ปวดท้องประจําเดือน

ปวดประจำเดือนแบบไหนเรียกผิดปกติ?

ปวดประจำเดือน (Menstrual Pain/Dysmenorrhea) คือ อาการปวดท้องน้อยช่วงที่มีรอบเดือน ซึ่งมักเกิดขึ้นก่อนรอบเดือนมาเพียงเล็กน้อย หรือเกิดขึ้นระหว่างที่มีรอบเดือน โดยส่วนใหญ่อาการดังกล่าวมักเกิดขึ้นเป็นเวลา 2-3 วัน ผู้ที่มีประจำเดือนมักรู้สึกปวดตุบ ๆ หรือปวดบีบกลางท้องน้อยล่างหรือบริเวณหัวหน่าว อาจมีอาการปวดร้าวไปที่หลังหรือต้นขา โดยอาการอาจรุนแรงหรือไม่รุนแรงแตกต่างกันไปและอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ ถ่ายเหลว ปวดศีรษะและอ่อนเพลีย

ปวดท้องประจําเดือน

สาเหตุของอาการปวดประจำเดือน

ปวดท้องประจำเดือน เกิดจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกเพื่อให้ร่างกายขับเนื้อเยื่อภายในมดลูกออกมาเป็นประจำเดือน แต่บางครั้งอาจมีการบีบตัวของกล้ามเนื้อที่รุนแรงมากกว่าปกติจนอาจไปกดทับหลอดเลือดบริเวณใกล้เคียงจนทำให้ออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงได้จึงทำให้เกิดอาการปวดเกร็ง และในช่วงที่มีประจำเดือน ร่างกายจะมีการผลิตสารที่ชื่อว่า "โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin)" ที่เป็นสารที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกเกิดการบีบตัวมากขึ้นด้วย เราเรียกอาการปวดชนิดนี้ว่า ปวดท้องน้อยปฐมภูมิ (Primary dysmenorrhea) ที่เกิดจากสารโพรสตาแกลนดิน 

นอกจากนี้ อาการปวดประจำเดือนยังอาจเกิดขึ้นจากปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์อื่น ๆ ได้อีกด้วย เรียกว่า ปวดท้องน้อยแบบทุติยภูมิ (Secondary dysmenorrhea) ซึ่งพบในสตรีอายุมากกว่า 25 ปี เช่น

  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะนี้จะทำให้ปวดท้องมาก โดยจะมีอาการติดต่อกันนานกว่า 6 เดือน ซึ่งอาจส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ด้วย
  • เนื้องอกมดลูก เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อของมดลูก ซึ่งมักจะพบได้บ่อยในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป โดยเนื้องอกที่ว่านี้จะมีขนาดเล็กมากไปจนถึงมีขนาดใหญ่เท่าลูกแตงโม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ หรือทำให้มีลูกยากได้ อาการที่แสดงออกมาในบางรายอาจปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง หรือประจำเดือนมามาก และมาเป็นเวลานานผิดปกติ
  • อุ้งเชิงกรานอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ โดยอาการหลักจะเป็นการปวดที่อุ้งเชิงกราน และยังส่งผลให้ผู้ป่วยปวดประจำเดือน ตกขาวมีกลิ่นเหม็นคาวด้วย
  • ปากมดลูกตีบ ทำให้ขัดขวางการไหลของเลือดประจำเดือน และเกิดแรงดันภายในมดลูกมาก ก่อให้เกิดอาการปวดประจำเดือน และประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • พังผืดในอุ้งเชิงกราน ซึ่งอาจเกิดจากการเคยผ่าตัดช่องท้อง
  • สาเหตุอื่นๆ เช่น โรคทางระบบลำไส้ หรือ กระเพาะปัสสาวะ

ปวดท้องประจําเดือน
ปวดท้องประจําเดือน
ปวดท้องประจําเดือน
ปวดท้องประจําเดือน

อาการปวดประจำเดือนที่ผิดปกติเป็นอย่างไร?

