เป็นรองช้ำใส่รองเท้าแบบไหนดี

เกิดจากน้ำหนักตัว คนที่น้ำหนักมากๆ จะเป็นโรครองช้ำได้ง่าย, จากอาชีพการทำงาน เช่น อาชีพพยาบาลหรือครูที่ต้องเดินเยอะๆ การที่ต้องเดินเยอะๆ ก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ , จากการเล่นกีฬาหนัก, จากอุบัติเหตุ ซึ่งวิธีการสังเกตว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ ให้สังเกตว่าเวลาที่เราเดินนั้นเรามีอาการเจ็บแปล๊บที่ฝ่าเท้าไหมเพราะบางคนอาจเจ็บหนักมากจนลามมาถึงช่วงบริเวณหลังหรือส่งผลต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้นั่นเอง

ส่วนการรักษานั้นมีวิธีการหลายอย่างตั้งแต่การแช่เท้าในน้ำอุ่น, การรับประทานยา ฉีดยา รวมไปถึงการผ่าตัด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราสามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยตนเองโดยการลดน้ำหนัก (สำหรับผู้มีปัญหาน้ำหนักเกิน), ฝึกหัดยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังกาย, การทำกายภาพบำบัด รวมไปถึงหารองเท้าที่ช่วยรองรับฝ่าเท้ามาสวมใส่







วิธีการเลือกรองเท้าเพื่อสุขภาพ
 

1.สามารถใส่รองเท้าส้นสูงได้แต่อย่าใส่ทั้งวัน ควรหารองเท้าเพื่อสุขภาพมาใส่เพื่อพักเท้าบ้าง

2.การเลือกรองเท้า ต้องมีความชัน ด้านหน้ากับด้านหลังควรห่างกัน 1 นิ้ว รองเท้าควรจะมีสโลฟด้วยนิดหนึ่ง การใส่รองเท้าแบนเลยไม่เป็นสิ่งที่ดี

3.ควรเลือกพื้นรองเท้าที่นุ่มเพื่อที่เวลาเดินแล้วจะได้ไม่สะเทือนถึงฝ่าเท้า

4.ไม่ใส่รองเท้าเล็กจนเกินไป ควรใส่ให้พอดีกับเท้าจะดีที่สุด

5.ไม่ควรใส่รองเท้าที่มีพื้นรองเท้าแข็งมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดแรงกระแทกกลับระหว่างเดิน


Show

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เจ้าของบท “สตาร์ลอร์ด” เผย “อ้วน” ทำลายทั้ง “สุขภาพ และจิตวิญญาณ”

เจ้าของบท “สตาร์ลอร์ด” เปิดใจถึงความรู้สึกหลังลดน้ำหนักจนกลายเป็นหนุ่มสุดฮ็อตของฮอลลีวูดในเวลานี้ ว่าการมีน้ำหนักตัวเกินเป็นสิ่งที่ทำลายทั้ง “หัวใจ, ผิว, ระบบ และจิตวิญญาณ” ของคุณ

หากคุณมีอาการปวดส้นเท้าแบบจี๊ด ๆ หรือ ปวดแสบส้นเท้าหรือฝ่าเท้าตอนลุกเดินก้าวแรกหลังตื่นนอน คุณอาจจะกำลังประสบกับภาวะพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ (plantar fasciitis) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ

“โรครองช้ำ”

หากคุณมีอาการปวดส้นเท้าแบบจี๊ด ๆ หรือ ปวดแสบส้นเท้าหรือฝ่าเท้าตอนลุกเดินก้าวแรกหลังตื่นนอน คุณอาจจะกำลังประสบกับภาวะพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ (plantar fasciitis) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ

“โรครองช้ำ”

อาการของโรครองช้ำ

อาการของโรครองช้ำที่มักพบกันบ่อย ๆ คือ มีอาการเจ็บบริเวณส้นเท้าและอาจจะลามไปทั่วฝ่าเท้า เป็นอาการเจ็บแบบปวดจี๊ดและปวดแสบ และจะเจ็บมากที่สุดตอนลุกเดินก้าวแรกหลังตื่นนอน หรือหลังจากนั่งติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ๆ อาการปวดอาจเพิ่มมากขึ้นระหว่างวัน โดยเฉพาะเวลาที่มีการยืนหรือเดินติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ

เป็นรองช้ำใส่รองเท้าแบบไหนดี

เป็นรองช้ำใส่รองเท้าแบบไหนดี

ข่าวดีก็คือ โรครองช้ำเป็นอาการที่สามารถหายได้เองโดยไม่ต้องผ่าตัด หากเท้าของคุณได้พักอย่างเพียงพอ แต่ด้วยไลฟ์สไตล์คนเมืองในปัจจุบันที่อาจไม่เอื้อให้เท้าของเราได้พักมากนัก เราจึงควรหา รองเท้าสุขภาพ ดี ๆ ที่สามารถรองรับแรงกระแทกเวลาเดินได้ดีมาใส่สักคู่ เป็นการป้องกันอาการปวดส้นเท้า ปวดรองช้ำ หรือปวดเอ็นร้อยหวายอักเสบไม่ให้กลับมาทำให้เราทรมานอีกเรื่อย ๆ

คุณสมบัติของรองเท้าสุขภาพที่ช่วยลดอาการปวดส้นเท้าและรองช้ำ

เป็นรองช้ำใส่รองเท้าแบบไหนดี

เป็นรองช้ำใส่รองเท้าแบบไหนดี

พื้นรองเท้าบริเวณส้นเท้า (heel cup; heel cushion) ควร มีความสามารถในการรองรับแรงกระแทก (shock absorption) ที่ดี เป็นพิเศษ หรือก็คือ พื้นรองเท้าควรมีความหนาพอสมควร และมีความนุ่มที่แน่นกระชับกำลังดี (ไม่ยวบย้วยจนเดินแล้วรู้สึกไม่มั่นคง) ทั้งนี้ พื้นรองเท้าที่บางเกินไปจะมีความสามารถในการรองรับแรงกระแทกที่ต่ำ จึงไม่สามารถลดแรงกระแทกที่เกิดขึ้นบริเวณส้นเท้าเวลาเดินได้ดีพอ ยิ่งถ้าเป็นพื้นรองเท้าที่แข็งด้วยแล้ว ก็จะแทบไม่รู้สึกแตกต่างจากการเดินเท้าเปล่าบนพื้นคอนกรีตเท่าไหร่เลย

เป็นรองช้ำใส่รองเท้าแบบไหนดี

เป็นรองช้ำใส่รองเท้าแบบไหนดี

มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า (arch support) – พื้นของรองเท้าสุขภาพที่ดีนั้น ควรมีความนุ่มที่พอเหมาะ และจะดีขึ้นไปอีกหากทีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าเสริมเข้ามาด้วย “ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า” ก็คือ ส่วนตรงกลางพื้นรองเท้าที่โค้งนูนขึ้นมารองรับส่วนโค้งเว้าของฝ่าเท้า มีคุณสมบัติช่วยกระจายแรงกดของร่างกายไปทั่วฝ่าเท้า ไม่ให้มารวมศูนย์กันอยู่บริเวณฝ่าเท้าด้านหน้าและส้นเท้ามากเกินไป แน่นอนว่าเมื่อส้นเท้ารับแรงกดจากน้ำหนักตัวน้อยลง โอกาสที่จะเกิดอาการปวดส้นเท้า ปวดรองช้ำ หรือปวดเอ็นร้อยหวายอักเสบเวลายืนหรือเดินนาน ๆ ก็จะน้อยลงมากเช่นกัน

เป็นรองช้ำใส่รองเท้าแบบไหนดี

เป็นรองช้ำใส่รองเท้าแบบไหนดี

พื้นรองเท้าควร มีความยืดหยุ่นสูง (high flexibility) โดยเฉพาะบริเวณที่รองรับนิ้วเท้า ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องมีการเคลื่อนไหวมากที่สุด พื้นรองเท้าที่มีความยืดหยุ่นจะเอื้อให้นิ้วเท้าสามารถเคลื่อนไหวโค้งงอได้อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วเท้าและเอ็นร้อยหวายมากจนเกินไปเวลาเดิน ทั้งนี้ หากพื้นรองเท้าไม่มีความยืดหยุ่น หรือมีความยืดหยุ่นน้อย โอกาสที่เอ็นร้อยหวายจะยึด หรือกล้ามเนื้อบริเวณนี้จะอักเสบจนนำมาซึ่งอาการปวดส้นเท้า และ/หรือ รองช้ำก็จะสูงไปด้วย

เป็นรองช้ำใส่รองเท้าแบบไหนดี

เป็นรองช้ำใส่รองเท้าแบบไหนดี

พื้นรองเท้าเป็นแนวราบ หรือ มีส้นสูงไม่เกิน 1.5 นิ้ว – การใส่รองเท้าที่มีส้นสูงเกินกว่านี้ เช่น รองเท้าส้นสูงแฟชั่น จะทำให้น้ำหนักตัวเราไปกดลงที่บริเวณส้นเท้ามากจนเกินไป อีกทั้งรองเท้าประเภทส้นสูงแฟชั่นมักจะมีพื้นรองเท้าที่แข็งมากอยู่แล้ว โอกาสที่ส้นเท้าเราจะปวดอักเสบ และ/หรือ เป็นรองช้ำจึงสูงมาก หากมีการใส่รองเท้าประเภทนี้เป็นประจำ

รองเท้าสุขภาพส่วนใหญ่มีดีไซน์ที่เชยและสูงวัยมาก!

ไม่อยากปวดเท้า… แต่ก็ไม่กล้าใส่ออกจากบ้าน… ทำไงดี?

รองเท้าสุขภาพส่วนใหญ่มีดีไซน์ที่เชยและสูงวัยมาก!

ไม่อยากปวดเท้า… แต่ก็ไม่กล้าใส่ออกจากบ้าน… ทำไงดี?

ถึงแม้ว่าการพักเท้าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่การเดินและการยืนก็เป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นกิจกรรมหลัก ๆ ในชีวิตประจำวัน การใส่รองเท้าสุขภาพดี ๆ จึงเป็นวิธีบรรเทาอาการปวดส้นเท้า ปวดรองช้ำ และปวดเอ็นร้อยหวายอักเสบที่ง่ายที่สุด แน่นอนว่าหลาย ๆ คนอาจจะทำใจไม่ค่อยได้ เพราะดีไซน์ของรองเท้าสุขภาพที่มีคุณสมบัติตามที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ล้วนแต่มีดีไซน์ที่สูงวัยและเชยไม่น่าใส่เอาซะเลย จนชวนสงสัยว่าทำไมที่ผ่านมาไม่มีใครทำรองเท้าสุขภาพที่มีดีไซน์สวย ๆ ทันสมัยออกมากันบ้างนะ

เราเองก็มีความคิดอย่างเดียวกัน และนั่นจึงเป็นจุดกำเนิดของแบรนด์รองเท้าสุขภาพ Klas & Sylph ที่ตั้งใจฉีกภาพลักษณ์รองเท้าสุขภาพเชย ๆ ให้มาเป็นรองเท้าสุขภาพที่สวยงาม มีสไตล์โดดเด่น มีคุณสมบัติรองเท้าสุขภาพตามหลักออร์โธปิดิกส์ 100% สามารถใส่ออกไปเดินนอกบ้านได้โดยไม่ต้องอายใคร และมีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับระดับโลก