ไกรกร่างยางยูงสูงระหง แปลว่า

รูปแบบในการดำเนินเรื่อง  :  กาพย์พระไชยสุริยาของสุนทรภู่มีธรรมเนียมในการแต่งเหมือนวรรณคดีแบบฉบับอื่นๆของไทย  โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้

     เริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู หรือประณามบทไหว้คุณพระรัตนตรัย  คุณบิดามารดาคุณครูบาอาจารย์  และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายเพื่อช่วยให้เกิดสิริมงคลแก่กวีและงานประพันธ์ของกวี  โดยสุนทรภู่จะเริ่มต้นบทนำเรื่องด้วยบทไหว้ครู  ดังนี้

                                 สะธุสะจะขอไหว้           พระศรีไตรสะระณา

                           พ่อแม่แลครูบา                         เทวะดาในราศี

          มีการออกตัว  การออกตัวหรือถ่อมตัว  ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งที่กวีนิยมเขียนไว้ ในคำประพันธ์  กวีจะเขียนออกตัวเพื่อแสดงว่ามิได้มีความสามารถเลิศกว่าบุคคลอื่น และเชื่อถือยกย่องให้เกียรติผู้อ่านว่ามีความสามารถมากกว่า  โดยปกติกวีมักจะถ่อมตัวว่าปัญญายังอ่อนนัก  จะตัดทอนส่วนไหนออกก็ตัดไม่ได้  ผู้อ่านที่มีความเฉลียวฉลาดช่วยแต่งเติมตัดทอนให้เหมาะสม  ในเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา  สุนทรภู่ได้ออกตัวไว้ว่า

                      ข้าเจ้าเอา    ก   ข            เข้ามาต่อ      ก   กา มี

              แก้ไขในเท่านี้                         ดีมิดีอย่าตรีชา

            มีการพรรณนาเข้าแบบ การพรรณนาที่เรียกว่า เข้าแบบ คือการชม เช่นชมความงามต่างๆ  อันได้แก่  ชมไม้  ชมทัพ  ชมปลา  ชมนก  ชมโฉม  ฯลฯ         ในกาพย์พระไชยสุริยา  สุนทรภู่จะพรรณนาเข้าแบบคือ  การชมธรรมชาติโดยมุ่งความไพเราะในการเล่นคำสัมผัสมากกว่าจะคำนึงถึงความเป็นจริง  ดังนี้

ชมปลา

              ปลากระโห้โลมาราหู                          เหราปลาทู

        มีอยู่ในน้ำคล่ำไป

ชมไม้

               ไกรกร่างยางยูงสูงระหง                    ตะลิงปลิงปริงประยงค์

         คันทรงส่งกลิ่นฝิ่นฝาง

                มะม่วงพลวงพลองช้องนาง             หล่นเกลื่อนเถื่อนทาง

         กินพลางเดินพลางหว่างเนิน

ชมนก

  เขาสูงฝูงหงส์ลงเรียง

เริงร้องซ้องเสียง

สำเนียงน่าฟังวังเวง

        กลางไพรไก่ขันบรรเลง

ฟังเสียงเพียงเพลง

ซอเจ้งจำเรียงเวียงวัง

        ยูงทองร้องกะโต้งโห่งดัง

เพียงฆ้องกลองระฆัง

แตรสังข์กังสดาลขานเสียง

        กะลิงกะลางนางนวลนอนเรียง

พระยาลอคลอเคียง

แอ่นเอี้ยงอีโก้งโทงเทง

        ค้อนทองเสียงร้องป๋องเป๋ง

เพลินฟังวังเวง

อีเก้งเริงร้องลองเชิง

             มีการแสดงอารมณ์ขัน  ด้วยคนไทยเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน  และมีอารมณ์ขัน  ดังนั้น

             ในการแต่งวรรณกรรม  กวีจะแทรกอารมณ์ขันเข้าไปด้วย  ในกาพย์พระไชยสุริยา 

             สุนทรภู่ได้แสดงอารมณ์ขันไว้ในตอนที่บรรยายบทอัศจรรย์  ภาพความวุ่นวายสับสน

             ของขุนนาง  ท่านผู้หญิง  และพระสงฆ์  ชวนให้ผู้อ่านขบขัน  และมีข้อสังเกตว่า

             สุนทรภู่จะทำให้ผู้ที่มีความประพฤติไม่เหมาะสม  ผิดทำนองคลองธรรมทำกริยาน่าขัน

             กลายเป็นตัวตลกในเรื่อง  ดังนี้

                                ขุนนางต่างลุกวิ่ง             ท่านผู้หญิงวิ่งยุดหลัง

                                        พัลวันดันตึงตัง                        พลั้งพลัดตกหกคะเมน

                                  พระสงฆ์ลงจากกุฏิ        วิ่งอุตลุดฉุดมือเณร

                                        หลวงชีหนีหลวงเถร              ลงโคลนเลนเผ่นผาดโผน

                                  พวกวัดพลัดเข้าบ้าน    ล้านต่อล้านซานเซโดน

                                        ต้นไม้ไกวเอนโอน                  ลิงค่างโจนโผนหกหัน

          มีบทสังวาสหรือบทอัศจรรย์หรือบทพิศวาส  บทพิศวาสของไทยจะไม่กล่าวตรงๆ

              แต่จะกล่าวอ้อมๆโดยใช้สัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งแทน  กวีจะเลือกสรรคำมาใช้

              อย่างเหมาะสม  เพื่อทำให้เกิดจินตนาการและความไพเราะเป็นการแสดง

              ความสามารถของกวีอีกด้วย  เพราะการเลือกใช้สัญลักษณ์ในวรรณคดีเป็นศิลปะ

              การใช้ถ้อยคำในการประพันธ์  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสติปัญญาอันเฉียบแหลมของกวี

              ในกาพย์พระไชยสุริยา  สุนทรภู่พรรณนาบทอัศจรรย์ โดยใช้สัญลักษณ์ ดังนี้

                   ขึ้นกดบทอัศจรรย์             เสียงครื้นครั่นชั้นเขาหลวง

                    นกหกตกรังรวง                             สัตว์ทั้งปวงง่วงงุนโงง

                   แดนดินถิ่นมนุษย์             เสียงดังดุจพระเพลิงโพลง

                   ตึกกว้านบ้านเรือนโรง                    โคลงคลอนเคลื่อนเขยื้อนโยน

                  บ้านช่องคลองเล็กใหญ่      บ้างตื่นไฟตกใจโจน

                   ปลุกเพื่อนเตือนตะโกน                  ลุกโลดโผนโดนกันเอง

                  พิณพาทย์ระนาดฆ้อง        ตะโพนกลองร้องเป็นเพลง

                  ระฆังดังวังเวง                                 โหง่งหง่างเหง่งเก่งก่างดัง

          จะเห็นว่าสุนทรภู่ได้นำสัญลักษณ์ใช้แทนการบรรยายอย่างตรงไปตรงมา  เพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดภาพพจน์ ได้แก่  เสียงฟ้าร้อง  เสียงดังเอะอะราวกับไปไหม้  เสียงการบรรเลงดนตรีนานาชนิด  ฯลฯ