ผ่าตัดลิ้นหัวใจรั่ว อันตรายไหม

ภาวะความผิดปกติของลิ้นหัวใจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ลิ้นหัวใจตีบ และลิ้นหัวใจรั่ว โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับลิ้นหัวใจทั้ง 4 ลิ้น ซึ่งภาวะนี้ไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก แต่จะเริ่มแสดงอาการเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นแต่ก็ไม่รุนแรง และจะแสดงอาการรุนแรงเมื่ออายุประมาณ 40 - 50 ปี จนทำให้ผู้ป่วยเจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ และมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลียมากขึ้น เกือบๆ จะทุกการเคลื่อนไหว จำเป็นต้องรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา หากอาการยังไม่รุนแรงแพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาและนัดติดตามอาการเป็นระยะ แต่ถ้าอาการรุนแรงและเข้ารับการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจแล้วก็ยังไม่เป็นผล หรือผู้ป่วยมีภาวะลิ้นหัวใจเสื่อมหรือเสียมาก จนไม่สามารถกลับมาทำงานตามเดิมได้อีก ก็จำเป็นต้องได้รับ “การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ” (Valve Replacement) เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม

Show

ลิ้นหัวใจเป็นอย่างไร

ลิ้นหัวใจมีทั้งหมด 4 ลิ้น ประกอบด้วย ลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Tricuspid valve), ลิ้นหัวใจพัลโมนิค (Pulmonic valve), ลิ้นหัวใจไมตรัล (Mitral valve) และ ลิ้นหัวใจเอออร์ติก (Aortic valve) ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนเลือดใน 4 ห้องหัวใจ ให้เป็นไปตามทิศทางที่ถูกต้องและไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ หากลิ้นหัวใจชำรุด เสื่อมสภาพ หรือมีโรคที่รบกวนการทำงานของลิ้นหัวใจจนเกิดความผิดปกติ จะส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนักจนเกิดภาวะต่างๆ ทั้ง หัวใจโต เลือดคั่งในหัวใจ เลือดคั่งในปอด ตามมาได้ บางรายก็อาจเสียชีวิตได้เนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว

โรคลิ้นหัวใจ ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิด ส่งผลให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป โดยอาจไม่มีอาการใดๆ ในวัยเด็ก หรือตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์ แต่จะเริ่มเหนื่อยง่าย ใจสั่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น รวมไปถึงสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ ลิ้นหัวใจเสื่อมตามอายุ มักพบในวัยผู้สูงอายุ โรคหัวใจรูมาติก มักพบในเด็กอายุ 5 ขวบขึ้นไป โรคลิ้นหัวใจรั่วจากการติดเชื้อ และภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายและเกิดลิ้นหัวใจรั่วตามมา


การรักษาโรคลิ้นหัวใจ

ผู้ป่วยที่มีอาการลิ้นหัวใจไม่รุนแรง ชำรุดเพียงเล็กน้อย หรือปานกลาง แพทย์จะแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวและเฝ้าระวังติดตามอาการ และจะรักษาด้วยการให้ยาขับปัสสาวะเพื่อช่วยเสริมการทำงานของหัวใจให้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก มีลิ้นหัวใจรั่วมาก จนกระทั่งกล้ามเนื้อที่พยุงการปิด-เปิด ลิ้นหัวใจเกิดการหย่อนยาน ปูด หรือหนา แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ (Valve Repair) แก้ไขส่วนที่เสียหายของลิ้นหัวใจ แต่ถ้าอาการรุนแรง และเข้ารับการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจแล้วก็ยังไม่เป็นผล หรือผู้ป่วยมีภาวะลิ้นหัวใจเสื่อมหรือเสียมาก จนไม่สามารถกลับมาทำงานตามเดิมได้อีก ก็จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Valve Replacement) ใหม่ ด้วยการเอาลิ้นหัวใจที่เสียหายออก และนำลิ้นหัวใจเทียมใส่เข้าไปแทน


การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Valve Replacement) เป็นการผ่าตัดแบบวิธีมาตรฐาน คือ การเปิดแผลผ่าตัดกึ่งกลางหน้าอก เป็นการรักษาโรคลิ้นหัวใจผิดปกติ ในกรณีพยาธิสภาพของลิ้นหัวใจสูญเสีย หรือเสื่อมสภาพไปมากแล้ว เช่น ฉีกขาดมาก หรือมีหินปูนเกาะ ทำให้ศัลยแพทย์ไม่สามารถผ่าตัดโดยการซ่อมแซมลิ้นหัวใจเดิมของผู้ป่วยได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจใหม่ ด้วยการเอาลิ้นหัวใจที่เสียหายออก และนำลิ้นหัวใจเทียมใส่เข้าไปแทน ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบธรรมชาติที่ได้จากเนื้อเยื่อของหัวใจวัว หรือเนื้อเยื่อหัวใจหมู และลิ้นหัวใจเทียมจากสารสังเคราะห์ โลหะ โดยอายุของลิ้นหัวใจใหม่นี้จะอยู่ที่ประมาณ 10 ถึง 15 ปี ควบคู่กับการรับประทานยาเพื่อป้องกันเลือดแข็งตัว


เตรียมตัวอย่างไรก่อนการผ่าตัด

  1. ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายและซักประวัติโดยละเอียด เช่น การตรวจเลือด เอกซเรย์
  2. แพทย์จะสอบถามถึงยา อาหารเสริม วิตามิน หรือสมุนไพรที่กำลังใช้อยู่ ผู้ป่วยจึงควรเตรียมยาดังกล่าวติดตัวไปด้วย
  3. ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์ล่วงหน้า หากมีประวัติการแพ้ หรือผลข้างเคียงจากการได้รับยาระงับประสาท
  4. หากใส่ฟันปลอม หรือเหล็กดัดฟัน ควรแจ้งแพทย์ก่อน
  5. ผู้ป่วยจะได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ สวนอุจจาระ และต้องงดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืนวันก่อนผ่าตัด
  6. เช้าวันผ่าตัด ผู้ป่วยควรทำความสะอาดร่างกายและเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ ไม่ควรทาลิปสติกทาสีเล็บและทาแป้งบริเวณลำตัว
  7. ถอดเครื่องประดับต่างๆ ฟันปลอม รวมทั้งฝากทรัพย์สินมีค่าไว้ที่ญาติ
  8. เพื่อความปลอดภัยในระยะการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการวัดความดันโลหิต วัดออกซิเจนในเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น

ขั้นตอนการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

ผู้ป่วยจะได้รับยาสลบ เพื่อทำให้หลับไปตลอดการผ่าตัดโดยไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดใดๆ ระหว่างการผ่าตัด แพทย์จะทำให้หัวใจหยุดเต้นชั่วขณะ มีการใช้เครื่องบายพาสหัวใจและปอดทำงานแทนหัวใจจริง จากนั้นศัลยแพทย์ทางด้านหัวใจจะทำการผ่าตัดเปิดหน้าอก และนำลิ้นหัวใจที่เสียหายออก แล้วนำลิ้นหัวใจใหม่ใส่เข้าไปแทน เมื่อผ่าเปลี่ยนลิ้นหัวใจเสร็จ แพทย์จะทำให้หัวใจของผู้ป่วยกลับมาเต้นอีกครั้ง หลังจากนั้นจะซ่อมแซมกระดูกสันอก ก่อนทำการปิดปากแผลที่หน้าอก โดยเวลาในการทำการผ่าตัดเฉลี่ยประมาณ 4 ชม.

