ขาดส่งประกันสังคม มาตรา 33 3เดือน

วันที่ 24 เม.ย.2562 นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานคืนสิทธิผู้ประกันตนมาตรา 39 ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2561 จนถึงวันที่ 19 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของคืนสิทธิ ผลปรากฎว่า ผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่สิ้นสภาพจากระบบประกันสังคมได้กลับเข้าสู่ระบบแล้วจำนวน 384,086 คน จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ให้ความสำคัญกับระบบประกันสังคมที่ช่วยดูแลและสร้างหลักประกันคุณภาพชีวิตที่ดีให้ ซึ่งเมื่อกลับเข้าสู่การเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ยังคงให้ความคุ้มครอง 6 กรณีเช่นเดิม คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร และชราภาพ เพียงจ่ายเงินสมทบจำนวน 432 บาทต่อเดือน

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวย้ำว่า ขอให้ผู้ประกันตนที่กลับเข้าสู่ระบบแล้วคำนึงถึงสิทธิของตนเอง โดยให้ความสำคัญในการตรวจสอบการนำส่งเงินสมทบกับสำนักงานประกันสังคมอย่างสม่ำเสมอ และควรนำส่งเงินสมทบอย่างต่อเนื่อง หากขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน จะสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนทันที ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/จังหวัด/สาขา/ ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th

ขาดส่งประกันสังคม มาตรา 33 3เดือน

สำหรับมาตรา 39 ตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ระบุว่า

“ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง ต้องส่งเข้ากองทุนตาม มาตรา 46 วรรคสอง ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้ง ภายในวันที่ สิบห้าของเดือนถัดไป

ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลา ที่กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ สำหรับเศษ ของเดือนถ้าถึงสิบห้าวัน หรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง”

เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมเท่ากับบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน เมื่อได้สิ้นสุดความเป็นลูกจ้างของบริษัทที่เราเป็นลูกจ้าง ก็ทำให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุดตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ หากเรายังมีความประสงค์จะรักษาสถานภาพการเป็นผู้ประกันตนต่อก็สามารถทำได้ ด้วยการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเอง เพราะทางประกันสังคมต้องการเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิประโยชน์ใกล้เคียงกับ ตามนโยบายพื้นฐานที่ว่าด้วยการเฉลี่ยความสุขและทุกข์

📌ไม่อยากสิ้นสภาพ อย่าพลาด ขาดส่ง ขาดสิทธิ์! เพราะหากขาดส่ง เงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือส่งไม่ครบ 9 เดือน...

Posted by สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน - Social Security Office on Sunday, November 7, 2021

สำนักงานประกันสังคมถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยของสมาชิกที่เข้าเป็นผู้ประกันตน เพราะถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้ประกันตนควรรู้ แต่หากขาดส่งประกันสังคมขึ้นมาจะเกิดปัญหาอะไรบ้าง และขาดส่งกี่เดือนถึงจะโดนตัดสิทธิ

สำนักงานประกันสังคมถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยของสมาชิกที่เข้าเป็นผู้ประกันตน เพราะถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้ประกันตนควรรู้ เพราะหากต้องเข้าโรงพยาบาลหรือเกิดเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ ประกันสังคมสามารถช่วยเหลือได้ในหลาย ๆ เรื่อง แต่หากขาดส่งประกันสังคมขึ้นมาจะเกิดปัญหาอะไรบ้าง และขาดส่งกี่เดือนถึงจะโดนตัดสิทธิ จะทำอย่างไรหากขาดส่งประกันสังคม วันนี้ TNN มีคำตอบมาให้คุณค่ะ


ใครที่อาจขาดสิทธิประกันสังคม

- ผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่เป็นสมาชิกของสำนักงานประกันสังคม


เมื่อไหร่ถึงขาดสิทธิประกันสังคม

- ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน

- เสียชีวิต

- กลับไปเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33

- ลาออกจากความเป็นผู้ประกันตนจากการแสดงความจำนงที่สำนักงาน


กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีการขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน จะสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยไม่สามารถส่งเงินสมทบตามมาตรา 39 ต่อได้อีก


ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้ประกันตนมีการทำงานกับนายจ้างใหม่จึงจะสามารถเข้ามาเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยจะมีการบันทึกข้อมูลต่อเนื่องจากของเดิม และเมื่อลาออกจากงานสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลาออกจากงาน โดยติดต่อ สปส.กทม.พื้นที่/จังหวัด/สาขาใกล้ที่พักอาศัย

สำนักงานประกันสังคม เผย ผู้ประกันตนมาตรา 39 หากไม่อยากสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน และเสียสิทธิประโยชน์ประกันสังคม ห้ามขาดส่ง "เงินสมทบ" 3 เดือนติดต่อกัน หรือส่งไม่ครบ 9 เดือน ภายในระยะเวลา 1 ปี

สำนักงานประกันสังคม ระบุ ไม่อยากสิ้นสภาพ อย่าพลาด ขาดส่ง ขาดสิทธิ์ เพราะหากขาดส่ง เงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือส่งไม่ครบ 9 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน (1 ปี) ก็หมดสิทธิ์ในการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ทันที

ถ้าไม่อยากเสียสิทธิ์ สามารถลงทะเบียนเข้าสู่ระบบของผู้ประกันตนทาง Line สำนักงานประกันสังคม เพื่อรับการแจ้งเตือนกรณีค้างชำระการนำส่งเงินสมทบมาตรา 39 หรือ สะดวกกว่านั้น เพียงแค่สมัครนำส่งเงินสมทบโดยหักผ่านบัญชีธนาคาร แค่นี้ก็เซฟสิทธิ์ได้แล้ว

ทั้งนี้ ธนาคารที่เข้าร่วมการหักเงินสมทบผ่านบัญชีธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ,ธนาคารกรุงไทย ,ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารทหารไทยธนชาต , ธนาคารไทยพาณิชย์ ,ธนาคารกรุงเทพ เพียงเตรียมสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร และหนังสือยินยอมให้หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร (ถ้ามี) ติดต่อ สปส. ใกล้บ้านได้

โดยผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 432 บาท/เดือน คุ้มครอง 6 กรณี แต่เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติ ลดอัตราเงินสมทบ ติดต่อกันถึง 3 เดือน ตั้งแต่ พ.ค. - ก.ค. 65 โดยผู้ประกันตนมาตรา 39 ปรับลดอัตราเงินสมทบ จากเดิมร้อยละ 9 เหลือร้อยละ 1.9 จากปกติจ่าย 432 บาท ลดเหลือเพียง 91 บาท

ขาดส่งประกันสังคม มาตรา 33 3เดือน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

- เคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน     

- ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม    

สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน มาตรา 39 

จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี คือ

1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

2. กรณีคลอดบุตร

3. กรณีทุพพลภาพ

4. กรณีเสียชีวิต

5. กรณีสงเคราะห์บุตร

6. กรณีชราภาพ

สำหรับวิธีการสมัครผู้ประกันตน มาตรา 39 สามารถสมัครได้ที่สำนักงานประกันสังคมที่สะดวก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง