แหม่มอายุ 14 ปี ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตนให้แก่มด

แหม่มอายุ 14 ปี ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตนให้แก่มด

พินัยกรรม คือการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนหรือในการต่างๆ ซึ่งจะเกิดผลบังคับได้เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย  

Show

ตัวอย่างเช่น  นายหล่อได้เขียนพินัยกรรมว่า “ หากข้าพเจ้าตายให้ทรัพย์สินทุกอย่างของข้าพเจ้าตกได้แก่ นางสวย ภรรยาของข้าพเจ้า แต่ผู้เดียว”  เป็นพินัยกรรมที่นายหล่อได้ทำขึ้นยกทรัพย์สินทั้งหมดที่มีให้กับนางสวยภรรยาแต่เพียงผู้เดียว เมื่อต่อมานายหล่อประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายพินัยกรรมฉบับนี้จึงบังคับได้ตามกฎหมาย  

บุคคลที่จะทำพินัยกรรมได้ต้องมีอายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป  โดยการทำพินัยกรรมนี้บุคคลที่มีอายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์แล้วสามารถทำพินัยกรรมเองได้เลยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาแต่อย่างใด

ท่านที่สนใจ ศึกษาเพิ่มเติมได้ตามกฎหมายและคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1646 บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 25 ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6289/2538 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายคำว่า”พินัยกรรม” ไว้ว่า “เอกสารแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย”การที่มารดาโจทก์จำเลยทำหนังสือโดยเรียกหนังสือนั้นว่าพินัยกรรมและใช้ถ้อยคำว่า “…ขอ…ยกทรัพย์สินของข้าพเจ้าทั้งหมด…ให้แก่ บ.แต่เพียงผู้เดียว…”นั้น ตามความเข้าใจของสามัญชนที่เห็นข้อความดังกล่าวย่อมเข้าใจว่า ส.เจตนาจะนำทรัพย์สินของ ส.ทั้งหมดให้แก่ บ. เมื่อ ส.ถึงแก่ความตายแล้ว ข้อความในหนังสือไม่ได้แสดงให้เห็นว่า ส.ตั้งใจยกทรัพย์สินของ ส.ให้แก่โจทก์ตั้งแต่ ส.ยังมีชีวิตอยู่ ข้อความในหนังสือดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายของ ส.เกี่ยวกับทรัพย์สินของ ส. เข้าลักษณะเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าหนังสือนั้นได้ลงวันเดือนปี ที่ทำขึ้นและ ส.ผู้ทำหนังสือนั้นได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน 2 คน และพยานผู้เขียน 1 คน โดยพยานทั้ง 3 คน นั้นได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของ ส.ไว้ในขณะนั้น หนังสือดังกล่าวจึงเป็นพินัยกรรมซึ่งได้ทำขึ้นถูกต้องตามแบบตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 มีผลใช้ได้โดยสมบูรณ์

อัปเดตเมื่อ 8 ธ.ค. 2563

แหม่มอายุ 14 ปี ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตนให้แก่มด

มรดก พินัยกรรม เมื่อพูดถึงสองสิ่งนี้ หลายคนมักจะคิดว่าการวางแผนมรดกและการจัดทำพินัยกรรมเป็นเรื่องของคนรวย คนที่มีอายุเยอะแล้ว หรือเป็นเรื่องของคนที่มีทรัพย์สินจำนวนมาก จึงไม่ค่อยเริ่มวางแผนมรดก

เหตุผลว่าทำไมต้องวางแผนมรดก ก็เพราะว่าในวันที่เรามีทรัพย์สินเตรียมที่จะส่งมอบให้กับใครบางคนและมักที่จะเป็นคนที่เรารัก หรือสำหรับบางคนไม่เพียงแต่มีทรัพย์สินเท่านั้นแต่ยังมีหนี้สินพ่วงมาด้วย จึงจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนเพื่อเตรียมการ เมื่อวันนั้นมาถึง เราจะส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ใครและจะมีการจัดการกับหนี้สินที่พ่วงมาด้วยอย่างไรบ้าง และยิ่งถ้าไม่มีหนี้สินเลยจะได้มีการวางแผนว่าเมื่อถึงวันนั้น เราจะเหลืออะไรไว้ให้กับใครได้บ้าง

