สรุปวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย

แอพแชร์โน้ตสรุป Clearnote มีโน้ตสรุปมากกว่า 300,000 เล่ม ทั้งระดับ ม.ต้น ม.ปลาย และมหาวิทยาลัย

ให้โน้ตสรุปจาก Clearnote เป็นตัวช่วยในการเรียน ไม่ว่าจะเตรียมสอบที่โรงเรียน หรือสอบเข้ามหาลัย

และยังสามารถถามคำถามเกี่ยวกับการเรียนได้ที่ Q&A อีกด้วย

แอพแชร์โน้ตสรุป Clearnote มีโน้ตสรุปมากกว่า 300,000 เล่ม ทั้งระดับ ม.ต้น ม.ปลาย และมหาวิทยาลัย

ให้โน้ตสรุปจาก Clearnote เป็นตัวช่วยในการเรียน ไม่ว่าจะเตรียมสอบที่โรงเรียน หรือสอบเข้ามหาลัย

และยังสามารถถามคำถามเกี่ยวกับการเรียนได้ที่ Q&A อีกด้วย

ตอนปลาย

ลักษณะวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย

          ใช้คำประพันธ์ทุกชนิดทั้ง โคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย ยุคนี้มีการใช้กลอน มีทั้งวรรณคดีและกวีสำคัญเกิดขึ้นมากมาย กวีมีตั้งแต่พระมหากษัตริย์ จจนถึง พระภิกษุ มีวรรณคดีประเภทละครเกิดขึ้นด้วย มีคำหลวงเกิดขึ้น ๒ เรื่อง

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย

๑. โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์

๒. นันโทปนันทสูตรคำหลวง

๓. พระมาลัยคำหลวง

๔. กาพย์เห่เรือ

๕. กาพย์ห่อโคลง หรือ นิราศธารโศก หรือกาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท

๖. กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

๗. เพลงยาวเจ้าฟ้ากุ้ง

๘. ดาหลังและอิเหนา

๙. ปุณโณวาทคำฉันท์

๑๐. กลบทศิริวิบุลกิตติ

        ใช้คำประพันธ์ทุกชนิดทั้ง โคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย ยุคนี้มีการใช้กลอน มีทั้งวรรณคดีและกวีสำคัญเกิดขึ้นมากมาย กวีมีตั้งแต่ พระมหากษัตริย์ จนถึงพระภิกษุ มีวรรณคดีประเภทละครเกิดขึ้นด้วยมีคำหลวง เกิดขึ้น ๒ เรื่อง

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย มีดังนี้

๑.โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์

สรุปวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย

ผู้แต่ง : พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

ลักษณะคำประพันธ์ : โคลงสี่สุภาพ

วัตถุประสงค์ : บันทึกเหตุการณ์และวิธีการที่สามารถชะลอพระพุทธไสยาสน์

สาระสำคัญ : เป็นบันทึกเรื่องราวการชะลอพระพุทธไสยาสน์มายังสถานที่ใหม่แล้วได้ก่อสร้าง พระวิหาร อุโบสถ เจดีย์ กุฏิ ศาลาการเปรียญ จนครบ จบด้วยการอัญเชิญพระพุทธรูป

คุณค่า : ทำให้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการปฏิสังขรณ์พระรูปสำคัญ นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอีกด้วย

๒. โคลงนิราศ


สรุปวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย

ผู้แต่ง  เจ้าฟ้าอภัย ( โอรสของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ )

ลักษณะการแต่ง โคลงสี่สุภาพ

เรื่องย่อ  กล่าวถึงการจากกรุงศรีอยุธยาไปลพบุรี

ตัวอย่างบางตอน

                       เห็นวังวาริศร้าง             ริมแคว น้ำนา

                       พระนครหลวงแล           เปล่าเศร้า 

                      วังราชฤมาแปร              เปนป่า

                      เกรงจะแปรใจเจ้า           ห่างแล้วลืมเรียม

๓. นันโทปนันทสูตรคำหลวง

สรุปวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย

ผู้แต่ง เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ (เจ้าฟ้ากุ้ง)

ลักษณะคำประพันธ์ ร่ายยาว ตอนท้ายเป็นโคลงกระทู้

สาระสำคัญ เป็นการกล่วงถึงพระพุทธเจ้าโปรดให้พระโมคคัลลาน์ เหาะขึ้นไปทรมานพระยานันโทปนันทนาคราช จนกระทั่งต้องยอมแพ้แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงเทศน์สอน

คุณค่า เป็นการแสดงความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ภาษาที่ใช้เป็นคำศัพท์สูง เป็นภาษาบาลี สันสกฤต เขมร และมีการแผลงคำอย่างไพเราะ

