หนังสือยินยอมให้เป็นเจ้าบ้าน ปทุมธานี

การขอมีเลขหมายประจำบ้าน- ให้ทุกบ้านมีเลขหมายประจำบ้าน บ้านใดยังไม่มีเลขหมายประจำตัวให้เจ้าบ้านแจงต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง เพื่อขอเลขหมายประจำบ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันสร้างบ้านเสร็จ (ให้เจ้าบ้านติดเลขหมายประจำบ้านไว้ในที่ซึ่งคนเห็นได้ชัดเจน)- ผู้ใดรื้อบ้านซึ่งมีเลขประจำบ้าน โดยผู้นั้นประสงค์จะปลูกบ้านในที่ดินนั้นต่อไป หรือรื้อเพื่อปลูกในที่อื่น ในแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันรื้อเสร็จ
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านบัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้าน)หนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารหลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาโฉนดที่ดิน คำยินยอมให้ปลูกสร้างบ้าน สัญญาเช่าที่ดิน


การขอรับสำเนาทะเบียนบ้านฉบับใหม่ เนื่องจากชำรุด หรือสูญหาย
เสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 5 บาท

* ผู้ใดปลูกสร้างบ้านใหม่ หรือรื้อบ้านไม่แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน
นับแต่วันปลูกสร้าง หรือรื้อเสร็จ แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท *

การขอเพิ่มชื่อ และรายการบุคคลในทะเบียนบ้านการเพิ่มชื่อตามหลักฐาน สูติบัตร ให้ยื่นคำร้องแห่งท้องที่ที่ออกสูติบัตรการเพิ่มชื่อตามหลักฐาน ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ให้ยื่นคำร้องแห่งท้องที่ ที่ประสงค์จะเพิ่มชื่อการเพิ่มชื่อตามหลักฐาน ทะเบียนบ้าน ให้ยื่นคำร้องแห่งท้องที่ที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้าย
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านบัตรประจำตัวผู้ขอเพิ่มชื่อหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอเพิ่มชื่อ เช่น สูติบัตร ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ และทะเบียนบ้านการเพิ่มชื่อกรณีตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฏร พ.ศ. 2499 ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอแห่งท้องถิ่น หรือนายทะเบียนอำเภอแห่งท้องที่ ที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบัน
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ปลายทาง)หลักฐานการตรวจสอบชื่อ และรายการบุคคลในทะเบียนบ้านแห่งอื่น จากสำนักทะเบียนกลางพยานบุคคล ซึ่งเป็นเจ้าบ้าน และบุคคลที่เชื่อถือได้หลักฐานอื่นๆ (ถ้ามี)การขอจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน กรณีที่บุคคลมีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้านเกินกว่าหนึ่งแห่ง
หลักฐานที่นำมาแสดงในการขอมีบัตรสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านบัตรประจำตัวผู้ขอจำหน่ายชื่อหลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลที่มีชื่อซ้ำ

* อัตราค่าธรรมเนียม
การขอคัดและรับรองสำเนารายการในทะเบียนบ้าน เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท *

สำนักปลัด มีภาระหน้าที่ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับราชการทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบล เช่น งานบริหารงานทั่วไป งานบริหารงานบุคคล งานอำนวยการและข้อมูลข่าวสาร งานการเลือกตั้ง งานกิจการสภา งานประชาสัมพันธ์ งานรัฐพิธี งานสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ งานกฎหมายและคดี งานสวัสดิการและสังคม งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม งานราชการอื่น ที่ไม่ได้กำหนดเป็นหน้าที่ส่วนราชการใด

