอ

ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเสียเลือดประจำเดือนน้อยกว่า 16 ช้อนชา (80 มิลลิลิตร) ในแต่ละเดือน และมักจะอยู่ในปริมาณประมาณ 6-8 ช้อนชา หากมากกว่า 80 มิลลิลิตร หรือมีประจำเดือนติดต่อกันนานเกิน 7 วันจะถือว่าประจำเดือนมามากเกินปกติ

วิธีสังเกตประจำเดือนมามาก

  • ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซับประจำเดือน (ผ้าอนามัยแบบแผ่น แบบสอด หรืออื่นๆ) เต็มทุกๆ 1-2 ชั่วโมง
  • มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่กว่า 2.5 เซนติเมตร (ใหญ่กว่าเหรียญ 10 บาท) ปนออกมาด้วย
  • เลือดประจำเดือนซึมเปื้อนกางเกงหรือที่นอน
  • จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซับประจำเดือนร่วมกันหลายแบบ เช่น ใช้ทั้งผ้าอนามัยแบบแผ่นและแบบสอด

งานวิจัยบอกว่า สาเหตุของประจำเดือนมามากส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาในเยื่อบุโพรงมดลูก หรือปัญหาภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ความไม่สมดุลของฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ และฮอร์โมนไทรอยด์ก็สามารถทำให้ประจำเดือนมามากผิดปกติ ( Menorrhagia) ได้ถึง 32-56%

มาน้อยแบบนี้ยังได้อยู่ไหม

ปกติแล้วประจำเดือนมาน้อยไม่ค่อยเป็นสัญญาณของปัญหาใดๆ ปริมาณเลือดประจำเดือนในแต่ละเดือนสามารถแตกต่างกันได้ โดยบางเดือนอาจจะน้อยกว่าเดือนที่ผ่านมาได้โดยธรรมชาติ

เมนส์ มาเร็วกว่าปกติ 10 วัน

วิธีสังเกตประจำเดือนมาน้อย

  • ประจำเดือนมาและหมดในระยะเวลาที่สั้นกว่าที่เคย
  • ใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่นหรือแบบสอดน้อยกว่าที่เคย
  • ประจำเดือนมาน้อยตั้งแต่วันแรก ไม่ได้มีประจำเดือนมามากในวันแรกๆ แล้วจึงเริ่มมาน้อย
  • ประจำเดือนน้อยมากจนเหมือนเลือดออกกะปริบกะปรอยมากกว่าจะเป็นปริมาณน้อยที่คงที่

อย่างไรก็ตามต้องสังเกตด้วยว่า ประจำเดือนที่มาน้อย ที่จริงแล้วใช่ประจำเดือนหรือเปล่า บางทีอาจจะเป็นการมีเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือเป็นมูกช่องคลอด (ตกขาว) ที่มีสีก็ได้

ประจำเดือนมาน้อยอาจเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน ความเครียด หรือการขาดสารอาหารบางชนิด ซึ่งยังไม่มีอะไรต้องกังวลมาก ตราบใดที่ประจำเดือนยังมาทุกเดือน ไม่ได้หายไปไหน

อ่าน: “ประจำเดือนมาน้อย” หรือ “เลือดออกกะปริบกะปรอย”

สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

  • ความเครียด
  • การตั้งครรภ์หรือการให้นมลูก
  • น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงมากเกินไป
  • ความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ เช่น การติดเชื้อที่มดลูก ภาวะพังผืดในโพรงมดลูก เนื้องอก เป็นต้น
  • การกินยาบางชนิด เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยารักษาอาการทางจิตเวช ยารักษาความดันโลหิตสูง ฯลฯ
  • การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

ประจำเดือนผิดปกติที่ต้องไปหาหมอ

  • ประจำเดือนไม่มาเกิน 3 เดือน
  • รอบเดือนนานเกิน 35 วันติดต่อกันหลายเดือน
  • มีประจำเดือนน้อยกว่า 9 ครั้งใน 1 ปี

