กฎกระทรวงค่าธรรมเนียมขยะ ล่าสุด

สรุปเนื้อหา พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ที่ปรับปรุงแก้ไข พ.ศ.2562 ผู้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 1. ผู้ทำ: • ผู้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีกฎกระทรวงกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) ต้องขอรับใบอนุญาต จากเลขาธิการ สมอ. ก่อนทำผลิตภัณฑ์ (มาตรา 20) และต้องทำผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน (มาตรา 29) เว้นแต่ กรณีที่เป็นการทำเพื่อการวิจัยและพัฒนา การทำเพื่อทดลองกระบวนการผลิต ไม่ต้องขอรับใบอนุญาต แต่ผู้ทำต้องแจ้งต่อ สมอ. ก่อนเริ่มทำผลิตภัณฑ์นั้น และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ละเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด • ผู้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีประกาศกำหนดมาตรฐาน (มาตรฐานทั่วไป) และประสงค์จะแสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์นั้น สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตจากเลขาธิการ สมอ. เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วจึงจะมีสิทธิแสดงเครื่องหมายมาตรฐานก่อนนำผลิตภัณฑ์นั้นออกจากสถานที่ผลิต (มาตรา 16) และต้องแสดงเครื่องหมายกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐาน (มาตรา 35) 2. ผู้นำเข้า: • ผู้นำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีกฎกระทรวงกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) เข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักร ต้องขอรับใบอนุญาตจากเลขาธิการ สมอ. ก่อน รับมอบผลิตภัณฑ์ไปจากเจ้าพนักงานศุลกากร (มาตรา 21) และต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐาน (มาตรา 29) เว้นแต่ กรณีที่นำเข้ามาโดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักร ไม่ต้องขอรับใบอนุญาต แต่ต้องแจ้ง สมอ. ก่อนรับมอบผลิตภัณฑ์ไปจากเจ้าพนักงานศุลกากร และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด (มาตรา 21วรรค 2) • กรณีนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีกฎกระทรวงกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน(มาตรฐานบังคับ) เข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือวิธีอื่นใด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักรทั้งหมด ไม่ต้องขอรับใบอนุญาต แต่ต้องแจ้ง สมอ. ก่อนเริ่มนำเข้าผลิตภัณฑ์ (มาตรา 21 ตรี) 3. ผู้จำหน่าย (มาตรา 36) • ผู้ใดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีกฎกระทรวงกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ)จะต้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ทำหรือนำเข้าโดยผู้ได้รับใบอนุญาตจาก สมอ. และต้องเป็นไปตามมาตรฐาน โดยบนตัวผลิตภัณฑ์ต้องมีการแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน พร้อมทั้งระบุเลข มอก. และชื่อผู้ได้รับใบอนุญาตจาก สมอ.

ทำไมคนเชื่อใจ FTX

Kevin O'leary เป็นผู้จัดการกองทุนใหญ่ มีลูกค้าจำนวนมาก ที่เป็นระดับหน่วยงานประเทศ

เขาพลาดไปลงทุนใน FTX

เสียเงิน ทั้งขาดทุนหุ้น และอาจจะมีคริปโทที่ฝาก และยังติดอยู่ในบัญชีที่ FTX อีกด้วย

เขาเคยให้สัมภาษณ์ เหตุผลที่เชื่อใจ Sam และเข้าไปร่วมสนับสนุน FTX ส่วนหนึ่งเพราะเชื่อมั่นในแบคกราวน์ของ Sam

นอกจาก Sam จะจบป.ตรี ที่ MIT ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยท้อปเทนแล้ว

ครอบครัวของ Sam ยังเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง และมีคอนเนกชั่นกับพรรคเด็มโมแครตมาช้านานอีกด้วย

รูป 1 บิดาของ Sam เป็นโปรเฟสเซอร์ด้านกฎหมาย ปัจจุบันสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งเป็นท้อปเทนด้วยอีกแห่งหนึ่ง

รูป 2 มารดาเป็นโปรเฟสเซอร์ด้านกฎหมาย สอนอยู่ที่เดียวกัน

ทั้งบิดาและมารดามีความสัมพันธ์ช้านานกับพรรคเด็มโมแครต และสองคนเคยบริจาคเงินให้พรรครวมกัน 1.96 แสนดอลลาร์ รูป 3

