งานที่เหมาะกับคนเป็นโรคซึมเศร้า

ปัจจุบันนี้โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่พบได้บ่อยจนแทบจะเปรียบเสมือนโรคหวัด (Common Cold) โดยพบว่ามีผู้คนประมาณ 300 ล้านคนทั่วโลกที่กำลังเผชิญอยู่กับการเป็นโรคซึมเศร้า แต่ผลกระทบของการเป็นโรคซึมเศร้านั้นไม่ได้เล็กน้อยอย่างโรคหวัด เพราะโรคซึมเศร้าจัดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ โดยปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยมีอัตราฆ่าตัวตายสูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน อยู่ที่ 8.8 ราย ต่อประชากรหนึ่งแสนคน นั่นอาจหมายความว่า ในแต่ละวันเราอาจอยู่ร่วมกันกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยที่เราอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนเลย


ดังนั้น จึงอยากชวนให้ทุกคนได้เรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกันกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้าติดตัวไว้ เผื่อว่าในวันหนึ่งคุณพบว่าคนใกล้ชิดของคุณเป็นผู้ที่มีอาการของโรคซึมเศร้า โดยบางคนอาจจะเป็นเพื่อนร่วมงานของคุณเอง จะได้สามารถอยู่ร่วมกันกับเพื่อนร่วมงานที่มีอาการของโรคซึมเศร้าโดยที่คุณไม่เผลอไปทำร้ายจิตใจเขา และคุณเองก็สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสม ดังนี้

1. ทำความเข้าใจผู้ที่มีอาการของโรคซึมเศร้าให้ถูกต้อง

สิ่งหนึ่งที่คนทั่วไปมักไม่เชื่อแต่จากเหตุผลทางการแพทย์แล้วอยากให้ทุกคนทราบว่า โรคซึมเศร้า เป็นอาการป่วย (illness) เช่นเดียวกับโรคมะเร็ง มีข้อมูลที่ถูกระบุไว้ในตำราจิตเวชศาสตร์อยู่จริง ดังนั้น อาการแสดงต่าง ๆ ของโรคที่คุณเห็นผ่านพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่ว่าจะเป็นอาการหดหู่ คิดลบ ฉุนเฉียว พลังงานน้อย เฉื่อยชา ฯลฯ ล้วนแต่เป็นอาการที่เกิดจากผู้ป่วยกำลังมีอาการของโรคซึมเศร้าอยู่ เปรียบเหมือนคนที่เป็นหวัด ก็ไม่ได้อยากมีน้ำมูกไหล ไอจาม แต่ก็ห้ามไม่ได้แม้อยากจะให้อาการเหล่านั้นมันหายไปเท่าไหร่ก็ตาม ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก็เช่นกัน


ในช่วงที่อาการอยู่ในระดับมากหรือเพิ่งได้รับการรักษา ก็จะมีอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ซึ่งผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเองก็ไม่ชอบที่ตัวเองต้องเป็นแบบนั้นเหมือนกัน แต่ไม่สามารถทำให้อาการมันหายไปได้ จึงจำเป็นต้องใช้ยาเข้ามาช่วยให้อาการของโรคซึมเศร้าลดระดับลง จนผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างสงบสุขมากขึ้นได้ ซึ่งความรู้สึกสงบและมีสมาธินั้นสัมพันธ์กับปริมาณของสารเคมีในสมองของคนเราจริง ๆ มีหลักฐานอ้างอิงในทางวิทยาศาสตร์จริง ๆ ดังนั้น จึงอยากชวนให้มองผู้ป่วยโรคซึมเศร้าแบบที่เขาเป็น ไม่ใช่แบบที่เราอยากให้เขาเป็น


2. ไม่เห็นเป็นไร ถ้าเราจะเป็นฝ่ายเข้าหาก่อน


เนื่องจากคนทั่วไปที่ไม่มีปัญหาเรื่องของระดับสารเคมีในสมองหรือความผิดปกติทางอารมณ์ ย่อมจะเป็นผู้ที่มีทักษะในการปรับตัวที่ดีกว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จึงเป็นการง่ายกว่าที่คนทั่วไปจะเป็นฝ่ายเข้าหาผู้ป่วยก่อน โดยคุณอาจต้องวางความคิดที่มีลักษณะเป็นสมการของตัวเองลง