ประจำเดือนที่ปกติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน และสามารถเปลี่ยนแปลงได้บ้างโดยธรรมชาติ ดังนั้นการหมั่นสังเกตตัวเองทุกๆ เดือนจะช่วยให้เข้าใจความปกติหรือไม่ปกติของประจำเดือนตัวเองมากขึ้น ความผิดปกติของประจำเดือนมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลได้ด้วยนะ อยากรู้ว่าระดับฮอร์โมนของตัวเองสมดุลไหม ชุดตรวจฮอร์โมนภาวะเจริญพันธุ์ Yesmom Fertility ที่สามารถใช้ตรวจเองได้ที่บ้านบอกคุณได้ โดยชุดตรวจนี้ครอบคลุมฮอร์โมนภาวะเจริญพันธุ์ถึง 6 ชนิด มาพร้อมผลวิเคราะห์ระดับฮอร์โมนของคุณฉบับเข้มข้น เชื่อถือได้ แถมยังให้คำแนะนำว่า คุณควรทำความเข้าใจและจัดการภาวะเจริญพันธุ์ของคุณอย่างไรเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

หากคุณผู้หญิงมีประจำเดือนมากเกินกว่า1ครั้งอาจเป็นเพราะเกิดจากความตึงเครียดสะสมหรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนซึ่งนำมาก่อให้เกิดโรคร้ายได้ในอนาคต

ปกติรอบเดือนของคุณผู้หญิงมักมาแค่เดือนละ 1 ครั้ง แต่จู่ๆ ก็ดันมีเลือดคล้าย ประจำเดือน ไหลออกมาอีกเป็นครั้งที่ 2 จนทำให้เราสับสนในการนับวันตกไข่ หรือวันที่รอบเดือนจะมาในครั้งถัดไป สาวๆ บางคนแอบวิตกกังวลเล็กน้อย เพราะกลัวโรคร้ายแรงจะถามหา วันนี้ Hello คุณหมอ จึงพาคุณผู้หญิงทั้งหลายมาคลายข้อสงสัยกัน

ประจำเดือน มาถี่ๆ เกิดจากสาเหตุอะไร?

วงจรของรอบเดือนที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นเรื่องปกติที่มักพบในเด็กสาววัยรุ่นส่วนใหญ่ สำหรับบางคนประจำเดือนอาจมาช้า หรือเร็วต่างจากรอบเดือนเดิม แต่บางคนประจำเดือนก็ดันมามากถึง 2 ครั้งต่อเดือนเลยทีเดียว ซึ่งมีสาเหตุหลักๆ ดังต่อไปนี้

  • ฮอร์โมนของวัยแรกรุ่นที่ยังไม่สมดุลคงที่

  • มีความตึงเครียดปะปนในขณะถึงวันตกไข่

  • ภาวะไข่ไม่ตก (lack of ovulation)

  • ไทรอยด์เป็นพิษ (hyperthyroidism)

  • การใช้ยาที่เกี่ยวข้องกับการคุมกำเนิด

  • น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างรวดเร็ว

  • ภาวะร่างกายที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน

สีของประจำเดือนในรอบที่สองนั้นอาจแตกต่างจากรอบแรก มักปรากฏให้เห็นลักษณะสีแดงเข้ม น้ำตาล หรือชมพูอ่อนๆ และมีจำนวนปริมาณของเลือดลดน้อยลงกว่าเดิม เพื่อป้องกันการเปรอะเปื้อนควรพกผ้าอนามัยติดตัวไว้ เมื่อเริ่มมีอาการปวดเกร็งบริเวณท้องน้อย

อาการแทรกซ้อนเมื่อ ประจำเดือน คุณกำลังมารอบที่ 2 ปวด เมื่อยล้าทั้งลำตัว หรือบริเวณหลัง อาการปวดหัว อ่อนเพลียง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง เวียนหัว คลื่นไส้ อัตราการเต้นของหัวใจถี่ จังหวะการหายใจแรง ประจำเดือน มาสองรอบเป็นสัญญาณเตือนของโรคอะไรได้บ้าง


ระวังสุขภาพของคุณให้ดีหากประจำเดือนมาบ่อยในระยะเวลาเพียงเดือนเดียว อาจทำให้คุณเป็นโรคร้ายแรงได้ เช่น

โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ

เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่สะสมอยู่ในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ที่อาจเข้าสู่ช่องคลอดของคุณแพร่กระจายไปยังมดลูก และอวัยวะเพศที่ทำให้เกิดอาการแท้งบุตร รวมถึงมีอาการตกขาว เจ็บปวดในอุ้งเชิงกรานพร้อมทั้งมีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ร่วมด้วย

