จิตรกรรม อยุธยาตอนปลาย เรา จัด ว่า เป็น อิทธิพลของ ศิลป

ศิลปะและวัฒนธรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา

จิตรกรรม อยุธยาตอนปลาย เรา จัด ว่า เป็น อิทธิพลของ ศิลป

           

ปัจจัยหนึ่งที่จะก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม คือ สภาพความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์ของประชาชนพลเมือง
           มงเซเญอร์ ปาลเลคัวซ์ มุขนายกมิซซัง เดอ มาลโลส์ เจ้าคณะเขตประเทศสยาม กล่าวถึง ความอุดมสมบูรณ์และสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน พอสรุปได้ดังนี้
           ความอุดมสมบูรณ์ของอาณาจักร เนื่องด้วยดินดี มีปุ๋ยธรรมชาติ ปลูกข้าวได้ดี และข้าวก็มีรสอร่อยได้ผลเพียงพอต่อการเลี้ยงประชากร และเหลือส่งไปขายเมืองจีน และเมืองอื่น ๆ ปีละไม่น้อย ผลิตผลที่ว่านี้จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าหรือสามเท่า หากมีการทำนากันเต็มพื้นที่ หรือทำนาปีละครั้ง
           ในน้ำมีปลาชุกชุม ฤดูน้ำท่วมมีปลาทุกท้องทุ่ง พอน้ำลด ปลาจะไปอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง บรรดานกต่าง ๆ คอยจับปลากินกันเป็นฝูง ที่ปากอ่าวที่รวมของแม่น้ำสี่สาย มีปลามากมายหลายชนิด สามารถนำมาเป็นอาหาร และส่งไปขายยังเกาะชวาอีกด้วย
           สัตว์เลี้ยงมีเป็ดไก่ ขายกันในราคา นอกจากนี้เต่า อีเก้ง ก็หาซื้อได้ในราคาไม่แพง ส่วน พืช ผัก ผลไม้ ล้วนมีราคาถูก ค่าแรงคนงานค่อนข้างต่ำ ด้วยนายจ้างเลี้ยงอาหาร การที่ราคาข้าวของถูก เพราะการเกษตรให้ผลดีด้วยดินดี บางแห่งแม้อยู่บนเขา ก็มีคนไปปลูกพืชทำไร่ให้เขียวชอุ่มไปทั่ว
           ความอุดมสมบูรณ์ของกรุงศรีอยุธยาดังเช่นที่ว่ามานี้ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีความร่มเย็นผาสุก ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาศิลปวัฒนธรรมให้เจริญรุ่งเรือง

วัฒนธรรมและประเพณีสมัยกรุงศรีอยุธยา
          ดินแดนที่เป็นประเทศไทยทุกวันนี้มีความเป็นมายาวนาน จึงมีวัฒนธรรมดั้งเดิม ซึ่งมีที่มาจากจีน อินเดีย ขอม มอญ และประเทศใกล้เคียงอื่น ๆ วัฒนธรรมสมัยอยุธยาจึงเป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมไทยแท้ และวัฒนธรรมที่รับจากต่างชาติ แล้วนำมาดัดแปลงให้เหมาะสม วัฒนธรรมต่างชาติที่รับเข้ามามากที่สุด คือ วัฒนธรรมอินเดีย แต่มิได้รับโดยตรง รับต่อจากขอม มอญ และจากพวกพราหมณ์ที่สืบเชื้อสายต่อ ๆ กันมาอีกทีหนึ่ง บางอย่างยังปรากฏอยู่จนปัจจุบันนี้ ที่เห็นได้เด่นชัด คือ วัฒนธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นอยุธยายังรับวัฒนธรรมจากอาณาจักรไทยอื่น ๆ เช่น รับเอารูปแบบตัวอักษรและการเขียนหนังสือจากสุโขทัย  