เมื่อทำหัตถการเปลี่ยนลิ้นหัวใจแล้ว แพทย์อาจใช้การใช้เครื่องอัลตราซาวด์ ตรวจดูการทำงานของลิ้นหัวใจใหม่ว่าทำงานได้อย่างเหมาะสมแล้วหรือไม่

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจด้วยเปิดแผลผ่าตัดกึ่งกลางหน้าอก สามารถทำหัตถการอื่นร่วมด้วย เช่น การผ่าตัดลิ้นหัวใจร่วมกับการทำบายพาสหัวใจ หรือการผ่าตัดลิ้นหัวใจร่วมกับการเปลี่ยนเส้นเลือดแดงใหญ่ เป็นต้น

ทำความรู้จักการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ใครบ้างที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด มีความเสี่ยงไหม ต้องเตรียมตัวอย่างไร หลังการผ่าตัดต้องดูแลตัวเองอย่างไร

เผยแพร่ครั้งแรก 22 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 24 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 11 นาที

แชร์บทความนี้

ผ่าตัดลิ้นหัวใจรั่ว อันตรายไหม

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ลิ้นหัวใจทำหน้าที่ปิด-เปิด เพื่อควบคุมทิศทางการไหลเวียนของเลือด ทั้งเปิดให้เลือดเข้าสู่หัวใจและปิดเพื่อหยุดการรั่วไหลของเลือดไหลกลับไปสู่หัวใจ 
  • สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจ ได้แก่ ความเสื่อมตามอายุ ลิ้นหัวใจมีจำนวนผิดปกติ ผลพวงจากบางโรค เช่น ไข้รูห์มาติก ลูปัส มาร์แฟนซินโดรม
  • อาการของโรคลิ้นหัวใจ เช่น ปวดหน้าอกหลังจากออกกำลังกาย หายใจลำบาก เวียนศีรษะ หมดสติ
  • หากมีภาวะลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่วถือว่า อันตรายและมีความเสี่ยงต่อชีวิต แพทย์จำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วยเอาไว้
  • หลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจแล้ว ผู้ป่วยต้องไปพบแพทย์ตามนัด และดูแลรักษาสุขภาพให้ดี (ดูแพ็กเกจตรวจหัวใจได้ที่นี่)

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจมีขึ้นเพื่อรักษาโรค หรือการบาดเจ็บที่ลิ้นหัวใจ โดยกระบวนการอาจมีการผ่าตัดหัวใจร่วมด้วย

ทำความรู้จักลิ้นหัวใจ

หัวใจของมนุษย์มีอยู่ 4 ห้อง ทั้งนี้ 2 ห้องข้างบนจะมีขนาดเล็กเรียกว่า “อะเทรีย” ส่วน 2 ห้องข้างล่างจะมีขนาดใหญ่ เรียกว่า “เวนทริเคิล” เวนทริเคิลแต่ละห้องจะมีลิ้นหัวใจอยู่ 2 แห่ง ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กด

ผ่าตัดลิ้นหัวใจรั่ว อันตรายไหม

  • ลิ้นหัวใจสำหรับควบคุมเลือดให้ไหลไปเข้าสู่เวนทริเคิล
  • ลิ้นหัวใจสำหรับควบคุมเลือดให้ไหลออกจากเวนทริเคิล

ลิ้นหัวใจสร้างจากเนื้อเยื่อที่เปิด-ปิดได้ โดยจะเปิดให้เลือดไหลเข้าไปในหัวใจเพื่อสูบฉีดไปทั่วร่างกาย และจะปิดเพื่อหยุดการรั่วไหลของเลือดกลับไปสู่หัวใจ (ลิ้นหัวใจจะสามารถเปิดได้เพียงทิศทางเดียวเท่านั้น)

ลิ้นหัวใจที่อยู่ช่องเวนทริเคิลซ้ายจะควบคุมการไหลเวียนของเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงเส้นเลือดแดงหลักของร่างกาย หรือเรียกว่า “เอออร์ต้า” นั่นเอง

ทำไมจึงต้องมีการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ?

  • มีภาวะลิ้นหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจเกิดการตีบคอด และขวางกั้นการไหลเวียนโลหิต
  • มีภาวะลิ้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจมีช่อง หรือเกิดการรั่ว ทำให้เลือดไหลย้อนกลับ

หากลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

เกิดอะไรขึ้นระหว่างการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ?

  • ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจจะได้รับยาสลบ เพื่อทำให้หลับไปตลอดการผ่าตัดโดยไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดใดๆ
  • ระหว่างการผ่าตัด แพทย์จะทำให้หัวใจหยุดเต้นชั่วขณะ มีการใช้เครื่องบายพาสหัวใจและปอดทำงานแทนหัวใจจริง
  • แพทย์จะกรีดเปิดทรวงอก โดยการกะเทาะกระดูกสันอกออกเพื่อให้เข้าถึงหัวใจของผู้ป่วย
  • แพทย์จะผ่าเปลี่ยนลิ้นหัวใจที่มีปัญหาออก ก่อนจะใส่ลิ้นหัวใจใหม่ให้
  • เมื่อผ่าเปลี่ยนลิ้นหัวใจเสร็จ แพทย์จะทำให้หัวใจของผู้ป่วยกลับมาเต้นอีกครั้ง
  • แพทย์จะซ่อมแซมกระดูกสันอก ก่อนทำการปิดปากแผลที่หน้าอก

ความเสี่ยงในการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ บางอาการอาจส่งผลถึงชีวิต โดยผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดประเภทนี้ 1 ใน 50 คนจะเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดไม่นาน

แต่ภาวะลิ้นหัวใจรั่ว หรือลิ้นหัวใจตีบนั้น เป็นความผิดปกติซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอยู่แล้วหากไม่ยอมรับการรักษา 

นั่นทำให้แพทย์ต้องทำการเปรียบเทียบประโยชน์กับความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดอย่างถี่ถ้วน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กด

ผ่าตัดลิ้นหัวใจรั่ว อันตรายไหม

หากไม่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ มีวิธีรักษาอื่นๆ อีกไหม?

แม้ว่า การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเป็นหัตถการรักษาภาวะของลิ้นหัวใจที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่หากร่างกายผู้ป่วยอ่อนแอเกินกว่าจะทนรับการผ่าตัดหัวใจได้ แพทย์อาจแนะนำวิธีรักษาแบบอื่นๆ ให้ 

วิธีการเปลี่ยนลิ้นหัวใจแบบอื่นๆ มีดังต่อไปนี้

  • การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกโดยไม่ทำการผ่าตัด (TAVI) เป็นกระบวนการที่จะนำลิ้นหัวใจใหม่ไปเปลี่ยน โดยเคลื่อนที่ไปตามหลอดเลือดแทนการผ่าตัดผ่านช่วงอก
  • การเปลี่ยนลิ้นหัวใจด้วยบอลลูน ทำการถ่างขยายลิ้นหัวใจให้กว้างขึ้นด้วยบอลลูน

ทำไมจึงต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจจะจำเป็นอย่างมาก หากลิ้นหัวใจของคุณมีภาวะตีบ เกิดการรั่วไหล หรือมีสภาวะที่ส่งผลต่อลิ้นหัวใจ เรียกกันว่า “โรคลิ้นหัวใจ”

ทำความรู้จักโรคลิ้นหัวใจ

โรคลิ้นหัวใจสามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ เป็นมาตั้งแต่เกิดกับเกิดจากสาเหตุอื่นๆ

สาเหตุทั่วไปที่ก่อให้เกิดโรคลิ้นหัวใจ

1. ความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่เกี่ยวข้องกับอายุ

อายุเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคลิ้นหัวใจเพราะเป็นการเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นตามอายุขัยของร่างกาย แคลเซียมจะเข้าไปเกาะสะสมบนลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจเปิด-ปิดยาก กรณีนี้มักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 70 ถึง 80 ปีขึ้นไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 671 บาท ลดสูงสุด 5096 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กด

ผ่าตัดลิ้นหัวใจรั่ว อันตรายไหม

2. ภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกมี 2 ชั้น

เป็นภาวะผิดปกติของลิ้นหัวใจที่พบได้บ่อยที่สุด ปกติแล้วจะมีลิ้นเอออร์ติก 3 ชั้น (มีหน้าที่เป็นประตูให้เลือดไหลผ่าน) แต่ผู้ป่วยภาวะนี้จะเกิดมีลิ้นเอออร์ติกเพียง 2 ชั้น 

