ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ doc

ทฤษฎีมาสโลว์ หรือ ลำดับขั้นความต้องการ (Maslow’s Hierarchy of Needs) เป็นทฤษฎีจิตวิทยาที่ อับราฮัม เอช. มาสโลว์ คิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1943 ในเอกสารชื่อ “A Theory of Human Motivation” Maslow ระบุว่า มนุษย์มีความต้องการทั้งหมด 5 ขั้นด้วยกัน ความต้องการทั้ง 5 ขั้น มีเรียงลำดับจากขั้นต่ำสุดไปหาสูงสุด มนุษย์จะมีความต้องการในขั้นต่ำสุดก่อน เมื่อได้รับการตอบสนองจนพอใจแล้วก็จะเกิดความต้องการขั้นสูงต่อไป ความต้องการของบุคคลจะเกิดขึ้น 5 ขั้นเป็นลำดับ ดังนี้ 

Show
ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ doc

1. ความต้องการพื้นฐานทางด้านร่างกาย (Physiological Needs)  เป็นความต้องการลำดับต่ำสุดและเป็นพื้นฐานของชีวิต ได้แก่ ความต้องการเพื่อตอบสนองความหิว ความกระหาย ความต้องการเพื่อความอยู่รอดของชีวิต เรียกง่ายๆ ก็คือ ปัจจัยสี่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่พักอาศัย  รวมถึงสิ่งที่ทำให้การดำรงชีวิตสะดวกสบาย นั่นเอง 

ในขั้นนี้สิ่งที่ลูกค้าต้องการ หนีไม่พ้น สินค้าและบริการ อุปโภค บริโภค ทั่วไปๆ เช่น ร้านอาหาร ร้านขายยา บ้าน รถยนต์ มือถือ 

2. ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs) เป็นความต้องการที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่ความต้องการทางร่างกายได้รับการตอบสนองจนเป็นที่พอใจแล้ว ความต้องการขั้นนี้ถึงจะเกิดขึ้น ได้แก่ ความต้องการความปลอดภัยมีที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ปราศจากความกลัว การสูญเสียและภัยอันตราย เช่น สภาพสิ่งแวดล้อมบ้านปลอดภัย การมีงานที่มั่นคง การมีเงินเก็บออม ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย รวมถึง ความมั่นคงปลอดภัยส่วนบุคคล สุขภาพและความเป็นอยู่ ระบบรับประกัน-ช่วยเหลือ ในกรณีของอุบัติเหตุ/ความเจ็บป่วย

ในขั้นนี้สิ่งที่ลูกค้าต้องการ ก็คือ สินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ในด้านการสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น กล้องวงจรปิด การลงทุน การออม การทำประกันชีวิต หรือ การย้ายบ้านที่อยู่อาศัย ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่มีการดูแลรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างดี

3. ความต้องการความรักและสังคม (Belonging and Love Needs) เมื่อมีความปลอดภัยในชีวิตและมั่นคงในการงานแล้ว คนเราจะต้องการความรัก ความสัมพันธ์กับผู้อื่น มีความต้องการเป็นเจ้าของและมีเจ้าของ ความรักในรูปแบบต่างกัน เช่น ความรักระหว่าง คู่รัก พ่อ แม่ ลูก เพื่อน สามี ภรรยา ได้รับการยอมรับเป็นสมาชิกในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่ม

ในขั้นนี้สิ่งที่ลูกค้าต้องการ ก็คือ สินค้าและบริการที่สามารถตอบสนองอารมณ์ ความรู้สึก ของเขาได้ เช่น บริการจัดหาคู่ บริการจัดงานแต่งงาน บริการทัวร์ท่องเที่ยว หรือหากเป็นสินค้า ตัวอย่างง่ายๆที่ทำให้เห็นภาพชัดเจน เช่น ความต้องการเป็นเจ้าของรถยนต์ BENZ BMW เพื่อให้เพื่อนหรือคนรอบข้าง ชื่นชม ยอมรับ  เป็นสมาชิกในกลุ่ม