วัฒนธรรมที่สำคัญมีดังนี้
          ๑. วัฒนธรรมการแต่งกาย การแต่งกายมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในการสร้างความสุขใจได้ทางหนึ่ง ด้วยเหตุที่มนุษย์รักงาม และเป็นสิ่งที่หาได้ไม่ยากนัก วัฒนธรรมการแต่งกายของคนในแต่ละสังคมมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นอยู่ และมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยภาวะของบ้านเมือง สมัยอยุธยามีการแต่งกายดังนี้
                      ๑.๑ การแต่งกายของคนชั้นสูง คนชั้นสูงแต่งกายตามขนบธรรมเนียมประเพณีของราชการ ซึ่งเจ้านายหรือข้าราชการผู้ใหญ่ทั้งหลายใช้กัน และพวกผู้ดีมีสกุล ผู้หญิงทั้งหลายถือเป็นแบบอย่างเพราะแสดงให้เห็นว่าอยู่ในสังคมชั้นสูง
                      ๑.๒ การแต่งกายของชาวบ้าน ชาวบ้านจะนุ่งโจงกระเบน พวกทางเหนือ ผู้ชายมักไว้ผมยาว ส่วนพวกทางใต้มักตัดผมให้สั้น สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ผู้ชายตัดผมทรงมหาดไทย ส่วนผู้หญิงคงไว้ผมยาวและห่มผ่าสไบ
                      ๑.๓ การแต่งกายยามเกิดสงคราม ยามสงครามผู้หญิงอาจต้องช่วยสู้รบหรือให้การสนับสนุน มีการเปลี่ยนทรงผมตัดผมให้สั้นดูคล้ายชาย ทะมัดทะแมงเข้มแข็งขึ้น การนุ่งห่มต้องให้รัดกุม แน่นไม่รุ่มร่าม เคลื่อนไหวได้สะดวก ห่มผ้าแบบตะเบ็งมาน ส่วนผู้ชายไม่เปลี่ยนแปลง
                      ประเพณีการแต่งผมสตรีชาวอยุธยา ซิมอง เดอ ลาลูแบร์ อัครราชทูตฝรั่งเศส จดไว้ว่า “ …ผมชาวสยามนั้นดำหนาและสลวย และทั้งชายหญิงไว้ผมสั้นมาก ผมที่ขอดรอบกระหม่อมยาวเพียงถึงชั่วแค่ปลายใบหูข้างบนเท่านั้น ผมข้างล่างจนถึงท้ายทอยนั้น ผู้ชายโกนเกลี้ยงและความนิยมกันอย่างว่านี้เป็นที่พอใจชาวสยามมาก แต่ผู้หญิงปล่อยผมกลางกระหม่อมยาวหน่อย ไปล่ขึ้นเป็นปีกตรงหน้าผาก กระนั้นก็ยังไม่รวมเข้าเกล้ากระหมวดเกศ…”

จิตรกรรม อยุธยาตอนปลาย เรา จัด ว่า เป็น อิทธิพลของ ศิลป

  ๒. กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ประเพณีสำคัญที่นับเป็นพระราชพิธีสมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งควรจะนำมาระบุไว้ได้แก่ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค จากประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า เป็นประเพณีที่จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปี และในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นยุคที่กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุด ทางราชการได้จัดกระบวนพยุหยาตราเต็มยศขึ้นเรียกว่า “กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง “ ปรากฏว่าต้องใช้คนตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ คนเข้าริ้วกระบวน อันนับเป็นริ้วกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่ยิ่งใหญ่และมโหฬารที่สุด เป็นที่น่ายินดีที่รัฐบาลของเราเล็งเห็นความสำคัญของการจัดกระบวนพยุหยาตรา ทางชลมารค ซึ่งกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่จัดให้มีขึ้นครั้งล่าสุด เมื่อไม่ช้าไม่นานมานี้ เท่ากับเป็นการรักษาประเพณีประจำชาติไว้โดยแท้

จิตรกรรม อยุธยาตอนปลาย เรา จัด ว่า เป็น อิทธิพลของ ศิลป

       

    ๓. ประเพณีเดือนสิบเอ็ด เดือนสิบเอ็ดนี้ สมัยกรุงศรีอยุธยามีพิธีแผ่นดินที่สำคัญมากอยู่พิธีหนึ่ง คือพิธีแข่งเรือ เรือหลวงที่เข้าแข่งชื่อเรือสมรรถไชยของพระเจ้าอยู่หัว กับเรือไกรสรสุข ของสมเด็จพระมเหสี การแข่งเรือนี้ยังเป็นการเสี่ยงทายอีกด้วย คือถ้าเรือสมรรถไชยแพ้ก็แสดงว่าข้าวเหลือเกลืออิ่ม พลเมืองเป็นสุข ถ้าสมรรถไชยชนะ บ้านเมืองก็จะมีเรื่องเดือดร้อน

           ๔. ประเพณีเดือนสิบสอง ประเพณีลอยกระทงในเดือนสิบสองเป็นประเพณีที่ประชาชนไทยนิยมชื่นชมกันหนักหนา เพราะก่อให้เกิดความสุขการสุขใจเป็นพิเศษนั่นเอง ก่อนที่จะนำคำประพันธ์ของ นายมี ที่บรรยายถึงเดือนสิบสองมาลงไว้ประกอบเรื่องก็ใคร่จะเขียนเสนอท่านผู้อ่าน ให้ทราบว่าในเดือนสิบสอง ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีประเพณีพระราชพิธีอะไรบ้าง มี (๑) พระราชพิธีจองเปรียงตามประทีป (ชักโคม) ในพระราชวังแลตามบ้านเรือนทั้งในรพระนครและนอกพระนครทั่วกัน กำหนด ๑๕ วัน (๒) ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ โปรดให้ทำจุลกฐิน คือทอดผ้าให้เสร็จในวันเดียวแล้ว (เอาผ้าผืนนั้นพระราชทานกฐิน)

           ๕. ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีสงกรานต์แต่ละแห่งย่อมผิดแผกแตกต่างกันไป และเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย หากจะกล่าวถึงพระราชพิธีละแลงสุก(เถลิงศก) เมื่อสงกรานต์แทน (๑) พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาเสด็จไป สรงน้ำพระพุทธปฏิมากร ศรีสรรเพชญ์ พระพิฆเนศวร (๒) โปรดให้นิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะเข้ามาสรงน้ำ รับพระราชทานอาหารบิณฑบาต จตุปัจจัยทาน ที่ในพระราชวังทั้ง ๓ วัน (๓) ทรงก่อพระเจดีย์ทรายที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ และมีการฉลองพระเจดีย์ทรายด้วย (๔) ตั้งโรงท่อทานเลี้ยงพระแลราษฎรซึ่งมาแต่จตุรทิศ มีเครื่องโภชนาอาหารคาวหวาน น้ำกิน น้ำอาบและยารักษาโรค พระราชทานทั้ง ๓ วัน

          ๖. ประเพณีการลงแขกทำนา ประเพณีลงแขกทำนานับเป็นประเพณีอีกประเพณีหนึ่งที่ชาวกรุงศรีอยุธยารักษาเอา ไว้ คือ เมื่อถึงฤดูเกี่ยวข้าว ชาวนาก็ช่วยกันเก็บเกี่ยว ร้องรำทำเพลงกันไปบ้าง ได้ทั้งงานได้ทั้งความเบิกบานสำราญใจและไมตรีจิตมิตรภาพ ทุกวันนี้ก็ยังคงปฏิบัติกันอยู่ประเพณีนี้แสดงให้เห็นถึงความพร้อมเพรียง ความรักพวกพ้องของชาวกรุงศรีอยุธยา เป็นการปฏิบัติเข้าทำนองสุภาษิตที่ว่า “ โบราณว่า ถ้าเหลือกำลังลาก ให้ออกปากบอกแขกช่วยแบกหาม” เท่ากับเป็นเครื่องยืนยันถึงลักษณะนิสัยใจคอของคนไทยในสมัยก่อนอีกกรณีหนึ่ง

          ๗. วัฒนธรรมทางวรรณกรรม ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนั้น กรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองมากที่สุดสุดจะพรรณนาให้จบสิ้นได้จะขอยกมากล่าวเฉพาะ วัฒนธรรมทางวรรณกรรมแต่อย่างเดียว ผู้เขียนวรรณกรรมสมัยเก่ามักจะขึ้นต้นเรื่องด้วยคำยกย่องพระเกียรติยศของพระ มหากษัตริย์ไทย และสรรเสริญความงามความเจริญของเมืองไทย เช่น ลิลิตพระลอ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีชิ้นเอก สันนิษฐานว่าแต่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ และขุนช้างขุนแผน จัดเป็นวรรณกรรมที่มีความหมายเกี่ยวกับความเป็นระเบียบในการกินอยู่ ซึ่งนับเป็นความเจริญทางวัตถุ เช่นตอนชมเรือนขุนช้าง
  

ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา

จิตรกรรม อยุธยาตอนปลาย เรา จัด ว่า เป็น อิทธิพลของ ศิลป
      
จิตรกรรม อยุธยาตอนปลาย เรา จัด ว่า เป็น อิทธิพลของ ศิลป

ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องในพระพุทธศาสนาเป็นส่วน ใหญ่ เนื่องจากมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ เป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก พระพุทธศาสนา ราษฎรส่วนใหญ่มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างพระพุทธรูป เพื่อเป็นพุทธบูชา นอกจากศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อพระพุทธศาสนาแล้วยังมีศิลปะเพื่อการเฉลิมพระ เกียรติพระมหากษัตริย์ และศิลปะเพื่อรักษาพระราชอาณาเขตอีกด้วย เช่นพระบรมมหาราชวัง เครื่องราชูปโภคต่าง ๆ กำแพงเมือง และป้อมปราการต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย ศิลปะในพระพุทธศาสนาหรือพุทธศิลป์ในระยะแรก ส่วนใหญ่รับอิทธิพลมาจากขอม จนถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงรับเอาศิลปะแบบสุโขทัยเข้ามาแทนที่ ศิลปะด้านต่าง ๆ มีดังนี้
           ๑. สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาสมัยกรุงศรีอยุธยาแบ่งได้เป็น ๔ ยุค
                      ยุคที่ ๑ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทองจนสิ้นสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) เมื่อแรกตั้งกรุงศรีอยุธยาไทยได้รับอิทธิพลขอมไว้มาก ศิลปะในสมัยนี้จึงนิยมสร้างตามแบบลพบุรีเป็นส่วนใหญ่ มักสร้างพระสถูปอันเป็นหลักของพระอารามเป็นปรางค์ตามแบบขอม เช่น ที่วัดพุทไธศวรรค์ วัดราชบูรณะ วัดพระราม วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นต้น

จิตรกรรม อยุธยาตอนปลาย เรา จัด ว่า เป็น อิทธิพลของ ศิลป

ยุคที่ ๒ ตั้งแต่ สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จนสิ้นสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระบรมไตรโลกนาถเสด็จประทับที่พิษณุโลก บรรดาช่างหลวงจึงรับเอาศิลปนิยมแบบสุโขทัยมาเผยแพร่นิยมสร้างพระสถูปเป็น เจดีย์ทรงลังกาแบบสุโขทัย แต่ดัดแปลงให้สูงชะลูดกว่า อันเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์สมัยอยุธยา เช่น เจดีย์ใหญ่ ๓ องค์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ และพระเจดีย์ใหญ่ที่วัดใหญ่ชัยมงคล เป็นต้น

จิตรกรรม อยุธยาตอนปลาย เรา จัด ว่า เป็น อิทธิพลของ ศิลป

                     

 ยุคที่ ๓ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จนสิ้นสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงปราบปรามเขมรสำเร็จจึงรับเอาวัฒนธรรมเขมรเข้ามา ลักษณะสถาปัตยกรรมในสมัยนี้จึงเป็นแบบอย่างตามขอมไม่ว่าจะเป็นปราสาทราชวัง หรือการสร้างวัดวาอาราม แต่นิยมทำกันเฉพาะสมัยพระเจ้าปราสาททองเท่านั้น นอกจากนี้ยังนิยมสร้างพระเจดีย์เหลี่ยมหรือเจดีย์ไม้สิบสองขึ้นด้วย เช่น เจดีย์ที่วัดชุมพลนิกายาราม ที่บางประอิน เป็นต้น

จิตรกรรม อยุธยาตอนปลาย เรา จัด ว่า เป็น อิทธิพลของ ศิลป

                     

 ยุคที่ ๔ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสิ้นสุดสมัยอยุธยา ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเป็นต้นมาไทยนิยมสร้างเจดีย์ไม้สิบสอง เช่น พระเจดีย์ใหญ่ วัดภูเขาทองที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงปฏิสังขรณ์ เป็นต้น นับเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของไทยแท้

จิตรกรรม อยุธยาตอนปลาย เรา จัด ว่า เป็น อิทธิพลของ ศิลป

           

๒. ประติมากรรม แถบภาคกลางของประเทศไทย ขอมเคยมีอำนาจอยู่ก่อนไทยจะตั้งอาณาจักรอยุธยา ฉะนั้นศิลปะแบบขอมหรือที่เรียกว่าแบบอู่ทอง จึงมีอิทธิพลในการสร้างพระพุทธรูปของไทย ในระยะแรกด้วยเหตุนี้พระพุทธรูปที่สร้างในสมัยเจ้าสามพระยา จึงเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทอง
           เมื่อถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีการสร้างพระพุทธรูปตามแบบสุโขทัย ต่อมาจนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ได้เกิดงานศิลปะด้านประติมากรรมแบบอยุธยาที่แท้จริงขึ้นกล่าวคือ เป็นแบบผสมระหว่างศิลปะอู่ทองกับศิลปะสุโขทัย พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระศรีสรรเพชญ์ขึ้นด้วยทองคำทั้งองค์ นับเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญในสมัยอยุธยา ( พระพุทธรูปสมัยนี้มีพระพักตร์ยาวรีคล้ายแบบสุโขทัย )
           ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กรุงศรีอยุธยาได้เขมรมาเป็นประเทศราช ทำให้ได้รับอิทธิพลของเขมรทางด้านประติมากรรมอีก จึงนิยมสร้างพระพุทธรูปที่สลักด้วยศิลาทรายสีแดงตามแบบเขมร มักมีพระเนตรและพระโอษฐ์เป็นขอบสองชั้น หรือมีพระมัสสุอยู่เหนือพระโอษฐ์
           การสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง นิยมในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีแบบทรงเครื่องใหญ่ เป็นพระพุทธรูปยืน ปางอภัย ถ้ายก ๒ พระหัตถ์ เรียกปางห้ามสมุทร ยกพระหัตถ์ขวา ปางห้ามญาติ ยกพระหัตถ์ซ้าย ปางห้ามแก่นจันทน์ และอีกแบบหนึ่ง คือ แบบทรงเครื่องน้อย เป็นปางอภัยด้วยกันเครื่องประดับมีไม่มาก ที่พระเศียรทำเป็นมงกุฎเรียบ ๆ ยอดแหลมคล้ายกริช นอกจากนี้ยังสร้างพระพิมพ์ด้วยดินเผา และโลหะอีกด้วย

           ๓. จิตรกรรม จิตรกรรมไทยเป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน ภาพจิตรกรรมมักเป็นภาพพุทธประวัติและชาดกในพระพุทธศาสนา เช่น เรื่องไตรภูมิ ในระยะแรกจิตรกรรมสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลจากศิลปะลพบุรี ศิลปะสุโขทัย และศิลปะลังกาปะปนกัน บางภาพจึงมีลักษณะแข็งและหนักสีที่ใช้มี ๓ สี คือ สีดำ สีขาว และสีแดง มีการปิดทองบ้างเพียงเล็กน้อย วิธีการระบายสี ใช้ระบายพื้นด้วยสีแดงอ่อน สลับสีแดงแก่ ใช้สีดำ สีขาว และทองเข้าช่วยให้ภาพมีสีชัดยิ่งขึ้น ต่อมาสมัยอยุธยาตอนกลางศิลปะสุโขทัยมีอิทธิพลมากขึ้น ภาพจะระบายด้วยสีหลายสี จนถึงสมัยอยุธยาตอนปลายจึงมีลักษณะเป็นจิตรกรรมไทยบริสุทธิ์ นิยมใช้สีหลายสีปิดบนรูปและลวดลาย