ข้อมูลประชาชน

หนังสือยินยอมให้เป็นเจ้าบ้าน ปทุมธานี
 การแจ้งเกิด 

1. ให้แจ้งเกิดภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันเกิด

2. ถ้าเกิดในบ้านให้เจ้าบ้านแจ้ง ถ้าเกิดนอกบ้านให้บิดาหรือมารดาเป็นผู้แจ้งการเกิด

3. การแจ้งเกิดต้องแจ้งในท้องที่ที่เด็กเกิด

4. ในกรณีที่เด็กเกิดเกิน 15 วันผู้แจ้งต้องไปแจ้งท้องที่ที่มีชื่ออยู่ปัจจุบัน

5. ผู้แจ้งเกิดต้องตั้งชื่อเด็กที่จะขอแจ้งเกิดให้เรียบร้อย

6. ผู้แจ้งเกิดต้องเตรียมหลักฐาน ดังนี้

- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง

- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

- หนังสือรับรองการเกิดซึ่งแพทย์ผู้ทำคลอดเป็นผู้ออกให้

7. ถ้าไม่แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา มีความผิดตามกฎหมายมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

หนังสือยินยอมให้เป็นเจ้าบ้าน ปทุมธานี
 การแจ้งตาย

1. ถ้าตายในบ้านให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้ง 

2. ถ้าตายนอกบ้าน ให้ผู้ที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง

3. ให้แจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ

4. ให้แจ้งการตายต่อกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน ในท้องที่นั้น ๆ 

5. หลักฐานที่ต้องเตรียมไป

- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านซึ่งมีชื่อผู้ตาย (ถ้ามี)

- บัตรประจำตัวของผู้ตาย (ถ้ามี) และบัตรของฯ ของผู้แจ้ง

- หนังสือรับรองการตายจากสถานพยาบาล (ถ้ามี)

6. ถ้าไม่แจ้งตายภายในเวลา มีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

หนังสือยินยอมให้เป็นเจ้าบ้าน ปทุมธานี
 บัตรประจำตัวประชาชน

คุณสมบัติของผู้ที่จะต้องขอมีบัตรประตัวประชาชน

1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

2. ต้องไปขอทำบัตรฯ ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ เขตเทศบาล หรือเมืองพัทยา ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านภายใน 90 วันนับแต่วันที่อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์

3. บัตรฯ ชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นคำขอมีบัตรใหม่ภายใน 90 วัน

4. อายุของบัตรฯ กำหนดให้ใช้ 6 ปี เมื่อบัตรฯ หมดอายุต้องขอมีบัตรใหม่ภายใน 90 วัน นับจากวันที่บัตรฯหมดอายุ

5. หลักฐานที่ต้องเตรียมไป

- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

- บัตรฯ เดิม (กรณีบัตรฯ เดิมชำรุด)

- เอกสารราชการอื่นอย่างอื่น เช่นใบเกิด ใบเปลี่ยนชื่อตัว หรือ ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)

- ถ้ามีแต่สำเนาทะเบียนบ้าน ให้นำเจ้าบ้านหรือผู้ที่น่าเชื่อถือได้ไปให้คำรับรอง

6. ไม่ยื่นคำร้องขอมีบัตรฯ ภายในกำหนดเวลา มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

7. บัตรฯ หมดอายุไม่ต่อบัตรฯ ภายในกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

หนังสือยินยอมให้เป็นเจ้าบ้าน ปทุมธานี
 การจดทะเบียนสมรส

คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส

1. อายุครบ 17 ปีบริบูรณ์

2. ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ

3. ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา

4. ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส คือ 

1. บัตรประจำตัวประชาชน

2. สำเนาทะเบียนบ้าน

การจดทะเบียนสมรส 

- ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส ที่ที่ว่าการอำเภอแห่งใดก็ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส

คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 

- ต้องนำบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอม

หนังสือยินยอมให้เป็นเจ้าบ้าน ปทุมธานี
 ทะเบียนพินัยกรรม

พินัยกรรม คือ คำสั่งสุดท้าย ซึ่งแสดงเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมในเรื่องทรัพย์สินหรือกิจการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลบังคับตามกฎหมายในเมื่อผู้ทำถึงแก่ความตาย

1. พินัยกรรมแบบธรรมดาและแบบเขียนเองสามารถทำได้ด้วยตนเอง

2. พินัยกรรม แบบเอกสารฝ่ายเมือง แบบทำเป็นเอกสารลับ และแบบทำด้วยวาจา ให้ยื่นคำร้องขอทำพินัยกรรม ได้ที่ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักงานเขต

3. ผู้ทำต้องนำหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ที่จะระบุไว้ในพินัยกรรมไปแสดงด้วย 