ความสำคัญของการวางแผนมรดก คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าเมื่อเจ้าของมรดกเสียชีวิต ทรัพย์มรดกทั้งหมดจะตกทอดสู่ลูก แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่แบบนั้นเสมอไป

เพราะกฎหมายมีการจัดลำดับของการแบ่งมรดก ทั้งยังมีเรื่องของทรัพย์สินส่วนตัว รวมถึงสินสมรสเข้ามาเกี่ยวเนื่องด้วยในกรณีของคนที่มีคู่สมรส ซึ่งถ้าไม่เตรียมการวางแผนมรดกไว้เลย ทรัพย์สินที่มีอยู่ก็จะถูกแบ่งให้กับทายาทตามลำดับกฎหมาย ซึ่งอาจจะไม่ตรงตามความต้องการของเจ้าของทรัพย์สินเดิม แถมขั้นตอนการจัดแบ่งยังมีความซับซ้อนและใช้เวลานานกว่าอีกด้วย เพราะกฎหมายจะกำหนดให้คนจากภายนอกมารวบรวมทรัพย์สินต่างๆ รวมถึงต้องรวบรวมหนี้สิน ลูกหนี้ เจ้าหนี้ การรวบรวมก็ยังไม่รู้ว่าจะครบถ้วนหรือไม่อีกด้วย

โดยกฎหมายแบ่งลำดับความสำคัญของทายาทออกเป็น 2 ลำดับ คือ

1. ทายาทโดยพินัยกรรม

ในกรณีที่ได้มีการทำพินัยกรรมไว้ เนื้อหาและลำดับของผู้รับพินัยกรรมในพินัยกรรมจะถูกนำมาพิจารณาก่อน

2. ทายาทโดยธรรม

ในกรณีไม่มีทายาทโดยพินัยกรรม (ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้) จะใช้หลักทายาทโดยธรรม โดยสามารถแบ่งออกเป็น 6 ลำดับ (ใช้หลัก ญาติสนิท>ญาติห่าง) ได้แก่

1. ผู้สืบสันดาน (รวมบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม)

2. บิดามารดา (ในส่วนของบิดาจะต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันบิดาไม่มีสิทธิในกองมรดกของบุตร ในทางกลับกันบุตรมีสิทธิในกองมรดกของบิดา)

3. พี่น้องร่วมบิดามารดา

4. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน

5. ปู่ ย่า ตา ยาย

6. ลุง ป้า น้า อา

มรดก หมายความรวมถึงทรัพย์สินที่เห็นและสามารถจับต้องได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น บ้าน รถ เงินสด ส่วนสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า คือ สิทธิและหน้าที่ หมายถึง สิทธิเรียกร้องต่าง ๆ

ตัวอย่างเช่น เจ้ามรดกมีการวางมัดจำจะซื้อจะขายไว้แต่ยังไม่ได้ทำการโอนให้เรียบร้อย ต่อมาเสียชีวิตกระทันหัน สิทธิดังกล่าวสามารถตกทอดเป็นมรดกได้

ส่วนสิทธิและหน้าที่ คือ เจ้ามรดกอาจมีหน้าที่รับผิดอะไรบางอย่าง อาจจะถูกฟ้องโดยที่ศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาตัดสิน เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปแล้วศาลจึงมีคำพิพากษาให้แพ้คดีความ ทายาทมีหน้าที่ต้องชำระหนี้แทน เมื่อรับมรดกมาต้องรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ด้วยเช่นกัน โดยรับทั้งมรดกและถ้ามีหนี้สินก็ต้องรับผิดชอบด้วยเช่นกัน เพียงแต่กฎหมายกำหนดไว้ว่าเมื่อหนี้สินมีมากกว่าทรัพย์สินที่ได้รับ ให้รับผิดไม่เกินมรดกที่ได้รับมา เช่น ได้รับมรดกมา 1 ล้านบาท เจ้าหนี้ทวงหนี้ 2 ล้านบาท ทายาทมีหน้าที่ชำระหนี้เพียง 1 ล้านบาทเท่านั้นเพราะได้รับมรดกมาเพียง 1 ล้านบาท

