ปวดท้องประจําเดือน กินอะไรดี

ผู้หญิงส่วนใหญ่ต่างเคยมีอาการปวดประจำเดือนและมักคิดว่าอาการปวดประจำเดือนเป็นเรื่องธรรมชาติโดยเฉพาะหากมีอาการปวดเพียงเล็กน้อยและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม อาการปวดประจำเดือนเล็กน้อยแต่ปวดมาเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกของโรคร้ายได้เช่นเดียวกับอาการปวดประจำเดือนที่รุนแรงจนส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดประจำเดือนนั้น

  • อาการปวดประจำเดือนคืออะไร
  • สาเหตุของการปวดประจำเดือน
  • ประเภทของอาการปวดประจำเดือน
  • การป้องกันและบรรเทาอาการปวดประจำเดือน
  • เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
 

อาการปวดประจำเดือนคืออะไร

ผู้หญิงจำนวนมากมีอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน และระหว่างมีประจำเดือนในช่วงวันแรกๆ อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea) มีตั้งแต่อาการปวดหน่วงหรือปวดเกร็งเล็กน้อย ไปจนถึงอาการปวดขั้นรุนแรงบริเวณท้องน้อยและอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดหลังด้านล่าง คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออก ท้องเสียหรือท้องผูก ท้องอืด เวียนศีรษะและปวดศีรษะ เป็นต้น

สาเหตุของการปวดประจำเดือน

โดยเฉลี่ยทุกๆ 28 วัน หากไข่ไม่มีอสุจิมาผสม เยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน อาการปวดประจำเดือนเกิดจากสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน ชื่อว่า โพรสตาแกลนดิน (prostaglandin) ซึ่งก่อตัวขึ้นที่เยื่อบุโพรงมดลูกระหว่างมีประจำเดือน โพรสตาแกลนดินทำให้กล้ามเนื้อบีบตัวและหดเกร็งคล้ายกับอาการเจ็บปวดขณะคลอดบุตร นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย หากร่างกายหลั่งสารนี้ในปริมาณมากจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงของอาการบีบรัด ทำให้รู้สึกปวดประจำเดือนยิ่งขึ้น

ประเภทของอาการปวดประจำเดือน

อาการปวดประจำเดือนแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน

  • ปวดประจำเดือนประเภทปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea) เป็นอาการปวดประจำเดือนที่พบบ่อยที่สุด สาเหตุมักเกิดจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกผลิตสารโพรสตาแกลนดินมากเกินไป
  • ปวดประจำเดือนประเภททุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea) เกิดจากภาวะผิดปกติของมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์อื่นๆ เช่น
    • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก ซึ่งเมื่อเจริญผิดที่แต่ยังทำหน้าที่สร้างประจำเดือนเหมือนเดิม ทำให้อาจมีเลือดประจำเดือนในอุ้งเชิงกรานบริเวณที่มีเยื่อบุโพรวมดลูกไปเกาะในแต่ละรอบเดือน ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงและอาจเป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก
    • เยื่อบุมดลูกเจริญภายในกล้ามเนื้อมดลูก (Adenomyosis)  ผู้ป่วยจะมีอาการปวดประจำเดือนอย่างมาก และ/หรือ เลือดประจำเดือนมากและยาวนานกว่าปกติ 
    • เนื้องอกมดลูก (uterine fibroids)  มักไม่ใช่เนื้อร้าย ขนาดมีตั้งแต่เล็กมากไปจนถึงขนาดใหญ่ หากมีขนาดใหญ่ มักทำให้มีเลือดประจำเดือนออกมามากหรือประจำเดือนกระปริบกระปรอยนานเป็นสัปดาห์ พร้อมกับอาการปวดประจำเดือนหรือปวดหลังส่วนล่างแบบเรื้อรัง 
    • ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease) เป็นการติดเชื้อบริเวณระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง ส่วนใหญ่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากไม่รักษาให้หายขาด ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน  และอาจเป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก
    • ภาวะปากมดลูกตีบ (Cervical stenosis) เกิดจากปากมดลูกแคบเกินไป ทำให้เลือดประจำเดือนไหลได้ช้าแต่หากรูปิดสนิท จะทำให้ของเหลวคั่งค้างภายในโพรงมดลูก ทำให้เกิดอาการปวดท้องมากและเรื้อรัง
 

