กรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ กี่ ปี 2564

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันครบรอบสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ 238 ปี

วันนี้ (21 เม.ย.2563)  เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม เนื่องในวาระ 238 ปี นับแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาหลักเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ ความว่า

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระบรมราชจักรีวงศ์แล้ว ทรงประดิษฐานหลักเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 21 เม.ย.2325 ทรงสามารถนำพระบรมราชวงศ์พร้อมด้วยข้าราชการและประชาชน ให้พร้อมเพรียงกันเข้าสู้ศึกทั้งภายนอกและภายใน แก้ไขฟันฝ่าวิกฤตการณ์ของบ้านเมือง ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ตั้งแบบแผนธรรมเนียม ชำระกฎหมาย เสริมสร้างศิลปวัฒนธรรม และปลุกจิตวิญญาณของความเป็นราชอาณาจักรอันรุ่งเรือง ให้กลับมาดำรงคงมั่นนับแต่นั้นตราบถึงบัดนี้ได้ 238 ปีแล้ว

กรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ กี่ ปี 2564


ความร่มเย็นเป็นสุขแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นตัวอย่างที่พิสูจน์ให้เห็นประจักษ์ว่า กรุงใดจะประดิษฐานอยู่ยั่งยืนนานโดยเรียบร้อย กรุงนั้นต้องยึดมั่นใน "ความสามัคคี" เป็นคุณธรรมพื้นฐาน ความสามัคคีที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ ต้องเริ่มจากจิตใจของพลเมืองแต่ละคน ในอันที่จะแผ่เมตตาอย่างจริงใจ อดทน ไม่ผูกโกรธ ให้อภัย และปราศจากอคติต่อบุคคลแวดล้อม บ้านเมืองใดที่เต็มไปด้วยพลเมืองผู้เพียบพร้อมด้วยความสุจริตทั้งกาย วาจา และใจ ย่อมทำให้บ้านเมืองนั้นดำรงมั่นคงอยู่ด้วยความสามัคคี

เพราะฉะนั้น ในเวลาที่บ้านเมืองกำลังเผชิญสถานการณ์อันไม่น่าพึงใจ ขอให้แต่ละคนลองหันกลับมาทบทวนตนเองว่า ท่านเป็นผู้มีเมตตา อดทน ใจเย็น รู้อภัย และละวางอคติในใจได้มากน้อยเพียงใด จากนั้น จงเร่งเพิ่มพูนคุณธรรมเหล่านี้ให้ทวียิ่งขึ้นในตน พร้อมเผื่อแผ่ไปสู่คนรอบข้าง

ถ้าแต่ละบุคคลทำได้เช่นนั้น สามัคคีธรรมย่อมบังเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ แล้วความเจริญรุ่งเรืองย่อมปรากฏตามมาในทันที สมดังธรรมภาษิตที่ว่า "สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฺฒิสาธิกา." ความว่า "ความพร้อมเพรียงของปวงชนผู้เป็นหมู่ ยังความเจริญให้สำเร็จทุกประการ"

ขอกรุงรัตนโกสินทร์ จงสถาพรสถิต ประดิษฐานสมรรถภาพอันประเสริฐอยู่ตราบกัลปาวสาน และขอประชาชนชาวไทยจงดำรงมั่นอยู่ในธรรม สามารถนำพาราชอาณาจักรให้ร่มเย็นเป็นสุข ภายใต้พระบรมโพธิสมภารแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์สืบไป ตลอดกาลนาน เทอญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
กรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ กี่ ปี 2564

ตราสัญลักษณ์

วันที่4–12 และ 21 เมษายน พ.ศ. 2525
ประเทศประเทศไทย
เหตุการณ์ก่อนหน้าพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี
จัดโดยรัฐบาลไทย

พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสที่กรุงรัตนโกสินทร์จะมีอายุ บรรจบครบ 200 ปี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2525 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งรัฐบาลสมัย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า "ในปีพ.ศ. 2525 กรุงรัตนโกสินทร์จะมีอายุได้ 200 ปี นับเป็นมหามงคลสมัยแสดงถึงความมั่นคงของบ้านเมือง ได้ผ่านพ้นภัยพิบัติต่าง ๆ มาโดยสวัสดี มีความร่มเย็นเป็นสุขด้วยพระบารมีของพระผู้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และด้วยพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ผู้สืบราชสันตติวงศ์ทุกรัชกาลโดยลำดับ รัฐบาลและปวงชนชาวไทยจึงมีความปีติยินดี พร้อมกันแสดงความกตเวทิตาคุณ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อ พระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ และบรรพชนไทยที่จรรโลงชาติให้มีความรุ่งเรืองสันติสุขสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดการ ในส่วนที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชพิธี สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์และฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยอนุโลมตามราชประเพณีที่มีมาแล้วในรัชกาลก่อน ทั้งให้สอดคล้องพอเหมาะ พอควรแก่กาลสมัยในปัจจุบัน ดังรายการต่อไปนี้..." [1]

พระราชพิธี[แก้]

วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2525[แก้]

เวลา 16.30 น.พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง พระสงฆ์ 24 รูป โดยมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ และสมเด็จพระญาณสังวรวัดบวรนิเวศวิหาร แสดงพระธรรมเทศนา และสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ 25 รูป สดับปกรณ์พระบรมอัฐิ สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า

วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พุทธศักราช 2525[แก้]

เวลา 08.00 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค จากท่าวาสุกรีไปยังท่าราชวรดิฐ โดยจัดเรือพระที่นั่งอนันตนาคราชทอดบัลลังก์บุษบกเป็นเรือนำ เชิญพระชัย(หลังช้าง)ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อกระบวนพยุหยาตราถึงท่าราชวรดิฐแล้ว เสด็จพระราชดำเนินสู่พระบรมมหาราชวัง และจัดกระบวนพระราชอิสริยยศน้อยแห่พระชัย (หลังช้าง) ไปยังพลับพลาท้องสนามหลวง

กรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ กี่ ปี 2564

เวลา 10.30 น. เสด็จพระราชดำเนินไปยังพลับพลาท้องสนามหลวง พระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี ทูตานุทูต ข้าราชการ ทหาร พลเรือน สมาชิกรัฐสภา ลูกเสือ นักเรียน และทวยราษฎร์ทุกหมู่เหล่า เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เสด็จออกพระที่นั่งชุมสาย นายกรัฐมนตรีกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ถึงความพร้อมใจของรัฐบาลและปวงชนชาวไทย ที่ได้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นมหาราช และถวายชัยมงคล แล้วมีพระราชดำรัสตอบ จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปยังมณฑลพิธีบวงสรวง ทรงแปรพระพักตร์สู่วัดพระศรีรัตนศาสดารามและปราสาทพระเทพบิดร ในพระบรมมหาราชวัง ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะบวงสรวง สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าภาวาส บุนนาค รองราชเลขาธิการ อ่านราชาภิสดุดี เป็นการประกาศพระราชพิธีบวงสรวง

กรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ กี่ ปี 2564

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทรงชักสายสูตรยกช่อฟ้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เวลาบ่าย เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ไปในการพระราชพิธีฉลองวัดพระแก้ว สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นแม่กองบูรณปฏิสังขรณ์ตามคำกราบบังคมทูลขอของรัฐบาล กราบบังคมทูลรายงานในการบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินทรงชักสายสูตรยกช่อฟ้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระราชทานเทียนชนวนไปจุดดอกไม้เพลิงถวายเป็นพุทธบูชาในการฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วันอังคารที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2525[แก้]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปยังชานชาลาเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ไปในการพระราชพิธีวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ ถวายพุ่มดอกไม้ และทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แล้วเสด็จพระราชดำเนินสู่พลับพลาพิธี ทรงศีล และทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะถวายเครื่องบวงสรวง ณ พระที่นั่งชุมสาย หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รองราชเลขาธิการอ่านอาศิรวาทปฐมราชสดุดี จบแล้วทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารปืนใหญ่ยิงสลุต 21 นัด พระสงฆ์ในมณฑลพิธีกับพระสงฆ์ 209 รูป สี่มุม ป้อมกำแพงพระบรมมหาราชวัง และพระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร ลงอุโบสถเจริญ ชัยมงคลคาถา วัดในพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นทั่วราชอาณาจักร ย่ำฆ้องกลองระฆังขึ้นพร้อมกัน 3 ลา

วันพุธที่ 7 เมษายน พุทธศักราช 2525[แก้]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปยังบริเวณหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ไปในการพระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระสยามเทวาธิราชจากวิมานในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ มาประดิษฐานที่บุษบกมุขเด็จ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้อาณาประชาราษฎร์ได้สักการะพระสยามเทวาธิราชเป็นครั้งแรก ถึงวันที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2525 มีประชาชนทั่วทุกสารทิศเดินทางมาอย่างเนืองแน่นทุกวัน

วันจันทร์ที่ 12 เมษายน พุทธศักราช 2525[แก้]

มีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ด้วยกระบวนพยุหยาตราชลมารคน้อย ไปยังสะพานพระพุทธยอดฟ้า (ฝั่งธนบุรี) และเชิญไปยังวงเวียนใหญ่ ก่อนที่จะอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ท้องสนามหลวง ในเวลาต่อมา

วันพุธที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2525[แก้]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปยังศาลหลักเมือง ไปในการพระราชพิธีสมโภชหลักเมือง และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวงสรวงพระเทพารักษ์ ซึ่งได้บูรณะศาลหลักเมืองใหม่ให้ใหญ่สง่างาม เพื่อเป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่พระมหานครรัตนโกสินทร์

รัฐพิธี[แก้]

รัฐบาลไทยได้เตรียมการจัดรัฐพิธี เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2525 เวลา 19.00 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปยังทำเนียบรัฐบาล ไปในงานมหามงคลสโมสรสันนิบาต เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อเบื้องพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และแสดงออกถึงความชื่นชมยินดี ที่พระบรมราชจักรีวงศ์ได้สถิตสถาพรมาเป็นเวลา 200 ปี ยั่งยืนนานยิ่งกว่าพระบรมราชวงศ์อื่นใดที่เสด็จขึ้นผ่านพิภพปกครองราชอาณาจักรไทยมาแล้วในอดีต โดยขอพระราชทานเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย พระบรมวงศานุวงศ์ เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ วิจิตรงดงามยิ่งกว่างานใด ๆ ที่เคยจัดมา

การประชาสัมพันธ์[แก้]

โดยสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีโทรทัศน์ และสื่อมวลชนทุกสำนัก จะถ่ายทอดสดงานพระราชพิธีและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ โดยให้ทุกสถานีเชื่อมโยงสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

ตราสัญลักษณ์[แก้]

ตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ภาพมีลักษณะเป็นศิลปไทยทั้งสีและลายเส้น ประกอบด้วย ภาพเทวดาสององค์พนมมือไว้ หันหน้าเข้าหากัน อันมีความหมายว่า กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งชาวเทวดา และได้ร่วมกันเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ในวาระสำคัญครบ 200 ปี เหนือภาพเทวดาเป็นภาพซุ้มวิมาน หมายถึง สิ่งก่อสร้างของกรุงเทพมหานคร (แบบซุ้มนี้ได้แบบมาจากซุ้มประดิษฐานพระสยามเทวาธิราช ในพระบรมมหาราชวัง ตามคำแนะนำของท่านรองราชเลขาธิการ) เบื้องล่างเป็นอักษรข้อความว่า สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี อยู่ด้านบน พ.ศ. 2525 อยู่ด้านล่าง 

อ้างอิง[แก้]

  1. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน,พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี Archived 2011-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

กรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบกี่ปี

624 views. Apr 21, 2022.

กรุงรัตนโกสินทร์มีอายุกี่ปี 2565

ครบ 240 ปี แห่งการสถาปนา "กรุงรัตนโกสินทร์" วันที่ 21 เมษายน 2565 ตรงกับวันยกเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