๔. พระมาลัยคำหลวง

สรุปวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย

ผู้แต่ง  เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

ลักษณะการแต่ง  ใช้ร่ายสุภาพ บางตอนคล้ายกาพย์ยานี มีคาถาบาลีสั้นๆแทรกอยู่หน้าบท  ตอนท้ายเป็นโคลงสี่สุภาพ

คุณค่า 

แสดงความศรัทธาในพระพุทธเจ้าที่แน่นแฟ้น

ความเชื่อในบาป บุญ คุณ โทษ

พรรณนาโวหารเกี่ยวกับนรก-สวรรค์ได้งดงาม

๕. กาพย์เห่เรือ

สรุปวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย

ผู้แต่ง : เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)

ลักษณะคำประพันธ์ : แต่งเป็นกาพย์ห่อโคลง  มีโคลงสี่สุภาพนำ  1  บท  เรียกว่าเกริ่นเห่  และตามด้วยกาพย์ยานี 11  พรรณนาเนื้อความโดยไม่จำกัดจำนวนบท

จุดประสงค์ในการแต่ง : ใช้เห่เรือเล่นในคราวเสด็จฯ โดยทางชลมาครเพื่อไปนมัสการพระพุทธบาท  จังหวัดสระบุรี  การเห่เรือนอกจากจะเป็นที่สำราญพระราชอิริยาบถแล้ว  ยังเป็นการให้จังหวะแก่ฝีพายด้วย

๖. กาพย์ห่อโคลงนิราศ หรือนิราศธารโศก 

สรุปวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย

ผู้แต่ง  เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

ลักษณะการแต่ง  กาพย์ห่อโคลง คือ กาพย์ยานี ๑ บท สลับกับโคลงสี่สุภาพ ๑ บทโดยมีใจความเหมือนกัน

ความมุ่งหมาย     บันทึกการเดินทาง รำพันถึงหญิงที่รัก สถานที่ และสภาพแวดล้อม

สาระสำคัญ  พรรณนาเกี่ยวกับระยะเวลา

๗. กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

ผู้แต่ง  เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์   (เจ้าฟ้ากุ้ง)

ลักษณะคำประพันธ์ กาพย์ห่อโคลง

จุดประสงค์ในการแต่ง พรรณนาสิ่งที่ได้พบเห็นจาการเสด็จทางสถลมาตร ตั้งแต่ท่าเจ้าสนุกถึงธารทองแดง

สาระสำคัญ  พรรณนาถึงขบวนเสด็จ สภาพภูมิประเทศ

คุณค่า  เล่นคำที่ไพเราะ ทราบถึงธรรมชาติของสัตว์


๘.
 เพลงยาวเจ้าฟ้ากุ้ง

ผู้แต่ง  เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
ลักษณะการแต่ง แต่งด้วยกลอนเพลง คือขึ้นต้นด้วยวรรคที่ ๒ ของคำกลอน

วัตถุประสงค์ แสดงความรักผ่านตัวอักษร

๙.ดาหลัง(อิเหนาใหญ่) และอิเหนา(อิเหนาเล็ก) 

สรุปวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย

ผู้แต่ง   เจ้าฟ้ากุณฑล ทรงนิพนธ์เรื่องดาหลัง และเจ้าฟ้ามงกุฎทรงพระนิพนธ์เรื่องอิเหนาทั้งสองพระองค์ประสูติแต่เจ้าฟ้าสังวาลย์จึงเป็นพระกนิษฐภคินีต่างกระมารดากับเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร(เจ้าฟ้ากุ้ง)

ลักษณะการแต่ง       กลอนบทละคร

จุดมุ่งหมาย  ใช้แสดงละครถวายพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

คุณค่า  ตันแบบเรื่องอิเหนาในสมัยรัชกาลที่ ๒ ของกรุงรัตนโกสินทร์

๑๐. ปุณโณวาทคำฉันท์

สรุปวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย

ผู้แต่ง   พระมหานาค วัดท่าทราย

ลักษณะการแต่ง    

แต่งด้วยฉันท์ จำนวน ๓๐๖ บท ได้แก่ อินทรวิเชียรฉันท์ โตฎกฉันท์ วสันตดิลกฉันท์ มาลินีฉันท์ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ และสัทราฉันท์

ส่วนคำประพันธ์อื่นๆ ได้แก่ กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ ร่าย โคลงกระทู้ และโคลงสี่สุภาพ

ความมุ่งหมาย  เพื่อพรรณนาความรู้สึก และสิ่งที่พบเห็นในโอกาสที่ได้ไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีระหว่างที่มีการสมโภชครั้งสำคัญในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

สาระสำคัญ  

ต้นเรื่อง กล่าวคำบูชาพระรัตนรัย เทวดา พระมหากษัตริย์

ดำเนินเรื่องตามแบบปุณโณวาทสูตร แต่เปลี่ยนรายละเอียดบางอย่างเพื่อให้เข้ากับประวัติการปฏิสังขรณ์ และสมโภชพระพุทธบาทสระบุรี

คุณค่า  ให้ความรู้เกี่ยวกับการละเล่น ศิลปกรรม และการสมโภชพระพุทธบาท

สรุปวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย

ผู้แต่ง พระมหานาค วัดท่าทราย         

ลักษณะการแต่ง แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ ทำนองนิราศ

ความมุ่งหมาย  พรรณนาความรู้สึกในโอกาสจากกรุงศรีอยุธยาไปพระพุทธบาทสระบุรี

๑๒.  กลบทสิริวิบุลกิตติ

สรุปวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย

ผู้แต่ง   หลวงศรีปรีชา
ลักษณะการแต่ง   กลอนกลบท รวม ๘๖ ชนิด
ความมุ่งหมาย  แต่งเพื่อเป็นอานิสงส์ให้สำเร็จอรหันต์

สาระสำคัญ  เป็นการนำเรื่องราวในชาดกมาแต่งเป็นกลอน คือ สิริวิบุลยกิติชาดก ชาดกในลำดับในลำดับที่ ๕ ในปัญญาสชาดกซึ่งเป็นชาดกนอกพระไตรปิฎก ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด ๖๑ เรื่อง

๑๓.  นาฏวรรณคดี

          ในสมัยอยุธยาตอนปลายมีความเจริญของวรรณดีประเภทละครอย่างมากทั้งละครใน ละครนอก และละครชาตรี

๑.ละครใน หรือละครหลวง


สรุปวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย

ใช้แสดงในพระราชพิธี ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน 

มีทั้งบทร้อง และบทรำ

เรื่องที่แสดง คือ รามเกียรติ์ อุณรุท ดาหลัง และอิเหนา

๒. ละครนอก หรือละครชาวบ้าน

สรุปวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย

ใช้ผู้ชายแสดงล้วน

เดิมเรียกว่า ละคร แต่ภายหลังมีละครในเกิดขึ้นจึงเรียก ละครนอก

เรื่องที่แสดงมี ๑๔  เรื่อง คือ การะเกด คาวี ไชยทัต พิกุลทอง พิมพ์สวรรค์ พิณสุริยวงศ์ มโนห์รา โม่งป่า มณีพิชัย สังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย สุวรรณศิลป์ สุวรรณหงส์ และโสวัต สมัยรัตนโกสินทร์ มีบทพระราชนิพนธ์ละครนอกในรัชกาลที่ ๒ อีก ๖ เรื่อง คือ สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ ไกรทอง มณีพิชัย คาวี และสังข์ศิลป์ชัย

๓. ละครชาตรี

สรุปวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย

เดิมใช้ชายล้วน มีตัวละครเพียง ตัวพระ ตัวนาง และตัวตลก

เรื่องที่ใช้แสดงมีเรื่องเดียว คือ มโนราห์ จึงเรียกอีกชื่อว่า มโนราห์

ถือเป็นละครที่ถือกำเนิดในสมัยกรุงศรีอยุธยา แถบภาคใต้


วรรณคดีประเภทใดเกิดขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย

ตัวอย่างวรรณคดีสำคัญในสมัยอยุธยาตอนปลาย เช่น โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์ พระมาลัยคำหลวง กาพย์เห่เรือ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ปุณโณวาทคำฉันท์

ลักษณะวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นอย่างไร

ใช้คำประพันธ์ทุกชนิดทั้ง โคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย ยุคนี้มีการใช้กลอน มีทั้งวรรณคดีและกวีสำคัญเกิดขึ้นมากมาย กวีมีตั้งแต่ พระมหากษัตริย์ จนถึงพระภิกษุ มีวรรณคดีประเภทละครเกิดขึ้นด้วยมีคำหลวง เกิดขึ้น ๒ เรื่อง

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายส่วนใหญ่เกิดขึ้นในยุคสมัยใด

วรรณคดีอยุธยาตอนกลาง นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2172-2231) ที่เรียกกันว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีไทยสมัยอยุธยา วรรณคดีอยุธยาตอนปลาย นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเพทราชาจนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศน์(พ.ศ.2231- 2310) วรรณคดีมีความรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

วรรณคดีในสมัยอยุธยามีอะไรบ้าง

วรรณคดีส าคัญได้แก่ รัชกาลสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๑ ๑.ลิลิตโองการแข่งน ้า รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ๒.ลิลิตยวนพ่าย ๓.มหาชาติค าหลวง วรรณคดีที่สันฐานว่าแต่งในสมัยอยุธยาตอนต้น ได้แก่ ๔.ลิลิตพระลอ ๕.โคลงก าสรวล ๖.โคลงทวาทศมาศ Page 2 ๑.ลิลิตโองการแข่งน ้า