ผู้ที่มีภาวะผิดปกตินี้ลิ้นหัวใจยังคงทำงานได้ตามปกติ แต่มักจะเริ่มแสดงอาการเมื่อมีอายุ 50 หรือ 60 ปีขึ้นไปแล้ว

3. ผลพวงจากภาวะโรคอื่นๆ

ภาวะทางสุขภาพหลายอย่างส่งผลไปยังลิ้นหัวใจ และก่อให้เกิดโรคลิ้นหัวใจได้ เช่น

  • มาร์แฟนซินโดรม ภาวะทางพันธุกรรมที่สร้างความเสียหายไปยังเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (ที่ใช้รองรับและก่อร่างเนื้อเยื่อและอวัยวะอื่น ๆ)
  • ไข้รูห์มาติก เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มาจากการติดเชื้อในคอ และทำให้การติดเชื้อลุกลามไปทั่วร่างกาย
  • ลูปัส เป็นภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปรกติและเริ่มโจมตีเนื้อเยื่อสุขภาพดี
  • โรคหลอดเลือดขมับอักเสบ เป็นภาวะที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อภายในระบบร่างกายและหลอดเลือดแดงใหญ่
  • เยื่อบุหัวใจอักเสบ เป็นภาวะที่ผนังหัวใจเกิดการติดเชื้อ ภาวะนี้มีความร้ายแรงมาก แต่พบได้ยาก

อาการของโรคลิ้นหัวใจ

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกระยะแรกจะไม่แสดงอาการใดๆ จนกว่าจะพัฒนาไปเป็นระยะท้ายๆ แล้ว อาการที่รู้สึกได้จะเกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเต็มที่ 

  • ปวดหน้าอกหลังจากออกกำลังกาย เนื่องมาจากหัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อเร่งสูบฉีดเลือดผ่านลิ้นหัวใจ
  • หายใจลำบาก ในตอนแรกจะสังเกตเห็นอาการนี้หลังจากการออกกำลังกาย แต่ต่อมาภายหลัง อาการนี้จะเริ่มแสดงออกมาขณะพักผ่อนเช่นกัน
  • เวียนศีรษะ หรือมึนศีรษะ เกิดจากการที่เลือดที่ต้องไหลออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกายถูกขวางกั้น
  • หมดสติ เป็นผลมาจากปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงลดลง เนื่องจากการตีบกั้นภายในหัวใจ

การทดสอบความผิดปกติของลิ้นหัวใจ

หากแพทย์สงสัยว่า ผู้ป่วยอาจมีปัญหาที่ลิ้นหัวใจ แพทย์จะส่งผู้ป่วยไปตรวจกับหทัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจโดยตรง หทัยแพทย์จะใช้การทดสอบต่างๆ เพื่อทำให้การวินิจฉัยโรคแม่นยำมากยิ่งขึ้น

การทดสอบที่หทัยแพทย์จะใช้เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของลิ้นหัวใจ มีดังนี้

  • การตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) เป็นการสแกนอัลตราซาวด์ที่ใช้ร่างภาพหัวใจของผู้ป่วยออกมา วิธีนี้มักสามารถตรวจจับความผิดปรกติต่าง ๆ ที่ปรากฏบนรูปหัวใจได้
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) เป็นการทดสอบที่รวดเร็วและง่ายดาย ที่ใช้ดูกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจที่กำลังทำงานอยู่ภายในร่างกายของผู้ป่วย
  • การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary angiogram: CAG) เป็นการทดสอบเอกซเรย์ประเภทหนึ่งที่ใช้สารย้อมสีชนิดพิเศษเข้าไปในหลอดเลือดที่เชื่อมไปยังหัวใจ เพื่อทำให้ภาพเอกซเรย์ออกมาชัดเจนยิ่งขึ้น

จะเริ่มการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเมื่อใด?

หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง แพทย์อาจนัดมาตรวจสอบความทรุดโทรมของลิ้นหัวใจทุกๆ ปี

แต่หากอาการรุนแรง แพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เนื่องจากหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงต่อร่างกายอย่างมาก 

อีกทั้งยังมีความเสี่ยงเล็กน้อยที่หัวใจของผู้ป่วยจะหยุดเต้นกะทันหันอีกด้วย

การเตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

  • มีการส่งผู้ป่วยไปพบทีมรักษาที่คลินิกล่วงหน้าเพื่อตรวจร่างกายและซักประวัติโดยละเอียด เช่น การตรวจเลือด เอกซเรย์
  • แพทย์จะสอบถามถึงยา อาหารเสริม วิตามิน หรือสมุนไพรที่กำลังใช้อยู่ จึงควรเตรียมยาดังกล่าวติดตัวไปคลินิกด้วย
  • อย่าลืมแจ้งแพทย์ล่วงหน้า หากเคยประสบผลข้างเคียงจากการได้รับยาระงับประสาท เช่น อาการคลื่นไส้ รวมทั้งแจ้งประวัติการแพ้ต่างๆ เพื่อทีมแพทย์จะได้หายาที่สามารถเข้ากับตัวผู้ป่วยได้ระหว่างการผ่าตัดจริง
  • แพทย์จะซักประวัติการทำฟันที่ผ่านมา ไม่ว่าจะใส่ฟันปลอม เหล็กดัดฟัน เนื่องจากระหว่างการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องหายใจผ่านท่อที่สอดลงในลำคอ ดังนั้นการมีฟันไม่แข็งแรงจะทำให้กระบวนการดังกล่าวเป็นอันตรายได้
  • หากผู้ป่วยสูบบุหรี่ แพทย์จะแนะนำให้เลิกทันที เนื่องจากพิษบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดได้ เช่น การมีลิ่มเลือดอุดตัน การติดเชื้อที่ทรวงอก

กระบวนการเตรียมความพร้อมนี้มักจะให้ผู้ป่วยพักที่โรงพยาบาลล่วงหน้าการผ่าตัดประมาณ 5-7 วัน เพื่อให้เข้าใจและรับมือกับหลักกระบวนการทั้งหมดได้ 

ลิ้นหัวใจที่ถูกนำมาเปลี่ยนเป็นแบบไหน?

ลิ้นหัวใจที่จะนำมาเปลี่ยนมี 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่

  • ลิ้นหัวใจเทียม เป็นลิ้นหัวใจที่ถูกสร้างมาจากวัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น ไพโรติกคาร์บอน (วัสดุที่คล้ายกับแกรไฟท์)
  • ลิ้นหัวใจชีวภาพ ซึ่งผลิตมาจากเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต

โดยทั่วไป หากผู้ป่วยมีอายุน้อยกว่า 60 ปี แพทย์จะแนะนำให้ใช้ลิ้นหัวใจเทียม แต่หากมีอายุเกิน 60 ปี แพทย์จะแนะนำให้ใช้ลิ้นชีวภาพแทน

ข้อดีข้อเสียระหว่างลิ้นหัวใจเทียมกับลิ้นหัวใจชีวภาพ

1. ลิ้นหัวใจเทียม

ข้อดี: ลิ้นหัวใจเทียมมีอายุการใช้งานยาวนานและคงทนอย่างมาก

ข้อเสีย: มีโอกาสที่จะเกิดลิ่มเลือดเกาะบนพื้นผิวของลิ้นเทียมได้ นอกจากนี้ยังต้องรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดไปตลอดชีวิต การเกิดลิ่มเลือดอาจก่อให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้ 

นอกจากนี้ลิ้นหัวใจเทียมจะส่งเสียงคลิ๊กออกมาเป็นบางครั้ง ในช่วงแรกอาจจะรู้สึกกังวล แต่มักจะเริ่มชินในเวลาไม่นาน

2. ลิ้นหัวใจชีวภาพ

ข้อดี: มีความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดน้อยกว่าลิ้นหัวใจเทียม จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด นอกจากผู้ป่วยต้องรับประทานยาตัวนี้เนื่องจากสาเหตุอื่น

ข้อเสีย: มีอายุการใช้งานไม่นานจึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีอายุน้อย หรือผู้ที่ชอบออกแรง เพราะอาจทำให้ต้องมีการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจบ่อยครั้ง

