คุณลักษณะพื้นฐานที่สำคัญของเทคโนโลยี blockchain

บทที่ 3 เทคโนโลยที ่ใี ชใ้ นการทำธุรกรรม

โดยไมต่ ้องผา่ นบุคคลท่ีสาม (Blockchain)

1. ความหมายของบลอ็ กเชน (Blockchain)

บล็อกเชน (Blockchain) คือ เทคโนโลยีการจัดเก็บ ข้อมูลแบบ
Shared Database หรือที่รู้จักกันใน ชื่อ “ Distributed Ledger
Technology (DLT)” โดยเป็น รูปแบบการบันทึกข้อมูลที่รับประกัน
ความปลอดภัย ว่าข้อมูลที่ถูกบันทึกไปก่อนหน้านั้น ไม่สามารถที่จะ
เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขได้ ซึ่งผู้ใช้งานทุกคนจะได้เห็น ข้อมูลชุดเดียวกัน
ทั้งหมด โดยใช้หลักการ Cryptography และความสามารถของ
Distributed Computing เพ่ือสร้างกลไกความน่าเช่ือถอื

สรุป บล็อกเชน (Blockchain) คือ ฐานข้อมูล (Database) ที่เก็บ
ไว้ในเครื่องของทุกคนแต่ไว้ใจ : และเชื่อถือได้แม้ในระบบที่ไม่มีใครเป็น
ผู้ดูแลกลาง คือ ทุกคนจะสามารถแชรข์ ้อมลู รว่ มกันไดโ้ ดยไม่ตอ้ ง ไปเก็บ
ไว้ท่ีไหน ทกุ คนถอื คนละก๊อบปี้ที่หน้าตาเหมือนกนั ไวไ้ ดเ้ ลย ถา้ เกดิ มกี าร
เปลี่ยนแปลง ขอ้ มูลใน มอื ทุกคนก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปโดยอัตโนมัติ

ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) จะรวมไปถึงการ
บันทึกธุรกรรมของสกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี เช่น
บิตคอยน์ (Bitcoin) จึงเป็นสาเหตุทําให้ผู้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าบิตคอยน์
(Bitcoin) และบล็อกเชน (Blockchain) คือเทคโนโลยีเดียวกัน แต่ใน
ความเป็นจริงแล้วบิตคอยน์ (Bitcoin) เป็นเพียงชื่อเรียกของสกุลเงิน
อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ โดยมีบล็อกเชน
(Blockchain) เป็นเทคโนโลยีเบื้องหลังที่ช่วยในการตรวจสอบการทํา
ธุรกรรมต่าง ๆ ของบิตคอยน์ (Bitcoin) เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
มากกวา่ การทาํ ธรุ กรรมออนไลน์ปกติ

2. วิวฒั นาการของเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain)

จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เกิดขึ้นครั้งแรก
ในปี ค.ศ. 2008 โดยการนําเสนอของ “Satoshi Nakamoto” จาก
เอกสาร Bitcoin : A Peer-to-Peer Electronic Cash System เป็น
การนําเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างแพลตฟอร์ม (Platform) ท่ี
สามารถสร้างความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนเงินสกุลดิจิทัลที่มีชื่อว่า
บิตคอยน์ “Bitcoin” โดยใช้ทฤษฎี เกี่ยวกับการทํา Cryptography
และ Distributed Computing

ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารหรือ
หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจ่ายเงิน โดยได้รับความ
สนใจอย่างแพร่หลายรวมทั้งได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกว่า
เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพและสามารถนํามาประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจ
อื่น ๆ ได้ไม่จําเพาะแค่ภาคธุรกิจการเงินและการธนาคารเท่านั้น แต่ยัง
รวมถึงภาครัฐก็ได้มีการตื่นตัวและศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชน
(Blockchain) กันอยา่ งแพร่หลายเช่นกัน

การทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) อาศัยการ
จัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology)
โดยทุกข้อมูลจะมีการเชื่อมโยงกันทั้งระบบ และเมื่อมีรายการธุรกรรม
ใหม่เกิดข้นึ จะตอ้ งมกี ารประกาศบอกทุกเครอื่ งในระบบใหร้ ับรู้

นอกจากนี้รายการธุรกรรมดังกล่าวจะต้องผ่านการตรวจสอบ
(Consensus) จากทั้งเครือข่ายเสียก่อน จึงจะสามารถบันทึกข้อมูลเข้า
Block ได้ ดงั นั้น เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) จึงไม่จำเป็นต้องมี
ตัวกลางคอยทำหน้าที่ในการจัดเก็บรายการธุรกรรม แต่ข้อมูลทั้งหมด
จะถูกจัดเก็บอยู่ภายใต้โครงสร้างของเทคโนโลยีบล็อกเชน
(Blockchain) และถูกกระจายไปยังเครอื่ งของสมาชกิ ทุกคนในเครอื ข่าย
และถ้ามีคนพยายามสร้างรายการธุรกรรมปลอมขึ้นมา ข้อมูลก็จะ
ขัดแย้งกับข้อมูลในเครื่องของสมาชิกอื่น ๆ ในเครือข่าย เนื่องจากทุก
เครื่องจะต้องมีข้อมูลเหมือนกันทั้งหมด ดังนั้นระบบจะไม่อนุญาตให้
สร้างรายการดังกล่าวโดยจะมีแต่รายการที่ทุกคนในเครือข่ายยอมรับ
เท่านั้นที่จะสามารถบันทึกเข้าสู่ระบบบล็อกเชน (Blockchain) ได้และ
ข้อมูลที่ถูกบันทึกเข้าสู่ระบบบล็อกเชน (Blockchain) ไปแล้วจะไม่
สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขย้อนหลังได้ จึงทำให้เทคโนโลยีบล็อก
เชน (Blockchain) ได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล
ทมี่ คี วามนา่ เชอื่ ถือสงู

3. หลักการทำงานของเทคโนโลยบี ล็อกเชน (Blockchain)

หลักการทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) คือ
ฐานข้อมูลจะถูกแชร์ให้กับทุก Node ที่อยู่ในเครือข่ายและการทำงาน
ของเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) จะไม่มีเครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็น
ศูนย์กลางหรือเครื่องแม่ข่าย ซึ่งการทำงานแบบกระจายศูนย์นี้จะไม่ถูก
ควบคุมโดยคนเพียงคนเดียว แต่ทุก Node จะได้รับสำเนาฐานข้อมูล
เก็บไว้และจะมีการอัปเดตฐานข้อมูลแบบอัตโนมัติเมื่อมีข้อมูลใหม่
เกิดขึ้น ทั้งนี้สำเนาฐานข้อมูลของทุกคนในเครือข่ายจะต้องถูกต้องและ
ตรงกันกับของสมาชิกคนอื่นในเครือข่าย อีกทั้งการบันทึกข้อมูลเข้าสู่
Block ยังอาศัยหลักการทำ Cryptography และการทำ Consensus
จากสมาชิกในเครอื ขา่ ยด้วยกนั ก่อนบรรจุข้อมลู ลง Block และเพ่ิมเข้าสู่
ระบบบล็อกเชน (Blockchain) เพื่อเป็นการป้องกันและรับประกัน
ความปลอดภัยของข้อมูล โดยแต่ละเครือข่ายบล็อกเชน (Blockchain)
จะมีการกำหนดกฎเกณฑ์ในการตรวจสอบหรือที่เรียกว่า “Consensus
Protocol” หรอื “Consensus Mechanism” ขน้ึ มาเพอ่ื ใช้ในเครอื ขา่ ย
หลักการทำงานพื้นฐานที่สำคัญของเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain)
อย่างนอ้ ยจะตอ้ งประกอบไปด้วย 4 ขน้ั ตอนหลัก ๆ คอื

ขั้นตอนที่ 1 Create คือ การสร้าง Block ที่บรรจุคำสั่งขอทำ
รายการธรุ กรรม

ขั้นตอนที่ 2 Broadcast คือ กระจาย Block ใหม่นี้ให้กับทุก
Node ในระบบและบันทึกรายการธุรกรรมลง Ledger ให้กับทุก Node
เพอื่ อัปเดตวา่ มี Block ใหมเ่ กิดขึน้ มา

ขั้นตอนที่ 3 Validation คือ Node อื่น ๆ ในระบบยืนยันและ
ตรวจสอบข้อมลู ของ Block นั้นว่า ถกู ต้องตามเง่ือนไข Validation โดย
กระบวนการทำ Consensus ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำ
Validation

ขั้นตอนที่ 4 Add to chain คือ นำ Block ดังกล่าวมาเรียงต่อ
จาก Block ก่อนหนา้ น้ี

อย่างไรก็ตามการออกแบบการทำงานของระบบบล็อกเชน
(Blockchain) ในการทำงานจริงอาจจะมีการออกแบบขั้นตอนการ
ทำงานที่แตกต่างไปจากนี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละผู้ผลิต
หรือแต่ละแพลตฟอร์ม (Platform) แต่อย่างน้อยจะต้องมี 4 ขั้นตอน
หลักนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน บล็อกเชน
(Blockchain)

4. องค์ประกอบของเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain)

องคป์ ระกอบของเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ประกอบด้วย
4 องค์ประกอบสำคัญ คอื

4.1 Block

การจัดเก็บข้อมูลของเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) จะถูก
จดั เกบ็ ในรปู แบบของ Block โดย Chain

Block แต่ละ Block จะเชื่อมโยงเข้าหา Block ก่อนหน้าด้วยค่า
Hash Function ของ Block ก่อนหน้านี้เสมอและจะเรียงร้อยต่อกัน
เป็น Chain ทำให้ยากต่อการปลอมแปลง แก้ไข และสามารถตรวจสอบ
ความถูกต้องของข้อมูลได้ทุก ๆ Block ตลอดทั้ง Chain ซึ่งสามารถ
ตรวจสอบยอ้ นกลับไปจนถงึ Block เรม่ิ ตน้ หรือ Genesis Block ได้

ดงั น้ัน Block คือ ชุดบรรจุขอ้ มูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของ
Block Header เพื่อใช้บอกให้ผู้อื่นทราบว่าภายในบรรจุข้อมูลอะไรไว้
และส่วนที่ใส่เข้าไปใน Block Data ที่เรียกว่า Item เพื่อใช้ในการบรรจุ
ข้อมูลต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลจํานวนเงิน ข้อมูล การโอนเงิน ข้อมูล
ประวัติการรักษาพยาบาล หรือข้อมูลอื่น ๆ ส่วนประกอบของ Block ท่ี
ประกอบดว้ ย 3 ส่วนหลัก ไดแ้ ก่

4.1.1 ส่วน Header ประกอบดว้ ย
1) Version Info เป็นสว่ นที่บ่งบอกถงึ Version ของขอ้ มูลใน Block

2) Nonce คือ ค่าของตัวเลขแบบสุ่มที่จะถูกเปลี่ยนค่าไปเรื่อย ๆ จน
ไดค้ ่าแฮช (Hash) ที่เหมาะสม

3) Previous Block เป็นค่าแฮช (Hash) ของ Block ก่อนหน้า ทำให้
ผใู้ ชร้ ้วู ่า Block นี้ ต่อมาจาก Block ใด

4) Timestamp คอื เวลาท่ี Block นี้ ถกู สรา้ งข้ึนมา

5) Merkle คือ การตรวจสอบความถกู ต้องของข้อมูล เพื่อใหม้ ั่นใจว่า
ไมม่ ีผใู้ ดแก้ไขขอ้ มลู รายการธรุ กรรม (Transaction) ใน Block อกี

4.1.2 สว่ น Transaction's ID List ใน Block
1) ID ประจาํ Block ซ่ึงเป็นตวั เลขแบบส่มุ ทเ่ี ขา้ รหสั แฮช (Hash) ไว้

2) ID ของ Block ก่อนหนา้ ซงึ่ เขา้ รหสั แฮช (Hash) ไว้เชน่ กนั

3) ข้อมูลรายการธุรกรรม (Transaction) ซ่งึ อาจจะมีเพียง 1 รายการ
ธุรกรรม (Transaction) หรอื มากกว่าน้นั กไ็ ด้