ขั้นตอนในการจัดการวางแผนมรดก

1. รวบรวมรายการทรัพย์สินที่มีทั้งหมด

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ทะเบียนทรัพย์สิน” มาให้ครบ ทั้งทรัพย์สินบางชนิดที่ไม่ได้มีทะเบียนเป็นหลักฐาน

2. ดูว่าทรัพย์สินแต่ละชนิดมีภาระติดพันหรือไม่

เพื่อทำให้การจัดการมรดกเรียบร้อยมากขึ้น สิ่งที่มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาควบคู่และคนส่วนใหญ่มักจะลืมนั่นก็คือเรื่องของ “สินสมรส” บางครั้งทรัพย์สินอาจจะอยู่ในชื่อของเจ้ามรดกแต่เป็นสินสมรสก็เป็นได้

ยกตัวอย่างเช่น สามีภรรยาจดทะเบียนสมรสกัน มีเงินฝากโดยมีชื่อบัญชีเป็นชื่อของภรรยา เจ้ามรดกมีสิทธิในเงินฝากข้างต้นเพียงแค่ครึ่งเดียวในการระบุไว้ในพินัยกรรม เพราะอีกครึ่งเป็นของคู่สมรส ในขณะเดียวกันเจ้ามรดกอาจจะมีหุ้นในบริษัท และอาจจะถือไว้แค่ 10% สามีถืออีก 50% จึงต้องนำหุ้นทั้งหมดมารวมกันแล้วแบ่งคนละครึ่งคือคนละ 30% / 30% ที่ว่านี้คือกองมรดกที่สามารถตกทอดแก่ทายาทได้

3. เมื่อรวบรวมทรัพย์สินและแบ่งสินสมรสเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นก็สามารถเริ่มเขียนพินัยกรรมได้ ต้องการส่งมอบสิ่งที่มีให้แก่ใคร เท่าไหร่ และอย่างไรบ้าง

ตัวอย่างกรณีอุทาหรณ์

คู่สามีภรรยาอาจจะอยู่กันไม่ได้ตลอดรอดฝั่ง เกิดการหย่าร้าง ส่วนใหญ่การหย่าร้างมักจะจบไม่ค่อยดี ในกรณีที่มีลูกด้วยกันและลูกยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในวันที่มารดาเสียชีวิต ตามกฎหมายแล้วบิดาสามารถเข้ามาเป็นผู้ปกครองของบุตรผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะได้ และยังสามารถที่จะสวมสิทธิในเรื่องการดูแลทรัพย์ของบุตรได้เช่นกัน ซึ่งเจ้ามรดกอาจจะไม่ประสงค์ที่จะให้เป็นแบบนั้น ดังนั้นถ้าไม่ได้เตรียมการไว้ เรื่องจากกรณีตัวอย่างอาจจะเกิดขึ้นกับใครอีกก็ได้

กรณีต่อมา

เป็นกรณีที่ไม่ได้มีการวางแผนเอาไว้ล่วงหน้าทั้งที่ขณะนั้นเจ้ามรดกค่อนข้างสูงอายุแล้ว แต่ด้วยความแข็งแรงจึงไม่ได้เตรียมการอะไรไว้ กรณีข้างต้นเจ้ามรดกเสียชีวิต เมื่อถึงเวลาที่ต้องจัดการมรดก ขั้นตอนแรกจะต้องดำเนินการขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ซึ่งขั้นตอนการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ทายาทจะต้องมีการลงลายมือชื่อ หรือเซ็นยินยอม หลักฐานที่จะต้องนำมาประกอบจะต้องประกอบด้วยเอกสารหลักฐานของทายาทลำดับที่ 1 และ 2 กรณีข้างต้นบังเอิญบิดามารดาอยู่ต่างประเทศ และเสียชีวิตนานแล้ว ทำให้เอกสารไม่ครบ เนื่องจากต้องใช้ใบมรณบัตรของบิดามารดาเจ้ามรดกเพื่อแสดงความยินยอมให้คู่สมรสเป็นผู้จัดการมรดก ปัญหาคือขั้นตอนการได้มาซึ่งเอกสารที่ยุ่งยากและใช้เวลากว่า 2 ปี

