รายชื่อคนไทยถูกจับมาเลเซีย 2564

เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับตัวกลุ่มผู้ต้องหา 7 ราย ซึ่งถูกกล่าวหาว่าได้ร่วมกันหลอกลวงคนไทยไปทำงานบนเรือประมงเถื่อนในน่านน้ำมาเลเซีย โดยมีการบังคับให้แรงงานใช้ยาเสพติดเพื่อความสะดวกในการควบคุมตัวให้ทำงานในสภาพการณ์ที่ทารุณ

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ และหน่วยอื่น ๆ ได้เปิดปฏิบัติการ “ปราบเรือมนุษย์” ปิดล้อมตรวจค้น จับกุมผู้ต้องหาขบวนการค้ามนุษย์บังคับใช้แรงงานบนเรือประมงจำนวน 6 เป้าหมายทั่วประเทศในตอนเช้าของวันนี้

“คนที่ถูกจับได้แบ่งเป็นนายหน้าจัดหา 5 คน เจ้าของเรือ 1 คน ไต๋กงเรือ 1 คน” พล.ต.อ. รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. และผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวในการแถลงข่าว

เจ้าหน้าที่ระบุว่า เจ้าของเรือประมงที่ตกเป็นผู้ต้องหา คือ นายคมสัน หรือเสี่ยสัน (สงวนนามสกุล) อายุ 56 ปี ถูกจับได้ในจังหวัดจันทบุรี และศาลอาญาอนุมัติออกหมายจับผู้ต้องหาทั้งหมด 10 คน

การปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการขยายผลหาตัวผู้กระทำผิด หลังจากการที่ประเทศมาเลเซียได้ผลักดันแรงงานไทย รวม 44 คน กลับมาตุภูมิ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ซึ่งในจำนวนนั้นเป็นผู้เสียหายเข้าข่ายการค้ามนุษย์จำนวน 3 ราย

ด้าน พ.ต.อ. ณรงค์ เทศวิบูลย์ รองผู้บังคับการกองบังคับการปรามปรามการค้ามนุษย์ กล่าวถึงแผนประทุษกรรมของคนร้ายกลุ่มนี้ว่า จะมีนายหน้าเข้าไปหลอกผู้เสียหายที่เป็นกลุ่มเปราะบางที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดเพื่อหางานทำตามสถานีรถไฟหัวลำโพง โดยบอกว่ามีงานที่ได้เงินดีทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อติดตามนายหน้าไป

“จากนั้นนายหน้าก็จะพาไปกักขังที่บ้านหลังหนึ่ง จนกว่าจะยอมทำงาน ให้อาหาร ใช้ยาเสพติด จนทำให้ผู้เสียหายติดยาและยอมทำงาน จึงจะปล่อยจากที่กักขังแล้วพาไปลงเรือประมง ซึ่งเรือที่ใช้ในการทำความผิดเป็นเรือที่ไม่ถูกต้องไม่ได้จดทะเบียนกับกรมประมง กรมเจ้าท่า เป็นการลักลอบเดินทางออกนอกราชอาณาจักร” พ.ต.อ. ณรงค์ กล่าว

แรงงานเหล่านี้ไม่ได้รับค่าแรง ได้เพียงค่าดำรงชีพรายเดือนประมาณ 100 ริงกิต หรือ 1,000 บาท เพื่อใช้จ่ายในการซื้อสิ่งของอุปโภคบริโภคเท่านั้น

“บางรายขอกลับไทย แต่โดนปฏิเสธไม่ให้กลับ บางรายทำงานหนักไม่ได้ ก็จะโดนทำร้ายขณะที่อยู่บนเรือ จนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายคิดว่าถูกขายมา และอยากกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย จนโดนทางการมาเลเซียจับกุม จำคุกที่ประเทศมาเลเซีย และผลักดันกลับมาประเทศไทย” พ.ต.อ. ณรงค์ ระบุ

คำให้การของผู้ถูกหลอกลวง

ในการแถลงข่าวในวันนี้ เจ้าหน้าที่ได้เปิดเทปคำให้สัมภาษณ์ของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในวันนี้ด้วย

“ผมจำเป็นต้องกลับมาเพราะไม่มีอะไรจะกินอยู่แล้ว ผมทำงานอยู่บนเรือ 2 ปีกว่า ค่าแรงก็ไม่ได้ตามตกลงกันไว้ ไม่รู้จะได้กลับบ้านหรือเปล่า ทำงานเหมือนเป็นทาสเลย” เหยื่อรายที่ 1 ระบุ

“เขาพาผมมาออกเรือ ทำงานประมงที่มาเลเซีย เบิกตังค์ก็ไม่ได้ ขอกลับบ้านก็ไม่ได้ ผมทำงานมา 2 ปีกว่า ทำกับผมเหมือนไม่ใช่คน” เหยื่อรายที่ 2 กล่าว

จากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ พบว่าหลังจากที่นายหน้าได้หลอกลวงผู้เสียหายแล้ว ได้นำไปส่งตัวผู้เสียหายต่อให้กับเจ้าของเรือประมงแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร โดยกลุ่มนายหน้าจะได้ค่าตอบแทน คิดเป็นเงิน 50,000 บาท ต่อแรงงาน 1 คน

ต่อมาเจ้าของเรือประมงก็จะนำแรงงานเหล่านี้ลงเรือประมงล่องออกสู่อ่าวไทย แล้วลักลอบออกนอกเขตน่านน้ำไทยเพื่อไปทำประมงในเขตน่านน้ำประเทศมาเลเซีย โดยระหว่างที่อยู่บนเรือก็จะมีไต๋ก๋งเรือคอยควบคุมและบังคับให้แรงงานเหล่านี้ทำงานหนักเป็นเวลาต่อเนื่องติดต่อกัน ได้พักวันละไม่เกิน 4 ชั่วโมง พร้อมกับนำยาเสพติดมาให้เสพจนติด เพื่อใช้เป็นข้อต่อรองให้ยอมอยู่ในความควบคุม หากคนใดไม่ยอมทำตามก็จะถูกทำร้ายทุบตี

พ.ต.อ.ณรงค์ ระบุว่า จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า ขบวนการดังกล่าวมีเพียงคนไทยที่เป็นคนหลอกคนไทยให้ไปทำงานในน่านน้ำมาเลเซีย และยังไม่พบว่ามีผู้ร่วมขบวนการเป็นชาวมาเลเซียเกี่ยวข้องด้วย

“เรืออาจไม่ได้จดทะเบียนในฝั่งไทย อาจจะชักธงของที่นั่นที่ขออนุญาตที่ถูกต้อง อยู่ระหว่างการตรวจสอบกับทางการมาเลเซียอยู่” พ.ต.อ. ณรงค์ ระบุ

นอกจากนี้ ทางการไทยจะได้ประสานขอความร่วมมือไปยังประเทศมาเลเซีย เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจับกุมกลุ่มคนไทยทั้งหมดว่าถูกดำเนินคดีในข้อหาอะไร เนื่องจากไม่ได้ถูกจับกุมขณะทำการประมง แต่ถูกดำเนินคดีในข้อหาลักลอบเข้าเมืองและฐานความผิดอื่น ๆ

ด้านเอ็นจีโอที่ให้ความช่วยเหลือแรงงานประมง กล่าวว่า เรือประมงไทยเลี่ยงการทำประมงในน่านน้ำของตน เพราะได้ผลผลิตน้อย และหันไปหาปลาในมาเลเซียแทนน่านน้ำอินโดนีเซียที่ถูกปิดตัวลง

“วิธีแก้ปัญหาคือ รัฐบาลไทยควรจะทำงานร่วมกับรัฐบาลมาเลเซีย เพื่อมีระบบตรวจสอบเรือประมงว่ามีเรือไทย มีลูกเรือไทยทำงานที่นั่นหรือไม่ และมีการใช้แรงงานที่ได้มาตรฐานหรือไม่ มีการกดขี่แรงงานหรือไม่” นายสมพงษ์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) กล่าวกับเบนาร์นิวส์

นนทรัฐ ไผ่เจริญ ในกรุงเทพฯ ร่วมรายงาน

มาเลเซีย ส่ง 45 แรงงานไทยที่ถูกจับกลับทางด่านพรมแดนสะเดา ในสภาพไร้เงิน เสื้อผ้า รองเท้า รวมถึงบัตรประจำตัวประชาชน พบติดโควิด 1 ราย

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด

8 ก.ย. 2564 – เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอำเภอสะเดา ร่วมกับ สาธารณสุขอำเภอสะเดา และตัวแทนโรงพยาบาลเอกชน ร่วมกันช่วยเหลือแรงงานไทย 45 คน ที่ถูกทางการมาเลเซียจับกุม และผลักดันกลับประเทศทางด่านพรมแดนสะเดา เมื่อวันที่ 3 ก.ย. ในส่วนของแรงงานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มลูกเรือประมงที่ถูกมาเลเซียจับกุมฐานรุกล้ำน่านน้ำ

โดยทั้ง 45 คน กลับมาในสภาพตัวเปล่า ไม่มีเงิน ไม่มีบัตรประชาชน บางคนไม่มีแม้แต่เสื้อผ้าและรองเท้า ขณะนี้ทั้งหมดอยู่ระหว่างกักตัว 14 วัน เพื่อสังเกตอาการตามมาตรการป้องกันโควิด

รายงานข่าวแจ้งว่า แรงงานไทย 45 คน ปรากฏว่ามีผลตรวจออกมาพบว่าติดเชื้อโควิด 1 คน เจ้าหน้าที่จึงได้แยกออกจากโรงแรมสถานที่กักตัว และนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรักษาแล้ว ส่วนที่เหลือยังอยู่ระหว่างสังเกตอาการ

จากการสอบถามแรงงานไทยคนหนึ่ง เล่าว่า ถูกจับกุมที่ประเทศมาเลเซียประมาณ 1 ปี หลังจากที่ไปเป็นลูกเรือประมง และถูกทางการมาเลเซียจับกุม เพราะรุกล้ำน่านน้ำ ขณะต้องโทษอยู่ในคุกมาเลเซียลำบาก และหลังจากสิ้นสุดการกักตัวจะเดินทางกลับบ้านเกิดที่ จ.พิษณุโลก