การดำรงชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรม

  • สังคมไทย เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เพราะประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาิต ศาสนา และวัฒนธรรม การเรียนรู้ความแตกต่างเพื่อป้องกันความแตกแยก จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คนไทยพึงปฎิบัติ เพื่อพัฒนาชาติไทยให้เจริญก้าวหน้าและสงบสุข

  1. อัตลักษณ์ของสังคมพหุวัฒนธรรม อัตลักษณ์ คือสิ่งสะท้อนความเป็นตัวตนของบุคคลหรือสังคมนั้นๆ สังคมพหุวัฒนธรรมมีอัตลักษณ์สำคัญ คือ การอยู่ร่วมกันของผู้คนท่ามกลางความหลากหลายอย่างกลมกลืน ซึ่งความหลากหลายที่ปรากฎในสังคมพหุวัฒนธรรม ได้แก่

    1. เชื้อชาติ/ชาติพันธุ์

    2. ศาสนา/ความเชื่อ

    3. ภาษา

    4. วิถีการดำเนินชีวิต

    5. ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี จารีต


  • จากความหลากหลายข้างต้น ทำให้สังคมพหุวัฒนธรรมมีความยืดหยุ่นสูง และเกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอย่างกลมกลืน


  1. การเคารพและการยอมรับความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม การอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง สมาชิกในสังคมควรเปิดใจให้กว้าง เพื่อยอมรับความแตกต่างที่เกิดขึ้น และพยายามปรับตัวให้เข้ากับคนทุกเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม มีความระมัดระวังในการกระทำและคำพูด ที่อาจนำมาซึ่งความแตกแยกขัดแย้ง ตลอดจนเคารพในหน้าที่ สิทธิเสรีภาพของกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมไทย จึงควรยึดแนวทางปฎิบัติดังนี้

    1. เรียนรู้ความแตกต่าง

      1. เปิดใจให้กว้าง พร้อมรับสิ่งใหม่

      2. ศึกษาวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา ภาษา ของชนกลุ่มอื่น ผ่านแหล่งความรู้ที่หลากหลาย และควรศึกษา ด้วยใจที่เป็นกลาง ปราศจากอคติ

      3. เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม หรือกิจกรรมที่มีคนจากหลายวัฒนธรรมมาทำกิจกรรมร่วมกัน

    2. ยึดมั่นในขันติธรรม

      1. มีความอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่าง

      2. ปรับวิธีคิดและท่าทีให้เป็นกลาง สอดคล้องกับสภาพสังคมแห่งความหลากหลาย

      3. เคารพและให้เกียรติต่อความแตกต่างของเพื่อนร่วมสังคม โดยไม่เยาะเย้นถากถาง หรือลบหลู่ดูหมิ่น ความเป็นอัตลักษณ์ของกันและกัน

    3. คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน

      1. มีความยุติธรรม ไม่เลือกปฎิบัติหรือให้สิทธิพิเศษเฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

      2. ไม่กระทำการที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ แก่เพื่อนร่วมสังคม

      3. ปฎิบัติตามหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพของตน โดยไม่ไปละเมิดหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น

การดำรงชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรม

สังคมพหุวัฒนธรรม (Multicultural society) ก็เป็นเหมือนกับทุกเรื่อง มันมี “ด้านที่ดี” และ “ด้านที่ไม่ดี” มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะพบสถานที่ๆ มีเพียงวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเพียงไม่กี่ชนิด โลกเสรีที่เราอาศัยอยู่ทำให้เรามีทางเลือกมายในการใช้ชีวิต ซึ่งมีประโยชน์มากมาย แต่มีข้อเสียเช่นกัน บางอย่างก็อาจเพิ่มคุณค่าชีวิตของเรา ในขณะที่บางอย่างก็อาจทำให้เราอยู่ในความเสี่ยง

ข้อดีของสังคมแบบพหุวัฒนธรรม

การดำรงชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรม
อยู่สังคมร่วมกันอย่างมีความสุข

1.นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลาย ผู้อพยพจากประเทศต่างๆ จะนำแหล่งความรู้ประสบการณ์ที่หลากหลายเข้ามาเผยแพร่ พวกเขาช่วยปรับปรุงการค้า นำความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมมาสู่ประเทศ