รูป 4 ตัวบิดาเคยทำงานใกล้ชิด กับ Elizabeth Warren ซึ่งเป็นสมาชิกแถวหน้าของพรรคเด็มโมแครต

โดยเป็นผู้นำ ในกลุ่มที่ยกร่างกฎหมายให้ Elizabeth เพื่อปรับปรุงวิธีการยื่นแบบภาษี แต่กฎหมายนี้ไม่ผ่าน แพ้โหวตไปเพียงเสียงเดียว

การที่ Sam ยกระดับเงินให้สนับสนุนพรรคนี้ เริ่มมาตั้งแต่ปี 2020 ที่ไบเดนต่อสู้กับทรัมป์

ประกอบกับบทบาทครอบครัว ที่ใกล้ชิดกับพรรค ทำให้สมาชิกพรรคเปิดประตูให้ Sam ไปแสดงบทบาทเด่น ในช่วงที่รัฐบาลไบเดนยกร่างกฎหมายกำกับคริปโท

จึงทำให้ FTX สามารถดึงดูดให้นักลงทุนชื่อดัง เข้ามาร่วมซื้อหุ้นเพิ่มทุน

⚙️ นอกจากนี้ Sam เริ่มธุรกิจด้วยจัดตั้ง Alameda เป็นเฮดจ์ฟันด์ ที่เน้นการเทรดคริปโท

ดังนั้น FTX จึงสามารถออกแบบโปรแกรม กำหนดขั้นตอนและวิธีซื้อขายคริปโท โดยเข้าใจความต้องการของพวกเทรดเดอร์

FTX จึงประสบความสำเร็จมาก ในการดึงดูดให้นักลงทุนสถาบัน ย้ายจากตลาดอื่น มาใช้บริการที่ FTX แทน

อันดับตลาดของ FTX จึงพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว

รูป 5 น้องชายของ Sam ก็เป็นผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับพรรค โดยบริจาคเงินให้พรรคมากถึง 3.61 แสนดอลลาร์

ความสัมพันธ์กับพรรค ที่บริหารรัฐบาลสหรัฐ พาให้นักลงทุนสถาบันหลายประเทศเชื่อถือ

ทำให้ลืมดูแนวคิดเบื้องลึก ในธรรมนูญครอบครัว

รูป 6 ย้อนไปหลายปี มารดาของ Sam ได้เคยเผยแพร่บทความด้านกฎหมาย เสนอแนวคิดที่แหวกแนว

ข้อคิดดังกล่าวอ้างว่า สังคมไม่ควรจะถือว่า บุคคลที่ทำความผิดอาญานั้น กระทำสืบเนื่องจากจิตสำนึกของตน

แต่เกิดจากบุคคลนั้น ถูกบีบบังคับโดยหลายปัจจัย!

บทความนี้ยาว และอ่านยาก เพราะบรรยายด้วยถ้อยคำที่สละสลวยแบบซับซ้อน

แต่บอกได้ล่วงหน้าว่า ธรรมนูญครอบครัวนี้ ไม่ได้เน้น การรักษาสิทธิของผู้อื่นในสังคม

สรุปแล้ว FTX เป็นบทเรียนสำคัญว่า ชื่อชั้น นามสกุลดัง และคอนเนกชั่นทางการเมือง ไม่ได้เป็นหลักประกันอะไร

แต่สภาพแบบนี้ มักจะเห็นได้ ซ้ำแล้วซ้ำอีก ในหลายประเทศทั่วโลก

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
Facebook Thirachai Phuvanatnaranubala
(เครดิตภาพตามแหล่งที่แสดงชื่อ)
หมายเหตุ: การกล่าวถึงชื่อบุคคลใดมิใช่เป็นการกล่าวหากระทำความผิด แต่เป็นเพื่อประกอบการบรรยายทางวิชาการเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการในการรักษาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ

https://m.facebook.com/story.php?st...DRGzMPd84l&id=100044618165480&mibextid=Nif5oz

 

อนาคตคริปโทหลัง FTX บทความที่ 1

FTX จะนำไปสู่จุดหักเหใหญ่ในโลกคริปโท โดยเสียงเรียกร้องจะดังมากขึ้น ให้ประเทศต่างๆ ออกกฎหมายเพื่อกำกับคริปโท

ถามว่า บทบาทที่เรียกว่า use case ของคริปโทในอนาคตทน่าจะเป็นอย่างไร?