4) คีย์สาธารณะ (Public Key) ที่บอกว่า Block นี้เป็นของใคร ใคร
เป็นผสู้ ่ง และใครเป็นผรู้ บั

4.1.3 ส่วนแฮช (Hash) คือ ส่วนของกระบวนการ Proof of
Work ซึ่งเป็นการเข้ารหัสทางเดียว โดยจะสร้างลายเซ็นดิจิทัล (Digital
Signature) ของข้อมูลขึ้นมาทำให้ไม่สามารถถอดรหัสข้อมูลนั้นกลับมา
ได้ โดยใช้หลักการของคีย์ส่วนตัว (Private Key) และคีย์สาธารณะ
(Public Key) ตัวอย่างเชน่ หากตอ้ งการเขา้ รหสั ข้อความ “I am World
Wide Wealth” มีกระบวนการ ดงั นี้

1) เข้ารหัสด้วยฟังก์ชันแฮช (Function Hash) โดยใช้คีย์ส่วนตัว
(Private Key) ของผู้ส่ง ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นลายเซ็นดิจิทัล (Digital
Signature)

2) เมื่อได้ลายเซ็นดิจิทัล (Digital Signature) มาก็จะส่งให้กับผู้รับ
พรอ้ มกบั คยี ์สาธารณะ (Public Key)

3) ผู้รับตรวจสอบลายเซ็นดิจิทัล (Digital Signature) ที่ได้โดยใช้
คีย์สาธารณะ (Public Key) ของผู้ส่ง ถ้าได้ค่าแฮช (Hash) ที่ตรงกันก็
สามารถยนื ยันได้วา่ เป็นขอ้ ความทถ่ี ูกตอ้ ง เชือ่ ถอื ได้

4.2 Chain

Chain คือ วิธีการจดจําข้อมูลทุก ๆ ธุรกรรมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ทุก ๆ ฝ่ายในระบบและบันทึกข้อมูลพร้อมจัดทำเป็นสำเนาแจกจ่าย
ให้กับทุกคนในระบบ โดยสำเนานั้นจะถูกกระจายส่งต่อไปให้ทุก ๆ
Node ในระบบเพ่อื ให้ทกุ คนรับทราบว่ามีธรุ กรรมอะไรเกดิ ขนึ้ ต้งั แต่เปิด
ระบบบลอ็ กเชน (Blockchain) ถงึ แมว้ ่า Node ใด เกิดความเสยี หายไป
ก็ยังสามารถยืนยันหรือกู้ข้อมูลธุรกรรมที่เกิดขึ้นจาก Node อื่น ให้ท้ัง
ระบบ ได้เหมือนเดิม

4.3 Consensus

การกำหนดข้อตกลงและความเห็นชอบร่วมกันระหว่างสมาชิกใน
เครือข่ายบล็อกเชน (Blockchain) โดยสมาชิกต้องยอมรับกฎระเบียบ
ร่วมกัน ด้วยกลไกในการควบคุมความถูกต้องของข้อมูลในทุก Node
ผ่าน อัลกอริทึมต่าง ๆ เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องเที่ยงตรงและเป็น
ข้อมูลชุดเดียวกัน รวมท้ังข้อมูลมีการจัดเก็บที่ สอดคล้องและมีลำดับ
การจดั เกบ็ ตรงกัน ทัง้ นี้ กระบวนการ Consensus มีอย่ดู ้วยกันหลายวิธี
ตัวอย่างเชน่

4.3.1 Proof-of-Work คือ กระบวนการทำ Consensus โดยใช้
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีความซับซ้อนและต้องใช้เวลาในการ
แก้ปัญหานั้น ๆ จาก Nodes ต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายหรือเรียกว่า
“Miners” เพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่จะถูกบันทึกเข้ามาใน
เครือข่าย โดย Miner จะได้รับค่าตอบแทนจากการทำ Proof-of-Work
และด้วยวิธีการดังกล่าว ทำให้การแก้ไขข้อมูลที่ถูกบันทึกลงในระบบ
บล็อกเชน (Blockchain) แล้วนั้นทำได้ยากโดยที่ไม่แก้ไขข้อมูลใน
Block ถัด ๆ ไป ตัวอย่างเช่น บิตคอยน์ (Bitcoin) ซึ่งเป็น Public
Blockchain ใช้วิธีการยืนยนั รายการแบบ Proof-of-Work

4.3.2 Proof-of-Stake คือ กระบวนการทำ Consensus โดยใช้
หลักการวาง “สินทรัพย์” ของผู้ตรวจสอบ (Validator) ในการยืนยัน
ธุรกรรม ผู้ตรวจสอบที่วางสินทรัพย์จำนวนมากจึงมีโอกาสสูงที่จะได้รับ
สิทธิ์ในการเขียนข้อมูลธุรกรรมบน Block ถัดไป โดยผู้ที่เขียนข้อมูลบน
Block ถัดไปจะได้รับค่าธรรมเนียมการดําเนินงานเป็นรางวัลตอบแทน
ตัวอย่างเช่น Ethereum ซึ่งเป็น Public Blockchain ใช้วิธีการยืนยัน
รายการแบบ Proof-of-Stake

4 . 3 . 3 Practical Byzantine Fault Tolerance (PBFT) คื อ
กระบวนการทำ Consensus โดยใช้ หลักการเสียงข้างมาก ซึ่งต้องมี
จำนวนผู้ตรวจสอบ (Validator) ทั้งสิ้นจำนวน 3f+1 Node เพื่อ
รับประกัน ความถูกต้องของระบบ โดย f คือ จำนวนผู้ตรวจสอบที่ไม่
สามารถทำงานได้ในขณะนั้น ตัวอย่างเช่น HyperLedger ซึ่งเป็น
Private Blockchain ใชว้ ธิ ีการยืนยนั รายการแบบ PBFT