การป้องกันและบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

หากมีอาการปวดประจำเดือน ผู้ป่วยสามารถดูแลรักษาตัวเองได้โดย

  • ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบท้องน้อยและหลัง
  • อาบน้ำอุ่น
  • ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น โยคะหรือนั่งสมาธิ
  • รับประทานยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) ควรรับประทานเมื่อเริ่มมีอาการปวดหรือก่อนมีอาการปวด การรับประทานยาแก้ปวดอาจมีผลข้างเคียง ดังนั้นควรใช้เมื่อมีอาการปวดอย่างรุนแรงเท่านั้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานผักและผลไม้ ลดปริมาณอาหารที่มีไขมัน เกลือ เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และขนมหวาน
 

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

สำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่อาการปวดประจำเดือนเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคภัยที่ร้ายแรงกว่าอาการปวดประจำเดือนทั่วไป

  • รับประทานยาแล้วแต่ยังไม่หายปวด
  • อาการปวดประจำเดือนเป็นมากขึ้น
  • มีอายุมากกว่า 25 ปีและรู้สึกปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงเป็นครั้งแรก
  • มีไข้พร้อมปวดประจำเดือน
  • เลือดประจำเดือนไหลออกมามากว่าปกติ โดยต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมง
  • รู้สึกปวดท้องน้อยถึงแม้ไม่มีประจำเดือนก็ตาม
  • มีอาการติดเชื้อ เช่น ตกขาวมีกลิ่น อาการคันบริเวณปากช่องคลอด เลือดประจำเดือนมีสีแปลกไปจากปกติ
  • มีบุตรยาก

เรียบเรียงโดย นพ. วิสิทธิ์ สุภัครพงษ์กุล ศูนย์สูติ-นรีเวช  โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

  • ศูนย์สูติ-นรีเวช
    8.00-20.00  (BKK Time)
    Hot line tel. +66 63 189 3406

    20.00-8.00 (BKK Time)
    เบอร์ Contact center +662 066 8888 และ 1378


ปวดท้องประจําเดือน กินอะไรดี

รู้จักคำว่าหมดสภาพป่ะ นั่นแหละ เวลาผู้หญิงเป็นประจำเดือน มักจะมีสภาพแบบนั้น นี่ไม่ใช่เรื่องตลกนะ คือผู้ชาย ไม่มีวันเข้าใจสิ่งที่สาวๆ อย่างเราต้องเผชิญหรอก ปัญหาหนักหน่วงที่สุดของการเป็นวันนั้นของเดือนคือ ปวดท้อง! ใช่ค่ะ ปวดท้องโว้ย! เพราะงั้นเวลาเราหงุดหงิด โปรดจงเข้าใจหน่อย วันนี้ในฐานะผู้หญิง เรามีวิธีบรรเทาอาการปวดเมนส์มาบอกต่อ วิธีง่ายๆ แค่เลือกกิน รวม 7 อาหารแก้ปวดท้องเมนส์ กินแล้วช่วยบรรเทาอาการปวดได้จริงๆ เพราะฉะนั้นกินเถอะ มันดีย์นะ! แต่จะมีอาหารอะไรบ้างที่กินแล้ว แก้ปวดท้องเมนส์ได้ เอางี้ ไปเช็คลิสต์พร้อมๆ กันเลย

ปวดท้องประจําเดือน กินอะไรดี

เมนูแรก ราคาถูก แถมมีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย น้ำเต้าหู้ ว่ากันว่าน้ำเต้าหู้มีฮอร์โมนเพศหญิงที่ออกฤทธิ์ Anti-estrogen ซึ่งเจ้าฮอร์โมนตัวนี้ มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ เจ้าน้ำเต้าหู้ยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายสูง ซึ่งมีประโยชน์มากๆ ทั้งช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง แถมยังช่วยลดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ที่สำคัญ ถ้าเพื่อนๆ กลัวอ้วน แนะนำให้ดื่มแบบสูตรไม่มีน้ำตาล ก็จะช่วยทำให้เราหมดกังวลเรื่องความอ้วนไปได้เลยค่ะ

ปวดท้องประจําเดือน กินอะไรดี

จริงๆ แล้ว เขาว่ากันว่า ถ้าปวดท้องประจำเดือน ให้ดื่มน้ำเยอะๆ หรือให้ดื่มน้ำอุ่นๆ ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องได้ ซึ่งหนึ่งในเครื่องดื่มที่ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องได้ดีอีกหนึ่งอย่างก็คือ น้ำขิง มีผลวิจัยนึงออกมาว่า การรับประทานขิงอย่างน้อย 5 กรัม/วัน เป็นประจำทุกๆ วัน มันจะช่วยบำรุงรอบเดือน พร้อมช่วยแก้ปัญหาภาวะประจำเดือนมาผิดปกติได้นะคุณ! แถมยังช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้เป็นอย่างดีอีกด้วยนะจ๊ะ คือเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรที่ดีมากๆ อาจจะดื่มยากไปสำหรับคนรุ่นใหม่ แต่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกดีๆ ที่อยากจะบอกให้รู้เอาไว้