เนื้องอกในมดลูก

เกิดจากการเจริญเติบโตผิดที่ และยึดติดกับผนังของมดลูก ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าเมล็ดพืชจนถึงขนาดใหญ่เท่าลูกส้มโอ เนื้องอกนี้มีอาการข้างเคียงที่รุนแรงเช่น อาการปวดท้อง เลือดออกในปริมาณมาก ควรเข้ารับการปรึกษาผ่าตัดเอาออกโดยแพทย์ให้เร็วที่สุดหากเป็นได้

โรคมะเร็งปากมดลูก

เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ในเซลล์ส่วนล่างของมดลูกที่เชื่อมต่อกับช่องคลอดที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก สามารถสังเกตอาการแรกเริ่มได้ง่ายๆ คือ ประจำเดือนเริ่มไหลน้อย ส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ รวมถึงมีอาการปวดกระดูกเชิงกรานระหว่างมีเพศสัมพันธ์

ไม่อยากเลือดไหลสองรอบ ควรรีบรักษาด้วยวิธีนี้

การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ และพื้นฐานปริมาณ รวมถึงจำนวนครั้ง ของเลือดที่ไหล หากการวินิจฉัยพบว่าเป็นเพียงแค่โลหิตจาง อาจเสริมด้วยการรับประทานธาตุเหล็กเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น

สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ : แพทย์อาจจำหน่ายยาชนิดรับประทาน หรือวิธีการรักษาด้านอื่นๆ ตามแต่เหมาะสม

สำหรับผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคซีสต์ : อาจได้รับการผ่าตัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (MRI) โดยแพทย์เฉพาะทางที่ชำนาญแล้วเท่านั้น

การหยุดเจริญเติบโตของเนื้องอก : โดยใช้ฮอร์โมนกลุ่มโกนาโดโทรฟิน (Gonadotropin) เข้ารักษาโดยทำให้คุณเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนชั่วคราว และยับยั้งการเจริญเติบโตทำให้เนื้องอกมีขนาดที่เริ่มเล็กลง ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจใช้การรักษานี้ร่วมกับการผ่าตัด

ประจำเดือนมาเร็วกว่าปกติเพราะอะไร

สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมามาก ฮอร์โมนไม่สมดุล เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนทำงานผิดปกติ เกิดการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกมากเกินไปหรือหนาเกินไป กระบวนการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อกลายเป็นเลือดประจำเดือน...จึงมากตามไปด้วยนั่นเอง

ประจำเดือนมาเร็วกว่าปกติได้ไหม

ปกติแล้วประจำเดือนแต่ละรอบนั้น จะต้องไม่มาเร็วกว่า 21 วัน หรือมาช้ากว่า 35 วัน นับจากประจำเดือนรอบที่แล้ว หากประจำเดือนที่มาเร็ว หรือช้ากว่าเวลาดังกล่าว แสดงรอบประจำเดือนนั้นผิดปกติ หรือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ สามารถบอกโรค และความผิดปกติของร่างกาย ได้แก่ โรคอ้วน

เมนส์มาเร็วสุดกี่วัน

ผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุกๆ 28 – 30 วัน (หรืออยู่ในช่วง 21- 35วัน) ผู้หญิงจะมีประจำเดือนมาประมาณ 3 - 5 วัน หรือไม่ควรมาเกิน 7 วัน ปริมาณประจำเดือนที่ออกมาในแต่วันไม่ควรเกิน 80 ซีซี หรือเทียบได้กับการเปลี่ยนผ้าอนามัยประมาณ 4 ผืนต่อวัน (แบบที่มีเลือดชุ่มเต็มแผ่น)

ทำไมประจำเดือนเลื่อนมาเร็ว

ประจำเดือนเลื่อน หมายถึง การที่เลือดประจำเดือนซึ่งเคยมาทุกเดือนในรอบเดือนที่เท่า ๆ กัน เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ประจำเดือนมาช้าหรือเร็วกว่าปกติ โดยมีสาเหตุมาจากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด การตั้งครรภ์ การออกกำลังกายอย่างหนัก การลดหรือเพิ่มน้ำหนักในเวลาอันรวดเร็ว ความอ้วน หากประจำเดือนเลื่อนบ่อยครั้ง ควรหาเวลาไปพบ ...