  • ปวดท้องแม้ตอนไม่มีประจำเดือน ปวดท้องช่วงก่อน-หลังประจำเดือนมา หรือปวดท้องแบบเดิมเกือบตลอดทั้งเดือน
  • ปวดท้องจนไม่สามารถทำอะไรได้ การปวดท้องประจำเดือนส่วนใหญ่เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าคุณผู้หญิงปวดมากจนไม่สามารถลุกทำอะไรได้ นอนตัวงอเป็นกุ้งหรือต้องกินยาแก้ปวดอยู่ตลอดเวลา แสดงว่าการปวดท้องนี้ไม่ธรรมดาแล้ว
  • ปวดท้องจนลามไปถึงส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ขา ทวารหนัก แขน ไหล่ หลัง
  • มีอาการปวดท้องระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจบ่งบอกถึงโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • มีอาการท้องเสีย ท้องร่วงหรือท้องอืดอย่างรุนแรง ก่อน หลัง หรือระหว่างมีประจำเดือน
  • ปวดท้องจนอาเจียน เป็นลม หรือวิงเวียนศีรษะ
  • ปวดท้องจนเป็นไข้สูง
  • ปวดท้องมากจนต้องไปฉีดยาแก้ปวดทุกครั้งที่มีประจำเดือน
  • มีอาการปวดท้องประจำเดือนทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกเดือน

ปวดท้องประจําเดือน

การป้องกันและบรรเทาอาการปวดประจำเดือนเบื้องต้นด้วยตนเอง

หากมีอาการปวดประจำเดือน ผู้ป่วยสามารถดูแลรักษาตัวเองได้โดย

  • ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบท้องน้อยและหลัง
  • อาบน้ำอุ่น
  • ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น โยคะหรือนั่งสมาธิ
  • รับประทานยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) ควรรับประทานเมื่อเริ่มมีอาการปวดหรือก่อนมีอาการปวด และควรใช้เมื่อมีอาการปวดอย่างรุนแรงเท่านั้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อตามหาสาเหตุและรับการรักษาเพิ่มเติมได้อย่างถูกต้อง

ปวดท้องประจําเดือน
ปวดท้องประจําเดือน
ปวดท้องประจําเดือน
ปวดท้องประจําเดือน
ปวดท้องประจําเดือน
ปวดท้องประจําเดือน

ปวดท้องประจําเดือน
การส่งตรวจและการวินิจฉัยอาการปวดประจำเดือน คือ การซักประวัติและตรวจร่างกาย ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจภายในได้จะพิจารณาส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น การทำอัลตราซาวด์ช่องท้อง การตรวจหาการติดเชื้อและพิจารณาผ่าตัดส่องกล้องวินิจฉัยในบางราย

ปวดท้องประจําเดือน

นัดพบแพทย์คลิก

พญ.ศรีสุภา เลาห์ภากรณ์

สูติ - นรีเวช ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งวิทยานรีเวช

แก้ไข

18/08/2565

ปวดท้องประจําเดือนทุกเดือนผิดปกติไหม

การปวดท้องประจำเดือนแบบปกติก็มีอยู่เช่นกัน แต่การปวดท้องประจำเดือนแบบผิดปกติสามารถนำไปสู่อันตรายถึงชีวิตหรือเป็นสัญญาณของโรคร้ายได้ การปวดท้องประจำเดือนแบบผิดปกติอาจเป็นตัวบ่งบอกถึงโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน หรือเนื้องอกในมดลูก เป็นต้น ในบางกรณีคุณผู้หญิงบางคนไม่ตระหนักว่าอาการปวดท้องของ ...

น้ําอะไรแก้ปวดท้องประจําเดือน

9 เครื่องดื่มแก้ปวดประจำเดือน สรรพคุณเริดไม่แพ้ยา.
น้ำอุ่น ... .
น้ำขิง ... .
น้ำผึ้งมะนาวอุ่น ๆ ... .
น้ำสับปะรด ... .
ชาเขียว ... .
ชาคาโมมายล์ ... .
ชาเปปเปอร์มินต์ ... .
แอปเปิลไซเดอร์.

ปวดท้องประจําเดือนแบบไหนผิดปกติ

ปวดท้องแบบไหนต้องไปพบแพทย์ ปวดบีบ และปวดนานกว่า 2-3 วัน มีอาการท้องร่วงและคลื่นไส้ร่วมด้วย ปวดท้องประจำเดือนมากขึ้นเรื่อยๆ หรือรู้สึกปวดท้องน้อยอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน มีเลือดไหลออกมามากกว่าปกติ ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยแทบทุกชั่วโมง

ยาแก้ปวดท้องประจําเดือน กินตอนไหน

ปวดประจำเดือน ลดไข้ เหมาะสำหรับผู้ใหญ่และเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปี ขึ้นไป สามารถกินได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ที่มีอาการปวด โดยสูงสุดไม่ควรกินเกินวันละ 3 แคปซูล สำหรับตัวนี้ควรกินพร้อมอาหารทันทีเพราะออกฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหารค่อนข้างมาก ใช้เวลาในการออกฤทธิ์ยา 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง และครอบคลุมอาการปวดได้นาน 6 ชั่วโมง