ปวดท้องประจําเดือน กินอะไรดี

หลายคนอาจจะงงว่า ปลาทะเลน้ำลึกที่ว่านี้ มันคือปลาอะไร เอาง่ายๆ ที่หาได้ง่ายสุดคือ ปลาทูน่า ปลาแซลมอน เมนูนี้น่าจะเป็นเมนูที่สาวๆ ทานกันได้ง่ายๆ แบบไม่ต้องกล้ำกลืนฝืนทน ซึ่งเมนูปลา ส่วนใหญ่แล้วจะย่อยง่าย ทั้งยังให้โปรตีนสูง แต่ไม่ทำให้อ้วนอีกด้วย ซึ่งปลาที่ว่านี้ มีกรด EPA และ DHA ที่มีส่วนในการสร้างสารภายในร่างกาย ซึ่งเป็นสารที่จะช่วยลดอาการบวมน้ำลงได้ และยังช่วยลดอาการปวดเกร็งภายในช่องท้องอันเกิดจากการบีบตัวของมดลูกได้อีกด้วยค่ะ

ปวดท้องประจําเดือน กินอะไรดี

ถัดมาที่ เห็ดหูหนู วัตถุดิบโปรดของคนที่ชอบกินยำ ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า เจ้าเห็ดหูหนูนี้ ช่วยในเรื่องปวดท้องเมนส์ได้ด้วย ซึ่งเขามีคุณสมบัติช่วยส่งเสริมการไหลเวียนเลือดในร่างกาย ทำให้มดลูกขับเลือดได้ง่ายขึ้น จึงช่วยทำให้อาการป่วยเกร็งหน้าท้องลดน้อยลงได้ แถมยังมีส่วนช่วยในเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกระตุ้นระบบขับถ่าย ช่วยลดระดับไขมัน ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง และยังช่วยให้ร่างกายมีความสดชื่น กระปรี้กระเปร่าขึ้นอีกด้วย เรียกได้ว่าสรรพคุณแน่นเวอร์ มีประโยชน์มากมายเลยจริงๆ ค่ะ

ปวดท้องประจําเดือน กินอะไรดี

ถัดมาที่ กล้วยหอม มีคนบอกว่า การกินผักผลไม้ ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเมนส์ได้นะ ซึ่งหนึ่งในผลไม้ที่หลายๆ คนแนะนำกันมากที่สุด ก็คือ กล้วยหอมนี่แหละค่ะซิส เพราะเจ้านี่อุดมไปด้วยวิตามินบี 6 ซึ่งช่วยลดอาการเจ็บปวดบริเวณท้องน้อยและหน้าอกได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยทำให้อารมณ์คงที่และลดภาวะการบวมน้ำในร่างกายได้อีกด้วยนะ แล้วใครที่มักจะเครียดอยู่บ่อยๆ แนะนำให้กินกล้วยหอมค่ะ เพราะเขามีส่วนช่วยรักษาสมดุลของระดับโพแทสเซียม ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ แถมยังลำเลียงออกซิเจนไปสู่สมองได้ดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งเท่าที่ไปอ่านๆ มา แนะนำว่าให้กินกล้วยในช่วงตั้งแต่ก่อนมีประจำเดือน เพราะจะได้ช่วยปรับฮอร์โมนให้สมดุล และช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้ดีนั่นเองค่ะ

ปวดท้องประจําเดือน กินอะไรดี

ไม่ใช่ช็อกโกแลต แต่เป็น ดาร์กช็อกโกแลต อย่าจำผิดนะ ทุกคนรู้ว่าการทานช็อกโกแลตนั่น มีส่วนช่วยทำให้เราอารมณ์ดีขึ้นได้ เพราะในขณะที่กำลังกินดาร์กช็อกโกแลตนั้น สมองของเราจะหลั่งสารแห่งความสุข หรือสาร Endorphin ออกมาด้วย ทำให้รู้สึกอารมณ์ดีขึ้นนั่นเอง แต่อีกประโยชน์ที่หลายๆ คนไม่รู้ คือเขาก็ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ด้วยเหมือนกัน เพราะดาร์กช็อกโกแลตเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียมและยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นกับรอบเดือนของผู้หญิง ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องได้เป็นอย่างดี แถมเขายังช่วยทำให้องค์แม่ที่ควรจะลงในช่วยเป็นเมนส์ หยุดชะงักได้ด้วยนะ เพราะเขาเป็นตัวช่วยสุดปังสำหรับมนุษย์เมนส์ ที่พอกินเข้าไปแล้ว ยังช่วยลดอาการเหวี่ยงวีนในช่วงเป็นประจำเดือนได้อีก คนรอบข้างทั้งหลาย รีบหาดาร์กช็อกโกแลตมาให้มนุษย์เมนส์ข้างกายกินเร็ว!

ปวดท้องประจําเดือน กินอะไรดี

และอาหารอย่างสุดท้าย สับปะรด ซึ่งเหมาะกับคนที่มีปัญหาเรื่องประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมาไม่สม่ำเสมอ เพราะสับปะรดมีสารที่กระตุ้นฮอร์โมนที่ให้ประจำเดือนมาเป็นปกตินั่นเอง ซึ่งถ้าคุณเป็นคนที่ประจำมาเป็นปกติอยู่แล้ว ก็แนะนำว่าให้ทานช่วงก่อนเป็นประจำเดือนแทนจะดีกว่า เพราะมันจะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้ แต่ถ้าใครที่ประจำเดือนมากระปริบกระปรอย หรือผู้ที่มีอาการปวดท้อง จากประจำเดือนมาน้อย ก็สามารถทานตอนที่เป็นได้เลยนะ ถือว่าเป็นการกระตุ้นให้เลือดออกมาได้ดีขึ้น อาการปวดเกร็งจะได้ทุเลาลง

ปวดท้องประจําเดือน กินอะไรดี

ใครที่มีปัญหาปวดท้องเมนส์เหมือนกัน ลองแก้ปัญหาด้วยการกินดู บางทีอาหารที่เราหยิบมาแชร์ในวันนี้ อาจจะช่วยเพื่อนๆ ได้ ในวันที่เราเป็นประจำเดือน สิ่งนึงที่เราต้องใส่ใจคือสุขภาพของตัวเอง เพราะฉะนั้นอะไรหนักๆ พักก่อนเนอะ ไว้รอประจำเดือนหมด ค่อยว่ากันใหม่ ก็หวังว่าการกินอาหารเหล่านี้ จะช่วยเพื่อนๆ ได้

สำหรับวันนี้ต้องลาไปก่อนแล้ว บ๊ายบายค่ะ

Cr. 5 อาหารสีดำ สรรพคุณล้ำ กินลดอาการปวดประจำเดือนได้

Cr. 10 อาหาร ลดอาการ ปวดท้องประจำเดือน โดยไม่ต้องกินยา!

กินอะไรให้ประจําเดือนไหลเยอะๆ

10 ของกินบำรุงสำหรับสาว ๆ ลดปวดประจำเดือนแบบไม่ต้องกินยา!.
1น้ำขิง ... .
2กล้วยหอม ... .
3สับปะรด ... .
4ชาคาโมมายล์ ... .
5น้ำเต้าหู้ ... .
6ผักใบเขียว ... .
7ดาร์กช็อกโกแลต ... .
8มะละกอ.

น้ําอะไรแก้ปวดท้องประจําเดือน

9 เครื่องดื่มแก้ปวดประจำเดือน สรรพคุณเริดไม่แพ้ยา.
1. น้ำอุ่น ... .
2. น้ำขิง ... .
3. น้ำผึ้งมะนาวอุ่น ๆ ... .
4. น้ำสับปะรด ... .
5. ชาเขียว ... .
6. ชาคาโมมายล์ ... .
7. ชาเปปเปอร์มินต์ ... .
8. แอปเปิลไซเดอร์.

ยาแก้ปวดท้องประจําเดือน กินตอนไหน

ปวดประจำเดือน ลดไข้ เหมาะสำหรับผู้ใหญ่และเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปี ขึ้นไป สามารถกินได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ที่มีอาการปวด โดยสูงสุดไม่ควรกินเกินวันละ 3 แคปซูล สำหรับตัวนี้ควรกินพร้อมอาหารทันทีเพราะออกฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหารค่อนข้างมาก ใช้เวลาในการออกฤทธิ์ยา 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง และครอบคลุมอาการปวดได้นาน 6 ชั่วโมง

เป็นประจําเดือนกินยาอะไรได้บ้าง

นอกจากยาแก้ปวดในกลุ่มเอ็นเสดแล้ว ผู้ที่ปวดประจำเดือนยังสามารถรับประทานยาสามัญประจำบ้านที่รู้จักกันดีอย่างยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ได้เช่นกัน ทว่าควรเรียนรู้รายละเอียดเบื้องต้นและการใช้ยาอย่างถูกวิธี เพื่อให้เกิดความปลอดภัยขณะใช้ยามากที่สุดด้วย อาทิ