2.การเติบโตทางเศรษฐกิจ การทำธุรกิจกับผู้คนต่างวัฒนธรรม เช่น ผู้อพยพ อาจเป็นสิ่งที่นำทักษะใหม่มาใช้ในธุรกิจ สิ่งนี้จะช่วยให้ธุรกิจเข้าสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ

3.เข้าใจผู้คนมากขึ้น ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรมต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น มันช่วยให้เราทราบวิธีที่จะโต้ตอบกับผู้คนจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

4.การซึมซับวัฒนธรรม เราจะได้เห็นประเพณีใหม่ๆ ที่มีความงดงาม มีความหมายต่อผู้คน เป็นโอกาสที่จะเฝ้าดูเพื่อนำมาปรับใช้ร่วมกับวัฒนธรรมของประเทศ

5.เรียนรู้ภาษาที่แตกต่าง คุณสามารถเป็นเพื่อนกับผู้คนจากประเทศต่างๆ เมื่อได้สนทนากับพวกเขา คุณจะมีโอกาสที่จะเรียนรู้ภาษาของพวกเขาด้วย

6.แรงงานข้ามชาติที่มีทักษะ ประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ เป็นบ้านของผู้อพยพที่ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มีทักษะสูง พวกเขาเหล่านี้มีความสามารถที่จะมาเป็นแรงงานที่ดีให้แก่ประเทศ หรือเป็นผู้สอนบุคคลากรที่ดี

7.โอกาสทางการศึกษา ถือเป็นเรื่องที่ดีเมื่อเด็กๆ จะได้เรียนรู้ถึงความแตกต่างของผู้คน ช่วยให้มองเห็นมุมมองที่ต่างกันออกไป ลดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ

8.ได้รู้จักประเพณีใหม่ๆ สังคมพหุวัฒนธรรมช่วยให้เราได้มีส่วนร่วมกับประเพณีใหม่ วัฒนธรรมใหม่ ได้เข้าถึงวิถีชีวิตของคนต่างถิ่น

ข้อเสียของสังคมแบบพหุวัฒนธรรม

1.ความขัดแย้งทางศาสนา ด้วยความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างกัน นำมาซึ่งความขัดแย้งมากมายภายในชุมชน จากตัวอย่างที่เห็นมากมายในประวัติศาสตร์

2.อุปสรรคทางภาษา ผู้คนที่มาจากต่างวัฒนธรรม ย่อมมีภาษาท้องถิ่นเป็นของตัวเอง บางครั้งก็เป็นอุปสรรคสำคัญในการสื่อสารให้เข้าใจ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถพูดภาษาต่างถิ่นได้

3.วัฒนธรรมที่แตกต่าง เป็นเรื่องยากที่คนทั่วไปจะรับมือกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพื่อที่จะทำทำความเข้าใจความเชื่อและบรรทัดฐานของพวกเขา

4.ความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางสังคม อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากหลักความเชื่อที่ต่างกัน วิถีชีวิตบางอย่างอาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนสองกลุ่ม

5.นำความแตกต่างมาสู่สังคม คนจากต่างถิ่นมักจะนำข้าวของจากบ้านเกิดมาด้วย มีแนวโน้มที่คนท้องถิ่นจะไม่พอใจกับสิ่งเหล่านี้

6.การจัดการแรงงานที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องยาก มันเป็นเรื่องที่ท้าทายที่จะควบคุมแรงงานจากต่างถิ่น โดยเฉพาะผู้ที่มีความเชื่อแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องยากที่จะให้แรงงานทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มันเป็นเรื่องที่ดีที่ผู้คนจะได้พบเจอกับความหลากหลาย ทำให้พวกเขาได้มีมุมมองที่แตกต่างออกไป แต่บ้างครั้งหลายคนก็เกิดความกลัวว่า วัฒนธรรมดั้งเดิมของพวกเขาจะถูกกลืนกินหรือเปล่า แม้ว่าทุกวันนี้เราจะเห็นผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนาอยู่ร่วมกัน แต่ในความคิดของพวกเขาก็ยังคงมีความแตกต่างตามหลักคำสอนของแต่ละวัฒนธรรม มีเพียงสิ่งเดียวที่ทุกคนมีร่วมกัน คือ “ความเป็นเพื่อนมนุษย์ที่ดีต่อกัน” ที่ทุกสังคมและศาสนาสอนให้เป็น สมัคร betflix

Post navigation