หนึ่ง บทบาท alternative settlement tool

จุดเริ่มต้นของบิตคอยน์ คือเพื่อใช้โอนเงินระหว่างบุคคลผ่านระบบอินเทอร์เนต แต่ไม่ต้องผ่านธนาคาร

ระบบนี้จึงมีจุดอ่อนที่คนที่โอนเงินไปผิดบัญชีจะไม่สามารถแก้ไขได้ แต่มีจุดเด่นที่ประหยัดค่าธรรมเนียมโอน และแลกเปลี่ยนเงินกันเองโดยไม่ต้องเสียส่วนต่างให้ธนาคาร

ระบบนี้จึงเป็นที่นิยมในหลายประเทศด้อยพัฒนา เพราะไม่ต้องขอนุญาต ไม่ต้องจ่ายใต้โต๊ะแก่ทางการ ไม่มีกฎระเบียบบังคับ

บทบาทนี้จะยังมีต่อไป ตราบใดที่ยังมีประเทศที่มีกฎ exchange control และตราบใดที่ระบบธนาคารยังคิดค่าธรรมเนียมการโอนที่แพงกว่าต้นทุนคริปโท

นอกจากนี้ กลุ่ม BRICS ที่พยายามคิดหาวิธีชำระเงินให้หลุดออกไปจากกงเล็บพญาอินทรี แต่พบว่าประเทศหนึ่ง(เช่นอินเดีย)จะไม่มีวันจะยอมรับสกุลของอีกประเทศหนึ่ง(เช่นจีน) และการสร้างสกุลใหม่ที่เป็นตะกร้า จะไม่สำเร็จ(ไม่ต่างจาก SDR ของ IMF) นั้น

ผมคิดว่า ทางเลือกหนึ่งของกลุ่ม BRICS อาจจะใช้คริปโทที่เป็น stable coin โยงกับราคา commodities ตัวอย่างเช่น ทองคำ และเมื่อคิดแนวนี้ ก็จะเห็นว่าเทคโนโลยีบล็อคเชนจะยังคงอยู่ต่อไป

และทั้งนี้ ถึงแม้ธนาคารชาติบางประเทศจะออกเงินดิจิทัลของประเทศ (central bank digital currency- CBDC) ก็จะไม่เป็นที่นิยมเท่ากับเงินคริปโท เพราะ CBDC เป็นเงินที่ออกโดยประเทศหนึ่ง ก็จะตกอยู่ในการควบคุมของผู้ออก

โลกคริปโทจึงจะยังมีความต้องการ alternative settlement tool ที่ไม่อยู่ในการควบคุมของประเทศใดประเทศหนึ่งต่อไปในอนาคต แต่ทั้งนี้ ในจำนวนคอยน์ที่มีอยู่นับหมื่นในขณะนี้ มีคอยน์ที่เป็น alternative settlement tool ได้จริง เพียงไม่กี่คอยน์

สอง บทบาท alternative investment tool

มีหลายคนที่ซื้อบิตคอยน์ เพราะเห็นว่าเป็น alternative investment tool ที่ดีกว่าสกุลเงินปกติ เพราะบิตคอยน์มีจำนวนจำกัด ไม่เหมือนสกุลเงินของประเทศต่างๆ ที่เรียกว่า fiat currency ที่นโยบายการเงินและการคลังในบางขณะ อาจจะดำเนินการไม่เหมาะสม ทำให้เงินเฟ้อสูงไปบ้าง ทำให้ค่าเงินอ่อนตัวลงไปบ้าง ตามภาวะการเมืองของประเทศนั้น

อันที่จริง ทรัพย์สินที่เป็น alternative investment tool ได้นั้น มีหลากหลาย แต่บางอย่างเคลื่อนย้ายข้ามประเทศเพื่อหนีภัยการเมืองไม่ได้ หรือทำได้ยาก เช่น อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ เป็นต้น หรือบางอย่างส่วนต่างระหว่างราคาซื้อกับราคาขายกว้างมาก เช่น อัญมนี หรือมีสภาพคล่องต่ำ