4. ความต้องการการได้รับการยกย่องนับถือในตนเอง (Esteem Needs) เมื่อความต้องการความรักและการยอมรับได้รับการตอบสนองแล้ว คนเราจะต้องการสร้างสถานภาพของตัวเองให้สูงขึ้น เด่นขึ้น มีความภูมิใจและสร้างความนับถือตนเอง ชื่นชมในความสำเร็จของงานที่ทำ ความรู้สึกมั่นใจในตนเองและมีเกียรติ ความต้องการเหล่านี้ เช่น ยศ ตำแหน่ง ระดับเงินเดือนที่สูง งานที่ท้าทาย ได้รับการยกย่องจากผู้อื่น มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในงาน โอกาสแห่งความก้าวหน้าในงานอาชีพ ฯลฯ

ในขั้นนี้สิ่งที่ลูกค้าต้องการ ก็คือ สินค้าและบริการที่ส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง เช่น อสังหาริมทรัพย์  เครื่องเพชรราคาแพง บริการระดับพรีเมี่ยม เครื่องบินส่วนตัว โรงแรม 5 ดาว

5. ความต้องการพัฒนาศักยภาพของตน (Self-actualization) เป็นความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์และความต้องการนี้ยากต่อการบอกได้ว่าคืออะไร เราเพียงสามารถกล่าวได้ว่า ความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเป็นความต้องการที่มนุษย์ต้องการจะเป็น ต้องการที่จะได้รับผลสำเร็จในเป้าหมายชีวิตของตนเอง และต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต

สินค้าและบริการที่ตอบโจทย์คนในขั้นนี้อาจมองหาได้ยาก เพราะความต้องการสูงสุดของคนกลุ่มนี้ จะมาจากแรงบันดาลใจ หรือ Passion ด้านจิตใจที่ต้องการมากกว่า ด้านวัตถุที่จับต้องได้ 

การนำทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) ลำดับขั้นของมาสโลว์มาใช้ในการตลาด หรือการทำธุรกิจ สามารถช่วยให้คุณเข้าใจแรงจูงใจ และความต้องการของลูกค้า เมื่อคุณทราบแล้วว่าสินค้าหรือบริการของคุณสามารถตอบโจทย์ความต้องการด้านไหน คุณสามารถสร้างกลยุทธ์และวิธีการขายสินค้าและบริการของคุณได้ให้สอดคล้องกับความต้องการในด้านต่างๆของลูกค้าของคุณ การขายสินค้าก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

อัปเดตเมื่อ 16 ต.ค. 2564

Highlights

  • มนุษย์จะมีพฤติกรรมและการแสดงออกจากความต้องการตามลำดับขั้น

  • ลำดับขั้นของความต้องการไม่จำเป็นที่จะต้องตายตัว สามารถเปลี่ยนแปลงและยืดหยุ่นได้ตามปัจจัยภายนอก และความแตกต่างระหว่างบุคคล

  • พฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์มักจะเกิดขึ้นจากความต้องการมากกว่าหนึ่งอย่างร่วมกัน มากกว่าเกิดจากความต้องการใดเพียงด้านเดียว

อะไรเป็นแรงจูงใจให้มนุษย์คนหนึ่งทำอะไรบางอย่าง? คำถามนี้เป็นคำถามที่เกิดขึ้นและมีหลากหลายคนที่พยายามหาคำตอบ หนึ่งในคำตอบที่ได้รับความนิยมและแพร่หลายคือ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ซึ่งจะอธิบายเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ ซึ่งเป็นสาเหตุของแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ

ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ doc

เนื้อหาในบทความ

  1. ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow's Hierarchy of Needs) คืออะไร?

  2. ความต้องการของมนุษย์รูปแบบต่างๆ ตามทฤษฎีของมาสโลว์

  3. กายภาพ (Physiological)

  4. ความปลอดภัย ความมั่นคง (Safety, Security)

  5. ความรัก หรือการเป็นเจ้าของ (Love, Sense of Belongings)

  6. ความเคารพ (Esteem)

  7. การบรรลุความหมายหรือความสมบูรณ์ของชีวิต (Self-actualization)

  8. การเสนอเพิ่มเติมของทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์

  9. การวิจารณ์ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow's Hierarchy of Needs)

  10. ประโยชน์และการประยุกต์ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow's Hierarchy of Needs) คืออะไร?