4.3.4 Proof-of-Authority คือ กระบวนการ Consensus โดย
ใช้การทำข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดสิทธิผู้ใช้งานหรือองค์กรที่
เชื่อถือได้ สำหรับการทำธุรกรรมด้วยวิธีการระบุชื่อผู้ใช้อย่างเป็น
ทางการให้กับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละ Node บนเครือข่ายบล็อกเชน
(Blockchain) การทำธุรกรรมจะได้รับการตรวจสอบสิทธิ์จากบัญชี ที
ได้รับอนุมัติหรือเรียกว่า ผู้ตรวจสอบ (Validator) ซึ่งทำหน้าที่ในการ
รักษาความปลอดภัยโดยใช้รปู แบบการหมนุ เวยี นสิทธิเพ่ือกระจายความ
รับผิดชอบและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานอย่างเป็น
ธรรม

จากตัวอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น เป็น Consensus
Mechanisms ที่ได้รับการยอมรับและ ถูกนําไปใช้ในเครือข่ายบล็อก
เชน (Blockchain) ที่มีชื่อเสียงหลาย ๆ เครือข่ายด้วยกัน แต่วิธีการ

ดังกล่าว ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Consensus Mechanisms เท่านั้น
ซึ่งการใช้งานจริงยังมีอีกหลายวิธี เช่น Ledger Based, Proprietary
Distributed Ledger Consensus, Federated Consensus, N2 N,
Delegated Proof of Stake และ Round Robin โดยการเลือกใช้วิธี
ใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของบล็อกเชน (Blockchain) ในแต่ละ
ประเภท รวมถึงแนวทางการออกแบบระบบบลอ็ กเชน (Blockchain)

4.4 Validation
คือ การตรวจสอบความถูกต้องแบบทบทวนทั้งระบบและทุก
Node ในระบบบล็อกเชน (Blockchain) เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มี
ข้อผิดพลาดเกิดขึ้นไม่ว่าจะมาจากส่วนใดก็ตาม ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของ
Consensus ที่เรียกว่า Proof-of-Work ซึ่งในหลักการแล้วการทำ
Validation นั้นมจี ุดประสงคอ์ ยู่ 3 ประการคอื
4.4.1 วธิ กี ารในการยอมรบั /ปฏเิ สธ รายการใน Block นนั้ ๆ
4.4.2 วิธีการตรวจสอบทท่ี กุ คนในระบบยอมรับร่วมกัน
4.4.3 วธิ ีตรวจสอบความถูกต้องของแตล่ ะ Block ตวั อย่างเช่น

1) หมายเลข Block โดยตรวจสอบ Block กอ่ นหนา้ ที่ติดกันวา่ เป็น
Block ที่ถูกต้องหรือไม่ โดยเวลาที่ Block ถูกสร้างขึ้นต้องมากกว่าเวลา
ของ Block กอ่ นหนา้

2) คา่ Nonce โดยการตรวจสอบค่า Nonce ซ่งึ กค็ ือคา่ Hash ของ
Block ทไ่ี ด้มาจาก การทาํ Proof-of-Work

3) ค่า Previous Hash และค่า Current Hash โดยการตรวจสอบ
สถานะเริ่มต้นใน Block ซึ่งต้องมีข้อมูลตรงตามสถานะสุดท้ายของ
Block กอ่ นหน้า

แตอ่ ย่างไรก็ดี วธิ ีการตรวจสอบความถกู ต้องของแต่ละ Block หรือ
การทํา Validation นั้นอาจจะมีขั้นตอนมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับการ
ออกแบบการเก็บข้อมูลใน Block ของแต่ละค่ายนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น
ค่าย Ethereum นั้นจะมีขั้นตอนการ Validation ถึง 5 ขั้นตอนด้วยกนั
ซึ่งจะต้องสมั พันธ์กับการเกบ็ ข้อมลู ใน Block

5. ประเภทของบลอ็ กเชน (Blockchain)

บล็อกเชน (Blockchain) แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท โดยพจิ ารณา
จากข้อกาํ หนดในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของเครอื ขา่ ย คอื

5.1 Public Blockchain

Public Blockchain เป็นบล็อกเชน (Blockchain) ที่ถูกนําไปใช้งาน
จริงกับบิตคอยน์ (Bitcoin) หรือ Ethereum ซึ่งปัจจุบันมีการใช้งานจริงกับ
คนทวั่ โลก โดย Ethereum เปน็ แพลตฟอรม์ (Platform) แบบเปิดของบลอ็ ก
เชนท่ที าํ ให้ทุกคนสามารถสร้างและใชง้ านแอปพลิเคชนั (Application) แบบ
กระจาย ข้อมูล (Decentralized) ซึ่งทํางานบนเทคโนโลยีบล็อกเชน
(Blockchain) ได้ โดย Ethereum มคี วามคล้ายคลงึ กบั บติ คอยน์ในเร่ืองของ
การที่ไม่มีผู้ใดสามารถควบคุมหรือเป็นเจ้าของ Ethereum ได้ เนื่องจาก
Ethereum เป็นโอเพนซอร์ส (Open-Source) ที่สร้างขึ้นโดยผู้คนจํานวน
มากจากทั่วโลก แต่ Ethereum มีความแตกต่างจากโปรโตคอล (Protocol)
บิตคอยน์เนื่องจาก Ethereum ถูกออกแบบมาเพื่อให้ สามารถปรับตัวได้
และมีความยืดหยุ่นต่อการสร้างแอปพลิเคชันใหม่ ๆ บนแพลตฟอร์ม
(Platform) ดงั น้นั Ethereum จงึ เปน็ เรอ่ื งง่ายท่ีทาํ ใหท้ ุกคน สามารถใช้งาน
แอปพลิเคชัน (Application) เหล่านี้ ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งหมายความว่า
ขอ้ มลู ทใ่ี ส่เข้าไปใน Public Blockchain นนั้ จะถกู เปิดเผยแกส่ าธารณชน

ข้อดีของ Public Blockchain คือ องค์กรไม่จำเป็นต้องเสีย
ค่าใช้จ่ายในด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เช่น องค์กรไม่
จำเป็นต้องลงทุนซื้อเซิร์ฟเวอร์หรือฮาร์ดดิสก์ใหม่สำหรับระบบนี้ แต่
เพียงแค่ ชําระค่าบริการรับส่งและเก็บข้อมูลจากผู้ให้บริการตามการใช้
งานจริงเท่านั้น นอกจากนี้ การส่งข้อมูลไปให้ หน่วยงานผู้รับปลายทาง
ก็ไมม่ คี วามจําเปน็ ในการสร้างช่องทางรบั ส่งขอ้ มูลระหว่างกนั อีกดว้ ย

ซึ่งข้อดีของ Public Blockchain ยังมีอีกมากมาย อาทิ การส่ง
ข้อมูลไปให้หน่วยงานผู้รับปลายทาง ซึ่งก็ไม่ต้องมาสร้างช่องทางส่ง
ข้อมูล หรือในตอนนี้ ถ้านิยมทำ Web Service API คุยกัน องค์กรผู้ส่ง
ข้อมูล เพียงแค่ใส่ข้อมูลลงไปในบล็อกเชน (Blockchain) และจ่าหน้า
ซองข้อมลู ถงึ องค์กรผรู้ บั เท่านั้นผ้รู ับกไ็ ด้รบั ข้อมลู ไปโดยทันที

แต่ข้อเสียของ Public Blockchain ก็มี เช่น การที่ข้อมูลในบล็อก
เชน (Blockchain) ประเภทนี้ ถูกเปิดเผยแก่สาธารณะ ดังนั้น องค์กรท่ี
ใชบ้ ลอ็ กเชน (Blockchain) ประเภทนี้ อาจต้องพจิ ารณาถงึ วิธีการรักษา
ความปลอดภัยของข้อมูลด้วย บล็อกเชน (Blockchain) ประเภทนี้จึง
เหมาะกับการใช้งานแบบที่ต้องการ ป้องกันการถูกเซนเซอร์
(Censorship Resistance) เชน่ บิตคอยน์ (Bitcoin) ฯลฯ

5.2 Private Blockchain

บล็อกเชน (Blockchain) ประเภทนี้เป็นการสร้างวงบล็อกเชน
(Blockchain) ขึ้นมาใช้งานกันเองภายในองค์กร อาจจะเป็นบริษัทใน
เครือเท่านั้นที่มีสิทธิเข้าถึงบล็อกเชน (Blockchain) วงนี้ได้เป็นสิ่งที่
ตรงกันข้ามกับ Public Blockchain อย่างสิ้นเชิง บล็อกเชน
(Blockchain) ประเภทนี้จะลดปัญหาในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลท่ี
อาจจะพบในวง Public Blockchain ได้ แต่ก็อาจจะมีปัญหามากข้ึน
โดยเฉพาะ ในเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะการที่องค์กรต้องลงทุนในการสร้าง
ระบบ Infrastructure ขึ้นมาให้รองรับการทำงานภายในองค์กร ซึ่งก็มี
ปัญหาในการดูแลรกั ษาและเมด็ เงนิ ท่ีองคก์ รจะตอ้ งลงทุนอีกเช่นกนั

ข้อดีของ Private Blockchain คือ สามารถปรับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
ของ Blockchain Network ให้ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ โดยไม่ต้อง
ออกแบบระบบให้เป็นไปตามกฎของโลกเหมือนการที่ไปอิงอยู่บน
Public Blockchain อาทิ ถ้ามีการออกแบบระบบ โดยอ้างอิงอยู่บน
Public Blockchain-Bitcoin เมื่อมีการส่งเงินนั้น ก็ต้องออกแบบระบบ
ให้มีการรอยืนยัน (Confirm) ธุรกรรมประมาณ 10-15 นาที ตามกฎ
ของบิตคอยน์ (Bitcoin) แต่ตรงกันข้ามถ้าตั้งวง Private เอง ก็สามารถ
ออกแบบให้การยืนยัน (Confirm) ธุรกรรมแล้วเสร็จภายใน 2 วินาทีก็

เป็นไปได้ ดังนั้น บล็อกเชน (Blockchain) ประเภทนี้ จึงเหมาะที่จะ ใช้
งานกับระบบที่ต้องการความเรียบง่ายไม่ซับซ้อนต้องการความรวดเร็ว
และความโปรง่ ใส เชน่ ธนาคาร ฯลฯ

ข้อเสียของ Private Blockchain ในเมือ Private จะไม่มีการ
กระจายอำนาจในการตรวจสอบ (Proof) ทำให้ผู้ยืนยันความถูกต้อง
ของ Transaction (Miner) ถกู จาํ กัด

5.3 Consortium Blockchain
บล็อกเชน (Blockchain) ประเภทที่ 3 นี้ คือ การรวมกันของ 2
แนวคิดแรกเข้าด้วยกัน เป็นการผสาน Public-Private เข้าด้วยกันและ
เหมือนจะเป็นการรวมข้อดีเข้ามาด้วยกัน ซึ่งแนวคิดนี้กําลังได้รับความ
นิยมอย่างสูงในปัจจุบัน นั่นคือ การที่องค์กรต่าง ๆ ที่มีลักษณะธุรกิจ
เหมือนกันและต้องรับส่งแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอยู่แล้ว มารวมกันตั้งสิ่งท่ี
เรียกว่า Consortium เช่น Consortium Blockchain สำหรับธนาคาร
ใช้ในการแลกเปล่ยี นขอ้ มูลการโอนเงนิ กนั ภายในสมาคมธนาคารด้วยกัน
และธนาคารที่จะเข้ามาร่วมในวงได้ต้องได้รับการอนุญาตจากตัวแทน
เสยี ก่อนถงึ จะมสี ทิ ธเิ ขา้ ถึงการใชง้ านร่วมกนั ได้

ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนของบล็อกเชน (Blockchain) ประเภทนี้ คือ
องค์กรจะไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลสำคัญขององค์กรและลูกค้าจะกลายเป็น
ข้อมูลสาธารณะ รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบก็
ลดลงอีกด้วย เนื่องจากมีหลายองค์กรเข้ามาร่วมกันแบ่งเบาภาระ
คา่ ใชจ้ ่าย

ข้อเสียของ Consortium Blockchain คือ ขาดความคล่องตัวใน
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข การใช้งานต่าง ๆ เพราะทุกการ
เปลี่ยนแปลงจะต้องผ่านมติเห็นชอบจากองค์กรสมาชิกที่ใช้งานร่วมกัน
กอ่ น

6. รูปแบบของเครอื ข่ายบลอ็ กเชน (Blockchain)

หากพิจารณาถึงโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีบล็อกเชน
(Blockchain) สามารถแบ่งรูปแบบของ เครือข่ายบล็อกเชน
(Blockchain Network) ออกเปน็ 3 ประเภท ไดแ้ ก่

6.1 Non-Permissioned Public Ledgers หรือ Permission
Less Ledgers เป็นบล็อกเชน (Blockchain) ที่ไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์อนุญาต
ให้บุคคลอื่น ๆ สามารถอ่านข้อมูลหรือส่งรายการธุรกรรม
(Transaction) ขอ้ มูลได้

แต่เป็นบล็อกเชน (Blockchain) ที่เปิดให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วม
ในกระบวนการ ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดว่าบล็อก (Block) ใดถูก
เพิ่มเข้าไปในบล็อกเชน (Blockchain) ตัวอย่างเช่น กลุ่มของสกุลดิจทิ ัล
(Cryptocurrency) อย่างบิตคอยน์ (Bitcoin) และ Ethereum ที่มอง
ภาพกว้างกว่าบิตคอยน์ (Bitcoin) โดยไม่จํากัดอยู่แค่สกุลเงินแต่เป็น
ระบบประมวลผลแบบไร้ศนู ยก์ ลาง

6.2 Permissioned Public Ledgers เป็นบัญชี แยกประเภท
(Distributed Ledger) ที่มีการคัดเลือกผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องไว้ก่อน โดย
เครือข่ายนั้นอาจจะมีเจ้าของอยู่แล้ว ซึ่งเหมาะกับแอปพลิเคชัน
(Application) ที่ต้องการความรวดเร็วและมีความโปร่งใส ตัวอย่างเช่น
Ripple เปน็ ระบบแลกเปล่ียนหน่วยเงินและการโอนเงินขา้ มประเทศ

6.3 Permissioned Private Ledgers เป็น Private Blockchain
อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งการเข้าถึงข้อมูล และการส่งคําขอดำเนินรายการ
ธุรกรรม (Submit Transaction) โดยเครือข่ายบล็อกเชน (Blockchain
Network) ถกู จาํ กัดใหก้ บั กลมุ่ ทถ่ี กู กำหนดไว้ก่อน

ตวั อย่างเช่น Bankchain : ซ่งึ เป็นระบบ Clearing Settlement ท่ี
ทำงานบนบลอ็ กเชน (Blockchain)

ดังนั้น สาเหตุที่บล็อกเชน (Blockchain) มีคุณสมบัติในการช่วยให้
เกิดความปลอดภัยมากกว่าปกติ ก็เนื่องมาจากโครงสร้างของบล็อกเชน
(Blockchain) มีส่วนสำคัญ คือ Node ที่เป็นเสมือนจุดเชื่อมต่อที่เชื่อม
ระหว่างบล็อก (Block) ต่าง ๆ จำนวนมาก โดยแต่ละ Node จะมีบัญชี
ธรุ กรรมอเิ ล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้ทกุ คนในเครือขา่ ย โดยแสดงผลผ่านที่อยู่
(Address) ที่ไม่ระบุตัวตนทำให้ผู้ใช้ทุกคนในเครือข่ายสามารถเห็น

รายการเดินบัญชีทางการเงินของผู้ใช้รายอื่น ๆ เช่น A โอนเงินให้ B
จำนวน 1,000 และ B จ่ายเงินให้ C จำนวน 500 ดังนั้น ผลลัพธ์คือ
ระบบจะคํานวณว่า B มีเงินเหลืออยู่จำนวน 500 เพราะระบบจะ
คํานวณหาผลลัพธ์จากประวัติการเดินบัญชี ไม่ใช่ตัวเลขในบัญชีทำให้
การปรับเปลี่ยนข้อมูลในบัญชี รวมถึงการปลอมแปลงข้อมูลในบัญชีนั้น
ทำไดย้ ากขึ้น สำหรบั การทำธุรกรรมน้ันผ้ใู ช้สามารถทจ่ี ะโอนเงินไปมาได้
แบบ Peer-to-Peer โดยใช้คีย์ส่วนตัว (Private Key) ซึ่งเป็นรหัส
ส่วนตัวของผู้ใช้ส่งคำสั่งผ่านบัญชีธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นระบบ
จะทำการตรวจสอบว่าธุรกรรมนั้นถูกต้องหรือไม่โดยจะพิจารณาจาก
ฐานข้อมูลในแต่ละ Node หากพบว่ามีข้อมูลที่ตรงกัน ระบบก็จะ
ยอมรับและสามารถทำธุรกรรมได้สำเรจ็

เน่อื งจากการออกแบบระบบสำหรับกระบวนการห่วงโซ่อุปทานท่ีมี
การบูรณาการระหว่างองค์กร ในยุคดิจิทัลจำเป็นต้องคำนึงถึงความ
ต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทางธุรกิจที่มีความต้องการแตกต่างกัน
รวมถึงฟังก์ชันของระบบที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เทคโนโลยีบล็อกเชน
(Blockchain) จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ใน
การจดั การกระบวนการหว่ งโซ่อุปทาน

7. คุณลักษณะพื้นฐานที่สำคัญของเทคโนโลยีบล็อกเชน
(Blockchain)

การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของ Block โดยเชื่อมต่อแต่ละ Block
ด้วย Hash Function และกระจายให้ทุก Node เก็บทำให้เกิด
คณุ สมบตั ิท่ีสำคญั ของบล็อกเชน (Blockchain) 3 ประการ คอื

7.1 ความถูกตอ้ งเทยี่ งตรงของข้อมูล (Data Integrity)
เนื่องจากการเชื่อมโยง Block ปัจจุบันและ Block ก่อนหน้าด้วย
Hash Function และกระจายใหท้ ุก Node เกบ็ ทำใหข้ อ้ มูลท่ีถกู บันทึก
ลงในบล็อกเชน (Blockchain) แล้วไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง
ข้อมูลได้ (Immutability) ดังนั้น หากมีความพยายามในการแก้ไขหรือ
เปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ถูกบันทึกลงใน Block แล้วจะทำให้ทราบได้ทันที
เนื่องจากข้อมูลใน Node ดังกล่าวจะมีข้อมูลที่ต่างออกไปจาก Node
อ่นื ๆ ในระบบ
และไม่สามารถสร้าง Consensus กับ Node อื่นได้ ทำให้ถูกแยก
ออกจาก Chain หลกั ไปในทส่ี ดุ

7.2 ความโปร่งใสในการเขา้ ถึงข้อมลู (Data Transparency)
เนื่องจากทุก Node ในระบบบล็อกเชน (Blockchain) จะเก็บ
ข้อมูลเดียวกันทั้งหมดโดยไม่มี Node ใด Node หนึ่งเป็นตัวกลางที่มี
อำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเข้าถึงข้อมูลใด ๆ จึง
ทำได้จาก Node ตนเองทันที โดยไม่จำเป็นต้องร้องขอข้อมูลจาก
ตัวกลาง จงึ เรียกว่าเป็นระบบทีม่ ีความโปรง่ ใสในการเขา้ ถงึ ข้อมลู สงู มาก

7.3 ความสามารถในการทำงานได้อย่างต่อเนื่องของระบบ
(Availability)

เนื่องจากทุก Node ในระบบบล็อกเชน (Blockchain) จะเก็บ
ข้อมูลเดียวกันทั้งหมด จึงสามารถทำงานทดแทนกันได้เมื่อมี Node ท่ี
ไม่สามารถให้บริการได้ในขณะนั้น โดยระบบจะทำการคัดลอกสำเนา
ข้อมูลใหเ้ ปน็ ข้อมูลชดุ เดยี วกนั เม่ือ Node กลับขน้ึ มาให้บรกิ ารได้อีกครั้ง

8. ประโยชน์ของเทคโนโลยบี ล็อกเชน (Blockchain)

บล็อกเชน (Blockchain) เป็นเทคโนโลยีท่ีมีศักยภาพในเรื่องของ
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกรรมในชีวิตประจำวัน โดยไม่ได้
จํากัดเพียงแค่ธุรกรรมทางการเงินเท่านั้น แต่บล็อกเชน (Blockchain)
สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อีกด้วย จากความ
ร่วมมือของไอบีเอม็

BLOCKCHAIN (IBM) กับห้างค้าปลีกรายใหญ่สัญชาติอเมริกัน
อย่างวอลมาร์ท (Walmart) และมหาวิทยาลัยชิงหวา (Tsinghua) ซ่ึง
เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนําของจีน ได้ร่วมกันพัฒนาระบบตรวจสอบ
ย้อนกลับ (Traceability) ในสินค้าประเภทอาหารที่วางจําหน่ายใน
ประเทศจีนโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ซึ่งวอลมาร์ท
(Walmart) เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านความปลอดภัยอาหาร โลจิสติกส์
และหว่ งโซ่อุปทาน

ขณะที่ไอบีเอ็ม (IBM) จะสนับสนุน IBM Blockchain มาเป็น
แพลตฟอร์ม (Platform) ในการพฒั นา

ระบบดังกล่าว โดยมีมหาวิทยาลัยชิงหวา (Tsinghua) ทำหน้าท่ี
วิเคราะห์ความปลอดภัยในการทำธุรกรรม รวมทั้งระบบที่จะมารองรับ
การใชบ้ ล็อกเชน (Blockchain)

ในการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) และ
โลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมอาหารของจีน โดยได้รับการคาดหวังจาก
ผู้พัฒนาว่าจะช่วยให้การติดตามและตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์
อาหารตลอดโซ่อุปทานต้ังแต่ซับพลายเออร์ (Supplier) จนถึงผู้บริโภค
ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสามารถแสดง
รายละเอียดผลิตภัณฑ์อาหารในรูปข้อมูลดิจิทัล เช่น ฟาร์มผู้ผลิต
เส้นทางขนส่งสินค้า โรงงานผู้ผลิต วันหมดอายุ อุณหภูมิการจัดเก็บ
และจัดส่งรายละเอียดแบบดิจิทัลเช่ือมต่อกับผลิตภัณฑ์อาหารได้ด้วย

เนื่องจากปัญหาของบล็อกเชน (Blockchain) ในปัจจุบันยังไม่มี
แพลตฟอร์ม (Platform) ที่เป็นมาตรฐ านกลางที่เป็นที่ยอมรับ หาก
ปัญหาดังกล่าวได้รบั การแกไ้ ข เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ก็จะ
ถูกนาํ ไปประยุกตใ์ ชใ้ นองค์กรธุรกจิ ในอตุ สาหกรรมอนื่ ๆ มากข้นึ

นอกจากนี้ บล็อกเชน (Blockchain) ยังสามารถชว่ ยลดตน้ ทุนและ
ช่วยให้ทุกฝ่ายสามารถปฏิบัติงานอยู่ในกรอบของกฎเกณฑ์และ
มาตรฐานเดียวกัน ทำให้การทำธุรกรรมสามารถทำได้แบบเรียลไทม์
และมคี วามโปรง่ ใส สง่ ผลให้องคก์ รสามารถอยู่ในจุดที่แขง่ ขันได้

9. การนําบล็อกเชน ( Blockchain) ไปประยุกต์ใช้ใน

กระบวนการหว่ งโซอ่ ปุ ทาน

กระบวนการห่วงโซ่อุปทานเป็นกระบวนการสำคัญตั้งแต่การจัดหา
วัตถุดิบสำหรับนําไปผลิต จนกระทั่งจัดส่งสินค้าไปยังผู้บริโภค โดยหนึ่ง
ในปญั หาสำคญั ของกระบวนการหว่ งโซ่อุปทานที่มีมาหลายทศวรรษ คือ
ยังไม่มีเทคโนโลยีที่ดีพอที่จะคอยติดตามสินค้าและตรวจสอบที่มาที่ไป
ของสินค้ากรณีที่สินค้าได้รับความเสียหาย รวมถึงผู้ซื้อและผู้ขายไม่มี
กระบวนการอย่างชัดเจนและโปร่งใสในการตรวจสอบต้นทุนและที่มา
ของราคาสินคา้