นักลงทุนที่เชื่อมั่นในเทคโนโลยีบล็อคเชนจึงจะยังมีความต้องการใช้คริปโทเป็น alternative investment tool ต่อไปในอนาคต แต่ทั้งนี้ ในจำนวนคอยน์นับหมื่นที่มีอยู่ในขณะนี้ มีคอยน์ที่เป็น alternative investment tool ที่น่าเชื่อถือได้ เพียงไม่กี่คอยน์

สาม บทบาท alternative working tools

การพัฒนา nft ทำให้สามารถมีการขายวีดีโอคลิปแก่ประชาชนวงกว้างได้สะดวก และในการขายงานศิลปะ ก็สามารถยืนยันลิขสิทธิ์ได้ง่าย รวมทั้งเมื่อผู้ซื้อรายที่หนึ่ง ถ้าหากเมื่อใดมีการขายต่อไปให้ผู้ซื้อรายที่สอง ก็สามารถเขียนโปรแกรมให้ราคาขายครั้งที่สองส่วนหนึ่งเล็กน้อย ย้อนกลับไปให้แก่ศิลปินได้อีกด้วย วิธีการจัดโครงสร้างในการแบ่งปันผลตอบแทนสามารถทำได้หลากหลายมาก และบริหารโดย AI อย่างง่ายๆ

นอกจากนี้ เทคโนโลยีบล็อคเชนยังตั้งเป้าหมายพัฒนา web 3.0 ซึ่งจะกระจายอำนาจในการสร้าง community ให้กว้างขวางกว่าเดิม

ดังนั้น ความต้องการคริปโทเพื่อเป็น alternative working tools จึงน่าจะมีอยู่ต่อไปในอนาคต

สี่ บทบาท alternative capital market

โลกคริปโทต้องการมีตลาดเพื่อทำการซื้อขายแลกเปลี่ยน และความต้องการด้านนี้ย่อมไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่จะมีปัญหาว่า จะใช้ (ก) ตลาดแบบ centralized ที่ไม่มีทางการประเทศใดกำกับดูแล แบบ FTX หรือจะใช้ (ข) ตลาดแบบ centralized ที่มีทางการประเทศหนึ่งกำกับดูแล แบบ Coinbase หรือจะใช้ (ค) ตลาดแบบ decentralized ที่จับคู่ผู้ซื้อผู้ขายแบบอัตโนมัติ แบบ Uniswap

ห้า บทบาท alternative lending tools

บุคคลที่จำเป็นต้องแก้ปัญหากรณีจำเป็นต้องใช้เงินเกินกว่าที่มีอยู่เป็นการชั่วคราวนั้น ย่อมต้องการที่จะรู้จักกับบุคคลที่มีเงินออม และถ้าโลกคริปโทสามารถเชื่อมโยงทั้งสองฝ่ายเข้าหากัน โดยต้นทุนดำเนินการต่ำกว่าช่องทางธนาคาร ผู้ใช้บริการย่อมจะได้ประโยชน์ และกรณีถ้าหากคริปโทสามารถเชื่อมโยงได้อย่างปลอดภัย ผู้ที่เสียประโยชน์ก็จะมีแต่ระบบธนาคารปกติเท่านั้น

บทบาทนี้จึงยังเป็นที่ต้องการสำหรับอนาคต แต่ปัญหาที่เกิดในโลกคริปโท ก็คือ แทนที่จะเน้นแสวงหาผู้กู้ที่เอาเงินไปใช้ในชีวิตจริง เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ กลับไปพัฒนาระบบ super highly leveraged margin loan เพื่อสนับสนุนผู้ที่เก็งกำไรคริปโทหวือหวา

ที่เป็นเช่นนี้ เพราะการให้กู้เพื่อใช้ในชีวิตจริงนั้น ถึงแม้ตัวกลางจะได้ส่วนต่าง แต่ย่อมน้อยกว่า ส่วนต่างที่จะสามารถเรียกได้จากบุคคลที่กู้เงินเพื่อเอาไปเก็งกำไรคริปโทหวือหวา โดยเฉพาะเมื่อใช้สัดส่วน margin leverage สูงลิบ ราคาคริปโทขยับนิดเดียวก็กำไรมากมาย ด้วยเหตุนี้ เครื่องมือด้านนี้ จึงเน้นแต่การสนันสนุนเก็งกำไรคริปโทเป็นหลัก

ถามว่า โลกคริปโทต้องการมีเครื่องมือสำหรับสนับสนุนการให้กู้เพื่อสนับสนุนเก็งกำไรคริปโทหรือไม่?

