การสั่งงานทาง ไลน์ ชอบด้วยกฎหมายหรือ ไม่

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ สัปดาห์นี้มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา สืบเนื่องมาจากผู้บังคับบัญชาเคยมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาผู้บังคับบัญชาเปลี่ยนแปลงคำสั่งด้วยวาจา แต่ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ได้ปฏิบัติตาม เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายกับหน่วยงานราชการ

ต่อมามีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง เพื่อหาผู้รับผิดชอบทางละเมิดอันเกี่ยวกับความเสียหายต่อหน่วยงานของราชการ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง เห็นว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นดังกล่าวเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ใต้บังคับบัญชา จึงมีคำสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาชำระค่าเสียหายให้แก่หน่วยงานราชการ

ผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นว่า คำสั่งดังกล่าวนั้น เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงนำคดีฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า การที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งเดิมด้วยวาจานั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งเดิมที่มีลายลักษณ์อักษรได้

คดีนี้ ศาลปกครองชั้นต้นมีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาชำระค่าเสียหาย ผู้บังคับบัญชา หรือในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลปกครองชั้นต้นจึงอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลปกครองชั้นต้น

การสั่งงานทาง ไลน์ ชอบด้วยกฎหมายหรือ ไม่

ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาอุทธรณ์ของผู้บังคับบัญชา หรือในฐานะผู้ถูกฟ้องคดี เห็นว่า การที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งด้วยวาจาผู้ใต้บังคับบัญชามีสิทธิ์ร้องขอให้เจ้าหน้าที่ยืนยันคำสั่งเป็นหนังสือได้ แต่ผู้ใต้บังคับบัญชากลับไม่ได้ร้องขอให้เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งยืนยันคำสั่งเป็นหนังสือ ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ผู้ใต้บังคับบัญชาจึงยังมีเจตนาผูกพันในสิทธิและหน้าที่ การเป็นกรรมการตรวจการจ้างและคุมงาน การไม่ได้ใช้สิทธิ์ร้องขอดังกล่าว ไม่มีผลทำให้คำสั่งด้วยวาจาสิ้นผลไปแต่อย่างใด ดังนั้น คำสั่งด้วยวาจาย่อมมีผลเป็นการเพิกถอนคำสั่งเดิมได้ อ้างอิงคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 598 / 2557

ประเด็นที่น่าสนใจ คือ หากผู้บังคับบัญชามีคำสั่งผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน LINE หรือ สั่งการทางโทรศัพท์ หรือช่องทางอื่นๆ และผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ได้ร้องขอให้ยืนยันคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร คำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งงานผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน LINE หรือสั่งการผ่านโทรศัพท์ หรือช่องทางอื่นๆ จะผูกพันผู้ใต้บังคับบัญชาหรือไม่

กรณีนี้ หากเป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งได้ ย่อมเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและผูกพันผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย

ประเด็นที่น่าสนใจอีกส่วนหนึ่ง คือ กรณีที่เป็นบริษัทเอกชน หรือ นายจ้างกับลูกจ้าง หากนายจ้างที่สั่งงานลูกจ้างผ่านแอปพลิเคชัน LINE หรือสั่งการทางโทรศัพท์ หรือช่องทางอื่นๆ และลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามจะอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างได้หรือไม่

กรณีนี้ หากคำสั่งของนายจ้างเป็นคำสั่งให้ลูกจ้างปฏิบัติงานในทางการที่จ้าง ย่อมเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย มีผูกพันให้ลูกจ้างต้องปฏิบัติตาม และหากลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างจนเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง นายจ้างอาจจะเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องชำระค่าชดเชยตามกฎหมาย

การสั่งงานทาง ไลน์ ชอบด้วยกฎหมายหรือ ไม่

สุดท้ายนี้ จะเห็นได้ว่า คดีตามคำพิพากษาข้างต้น ได้วางบรรทัดฐานในการทำงานไว้อย่างชัดเจน และไม่ว่ากฎหมายหรือระเบียบจะกำหนดขั้นตอนไว้อย่างไรก็ตาม แต่หากทำงานโดยยึดประโยชน์ขององค์กรเป็นที่ตั้ง ย่อมทำให้องค์กรได้รับประโยชน์สูงสุด ส่งผลดีต่อองค์กร ผู้ร่วมงาน และตัวของผู้ใต้บังคับบัญชาเองครับ

สำหรับท่านที่มีคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายและต้องการความช่วยเหลือ หรือมีเรื่องราวดีๆ อยากแบ่งปันประสบการณ์ เมล์มาหาผมที่ “คุยกับคนดัง”  ได้เลยครับ หรือ Facebook: ทนายเจมส์ LK
หรือ Instagram : james.lk

  • หน้าหลักครูวันดี
  • ข่าววันนี้
  • ข่าวการศึกษา
  • สั่งงานราชการทางไลน์ กรณีเร่งด่วน แต่ผู้ถูกสั่งไม่อ่านไลน์ ไม่รับทราบจึงไม่อาจปฏิบัติได้ ถือมีความผิดหรือไม่?

สั่งงานราชการทางไลน์ กรณีเร่งด่วน แต่ผู้ถูกสั่งไม่อ่านไลน์ ไม่รับทราบจึงไม่อาจปฏิบัติได้ ถือมีความผิดหรือไม่?

การสั่งงานทาง ไลน์ ชอบด้วยกฎหมายหรือ ไม่

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์

การสั่งงานทาง ไลน์ ชอบด้วยกฎหมายหรือ ไม่
ก- ก+

การสั่งงานราชการทางไลน์ กรณีเร่งด่วน แต่ผู้ถูกสั่งไม่อ่านไลน์ ไม่รับทราบจึงไม่อาจปฏิบัติตามได้ ถือมีความผิดหรือไม่?

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2563 สมาชิกท่านหนึ่งของเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ได้ตั้งกระทู้ถาม กรณี การสั่งงานราชการทางไลน์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

การสั่งงานราชการทางไลน์ กรณีเร่งด่วน แต่ผู้ถูกสั่งไม่อ่านไลน์ ไม่รับทราบจึงไม่อาจปฏิบัติตามได้ ถือมีความผิดหรือไม่?

กรณีอย่างเช่น
ผอ. ออกคำสั่งแต่งตั้งเวรทางไลน์ในเย็นวันศุกร์ ให้ครูน้อย มาทำงานวันเสาร์ ซึ่งครูน้อยไม่ได้อ่าน คิดว่าตนว่างจึงไปทำธุระอย่างอื่น
จากเหตุการณ์ดังกล่าว มีคำถามว่า
1. การออกคำสั่งทางไลน์ ถือเป็นหนังสือทางราชการหรือไม่
2. ครูน้อยผิดหรือไม่
3. ผอ. สามารถสั่งลงโทษ ครูน้อยหรือไม่
4. ครูน้อย ซวย!! ใช่หรือไม่

การสั่งงานทาง ไลน์ ชอบด้วยกฎหมายหรือ ไม่

และมีผู้ตอบกระทู้ดังนี้


เหมื่อน ที่ รร เลย ผอ สั่งอะไรก็สั่งทางไลน์
แล้วก็ให้ครู ลาป่วย ลากิจ ในกลุ่มไลน์

แบบนี้จะต้องมีอนุโลม ครับ ไม่มีใครเปิดอ่านไลน์ตลอดหรอก
ไม่สามารถลงโทษได้

ถ้าไม่ได้ออกเป็นคำสั่ง หนังสือราชการ ถือว่าไม่เป็นทางการ
ในทางกฎหมาย คือ คุณไม่ผิด
ถ้าตามแบบแผน คือ คุณผิด แต่สมควรได้รับการอนุโลม


ไลน์ไป 2 ชม.ไม่อ่าน ถ้าด่วนจริงก็ต้องโทรสายตรงแล้วครับ ท่าน ผอ.


ถ้าเค้าวางแผนไปเที่ยว คงต้องประกาศให้โลกรู้หรอไง เฮ้อ  แบบนี้จะไปไหนก็ไม่มี อิสระสิ


ไลน์ ไม่ใช่หนังสือราชการ ตามระเบียบสารบรรณ


คำสั่งทางราชการต้องอยู่ในระบบสารบรรณเท่านั้น ไม่เช่นนั้นคือไม่มีผลทางกฎหมาย


เอาตามหลักเลยนะครับ คำสั่งต่างๆจะต้องมีเซนต์รับทราบ
จะต้องทำบันทึกข้อความแล้วเวียนใครครูที่มีในบันทึกนั้นรับทราบ

แล้วทีนี้ คำสั่งออกเย็นวันศุกร์ ถ้าด่วนจริง ผอ. ต้องโทรตาม ถ้าโทรแล้วไม่รับ แล้วไลน์บอก
มันต้องมาดูว่า เย็นวันศุกร์นั้นกี่โมง ถ้าคำสั่งมันออกก่อน 17.00 การที่ครูไม่รับทราบแสดงว่าครู
หนีโรงเรียน ต้องไปดูว่าคุณเซนต์กลับบ้านกี่โมง ถ้าคำสั่งมันออกก่อนคุณเซนต์กลับบ้าน
จะมาอ้างอะไรไม่ได้เลย  รับไปเต็มๆ

ถ้าคำสั่งมันออกหลังเวลาครูเซนต์กลับบ้าน ก็ต้องมาดูว่า ผอ. พยายามติดต่อกับครูทางไหนบ้าง
อย่าลืมว่า แค่โทรสั่งทางวาจา ก็ถือว่าสั่งแล้ว การสั่งทางไลน์ ถ้าทำเป็นบันทึกข้อความ
แล้วถ่ายรูปบันทึกนั้นลงไลน์  มันก็คือคำสั่งที่ถูกต้อง


มันขึ้นอยู่กับการกำหนดเงื่อนไขของส่วนราชการว่าจะให้เป็นไปอย่างไร
จะให้มีฐานะแบบหนังสือสั่งการก็ได้

อ่านต่อได้ที่ https://pantip.com/topic/39679181

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>