หนังสือยินยอมให้เป็นเจ้าบ้าน ปทุมธานี
 การขอจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล

หลักเกณฑ์

1. ต้องเป็นคำที่ไม่พ้อง หรือมุ่งให้คล้าย กับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชินี ต้องเป็นคำที่ไม่พ้อง หรือมุ่งให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการี หรือผู้สืบทอดสันดาน ต้องเป็นคำที่ไม่ซ้ำ กับชื่อสกุลที่ได้รับพระราชทาน จากพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม มีคำแปลตามหลัก ภาษาไทย พจนานุกรมและเขียนตัวสะกดการันต์ถูกต้อง ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า “ ณ” นำหน้าชื่อสกุลห้ามเอานามมหานครและศัพท์ที่ใช้เป็นพระปรมาภิไธยมาใช้

2. ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

3. หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง

- สำเนาทะเบียนบ้าน

- บัตรประจำตัวประชาชน

- ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)

4. เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้นำไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและหลักฐานอื่น ๆ ให้ถูกต้อง และขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนด้วย

หนังสือยินยอมให้เป็นเจ้าบ้าน ปทุมธานี
 ทะเบียนชื่อบุคคล

1.หลักเกณฑ์

- ต้องไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับพระปรมาภิไธยพระนามของพระราชินีหรือราชทินนาม

- ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย

- ต้องไม่มีเจตนาทุจริต

- มีความหมายในภาษาไทยตามพจนานุกรม

2. ผู้ที่ยังไม่มีชื่อรองมาก่อน จะขอตั้งชื่อรองก็ได้ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่การขอเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรองต้องเสียค่าธรรมเนียม 25 บาท

3. หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง

- สำเนาทะเบียนบ้าน

- บัตรประจำตัวประชาชน

- ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)

4. ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

5. เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้นำไปขอแก้ไขรายการ ในทะเบียนบ้าน และหลักฐานอื่น ๆ ให้ถูกต้อง และขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนด้วย

หนังสือยินยอมให้เป็นเจ้าบ้าน ปทุมธานี
 การแจ้งย้ายที่อยู่

1. เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่ออกจากบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งย้ายออก ต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายออก

2. เมื่อมีผู้ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านให้เจ้าบ้านแจ้งย้ายเข้าต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายเข้า

3. กรณีอยู่นอกเขตเทศบาล หรือกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งการย้าย ณ ที่ว่าการอำเภอในท้องที่นั้น 

4. กรณีอยู่ในเขตเทศบาล หรือกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งการย้าย ณ สำนักงานเทศบาลหรือสำนักงานเขตนั้น ๆ แล้วแต่กรณี

5. หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง

- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน

- บัตรประจำตัวของผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)

- หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (ถ้ามี) (กรณีย้ายเข้าจะต้องมีใบแจ้งย้ายที่อยู่อีกด้วย)

6. ถ้าไม่แจ้งย้ายที่อยู่ ภายในกำหนด ตามข้อ 1-2 มีความผิดตามกฎหมาย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

หนังสือยินยอมให้เป็นเจ้าบ้าน ปทุมธานี
 การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง

1. เมื่อผู้ที่ย้ายที่อยู่ ได้ย้ายไปอยู่บ้านใหม่ โดยที่ยังไม่ได้ย้ายออกจากบ้านเดิม สามารถไปแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง ที่สำนักงานทะเบียนบ้านแห่งท้องที่ที่อยู่ใหม่ได้

2. ต้องแจ้งย้ายปลายทางภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายออกจากบ้านเดิม

3. กรณีอยู่นอกเขตเทศบาล หรือกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งย้ายปลายทาง ณ ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ แห่งที่อยู่ใหม่นั้น

4. กรณีอยู่ในเขตเทศบาลหรือกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งย้ายปลายทาง ณ สำนักงานเขตเทศบาลหริอสำนักงานเขตที่อยู่ใหม่นั้นๆ แล้วแต่กรณี

5. หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง

- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของบ้านที่เข้าไปอยู่ใหม่

- บัตรประจำตัวของผู้ขอย้ายปลายทาง และบัตรฯ ของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าไปอยู่ใหม่

- หนังสือแสดงความยินยอมให้ย้ายเข้าของเจ้าบ้าน

6. ค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย 5 บาท

7. ถ้าไม่แจ้งย้ายภายในกำหนด มีความผิดกฎหมาย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

หนังสือยินยอมให้เป็นเจ้าบ้าน ปทุมธานี
 การยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้า

ต้องการยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้าทำอย่างไร

1. ขอใช้ไฟฟ้า สามารถติดต่อ ขอแบบฟอร์มคำร้องขอใช้ไฟฟ้า ได้ที่ แผนกบริการการไฟฟ้านครหลวงเขตทุกแห่ง หรือที่ทำการสาขาย่อยที่ท่านสะดวกที่สุด

2. เอกสารประกอบการขอใช้บริการไฟฟ้า

- สำเนาบัตรประจำตัว หรือ สำเนาบัตรประจำตัวของผู้มีอำนาจทำการแทนและของผู้รับมอบอำนาจ หรือ สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล อายุไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่สำนักงานทะเบียนรับรอง

- ทะเบียนบ้านที่ขอใช้ไฟฟ้า หรือหนังสือให้เลขบ้าน หรือหนังสืออนุญาต ให้ปลูกสร้างอาคาร (เฉพาะเขตควบคุมการก่อสร้าง)

- สำเนาทะเบียนบ้านที่จะขอใช้ไฟฟ้า

- หลักฐานแสดงการมีสิทธิเป็นผู้ขอใช้ไฟฟ้า

- รายการแสดงขนาดและจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า

- แผนผังสถานที่ใช้ไฟฟ้า

3. ในกรณีขอใช้ไฟฟ้าใหม่ ท่านสามารถตรวจสอบว่าสถานที่ขอใช้ไฟฟ้าอยู่ในพื้นที่บริการใดโดยสังเกตจากแผ่นป้ายโลหะเคลือบพื้นสีน้ำเงิน ที่มีอักษรและตัวเลขสีขาว ซึ่งติดไว้ประจำเครื่องวัดฯ บนเสาไฟฟ้าที่อยู่ใกล้เคียง

4. สถานที่ขอใช้ไฟฟ้าใหม่ จะต้องมีเสา - สายไฟแรงต่ำผ่าน ไม่มีการปักเสาพาดสายเพิ่ม หรือเปลี่ยนหม้อแปลง และต้องไม่มีหนี้ค่าไฟฟ้า และ/หรือ หนี้ค้างชำระอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ไฟฟ้า

5. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าใช้จ่ายพร้อมหลักประกันในวันที่ยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้า

6. การเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ภายในสถานที่ใช้ไฟฟ้า ถูกต้องตามมาตราฐานการไฟฟ้านครหลวง

หนังสือยินยอมให้เป็นเจ้าบ้าน ปทุมธานี
 คำแนะนำในการไปติดต่อสถานีตำรวจ 

เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ เมื่อท่านไปติดต่อที่สถานีตำรวจท่านควรเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นติดตัวไปด้วยคือ

1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือใบแทนฯ หรือ

2. บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ

3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือ

4. หนังสือเดินทาง (Passport ) สำหรับชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาภายในประเทศ

5. สำเนาทะเบียนบ้าน

6. ในกรณีที่ท่านจะไปร้องทุกข์ (แจ้งความ) โดยเป็นตัวแทนของผู้อื่น ให้นำหลักฐานต่าง ๆ ดังนี้ติด ตัวไปด้วย

- ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์

- ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้อนุบาลของผู้ไร้ความสามารถ (ตามคำสั่งศาล)

- ในกรณีที่ผู้เสียหาย ถูกทำร้ายถึงตาย หรือบาดเจ็บ จนไม่สามารถจัดการเองได้ ให้ท่านนำหลักฐาน ซึ่งแสดงว่าท่านเป็นบุพการี หรือผู้สืบสันดานหรือสามีภรรยา (ซึ่งได้จดทะเบียนบ้าน, สูติบัตร, ใบทะเบียนสมรส ฯลฯ)   มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ

- ใบสำคัญแสดงการอนุญาตของสามีหรือภรรย แล้วแต่กรณีให้ร้องทุกข์แทนหรือเป็นตัวแทนโดยสมบูรณ์

- ในกรณีที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคลให้นำ

- หนังสือมอบอำนาจของนิติบุคคลเป็นหลักฐานรวมทั้งติดอากรแสตมป์ 5 บาท

- หนังสือรับรองนิติบุคคลนั้นของกระทรวงพาณิชย์

หนังสือยินยอมให้เป็นเจ้าบ้าน ปทุมธานี
 แจ้งความบัตรประชาชนหาย

1. กทม. แจ้งที่สถานีตำรวจ

2. ต่างจังหวัด สามารถแจ้งความได้ที่ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ หรือสถานีตำรวจ อายุของบัตร กำหนดให้ใช้ได้ 6 ปี เมื่อถึงกำหนดสิ้นอายุบัตร ต้องไปติดต่อขอทำบัตรใหม่ ภายใน 90 วันนับแต่วันที่บัตรหมดอายุ เว้นแต่บัตรที่ยังไม่หมดอายุ ในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ บัตรนั้นสามารถใช้ได้ต่อไปตลอดชีวิต

 ความผิด

- ผู้ถือบัตรผู้ใด ไม่อาจแสดงบัตรได้ เมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตร ขอตรวจมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท

- ไม่ยื่นคำขอมีบัตรภายในกำหนด หรือ บัตรหายแล้วไม่ขอมีบัตรใหม่ภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

- เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล แล้วไม่ขอเปลี่ยนบัตรภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

-ผู้ไม่มีสัญชาติไทยผู้ใด ยื่นคำขอมีบัตร โดยแจ้งข้อความ หรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือใช้บัตรซึ่งตนหมดสิทธิ ใช้ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

หนังสือยินยอมให้เป็นเจ้าบ้าน ปทุมธานี
 แจ้งความเอกสารสำคัญหาย

เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์, จักรยานยนต์, โฉนดที่ดิน, ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ฯลฯ มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้

1. ยื่นคำร้องแจ้งว่าเอกสารดังกล่าวหายต่อสถานีตำรวจท้องที่ที่หาย

2. เจ้าพนักงานตำรวจจะทำการสอบสวนว่าหายจริง หรือไม่แล้วลงประจำวัน ไว้เป็นหลักฐาน

3. เจ้าพนักงานตำรวจ จะออกหลักฐานการแจ้งความเอกสารหาย เพื่อให้ท่านนำไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป

หนังสือยินยอมให้เป็นเจ้าบ้าน ปทุมธานี
 แจ้งความคนหาย

 หลักฐานต่าง ๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ

1. บัตรประจำตัวผู้หาย (ถ้ามี)

2. ใบสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ผู้หาย

3. ภาพถ่ายคนหาย (เป็นภาพถ่ายที่ใหม่ที่สุด)

4. ใบสำคัญทางราชการ เช่น ใบเกิด , ใบสำคัญทหาร (ใบกองเกิน, กองหนุน)

หนังสือยินยอมให้เป็นเจ้าบ้าน ปทุมธานี
 แจ้งความรถและเรือหาย 

หลักฐานต่าง ๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ

1. ใบทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ หรือพาหนะอื่น ที่หาย

2. ใบรับเงินหรือสัญญาซื้อขายเท่าที่มี

3. ถ้าเป็นตัวแทนห้างร้าน / บริษัท ผู้ไปแจ้งความ ควรมีหนังสือมอบอำนาจ จากเจ้าของหรือผู้จัดการห้างร้าน บริษัทนั้น ๆ ไปรวมทั้งหนังสือรับรองบริษัทด้วย

4. หนังสือเกี่ยวกับการติดต่อหรือเอกสารที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานได้ (ถ้ามี)

5. หนังสือคู่มือประจำตัวรถที่ทางบริษัท ห้างร้านจ่ายให้เป็นคู่มือ ถ้าไม่มีหนังสือคู่มือรถให้จำยี่ห้อ สีแบบ หมายเลขประจำเครื่องและตัวรถไปด้วย (ถ้ามี)