           ๔. ประณีตศิลป์ งานประณีตศิลป์สมัยกรุงศรีอยุธยา มีความเจริญถึงขีดสุดเหนือกว่าศิลปะแบบอื่น ๆ และเป็นมรดกตกทอดต่อมา คือ
                      ๔.๑ การจำหลักไม้ ผลงานที่พบมีหลายลักษณะ เช่น บานประตู พระพุทธรูป มณฑป ๕ ยอด ตู้เก็บหนังสือ หน้าบันพระอุโบสถ นอกจากนี้ยังมีจำหลักไม้รูปประติมากรรมประเภทลอยตัว ได้แก่ รูปกินรี สัตว์ประหลาด สัตว์ในนิยายและครุฑ เป็นต้น
                      ๔.๒ ลายรดน้ำ ศิลปะตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้งดงามยิ่งขึ้น ที่พบมี ตกแต่งประตู หน้าต่างของโบสถ์ วิหาร ตู้ใส่หนังสือพระธรรมหีบใส่เสื้อผ้า เป็นต้น
                      ๔.๓ การประดับมุก เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา ใช้มุกตกแต่งให้งดงาม มีตู้มุก บานประตูมุก เป็นต้น
                      ๔.๔ เครื่องเบญจรงค์ ศิลปะตกแต่งเครื่องถ้วยชาม ให้มีลวดลาย และสี ๕ สี ให้งดงามตามแบบไทย เท่าที่พบเป็นลายก้นขด หรือลายก้านแย่ง ที่เป็นภาพเป็นลายนก เทพนม กินนรรำ เทพนมสิงห์ เป็นต้น (การปั้น และเคลือบทำจากจีน)
                      ๔.๕ เครื่องถม งานประณีตศิลป์เกี่ยวกับการออกแบบลวดลาย มีเครื่องถมดำ และเครื่องถมแตะทอง (มีทองแตะตามลายที่เป็นดอก เป็นช่อ)
                      ๔.๖ เครื่องประดับทอง งานที่พบมีทั้งเครื่องทองรูปพรรณ เครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ เครื่องทองประดับอัญมณี ทองกร แหวนตรา เป็นต้น
งานประณีตศิลป์ที่เป็นมรดกล้ำค่า ได้แก่ ประตูโบสถ์ประดับมุกที่วัดพระศรีมหาธาตุ พิษณุโลก เครื่องสังเค็ด ธรรมาสน์ ตู้ใส่หนังสือประไตรปิฎก หีบใส่หนังสือสวด และหนังสือเทศน์ เป็นต้น

           

๕. ดนตรีและนาฏศิลป์ ดนตรีและนาฏศิลป์สมัยกรุงศรีอยุธยา มีวิวัฒนาการสืบต่อมาจากสมัยเดิม ดังนี้
ดนตรี เป็นศิลปะสาขาหนึ่งที่เป็นเครื่องบ่งบอกความเจริญและอารยธรรมของชาติ ดนตรีไทยนั้นเป็นที่ยอมรับว่าเป็นศิลปศาสตร์ชั้นสูง ดนตรีไทยประกอบด้วยเครื่อง ดีด สี ตี เป่า ที่ต้องใช้ศิลปะที่เรียกว่า จังหวะ ทำนอง และการประสานเสียง ประกอบกันเป็นวง สมัยอยุธยามีวงดนตรีเพียง ๓ ประเภท ได้แก่
                      ๑. วงเครื่องสาย ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ให้ทำนอง ได้แก่ ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ จะเข้ และขลุ่ย และที่ให้จังหวะ ได้แก่ โทน รำมะนา และฉิ่ง เป็นต้น
                      ๒. วงปี่พาทย์ มีเครื่องดนตรี ๕ ชิ้น คือระนาดเอก ตะโพน กลองทัด ปี่ ฉิ่ง และฆ้องวง
                      ๓. วงมโหรี ประกอบด้วย พิณ ซอสามสาย บัณเฑาะว์ (ต่อมาใช้โทนแทน) มีคนขับร้อง ต่อมาเพิ่มกรับเข้าไปอีก ๑ ชิ้น ให้คนขับร้องเป็นผู้ขยับ
นาฏศิลป์ คือศิลปะแห่งการฟ้อนรำ ซึ่งมีมาแต่โบราณ สมัยอยุธยาประกอบด้วยการ ร่ายรำ ที่เรียกว่า ระบำรำฟ้อน และการละคร
การละคร การเล่นละครสมัยอยุธยาเชื่อกันว่าได้แบบมาจากการเล่นโนราชาตรี ของชาวนครศรีธรรมราช