ในแง่ของผู้เล่น ส่วนใหญ่อาจจะอยากให้มีช่องทางนี้ แต่ในแง่ของทางการ เป็นช่องทางที่จะกำกับดูแลได้ยาก ซึ่งคำถามนี้เป็นประเด็นใหญ่ เพราะจุดเด่นของคริปโทก็คือ ราคาที่หวือหวาได้รุนแรงมากกว่าหลักทรัพย์ปกติ

และถ้าหากมีการปิดช่องทางนี้ ราคาคริปโทจะหวือหวาน้อยลงอย่างมาก นอกจากนี้ มีคอยน์เล็กๆ จำนวนมหาศาลที่สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่เทรดเดอร์ที่ต้องการ super highly leveraged margin loan ดังนั้น เมื่อปิดช่องทางนี้ไป จำนวนคอยน์เล็กๆ มากมาย ก็จะฝ่อหายไป

สรุปว่า อนาคตของคริปโทจะขึ้นอยู่กับบทบาท use case ของคริปโท ว่าจะยังเบ่งบานอยู่ในแง่มุมใดได้บ้าง ซึ่งผู้ที่จะกำหนดบทบาท use case อนาคตของคริปโทนั้น คือทางการของประเทศใหญ่ โดยเฉพาะสหรัฐ

FTX เป็นครั้งแรกที่สามารถมีการดึงดูดเงินจากสถาบัน ที่เรียกว่า smart money เข้ามาในโลกคริปโท อย่างเป็นล่ำเป็นสัน โดยมีชื่อสถาบันที่รอบจัดและผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก เช่น Softbank, Blackrock, Sequioa, Temasek

เมื่อเกิดเหตุฉ้อโกง เงินที่หวังจะไหลเข้ามาในอนาคตจาก smart money ก็จะเป็นอันสะดุด และจะสะดุดต่อไป จนกว่าจะมีการกำกับคริปโทให้เข้มข้นขึ้น นอกจากนี้ จำนวนลูกค้าที่เอาคริปโทฝากไว้และติดกับอยู่ใน FTX มีกว่า 1 ล้านราย รวมทั้งผลกระทบที่จะกระจายไปในโลกคริปโท ก็จะเพิ่มจำนวนผู้เสียหายมากขึ้นไปกว่านี้อีกไม่รู้เท่าไหร่

จึงต้องวิเคราะห์ทิศทางการกำกับคริปโท ในบทความต่อไป

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
Facebook Thirachai Phuvanatnaranubala
(เครดิตภาพตามแหล่งที่แสดงชื่อ)
หมายเหตุ: การกล่าวถึงชื่อบุคคลใดมิใช่เป็นการกล่าวหากระทำความผิด แต่เป็นเพื่อประกอบการบรรยายทางวิชาการเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการในการรักษาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ

 

อนาคตคริปโทหลัง FTX บทความที่ 2

ถามว่า คนในโลกคริปโท อยากเห็นกฎหมายคริปโทอย่างไร?

คริปโทเริ่มต้นด้วยบิตคอยน์ ซึ่งเขียนโปรแกรมให้เป็น dumb contract สั่งโอนได้อย่างเดียว จะเอาเงื่อนไขอะไรไปผูกไม่ได้

กลุ่มที่นิยมบิตคอยน์ มักจะไม่ถือเป็นคริปโทด้วยซ้ำ จะคิดว่าเป็นทองคำดิจิทัลแบบหนึ่ง

ดังนั้น กลุ่มนี้จึงไม่ต้องการให้มีการกำกับบิตคอยน์ เพราะคิดว่าผู้เกี่ยวข้องกับบิตคอยน์สามารถถ่วงดุลกันได้เอง

แต่ชอบที่จะให้มีกฎหมายกำกับคริปโทอื่นๆ ทั้งหมด

ต่อมา มีการสร้างคอยน์อีธีเรียม ซึ่งทำให้โลกคริปโทพองตัวหลายเท่า เพราะเป็น smart contract สามารถผูกเงื่อนไขได้

จึงมีคนสร้างคอยน์ใหม่ๆ โดยใช้อีธีเรียมเป็นฐาน กลายเป็นจุดกำเนิดของสารพัดคริปโท รวมทั้งเกิดคู่แข่งกับอีธีเรียมอีกด้วย