ทำให้ทรัพย์สินที่มีโดน freeze แต่ธุรกิจก็ยังมีการดำเนินการอยู่ ทำให้เกิดความวุ่นวายและเดือดร้อน เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายทุกเดือน เงินเดือนพนักงานก็ต้องรับผิดชอบ เราจะแจ้งพนักงานว่าอยู่ในช่วงจัดการมรดกให้พนักงานช่วยทำงานก่อนโดยถ้าจัดการมรดกเรียบร้อยเมื่อไหร่จะนำเงินมาจ่ายแก่พนักงานก็ไม่สามารถทำได้ ไหนจะเงินกู้ธนาคาร เจ้าหนี้การค้า ทุกอย่างเป็นมูลค่าที่จะต้องหามาชำระทั้งสิ้น ในช่วงเวลาที่ได้แต่มองทรัพย์สินที่มีอยู่แต่ไม่สามารถนำออกมาใช้ได้ลองคิดภาพตามดูว่าลำบากแค่ไหนสำหรับคนที่อยู่ต่อ

4. ขั้นตอนการเริ่มเขียนพินัยกรรม

สิ่งที่มีและต้องการจะส่งต่อ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือภาระหนี้ต่าง ๆ จะมีการจัดการอย่างไร ไม่ใช่เขียนแค่จะยกอะไรให้ใคร สิ่งที่ควรจะคำนึงถึงคือขั้นตอนไหนที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม ศาลจะเป็นผู้แต่งตั้ง นั่นหมายความว่าเวลาที่ใช้จะนานขึ้น และกรณีที่หลายคนอาจจะคิดไม่ถึงคือช่วงเวลาที่ไม่เสียชีวิต แต่เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายไม่สามารถใช้การอะไรได้เลย หรือ ตกอยู่ในสภาวะไร้ความสามารถ ถ้าช่วงเวลาดังกล่าวเกิดขึ้นจะต้องจัดการทรัพย์สินควรจะจัดการอย่างไร

สิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดคือรายละเอียดที่จะเขียนในพินัยกรรม ควรจะมองให้ครบรอบด้าน มีเนื้อหาอะไรบ้าง

ตัวอย่างเช่น การตั้งผู้จัดการมรดก การตั้งผู้ปกครองทรัพย์ของบุตรกรณีบุตรเป็นผู้เยาว์ การจัดการหนี้สินต่าง ๆ จะให้นำทรัพย์สินส่วนใดไปชำระหนี้ กรณีไปเสียชีวิตหรือไม่มีสติสัมปชัญญะดังกรณีข้างต้น และกรณีทำธุรกิจการเขียนยกหุ้นให้แก่ทายาทก็ควรคำนึงถึงแผนสืบทอด ตัวอย่างกรณีมีลูกที่อาศัยอยู่ต่างประเทศและจะไม่กลับมาสืบทอดธุรกิจต่อและมีอีกคนทำธุรกิจอยู่ แบ่งหุ้นให้ลูกทั้ง 2 คน คนละเท่า ๆ กัน ก็อาจจะไม่ยุติธรรมสำหรับคนที่ช่วยดำเนินธุรกิจสักเท่าใดนัก

รวมถึงอำนาจในการบริหารจัดการด้วยเช่นกัน ดังนั้นการมองเรื่องแผนสืบทอดไม่ได้แปลว่าการให้หุ้นไม่เท่ากัน คนที่อยู่ต่างประเทศอาจจะไม่ได้ส่วนแบ่งที่เป็นหุ้นเลย แต่อาจจะแบ่งทรัพย์สินส่วนอื่นให้เป็นการชดเชยได้ ถ้ามีความประสงค์จะให้มูลค่าทรัพย์สินมีความใกล้เคียงกันในการแบ่งทรัพย์สิน ส่วนในการดำเนินธุรกิจครอบครัว หุ้นควรจะตกอยู่กับทายาทที่ช่วยดำเนินธุรกิจครอบครัว ในขณะเดียวกันถ้าเป็นตระกูลที่มีธุรกิจครอบครัวและมีทายาทหลายคนถือหุ้นอยู่ ถ้าไม่มีการวางแผนมรดกเลย ในวันที่ทายาทคนใดคนหนึ่งไม่อยู่หุ้นก็จะถูกแบ่งให้กับคู่สมรสของทายาทแต่ละคน ซึ่งบางครอบครัวมีนโยบาย/กติกาว่าการตกทอดสำหรับทรัพย์สินที่เป็นหุ้นของธุรกิจต้องการจะส่งตรงให้กับทายาทสายตรงที่เป็นลูกเท่านั้น ไม่ต้องการให้เขยสะใภ้มีสิทธิในการรับมรดกในส่วนดังกล่าว เพื่อป้องกันไม่ให้ทรัพย์สินข้ามตระกูล ในอนาคตเมื่อคู่สมรสได้หุ้นมรดกไป กรณีคู่สมรสเสียชีวิต บิดามารดาคู่สมรสเข้ามาเป็นทายาท เริ่มเกิดความวุ่นวายและทำให้การส่งต่อธุรกิจไม่ยั่งยืน และทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการแยกประเภททรัพย์สินที่เป็นธุรกิจของครอบครัวออกมา

ทั้งหมดที่กล่าวมาจึงเป็นความสำคัญของการวางแผนมรดก และการทำพินัยกรรมนั่นเอง

โดยพินัยกรรมสามารถทำได้ 5 แบบดังนี้

1. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ

คือ เขียนด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับ ลงวัน เดือน ปีที่ทำ และที่สำคัญต้องลงลายมือชื่อผู้ทำด้วย กรณีนี้จะมีพยานมารับรู้การทำพินัยกรรมด้วยหรือไม่มีก็ได้

2. พินัยกรรมแบบธรรมดา

เป็นพินัยกรรมที่สามารถพิมพ์ขึ้นมาได้ ผู้ทำต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานที่ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกอย่างน้อย 2 คนและพยานต้องลงลายมือชื่อรับรองการทำพินัยกรรมด้วย

3. พินัยกรรมแบบฝ่ายเมือง

เป็นการทำพินัยกรรมแบบให้เจ้าหน้ารัฐช่วยทำ ใช้พยาน 2 คน โดยผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งความประสงค์และให้ถ้อยคำข้อความของตนแก่เจ้าพนักงานที่เขตหรืออำเภอพร้อมพยานอย่างน้อย 2 คน ผู้ทำพินัยกรรมพร้อมพยานทั้ง 2 ต้องลงลายมือชื่อไว้ จากนั้น เจ้าพนักงานจะลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี ที่ทำ พร้อมประทับตราตำแหน่ง

4. พินัยกรรมแบบลับ

อาจจะเขียนด้วยลายมือของตนทั้งฉบับ หรือพิมพ์ขึ้นมาก็ได้ ปิดผนึกแล้วไปฝากกับเจ้าหน้าที่รัฐ ที่อำเภอหรือสำนักงานเขต

5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา

ในกรณีที่ผู้ต้องการทำพินัยกรรมไม่อยู่ในสภาวะที่สามารถขยับร่างกายได้ หรือป่วยหนักมาก

การทำพินัยกรรมไม่ยาก เพียงแต่ถ้าทรัพย์สินมีความซับซ้อนในเรื่องของการจัดการ อาจจะมีเงื่อนไขบางอย่าง เช่น รอให้อายุครบเท่าไหร่แล้วค่อยมารับ ทรัพย์สินที่มอบให้แล้วห้ามขาย เป็นต้น จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องปรึกษาผู้ที่มีความรู้ทางด้านกฎหมายและมีประสบการณ์โดยตรงมาช่วยดำเนินการ

“ การวางแผนมรดกไม่ต้องรอความพร้อม ถ้ามีบางสิ่งบางอย่างเขียนแล้วไม่ได้ใช้ดีกว่าถึงเวลาที่ต้องใช้แล้วไม่ได้เขียน ”