นอกจากนี้ ยังพบปัญหาเกี่ยวกับการปลอมแปลงสินค้าและ
โรงงานผลิตสินค้าที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ดังนั้นการนําบล็อกเชน
(Blockchain) เข้ามาใช้ในกระบวนการห่วงโซ่อุปทานจะช่วยให้ข้อมูล
ต่าง ๆ สามารถระบุที่มาที่ไปได้ เช่น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ สถานะ
ของการทดสอบผลิตภัณฑ์ ราคา วันที่ผลิต สถานที่ คุณภาพของสินค้า
และข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการจัดการ เนื่องจากโครงสร้าง
พื้นฐานของบล็อกเชน (Blockchain) ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ยากที่จะ
สามารถถือสิทธิความเป็นเจ้าของธุรกรรม และเข้าไปแก้ไขข้อมูลเพ่ือ
ประโยชน์ส่วนตนในปัจจุบัน มีหลายองค์กรได้ทดลองนําบล็อกเชน

(Blockchain) เข้าไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน เช่น
บริษัทสตาร์ตอัพ (Startup) อย่าง Provenance ได้นําบิตคอยน์
(Bitcoin) และ Ethereum-Based Blockchain มาใชใ้ นการสร้างระบบ
การตรวจสอบย้อนกลับสำหรับวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในกระบวนการ
ผลิตเพื่อสร้างระบบจัดการห่วงโซ่อุปทานที่โปร่งใสสามารถรู้ข้อมูลว่า
ผลิตสินค้าอย่างไร สภาพแวดล้อมมีผลกระทบหรือไม่ ผลิตที่ไหน และ
ใครเปน็ ผผู้ ลิต

นอกจากน้ีบรษิ ทั ไอบเี อ็ม ประเทศไทย จาํ กดั ไดน้ าํ เสนอ Watson
IoT โดยใช้งานบนอุปกรณ์ Cloud และได้นําเทคโนโลยีความปลอดภัย
มาผนวกเข้าด้วยกัน ซึ่ง IBM มีแผนที่จะขยาการใช้งานไปสู่
อุตสาหกรรมยานยนต์ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพธุรกิจ
ประกันภยั และอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เปน็ ต้น

สรปุ ประเด็นสำคญั

Blockchain คือ ฐานข้อมูล (Database) ที่เก็บไว้ในเครื่องของทุก
คนแต่ไว้ใจและเชื่อถือได้แม้ในระบบที่ไม่มีใคร เป็นผู้ดูแลกลาง คือ ทุก
คนจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันได้โดยไม่ต้องไปเก็บไว้ที่อื่น ทุก
คนถอื คนละก๊อบป้ที ห่ี นา้

ตาเหมือนกันไว้ได้ หากเกิดการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลในมือทุกคนก็
จะเปลี่ยนแปลงตามไปโดยอัตโนมตั ิ โดยหลักการทำงาน ของเทคโนโลยี
บล็อกเชน Blockchain) คือ ฐานข้อมูลจะถูกแบง่ ปันให้กับทุก Node ที่
อยู่ในเครือข่ายและการทำงานของ เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain)
จะไมม่ เี คร่ืองใดเครอ่ื งน่ึงเป็นศนู ย์กลางหรอื เครื่องแม่ขา่ ย

ทั้งนี้บล็อกเชน (Blockchain) แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
Public Blockchain, Private Blockchain และ Consortium Blockchain
โดยบล็อกเชน (Blockchain) จะมีคุณลักษณะพื้นฐานที่สำคัญ คือ
ความถูกต้องเที่ยงตรงของข้อมูล ความโปร่งใสในการเข้าถึงข้อมูล และ
ความสามารถในการทำงานได้อย่างต่อเน่อื งของระบบ

คุณสมบัติของบล็อกเชนมีอะไรบ้าง

บล็อกเชนเป็นบัญชีแยกประเภทแบบสาธารณะ ไม่รวมศูนย์ และกระจาย เพื่อใช้บันทึกธุรกรรมในระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ที่ระเบียนจะไม่สามารถเปลี่ยนย้อนหลังโดยไม่เปลี่ยนบล็อกที่สร้างต่อ ๆ มา และไม่ได้รับการร่วมมือจากเครือข่ายโดยมาก ซึ่งช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมสามารถยืนยันและตรวจสอบธุรกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก

เทคโนโลยีพื้นฐานของ Blockchain ประกอบด้วยอะไรบ้าง

องค์ประกอบของเทคโนโลยี Blockchain ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบส าคัญ คือ 1) Block 2) Chain 3) Consensus และ 4) Validation ดังแสดงในรูปภาพที่4. องค์ประกอบของเทคโนโลยีBlockchain.

ลักษณะการทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชนมีลักษณะ และมีความสำคัญอย่างไร

หลักการทำงานของเทคโนโลยี Blockchain คือ ฐานข้อมูลจะแชร์ให้กับทุก Node ที่อยู่ในเครือข่ายและการทำงานของเทคโนโลยี Blockchain จะไม่มีเครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางหรือเครื่องแม่ข่าย ซึ่งการทำงานแบบกระจายศูนย์นี้จะไม่ถูกควบคุมโดยคนเพียงคนเดียว แต่ทุก Node จะได้รับสำเนาฐานข้อมูลเก็บไว้และจะมีการอัปเดตฐานข้อมูลแบบ ...

เทคโนโลยีพื้นฐานของบล็อกเชน มีกี่ชนิด

จากที่ได้กล่าวถึงว่า เทคโนโลยี บล็อคเชน ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ก่อนแล้ว 3 อย่างหลักแล้วนำมาใช้ร่วมกันกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่แสนสุดวิเศษ เทคโนโลยี 3 อย่างที่ว่านั่นคือ 1) Cryptographic keys (การเข้ารหัสลับ) 2) ระบบ เพียร์ ทู เพียร์ เนตเวิร์ค (peer to peer network หมายถึงเรื่องข่ายที่ไม่มีเซิร์ฟเวอร์กลาง) ใช้ในการ ...