การพัฒนาเช่นนี้จึงทำให้ต้นทุนธุรกรรมคริปโทต่ำลงๆ การใช้คริปโทจึงขยายตัว และเอื้ออำนวยต่อการเก็งกำไร

ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยง การไขว้เขวทรัพย์สินของลูกค้า เป็นธรรมดา เพราะกำไรมหาศาลในห้วงเวลาแป๊บเดียว ทำให้ล่อใจ

การพัฒนา smart contract ที่ทำให้ตลาดคริปโทเติบโต เลียนแบบตลาดเงินตลาดทุนในโลกจริง จึงมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายกำกับธุรกิจนี้

แต่คนบางส่วนในโลกคริปโท ก็ยังไม่อยากให้ทางการเข้ามากำกับดูแล คนบางส่วนอยาก แต่ก็ยังถกเถียงกันไม่จบว่า มาตรการกำกับที่เข้มงวดเกินไป อาจจะปิดกั้นอนาคต

ในรูป 1 J.W. Verret ซึ่งเป็นโปรเฟสเซอร์สอนกฎหมายเปิดเผยว่า ในการประชุมกับ กลต.สหรัฐ เมื่อเร็วๆ นี้

เขาแนะนำให้ กลต. รับฟังความเห็นประชาชน เกี่ยวกับข้อควรระวัง ในการเก็บรักษาคริปโทไว้ในบัญชีที่ตลาดซื้อขายคริปโท แต่ กลต. ไม่สนใจ

ถามว่า คนในโลกการเงินปกติ อยากเห็นกฎหมายคริปโทอย่างไร?

ตอบว่า เพราะไม่ได้มีนวตกรรมในวงการธนาคารของโลกมาหลายสิบปี

แต่บัดนี้ ธนาคารตระหนักแล้วว่า คริปโทจะ disrupt โลกการเงิน จึงมีหลายธนาคารที่สนใจคริปโทแบบเงียบๆ

Jamie Diamond ซึ่งเป็น CEO ของ JP Morgan ธนาคารใหญ่อันดับหนึ่งของสหรัฐ

หน้าฉาก เขาเคยกล่าวหลายครั้งว่าไม่เห็นด้วยกับคริปโท

ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2022 ก็กล่าวเช่นนี้อีก บอกว่า คริปโทมีอันตราย และบิตคอยน์ ก็คือแชร์แม่ชม้อย (รูป 2)

อย่างไรก็ดี เพิ่งมีข่าวออกมาว่า

หลังฉาก JPM ได้เข้าไปสัมผัสกับโลกคริปโทมาเป็นเวลาพักหนึ่งแล้ว โดยจดทะเบียนยี่ห้อ crypto wallet ของตนเองเสร็จแล้ว (รูป 3)

JPM ยื่นเรื่องในเดือน ก.ค. 2020 และเพิ่งได้รับอนุญาตเมื่อ 15 พ.ย. 2022 (รูป 4)

ถึงแม้ JPM wallet จะสามารถใช้กับผลิตภัณฑ์การเงินอื่นด้วย แต่เอกสารที่ยื่น ระบุชัดว่า ต้องการครอบคลุมเรื่องคริปโท

และในเดือน ต.ค. 2020 JPM ก็เคยพัฒนาคอยน์ของตนเอง เพื่อใช้ในธุรกิจการเงิน (รูป 5)

รูป 6 เมื่อเร็วๆ นี้ JPM ก็ทดลองการโอนเงินในโลกคริปโทแบบ de-fi เป็นครั้งแรก

โดยจับมือกับธนาคารชาติสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่มุ่งมั่น จะเป็นศูนย์กลางธุรกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเซีย

นอกจากนี้ ในรูป 7 ในเดือน ส.ค. 2021 Coindesk ก็สืบข่าว พบว่า JPM ได้จัดทำกองทุนบิตคอยน์เสนอลูกค้าที่มีฐานะดี

และในรูป 8 คดีฟ้องร้องคดีหนึ่ง ทำให้ข้อมูลเปิดเผยออกมาว่า JPM ได้มีการลงทุนในหน่วยงานที่พัฒนาระบบคริปโท โดยอาศัยอีธีเรียมเป็นฐาน

รูป 9 ข้อมูลปรากฏว่า JPM ได้ลงทุนใน Quorum และต่อมาขายกิจการให้แก่ ConsenSys

โดยในรูป 10 ซึ่งเป็นเพจของ Onyx ซึ่งใต้คำว่า Onyx ระบุว่า ‘by J.P.Morgan’ อธิบายระบบที่พัฒนาขึ้นว่า เพื่ออำนวยความสะดวกในการโอนเงินระหว่างธนาคารในบล็อคเชน

และรูป 11 ก็กล่าวถึง JPM Coin ในการใช้งานรูปแบบต่างๆ

นี่เป็นตัวอย่างที่ธนาคารอันดับใหญ่สุดของสหรัฐ ได้เตรียมตัวศึกษาบล็อคเชนและคริปโทมาระยะหนึ่ง

และเมื่อ super smart money ต้องการจะลงเรือลำนี้ ภาคการเมืองก็ย่อมจะต้องขวนขวายคิดออกกฎหมาย เพื่อจัดระเบียบให้มีความปลอดภัยมากขึ้น

ปัญหาคือ กฎกติกาในแต่ละประเด็น จะมีผลต่ออนาคตของแต่ละคอยน์ แตกต่างกันอย่างไร?

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
Facebook Thirachai Phuvanatnaranubala
(เครดิตภาพตามแหล่งที่แสดงชื่อ)
หมายเหตุ: การกล่าวถึงชื่อบุคคลใดมิใช่เป็นการกล่าวหากระทำความผิด แต่เป็นเพื่อประกอบการบรรยายทางวิชาการเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการในการรักษาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ

 

"Apple I" คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของ "Apple"

ในทุกวันนี้ "Apple" คือแบรนด์ที่คนทั่วโลกรู้จัก โดยเฉพาะ "Iphone" สมาร์ตโฟนสุดฮิตที่หลายๆ คนใช้ (รวมทั้งตัวผมด้วย)

หากแต่จุดเริ่มต้นของบริษัทระดับโลกแห่งนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากโรงรถ และอัจฉริยะผู้อยู่เบื้องหลังคอมพิวเตอร์นี้ก็คือ "สตีฟ วอซเนียก (Steve Wozniak)" ซึ่งเป็นผู้สร้างฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ทั้งหมด รวมถึงระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์อีกด้วย

ในเวลานั้น วอซเนียกทำงานอยู่ที่ "Hewlett Packard" ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง และที่บริษัทนี้เอง ทำให้วอซเนียกได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตคอมพิวเตอร์

ตั้งแต่เด็ก วอซเนียกมักฝันว่าตนอยากจะผลิตคอมพิวเตอร์เองบ้าง และจะใช้เวลาเป็นชั่วโมงๆ ในการออกแบบคอมพิวเตอร์ในฝันของตน

วอซเนียกต้องการให้คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่พกพาง่าย รวมถึงเข้าถึงง่าย มีราคาไม่แพงจนเกินไป เนื่องจากในยุค 70 (พ.ศ.2513-2522) คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก ทำให้คนทั่วไป แทบจะไม่มีใครที่เป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์ส่วนตัวเลย

อีกอย่าง คอมพิวเตอร์ในยุคนั้นก็สร้างมาเพื่อใช้งานในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเฉพาะทาง ทำให้คนทั่วๆ ไปไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ หากแต่ซอฟท์แวร์ของวอซเนียกทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นใช้ง่ายขึ้น ใช้งานได้หลากหลายขึ้น

ในเวลาต่อมา "สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs)" ผู้ซึ่งมองเห็นอนาคตในธุรกิจคอมพิวเตอร์ และมองเห็นอนาคตของ Apple ในตลาดคอมพิวเตอร์ ได้เข้ามามีบทบาท

ในเวลานั้น คนจำนวนมากยังไม่เข้าใจเลยว่าคอมพิวเตอร์มีไว้เพื่ออะไร คืออะไร หลายคนมองว่าคอมพิวเตอร์คือเครื่องพิมพ์ดีดที่ต่อกับโทรทัศน์ได้ ซึ่งจ็อบส์ก็มีความสามารถในการแปลความหมายของคอมพิวเตอร์ไปสู่คนส่วนใหญ่ ให้คนเข้าใจง่ายมากขึ้น และทำให้คอมพิวเตอร์เริ่มกลายเป็นสิ่งที่ทุกบ้านเริ่มซื้อหา

ในทีแรก วอซเนียกไม่ได้สนใจในแนวคิดเรื่องการตั้ง Apple กับจ็อบส์ แต่สุดท้ายวอซเนียกก็เข้าร่วมกับจ็อบส์ และ Apple ก็ถูกก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ.1976 (พ.ศ.2519)

1 เมษายน ค.ศ.1976 (พ.ศ.2519) "Apple I" ก็เสร็จสมบูรณ์ และคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ก็ได้เปลี่ยนมุมมองของผู้คนที่มีต่อคอมพิวเตอร์ไปตลอดกาล ที่สำคัญก็คือ Apple I ทำให้การใช้ชีวิตของคนง่ายขึ้น สะดวกสบายขึ้น

ในช่วงแรกที่ก่อตั้ง Apple วอซเนียกและจ็อบส์ได้ชวนเพื่อนอีกคนที่ชื่อ "โรนัลด์ เจอรัลด์ เวย์น (Ronald Gerald Wayne)" เข้าร่วมกับบริษัท แต่หลังจากเข้าร่วมเพียง 12 วัน เวย์นก็ขอถอนตัวเนื่องจากทะเลาะกับวอซเนียกเรื่องชิพที่จะใช้กับคอมพิวเตอร์

จ็อบส์และวอซเนียกได้นำคอมพิวเตอร์ไปเสนอกับร้านอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง และทั้งคู่ก็ได้เซ็นสัญญากับร้าน โดยตกลงจะผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 50 เครื่อง คิดเป็นเงินกว่า 25,000 ดอลลาร์ แต่หากคิดตามค่าเงินปัจจุบัน จะอยู่ที่ประมาณ 116,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 4.2 ล้านบาท)

แต่ปัญหาก็คือ เงินที่ทั้งคู่ได้นั้นไม่มากพอที่จะผลิตคอมพิวเตอร์จำนวน 50 เครื่อง ทั้งคู่จึงต้องวิ่งหาเงินหัวหมุน โดยวอซเนียกต้องขายคอมพิวเตอร์ของตน ส่วนจ็อบส์ก็ต้องขายรถยนต์ของตนเพื่อนำเงินมาเป็นทุนในการผลิตคอมพิวเตอร์

แต่ถึงอย่างนั้น เงินที่ทั้งคู่ได้ก็ยังไม่มากพออยู่ดี พวกเขาต้องการเงินอีกประมาณ 15,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 543,000 บาท) ซึ่งทั้งคู่ก็ต้องขอยืมเงินจากเพื่อนจำนวนหนึ่ง และจ็อบส์ก็พยายามจะขอกู้เงินจากธนาคาร หากแต่ธนาคารก็ไม่อนุมัติ ทำให้ทั้งคู่ต้องขอซื้อชิ้นส่วนต่างๆ โดยซื้อแบบเครดิต และสัญญาว่าจะจ่ายเงินภายใน 30 วัน

Apple I จำนวน 50 เครื่องได้ถูกผลิตขึ้นในปีค.ศ.1977 (พ.ศ.2520) และออกวางจำหน่ายในราคาเครื่องละ 666 ดอลลาร์ (ประมาณ 24,000 บาท)

ภายในเดือนกันยายน ค.ศ.1977 (พ.ศ.2520) Apple I อีก 200 เครื่องได้ถูกผลิตและออกวางจำหน่าย ซึ่งสร้างรายได้ให้ Apple มากพอที่จะจ่ายหนี้ทั้งหมด และยังเหลือกำไรอีกเล็กน้อย

อาจจะเรียกได้ว่า Apple I อาจจะเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกๆ ที่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปสามารถซื้อหามาได้ในราคาที่เหมาะสม และนับเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์สำหรับยุค 70 (พ.ศ.2513-2522) และอาจจะเป็นประตูสู่ความยิ่งใหญ่ของ Apple เลยก็ว่าได้

-----

References: https://historyofyesterday.com/the-history-behind-the-first-apple-computer/
https://americanhistory.si.edu/collections/search/object/nmah_1692121
https://www.historyofinformation.com/detail.php?id=3019
https://www.cnet.com/culture/apple-1-the-machine-that-made-computing-history/

ต้นฉบับ: https://www.blockdit.com/posts/637b742f633f63c457b7c5ec