           ๖. วรรณศิลป์ คือ ศิลปะในการแต่งหนังสือ หรือศิลปะในทางวรรณกรรม หนังสือ หรือวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีถึงขั้นเป็นวรรณคดี สมัยอยุธยามีมากและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันสูงค่าอย่างหนึ่งของชาวไทย อยุธยามียุคทองของวรรณคดี ๒ สมัยด้วยกัน คือ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ผู้ประพันธ์วรรณคดี ส่วนใหญ่ได้แรงบันดาลใจจากความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา วีรกรรมของพระมหากษัตริย์ ความรัก และความสวยงามของธรรมชาติ วรรณคดีที่สำคัญในสมัยอยุธยา ได้แก่
                      ๑. ลิลิตโองการแช่งน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือโองการแช่งน้ำ แต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เพื่อใช้อ่านในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
                      ๒. ลิลิตพระลอ เป็นนิยายพื้นบ้านเมืองภาคเหนือ มีความงามของวรรณคดีและปรัชญาถือว่าเป็นวรรณคดีศิลปะบริสุทธิ์
                      ๓. มหาชาติคำหลวง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดเกล้าฯ ให้มีการประชุมนักปราชญ์ ราชบัณฑิต และพระเถระผู้ใหญ่ร่วมกันแต่งขึ้น เป็นวรรณคดีเล่มหนึ่งที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
                      ๔. โคลงสุภาษิต ได้แก่ พาลีสอนน้อง ราชสวัสดิ์ ท้าวทศรถสอนพระราม พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและเสือโคคำฉันท์ พระมหาราชครูแต่ง
                      ๕. โคลงกำสรวลศรีปราชญ์ แต่งโดยศรีปราชญ์ กวีเอกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
                      ๖. กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง) กวีเอกในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ให้ความงามทางภาษา และความรู้ทางภูมิศาสตร์และพฤกษศาสตร์
                      ๗. จินดามณี แต่งโดยพระโหราธิบดี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
                      ๘. สมุทรโฆษคำฉันท์ ยอดวรรณคดีประเภทฉันท์ ดีทั้งเนื้อเรื่อง ลักษณะการประพันธ์และการใช้ถ้อยคำที่แปลกคือมีผู้แต่ง ๓ ท่าน คือพระมหาราชครู สมเด็จพระนารายณ์ (สมัยอยุธยา) และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (สมัยรัตนโกสินทร์) เวลาที่ใช้แต่ง ๑๕๐ ปี

จิตรกรรม อยุธยาตอนปลาย เรา จัด ว่า เป็น อิทธิพลของ ศิลป

จิตรกรรมในสมัยอยุธยาตอนต้นได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะใด *

จิตรกรรมสมัยอยุธยา คือจิตรกรรมไทยประเพณีที่มีอายุเริ่มตั้งแต่การสถาปนากรุงศรีอยุธยา ขึ้นเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 จนถึง พ.ศ. 2310 ลักษณะงานมีรูปแบบ องค์ประกอบ เทคนิค และ วัฒนธรรม ตามแบบจิตรกรรมไทยประเพณีภาคกลางที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย จีน เขมร และอิทธิพล

ศิลปะอยุธยาตอนปลายได้รับอิทธิพลจากศิลปะใด *

ศิลปะอยุธยาตอนปลายสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2172 จนสิ้นสมัยอยุธยาใน พ.ศ. 2310เป็นช่วงเวลาที่ศิลปะเขมรเข้ามามีอิทธิพลอีกครั้ง เช่น ปรางค์ประธานวัดไชยวัฒนารามปราสาทพระนครหลวง นอกจากนี้ยังนิยมสร้างพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองเป็นลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมอยุธยา

การสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของชาวไทยสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลจากอะไร

ชาวกรุงศรีอยุธยานับถือพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ แต่ได้รับอิทธิพลขอม ศาสนาพราหมณ์ ที่แพร่หลายอยู่ก่อนหน้าการเข้ามาของ พุทธศาสนาอยู่มาก การผสมผสานกันของพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์จึงเป็นลักษณะสำคัญของศาสนาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสะท้อนให้เห็นใน ศิลปกรรมต่างๆ ได้แก่ งานสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ภาษาและวรรณคดี และ ...

ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายมีลักษณะอย่างไร

ระยะที่สาม ศิลปะอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2173 - 2310) เป็นศิลปะที่แสดงลักษณะเฉพาะอย่างเด่นชัดเป็นต้นแบบศิลปะให้กับศิลปะรัตนโกสินทร์ ศิลปะอยุธยาทั้งสามระยะส่วนมากเป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกันพระพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับศิลปสุโขทัย