เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส คือ

เราให้ความสำคัญกับการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นอย่างยิ่ง เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีกับผู้ใช้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว

เราให้ความสำคัญกับการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นอย่างยิ่ง เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีกับผู้ใช้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว

จนในปี 2549 ทางกลุ่มจึงได้ก่อตั้ง บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT ขึ้นมาเพื่อดูแลธุรกิจในด้านนี้โดยเฉพาะ และได้จดทะเบียนเข้าตลาดหุ้นไทย ในปี 2555

โดยธุรกิจของ JMT แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

1. ธุรกิจให้บริการติดตามเร่งรัดหนี้ ในส่วนที่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพ โดย JMT จะได้รับค่าบริการติดตามหนี้เป็นร้อยละของมูลค่าหนี้ ที่บริษัทสามารถติดตามให้ลูกหนี้มาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้

2. ธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ เป็นการซื้อหนี้ด้อยคุณภาพในราคาลด แล้วมาบริหาร และติดตามเรียกเก็บหนี้

3. ธุรกิจนายหน้าประกันภัย เป็นนายหน้าประกันวินาศภัยประเภทต่าง ๆ โดยรับค่าตอบแทนในรูปของคอมมิชชันจากค่าเบี้ยประกันภัย

4. ธุรกิจประกันภัย ทั้งประกันรถยนต์และประกันอื่น ๆ

โดยจากรายงานประจำปี 2562 ของบริษัท
กลุ่มธุรกิจที่มีสัดส่วนรายได้มากที่สุด 2 อันดับแรกก็คือ

- ธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ สัดส่วนรายได้ 76.5%
- ธุรกิจให้บริการติดตามเร่งรัดหนี้ สัดส่วนรายได้ 14.3%

จะเห็นว่าธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ
และธุรกิจให้บริการติดตามเร่งรัดหนี้
มีรายได้รวมกัน เป็นสัดส่วนที่มากกว่า 90% ของรายได้ทั้งหมดของ JMT

หมายความว่า หากปริมาณหนี้ด้อยคุณภาพเพิ่มสูงขึ้น
ก็จะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ JMT
มีโอกาสเข้าไปรับซื้อหนี้ แล้วมาบริหารเพื่อสร้างผลตอบแทนได้มากขึ้น

ซึ่ง ณ สิ้นไตรมาส 3 ของปี 2563 ที่ผ่านมานั้น
ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า

ปริมาณสินเชื่อ ที่กลายเป็นหนี้ด้อยคุณภาพ (NPLs) อยู่ที่ประมาณ 513,865 ล้านบาท
โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากประมาณ 469,526 ล้านบาท ในช่วงสิ้นไตรมาส 4 ของปี 2562

ซึ่งปริมาณนี้ ทำให้ NPLs ต่อ สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบนั้นอยู่ที่ประมาณ 3%
โดยสาเหตุสำคัญมาจาก การแพร่ระบาดของโควิด 19
และการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจของไทยในช่วงที่ผ่านมา

แม้การเพิ่มขึ้นของหนี้ด้อยคุณภาพ จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในภาพรวม
แต่นี่กลับเป็นโอกาสให้บริษัททวงถามและบริหารหนี้อย่าง JMT สามารถทำรายได้และกำไรเพิ่มขึ้น

โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา JMT ก็ได้เข้าไปซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเป็นมูลค่ารวม 32,561 ล้านบาท มาบริหาร

ทีนี้ลองมาดู ผลประกอบการในช่วงที่ผ่านมา
ของ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT

ปี 2561 รายได้ 1,886 ล้านบาท กำไร 506 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 2,551 ล้านบาท กำไร 681 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 3,207 ล้านบาท กำไร 1,047 ล้านบาท

ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา รายได้เติบโต 70% ขณะที่กำไรเติบโต 107% โดยกำไรปีล่าสุดเป็นสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา

และปัจจุบัน JMT มีมูลค่าบริษัทประมาณ 45,300 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องติดตามต่อไปสำหรับธุรกิจนี้คือ
บริษัทจะสามารถบริหารหนี้ด้อยคุณภาพที่ไปซื้อมา ได้ดีแค่ไหน

เพราะจริงอยู่ที่ว่า การตกต่ำทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้หนี้เสียเพิ่มมากขึ้น และถูกมองว่าเป็นโอกาสให้แก่บริษัทที่รับซื้อหนี้มาบริหารต่อ

แต่เศรษฐกิจที่ตกต่ำ ก็จะตามมาด้วย ความเสี่ยงที่ลูกหนี้บางรายอาจไม่สามารถกลับมาชำระหนี้ได้เหมือนเดิม และนำไปสู่การที่บริษัทต้องตั้งสำรองหนี้สูญสูงขึ้น ซึ่งจะกดดันกำไรของบริษัทให้ต่ำลงได้

บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทในประเทศไทย ประกอบธุรกิจเร่งรัดหนี้สิน รับซื้อบัญชีลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อาทิ หนี้บัตรเครดิต หนี้ส่วนบุคคล บิลเรียกเก็บเงินค่าสาธารณูปโภค และอื่น ๆ บริษัทฯ รับโอนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากสถาบันการเงิน รวมถึงบริษัทที่ให้บริการสินเชื่อลีสซิ่งและแฟคตอริ่ง ลูกค้าหลักของบริษัทฯ นั้นรวมถึง ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด (เฮชเอสบีซี) ธนาคารทิสโก้ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บริษัทเคทีบีลิสซิ่ง ทรู ซูซูกิ เอวอน อีซี่บาย และอื่น ๆ บริษัทย่อยของบริษัฯ ได้แก่ บริษัท เจเอ็มที พลัส จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจเร่งรัดหนี้สิน รวมถึงธุรกิจลีสซิ่งและธุรกิจแฟคตอริ่ง บริษัท เจ อินชัวรันซ์ โบรกเกอร์ จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจนายหน้าประกันภัย และบริหารสินทรัพย์ เจ จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจบริหารสินทรัพย์

ลักษณะประเภทของธุรกิจ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จํากัด (มหาชน) เป็นผู้ให้บริการติดตามเร่งรัดหนี้สินทั้งในส่วนที่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพและรับจ้างติดตามหนี้ครอบคลุมทุกประเภท เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต เช่าซื้อ สินเชื่อที่อยู่อาศัย และค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมถึง ฟ้องร้องคดี สืบทรัพย์ และบังคับคดีทั่วประเทศไทย โดยเปิดดำเนินการมาแล้วกว่า 2 ทศวรรต

เจเอ็มที ประกอบธุรกิจ 2 ประเภทหลัก ได้แก่

1) ธุรกิจให้บริการติดตามเร่งรัดหนี้ โดยบริษัทให้บริการแก่ผู้ว่าจ้างที่เป็นสถาบันการเงิน และผู้ประกอบการต่างๆ อาทิเช่น ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อิออน ธนสินทรัพย์ โตโยต้า มอเตอร์ เป็นต้น ซึ่งประสงค์จะให้บริษัทฯ ติดตามและดำเนินการให้ลูกหนี้ของผู้ว่าจ้างชำระคืนหนี้ ขอบเขตการให้บริการ ครอบคลุมถึงการรับจ้างติดตามและจัดเก็บหนี้ รวมถึงงานด้านกฎหมาย ได้แก่ ฟ้องและสืบทรัพย์คดี

2) ธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ โดยซื้อหนี้ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงิน หรือบริษัทต่างๆ อาทิเช่น ธนาคารธนชาต แคปปิตอล โอเค ธนบรรณ อีซี่ บาย เป็นต้น และนำมาบริหารจัดเก็บหนี้

ทั้งนี้ เจเอ็มที ยังมีบริษัทในเครือ อีก 2 บริษัทคือ

1. บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จํากัด
เป็นบริษัทที่มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ทั้งในส่วนของงานปรับปรุงโครงสร้างหนี้ งานบริหารจัดการ และจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย
เรามุ่งเน้นให้มีการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้เป็นอันดับแรก คำนึงถึงความสามารถ ในการชำระหนี้ของลูกหนี้ รวมถึงร่วมปรึกษาหารือให้ได้ข้อยุติภายใต้แนวทางที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ลูกหนี้ที่มีศักยภาพสามารถดำเนินการชำระหนี้ได้

2. บริษัทเจ อินชัวรันซ์ โบรกเกอร์ จำกัด
ดำเนินธุรกิจเป็นนายหน้าประกันภัยประเภทวินาศภัย และประกันชีวิต

ที่ตั้ง เลขที่ 187 อาคารเจมาร์ท ชั้นที่ 4-6 ถนนรามคำแหง แขวงราษฎร์พัฒนา เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร 10240