เช่น “ฉันเข้าเธอก่อน 5 ครั้ง = เธอต้องเข้าหาฉันก่อนบ้าง 5 ครั้ง” ลองนึกถึงภาพความเท่าเทียม (equality) ที่เหมือนกับการเอาคนที่มีความสูงไม่เท่ากันมายืนบนกล่องขนาดเดียวกัน กล่องอาจจะสูงเท่ากันแต่ระดับสายตาของแต่ละคนก็จะไม่เท่ากัน แต่หากคุณนึกถึงภาพความเสมอภาค (equity) คนตัวสูงอาจจะได้กล่องที่ไม่สูง ส่วนคนที่ตัวไม่สูงได้ยืนบนกล่องที่สูงกว่า กล่องสูงไม่เท่ากันแต่ระดับสายตาของแต่ละคนจะเท่ากัน ซึ่งคนทั่วไปกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก็มีลักษณะเป็นเช่นนั้น คือทักษะในการปรับตัวเข้าสังคมของผู้ป่วยมักจะน้อยกว่าคนทั่วไป หากคุณรอให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเป็นฝ่ายทักทายเข้าหาคุณก่อน ก็อาจจะต้องรอตลอดไป ในขณะที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก็จะยิ่งถอยห่างคุณออกไปเรื่อย ๆ เพราะอาจคิดว่า “เป็นเพราะฉันไม่ดีพอจึงไม่มีใครทักทายเข้าหาฉันเลย”


3. จริงใจกับตัวเอง


คำว่า จริงใจกับตัวเอง แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า “genuine” หากคุณมีความรู้สึกห่วงใยเพื่อนร่วมงานที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ก็สามารถแสดงออกหรือบอกได้เลย เช่น “เป็นห่วงนะ” หากอยากช่วยเหลือก็อาจจะเปิดประตูใจให้กับผู้ป่วยเอาไว้ด้วยการพูดว่า “มีอะไรที่อยากให้ช่วยก็บอกมาได้นะ ยินดีช่วยมากเลย” และเน้นย้ำให้เขารู้ว่า แม้การขอความช่วยเหลือจะต้องอาศัยความกล้าอย่างมาก แต่มันก็เป็นสิ่งจำเป็นมากในเวลาที่ต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับรู้เจตนาของคุณได้อย่างชัดเจนมากกว่าการพูดจาอ้อมค้อม เช่นไปพูดว่า “ก็หัดสู้ชีวิตบ้างสิ” ด้วยเจตนาดีว่าอยากให้ผู้ป่วยเข้มแข็งมากขึ้น แต่การสื่อสารที่ไม่ชัดเจนตรงไปตรงมาอาจทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าตีความไปว่า คุณมองว่าเขาไม่สู้ชีวิตมากพอ


และในทางตรงข้าม หากคุณรู้สึกไม่ดีกับเพื่อนร่วมงานที่เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจริง ๆ คุณก็ไม่จำเป็นต้องเสแสร้งแกล้งทำเป็นดีกับผู้ป่วย แต่ก็ไม่จำเป็นต้องแสดงออกว่าคุณไม่ชอบเขาเช่นกัน และแม้ว่าคุณจะไม่อยากช่วยเหลือเขา ก็เพียงหลีกเลี่ยงคำพูดที่ทำร้ายจิตใจก็พอ อย่างน้อย แม้คุณจะช่วยอะไรเขาไม่ได้ ก็ขอแค่อย่าไปสร้างความทุกข์ให้กับเขาเพิ่มก็พอ


4. สนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไปพบผู้เชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอ


มันไม่มีเหตุผลเลยที่คนเราจะต้องมาทุกข์ทรมานกับโรคซึมเศร้าทั้งที่มีบริการสุขภาพจิตอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในบางครั้งคนที่มีอาการของโรคซึมเศร้าก็ตกอยู่ในสภาวะไม่ยินดียินร้าย ขาดแรงจูงใจที่จะไปพบผู้เชี่ยวชาญ หากพบว่าเพื่อนร่วมงานของคุณมีอาการของโรคซึมเศร้า (สามารถศึกษาได้จากบทความทางการแพทย์ในอินเตอร์เน็ต) แล้วคุณเป็นส่วนหนึ่งที่คอยสนับสนุนให้กำลังใจเขาในการไปพบผู้เชี่ยวชาญ โดยบอกกับเขาว่า “โรคซึมเศร้านั้นเป็นอาการป่วย ไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นคนที่แย่โดยนิสัย หลังจากรับการรักษาแล้วคุณก็จะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น แล้ววันนั้นคุณก็จะพบว่าตัวเองไม่ได้เป็นคนที่แย่เลย เพียงแต่คุณกำลังเผชิญอยู่กับอาการของโรคซึมเศร้าอยู่ต่างหาก”


ทั้งนี้ การสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไปพบผู้เชี่ยวชาญตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะช่วยให้อาการของโรคบรรเทาลงแล้ว ยังเป็นการช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง

[1] 7 วิธีอยู่เคียงข้างผู้ป่วยโรคซึมเศร้า


อ้างอิง

[1] What to Say (and Not Say) When an Employee Is DepressedShould you step in? Should you step back? Dr. Lori Whatley tells us what to do.

เป็นโรคซึมเศร้าทำงานอะไรได้บ้าง

สำหรับการจัด 10 อันดับเป็นของต่างประเทศ ได้แก่ อันดับ 1 คือ คนที่ทำงานกับผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราเเละคนที่ทำงานกับเด็กเล็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก, อันดับ 2 พนักงานร้านอาหาร ถูกกดดัน ถูกเร่ง ลูกค้าระเบิดอารมณ์ใส่, อันดับ 3 นักสังคมสงเคราะห์ ที่ต้องรับรู้เรื่องเศร้า ๆ จากคนอื่นเยอะเเยะ, อันดับ 4 บุคลากรทางการเเพทย์, อันดับ 5 ...

คนเป็นโรคซึมเศร้า ทํางานได้ไหม

ในส่วนของการป่วยเป็น "โรคซึมเศร้า" หรือโรคอะไรก็ตาม หากนายจ้างพิจารณาแล้วเห็นว่าอาจไม่เหมาะกับงานก็อาจพิจารณาไม่รับเข้าทำงาน หรือไม่ตกลงทำสัญญาจ้างแรงงานด้วยก็ได้ ตามหลักเสรีภาพในการทำสัญญา ส่วนกรณีเข้ามาทำงานแล้ว หากนายจ้างจะเลิกจ้างเพราะเหตุป่วย นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ แต่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ ...

อยู่กับคนเป็นโรคซึมเศร้าต้องทำยังไง

ควร ปล่อยให้ผู้ป่วยได้ทำอะไรที่อยากทำ หรือตามใจผู้ป่วยบ้าง แต่ใน “ขณะเดียวกันก็ไม่ควรปล่อยเขาไปหมด” ให้สังเกตช่วงที่เขาพอจะมีอารมณ์แจ่มใสขึ้นมา จึงควรชวนเขาพูดคุยเล็ก ๆ น้อย ๆ ถึงเรื่องที่เขาเคยชอบ เคยสนใจ เพราะเขายังไม่มีสมาธิพอที่จะติดตามเรื่องยาว ๆ ได้นาน

คนที่เป็นโรคซึมเศร้า ต้องการอะไร

ดูแลตัวเองอย่างไร หากป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ดูแลตนเองให้ร่างกายแข็งแรง พยายามกินอาหาร และพักผ่อนให้เพียงพอ หางานอดิเรก หรือกิจกรรมยามว่าง เพื่อให้ลืมเรื่องความเศร้า เช่น การไปเป็นจิตอาสา การเข้าชมรมต่าง ๆ ฝึกการมองโลกในแง่ดี ให้กำลังใจตัวเอง ไม่ทำอะไรที่รู้สึกเครียด