การ ทำ ถ่าน จากวัสดุ เหลือใช้

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำแท่งเชื้อเพลิงจากฟางข้าวและแกลบ โดยใช้ผักตบชวาเป็นตัวเชื่อมประสานพร้อมทั้งศึกษาหาค่าความร้อน อัตราการให้ค่าความร้อน และก๊าซเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ของแท่งเชื้อเพลิง ในการศึกษาได้นำวัสดุเหลือใช้มาอัดให้เป็นแท่งด้วยวิธีการอัดแบบเปียกโดยใช้เครื่องอัดไฮโดรลิกและแม่แรงอย่างง่ายในอัตราส่วน 1:1 1:3 และ 1:4 โดยน้ำหนัก

Show

จากการศึกษาพบว่า อัตราส่วนฟางข้าว: ผักตบชวา และแกลบ: ผักตบชวา ในอัตราส่วน 1:3 โดยน้ำหนักทำให้แท่งเชื้อเพลิงอยู่ตัวไม่แตกเปราะสามารถยึดเกาะได้ดีและให้ค่าความร้อน 3,956 kcal/kg และ 2,358 kcal/kg ตามลำดับ อัตราส่วนของฟางข้าว: ผักตบชวา ที่อัตราส่วน 1:1 1:3 และ 1:4 ใช้เวลาต้มน้ำจนเดือดที่ 7, 8 และ 8 นาที ตามลำดับ แกลบ: ผักตบชวา ในทุกอัตราส่วนใช้เวลาต้มน้ำจนเดือดที่ 7 นาทีเท่ากัน ปริมาณก๊าสที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ของแท่งเชื้อเพลิงจากฟางข้าวและแกลบ มีปริมาณ CO 2 2.27% CO 0.37% SO 2 0.00% และ CO 2 1.82% CO 0.38% SO 2 0.0013% ตามลำดับ เมื่อนำค่าของปริมาณก๊าซมาเทียบกับค่ามาตรฐานสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานเผาขยะมูลฝอยของกระทรวงอุตสาหกรรมพบว่าปริมาณก๊าซ CO ที่เกิดขึ้นในทุกอัตราส่วนเกินค่ามาตรฐาน

              7. ปาล์มน้ำมัน การปลูกปาล์มน้ำมันมักจะมีวัสดุเหลือทิ้งจำนวนมาก เช่น กาบใบ กะลาปาล์ม ลำต้น และตอรากปาล์มน้ำมัน (ภาพที่ 9) เศษวัสดุเหล่านี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น การใช้เป็นเชื้อเพลิงในรูปฟืน การเพาะเห็ด การนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรโดยการใช้เป็นวัสดุคลุมดินเพื่อรักษาความชุ่มชื้น รวมถึงการนำเศษวัสดุเหลือทิ้งจากปาล์มน้ำมันมาพัฒนาและใช้ประโยชน์ทางด้านพลังงานในรูปเชื้อเพลิงอัดแท่ง การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากปาล์มน้ำมันและเศษวัสดุของปาล์มน้ำมันนี้ ทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือทิ้ง ส่งเสริมการใช้ผลิตผลจากป่าไม้และเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า (นฤมล และคณะ, มปป.) 

Physics Program, Faculty of Science Technologh and Agriculture, Yala Rajabhat University, Yala Province. 95000. Thailand

รอดียะห์ เจ๊ะแม

สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาจังหวัดยะลา 95000

นุรมายามีน สาเร๊ะนุ

สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาจังหวัดยะลา 95000

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุเหลือใช้ กะลามะพร้าว ใบไม้แห้งและขี้เลื่อย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบหาค่าสมบัติทางกายภาพโดยเปรียบเทียบหาค่าความร้อนและค่าความชื้น การทำวิจัยนี้จึงใช้กะลามะพร้าว ใบไม้แห้งและขี้เลื่อยผลิตเป็นถ่านอัดแท่งโดยมีน้ำหนัก 100% จากการทดลองพบว่าถ่านอัดแท่งที่ดีที่สุดได้จากวัสดุขี้เลื่อย โดยมีค่าความร้อน 5,067.55 cal/g และค่าความชื้นร้อยละเท่ากับ 0.037% ซึ่งค่าความร้อนและค่าความชื้นเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานในการผลิตถ่านอัดแท่ง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

ฉบับ

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (2019): มกราคม-มิถุนายน

บท

บทความวิจัย

บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. นี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. ก่อนเท่านั้น