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ คือ แนวคิดทางจิตวิทยาที่เสนอว่า มนุษย์จะถูกกระตุ้นให้เติมเต็มความต้องการขั้นพื้นฐานในลำดับต้นก่อนที่จะมีพัฒนาความต้องการนี้ออกไปจากด้านล่างสู่ด้านบน ซึ่งคือความต้องการด้านต่างๆ ดังนี้

  • กายภาพ (Physiological)

  • ความปลอดภัย ความมั่นคง (Safety, Security)

  • ความรัก หรือการเป็นเจ้าของ (Love, Sense of Belongings)

  • ความเคารพ (Esteem)

  • การบรรลุความหมายหรือความสมบูรณ์ของชีวิต (Self-actualization)

โดยทฤษฎีนี้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ซึ่งเกิดจากนักจิตวิทยาชื่อ อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1943 ในงานเขียนชื่อ A Theory of Human Motivation และในหนังสือชื่อ Motivation and Personality

ความต้องการของมนุษย์รูปแบบต่างๆ ตามทฤษฎีของมาสโลว์

ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ doc

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow's Hierarchy of Needs)

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์มักจะถูกแสดงด้วยรูปภาพพีระมิด ซึ่งสิ่งที่อยู่ล่างสุดคือความต้องการขั้นพื้นฐานมากที่สุด และลำดับที่สูงขึ้นจะเป็นความต้องการที่มีความซับซ้อนขั้นจนถึงยอดของพีระมิด ความต้องการที่อยู่ด้านล่างจะต้องถูกเติมเต็มก่อนที่มนุษย์จะมีความสนใจความต้องการในขั้นถัดไป

ความต้องการด้านกายภาพ (Physiological Needs)

ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ doc

ความต้องการทางกายภาย

เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้เช่น

  • อาหาร

  • น้ำ

  • อากาศ

  • การนอนหลับ

นอกจากนี้ยังรวมไปถึงสิ่งพื้นฐานอื่นๆ เช่น ที่พักหลบภัย เครื่องนุ่มห่ม สารอาหารที่เหมาะสม และมาสโลว์ยังรวมการสืบพันธุ์ด้วย เพราะการสืบพันธุ์เป็นการเอาชีวิตรอดของเผ่าพันธ์

ความต้องการด้านความมั่นคง ปลอดภัย (Safety and Security Needs)

ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ doc

ความต้องการด้านความมั่นคง ปลอดภัย

ความต้องการในลำดับนี้จะมีความซับซ้อนมากขึ้น มนุษย์อยากจะควบคุมและดูแลสิ่งต่างๆ ในชีวิต ดังนั้นความปลอดภัยและความมั่นคงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยตัวอย่างของความต้องการด้านนี้คือ

  • ความมั่นคงทางการเงิน

  • ความปลอดภัยของสุขภาพ

  • ความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ

  • ความปลอดภัยทางอารมณ์ เช่น การไม่เศร้าเสียใจ ไม่ร้อนใจ วิตกกังวล หรือสภาวะที่เป็นลบ

  • ความมั่นคงทางในการมีชีวิตที่ดี

เพราะเราต้องการคาดเดาว่าอะไรจะเกิดขึ้นอย่างที่มันเป็นไป เราไม่ชอบความเสี่ยงที่ดูแล้วเป็นไปได้ไม่ดี

ความต้องการด้านความรัก หรือการเป็นเจ้าของ (Love/Sense of Belongings)

ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ doc

ความต้องการด้านความรัก หรือการเป็นเจ้าของ

มีควาสัมพันธ์ที่ดี ได้รับความรัก หรือรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ความต้องการนี้เป็นความต้องการที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งเป็นความต้องการทางด้านสังคม (Social Needs) โดยที่สภาวะอารมณ์ ความสัมพันธ์เหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ตามมา

  • เพื่อน

  • ความรักในเชิงโรแมนติก

  • ครอบครัว

  • ความเป็นกลุ่ม

  • ความเชื่อใจและความสนิท

ความต้องการในขั้นนี้ยังรวมไปถึง การเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มต่างๆ เช่น เพื่อนร่วมงาน ครอบครัว กลุ่มทางศาสนา ด้วยเช่นกัน

ความต้องการด้านความเคารพ (Esteem Needs)

ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ doc

ความต้องการด้านความเคารพ

ความต้องการด้านความเคารพเกิดขึ้นเมื่อความต้องการด้านอื่นๆ ได้รับการตอบสนองแล้ว ในระดับนี้เราจะต้องการความเคารพนับถือจากคนอื่น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น

  • ความต้องการที่จะเป็นใครสักคน หรือมีความภูมิใจ เกิดความความเชี่ยวชาญในทักษะต่างๆ

  • ความต้องการที่จะได้รับการเคารพจากคนอื่น เช่น การมีชื่อเสียง ศักดิ์ศรี

ความต้องการด้านนี้ยังรวมไปถึงสิ่งต่างๆ เช่น ความรู้สึกมีคุณค่า หรือ self-esteem เช่นกัน คนที่สามารถตอบสนองความต้องการด้านความเคารพจะมีความรู้สึกมั่นใจในความสามารถของตนเอง

ในขณะที่คนที่ขาด self-esteem และการเคารพจากคนอื่นๆ อาจทำให้เกิดความรู้สึกด้อยค่ากว่าคนอื่น ซึ่งมาสโลว์กล่าวว่าความต้องการการยอมรับนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในเด็กและวัยรุ่น

การบรรลุความหมาย หรือความสมบูรณ์ของชีวิต (Self-Actualization)

ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ doc

การบรรลุความหมาย หรือความสมบูรณ์ของชีวิต

เป็นสิ่งที่อยู่สูงสุดในระดับของความต้องการตามทฤษฎีของมาสโลว์ ซึ่งมันหมายถึงการตระหนักในความสามารถของคนๆ หนึ่ง ความต้องการที่จะเป็นในสิ่งที่คนๆ หนึ่งสามารถเป็นได้ เป็นสิ่งที่มีความเฉพาะเจาะจงเช่น คนๆ หนึ่งถูกเติมเต็มจากตัวเองในการทำบางอย่างให้ดีที่สุด เป็นการบรรลุศักยภาพของตัวเอง และพัฒนาตัวเองเช่น

  • บางคนอาจต้องการเป็นพ่อแม่ในอุดมคติ

  • บางคนอาจต้องการมีความเป็นเลิศด้านกีฬา

  • บางคนอาจต้องการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ประดิษฐ์ วาดภาพ อย่างเต็มศักยภาพ

ประเภทของความต้องการ

ความต้องการทั้ง 5 นี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม

  • Deficiency needs (D-needs) คือ ความต้องการสี่อันแรกคือ ความต้องการด้านกายภาพ, ความปลอดภัย/ความมั่นคง, ความรัก/การเป็นเจ้าของ และความเคารพ

  • Being needs or growth needs (B-needs) คือความต้องการด้านการบรรลุความหมายภายใน หรือความสมบูรณ์ของชีวิต (Self-actualization)

Deficiency Needs

Deficiency needs (D-needs) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นเมื่อมีความขาด และจะจูงใจให้มนุษย์ทำอะไรบางอย่างเมื่อมันไม่ได้รับการตอบสนอง ความต้องการในกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นและยาวนานขึ้นหากมันถูกปฏิเสธ เช่น หากคุณอยู่ในสภาวะที่ขาดแคลนอาหาร คุณจะรู้สึกหิวมากยิ่งขึ้นและต้องการกินมากขึ้น

ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ doc

Being Needs or Growth Needs

Being needs (B-needs) เป็นความต้องการที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการขาดอะไรบางอย่าง แต่เป็นความต้องการ ความปราถนาของมนุษย์ที่จะเติบโต และครั้งหนึ่งที่ความต้องการในการเติบโตนี้ได้รับความพอใจแล้ว เราจะไปถึงความต้องการระดับสูงสุดคือ Self-actualization

ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ ได้บอกไว้ว่าเราจะต้องได้รับความพึงพอใจในความต้องการ Deficiency needs (D-needs) ก่อนที่จะได้รับความต้องการ Being needs (B-needs)

การเสนอเพิ่มเติมของทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์

มาสโลว์ (Maslow) มีการพัฒนาทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการเป็นช่วงระยะเวลานาน (เช่นงานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1943 และยังมีการพัฒนาในลำดับถัดมาเช่นปี ค.ศ. 1962 หรือ ค.ศ. 1987)ทำให้หลายครั้งที่อาจเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับทฤษฎีของเขา

ในปี ค.ศ. 1987 มาสโลว์ได้กล่าวว่าลำดับขั้นในทฤษฎีความต้องการไม่จำเป็นต้องตายตัว ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ตามสภาพแวดล้อม ปัจจัยภายนอก และความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่นในบางคน self-esteem อาจสำคัญมากกว่า หรือบางคนการทำงานสร้างสรรค์ในอยู่ในหมวดหมู่ self-actualization อาจเกิดขึ้นมากกว่าความต้องการพื้นฐานอื่นๆ

ความพอใจในความต้องการแต่ละขั้นนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในสภาวะที่มีพร้อมทุกอย่างหรือไม่มีเลย (all or none) นั่นหมายความว่ามันไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับความพอใจ 100 เปอร์เซ็นต์ในความต้องการพื้นฐานแต่ละขั้น ก่อนที่ความต้องการขั้นถัดไปจะปรากฏขึ้น

ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ doc

ความต้องการในแต่ละขั้นนี้ไม่ได้เป็นไปในทิศทางที่สูงขึ้น พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เพียงอย่างเดียว แต่มันอาจมีโอกาสที่จะลดลงมาด้วยก็ได้จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเช่น การอย่าร้าง การตกงาน เป็นต้น

นอกจากนี้พฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกิดจาก การได้รับแรงจูงใจในหลายๆ อย่างไม่จำเป็นที่จะต้องเกิดจากความต้องการในลำดับขั้นต่างๆ เพียงอย่างเดียว และมากไปกว่านั้นพฤติกรรมต่างๆ มักจะเกิดจากความต้องการพื้นฐานหลายๆ อย่างพร้อมกันมากกว่าจะขับเคลื่อนด้วยความต้องการเพียงอย่างเดียว

ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ doc

การวิจารณ์ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow's Hierarchy of Needs)

แม้ว่าทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์จะได้รับความนิยมและแพร่หลายไปจำนวนมาก แต่ก็มีผู้ที่วิจารณ์ทฤษฎีนี้อยู่ โดยการวิจารณ์ข้อผิดพลาดในสองประเด็นคือ

  • ความต้องการต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามลำดับขั้น โดยงานวิจัยจาก Wahba และ Bridwell ที่ระบุว่ามีหลักฐานไม่มากที่จะบอกว่าความต้องการเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นในทฤษฎี

  • ทฤษฎีนี้ยากที่จะทำการทดสอบ ในคำนิยามของเขาเกี่ยวกับ self-actualization เป็นคำนิยามที่จำกัดมากในกลุ่มคน มีความเฉพาะในบุคคล ทำให้ยากที่จะทดสอบทางวิทยาศาสตร์

ประโยชน์และการประยุกต์ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์

ตัวอย่างของการใช้ประโยชน์ในทฤษฎีนี้ในวงกว้างเช่น

  • การตลาด ทำให้เข้าใจความต้องการและแรงจูงใจของลูกค้า ทราบความต้องการของลูกค้าว่าจะต้องมีเงื่อนไขอะไรก่อน และลูกค้ามาอย่างน้อยน่าจะได้รับการเติมเต็มในความต้องการขั้นไหนบ้าง

  • การศึกษา ทฤษฎีนี้ทำให้การศึกษาได้ให้ความสนใจกับบริบทอื่นนอกเหนือจากหลักสูตรมากขึ้นเช่น หากนักเรียนหิวข้าว อาจทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ เพราะความต้องการพื้นฐานยังไมไ่ด้รับการเติมเต็ม นอกจากนี้นักเรียนควรได้รับความปลอดภัย และความมั่นคงทางอารมณ์ก่อนที่จะเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ

  • ธุรกิจ ทฤษฎีนี้ได้รับการประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจในหลายมิติเช่น การดูแลบุคลากรโดยการเติมเต็มความต้องการขั้นต่างๆ ของบุคลากรได้สามารถช่วยให้คุณภาพชีวิตของบุคลากรดีขึ้น และทำงานได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม

  • https://www.verywellmind.com/what-is-maslows-hierarchy-of-needs-4136760

  • https://www.simplypsychology.org/maslow.htm

ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ doc

Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้