การพักฟื้นหลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

หลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ จะส่งตัวผู้ป่วยจะเข้าห้อง ICU เพื่อใช้งานระบบสอดส่องกิจกรรมของหัวใจ ปอด และระบบอื่นๆ ของร่างกายเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง นอกจากนี้ผู้ป่วยยังต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดการพักฟื้น

5 ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับการพักฟื้นหลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

1. เครื่องช่วยหายใจ

เครื่องช่วยหายใจเป็นเครื่องที่มีหน้าที่ควบคุมการหายใจให้แก่ผู้ป่วยแบบอัตโนมัติ ทำงานโดยการสับเปลี่ยนอากาศที่เต็มไปด้วยออกซิเจนให้เข้า-ออกปอด ผ่านท่อที่เรียกว่า "ท่อหลอดคอ (tracheal tube)" ที่สอดเข้าช่องปาก หรือจมูก

ในขณะที่ยังคงใช้เครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยจะไม่สามารถพูด หรือดื่มอะไรได้ และอาจรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัวบ้าง

หากผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจนทีมรักษาลงความเห็นว่า สามารถทำการหายใจโดยไม่ต้องมีตัวช่วยใดๆ แล้ว ทีมรักษาจะถอดเครื่องช่วยหายใจออกและสวมใส่หน้ากากครอบปากและจมูกที่ปล่อยออกซิเจนให้แก่แทน

2. ความเจ็บปวด

เช่นเดียวกับกระบวนการผ่าตัดประเภทอื่น ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกไม่สบายตัวบ้าง โดยขณะพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยจะได้รับยาแก้ปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดหลังฤทธิ์ยาระงับประสาทหมดลง

หากผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ แพทย์จะแนะนำการใช้ยาแก้ปวดให้ ระหว่างนี้ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกไม่สบายบริเวณที่ผ่านการผ่าตัด อาการดังกล่าวจะค่อยๆ ดีขึ้นตามแผลที่หายดีตามลำดับ

3. การย้ายไปรักษาต่อที่หอผู้ป่วย

เมื่อทีมรักษาลงความเห็นว่า ผู้ป่วยอาการดีขึ้นจะให้ย้ายจาก ICU ไปยังหอผู้ป่วยผ่าตัด หรืออาจส่งไปแผนกดูแลอย่างใกล้ชิด (High Dependency Unit: HDU) สำหรับผู้ป่วยที่ยังต้องมีการจับตาดูสภาวะต่างๆ หลังการผ่าตัดอยู่

โดยผู้ป่วยจะยังคงมีท่อและสายต่างๆ ติดกับตัวอยู่ ได้แก่

  • ท่อหน้าอก ท่อที่ใช้ดูดของเหลว หรือเลือดภายในทรวงอกออก (แต่มักจะถอนท่อดังกล่าวออกหลังการผ่าตัด)
  • เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ สำหรับกรณีที่จำเป็นเท่านั้น โดยจะสอดใกล้กับท่อดูดทรวงอกเพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจ (มักจะนำออกภายหลังการผ่าตัด 4-5 วัน)
  • ปุ่มเซนเซอร์ จะถูกติดตามพื้นผิวบนร่างกายของผู้ป่วยเพื่อวัดอัตราการเต้นหัวใจและการไหลเวียนโลหิต รวมถึงตรวจสอบการไหลเวียนอากาศในปอดของผู้ป่วย
  • สายสวน เป็นท่อที่สอดเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วยเพื่อขับปัสสาวะออก

ทีมรักษาจะให้ความสำคัญกับการเพิ่มความอยากอาหารของผู้ป่วยและการทำให้ฟื้นตัวเร็วที่สุด โดยผู้ป่วยจะสามารถออกจากโรงพยาบาลได้หลังการผ่าตัดประมาณ 5-7 วัน ขึ้นอยู่กับอัตราการฟื้นตัว

นอกจากนี้อาจมีทีมเวชกรรมฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือนักกายภาพเข้ามาช่วยเหลือผู้ป่วย ก่อนที่แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้

ทีมเวชกรรมฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือนักกายภาพ จะช่วยแนะนำแนวทางฟื้นฟูตนเองให้กลับเป็นปกติ และโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพหัวใจหลังการผ่านตัด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวและกลับไปใช้ชีวิตประจำวันให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่ส่งผลต่อปัญหาของหัวใจในอนาคต

4. เวลาในการฟื้นตัว

ระยะการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจจะแตกต่างกันไปตามบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพองค์รวมและความแข็งแรงของผูู้ป่วย สภาพร่างกายของผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัด

กระดูกสันอกมักจะใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ในการฟื้นตัวจนหายดี และกว่าผู้ป่วยจะรู้สึกหายดีเป็นปกติสมบูรณ์ทั้งหมดอาจใช้เวลามากถึง 2-3 เดือน

5. การกลับบ้าน

ผู้ป่วยควรเตรียมตัวรับมือกับอาการที่อาจต้องประสบหลังจากนี้ โชคดีที่มักมีความรุนแรงไม่มากและมีระยะเวลาไม่นาน 

  • ไม่อยากอาหาร อาจใช้ระยะเวลาสักระยะกว่าที่ความอยากอาหารของผู้ป่วยจะกลับมา และผู้ป่วยอาจสูญเสียความรู้สึกรับรสชาติไปบ้างครั้งคราว
  • อาการบวมและแดง บริเวณที่โดนกรีดอาจเกิดอาการบวมและแดงขึ้นมา ซึ่งจะค่อยๆ จางหายไปเองตามกาลเวลา หากแผลมีอาการแดงมากขึ้น ร้อน เจ็บปวด บวมใหญ่ขึ้น หรือมีของเหลวออกมา ต้องรีบไปพบแพทย์ในทันที
  • นอนไม่หลับ ผู้ป่วยบางคนจะมีปัญหาในการนอนหลับ หรือหลับๆ ตื่นๆ ตลอดทั้งคืน ภาวะนี้ควรจะหายไปเองตามกาลเวลา หากปวดมาก ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดก่อนเข้านอนก็ได้
  • ท้องผูก ผู้ป่วยอาจประสบปัญหาการถ่ายยากได้ วิธีบรรเทาอาการคือ ดื่มน้ำมากๆ (1.2 ลิตร หรือประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน) และรับประทานผักผลไม้มากๆ โดยแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาระบายได้ในบางกรณี
  • ความกังวลและภาวะซึมเศร้า เป็นภาวะที่มักจะเกิดขึ้นหลังการผ่าตัด ทั้งนี้แรงสนับสนุนจากเพื่อนและครอบครัวจะช่วยเหลือผู้ป่วยได้มาก นอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจปรึกษากับพยาบาล หรือแพทย์ ได้

6. การดูแลบาดแผล

การผ่าตัดเปิดช่องอกจะทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้ ซึ่งแผลเป็นจะมีสีแดงในช่วงแรก และจะค่อยๆ จางหายไปตามกาลเวลา

ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้หลังจากแพทย์ถอดสายกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจจากตัวแล้ว ระหว่างนั้นจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงน้ำร้อน หรือแช่ในอ่างน้ำจนกว่ารอยแผลจะหายดีแล้ว ควรล้างรอยแผลด้วยน้ำสบู่อ่อนขณะที่อาบน้ำ 

ในช่วงหนึ่งปีแรกหลังจากผ่าตัด ผู้ป่วยควรปกปิดรอยแผลจากแสงอาทิตย์เพื่อไม่ให้รอยแผลมีสีคล้ำ และต้องไปพบแพทย์ทันทีหากว่า

  • ผิวหนังบริเวณจุดที่ผ่าตัดมีความอ่อนนุ่มมากขึ้น
  • มีอาการบวม หรือแดงมากขึ้น
  • มีหนอง หรือของเสียขับออกจากรอยแผล
  • มีไข้สูง หรือมากกว่า 38 องศาเซลเซียส

หากระหว่างขั้นตอนการเย็บปากแผลกรีดหน้าอก หากแพทย์ใช้ไหมเย็บแผลที่สามารถละลายได้ วัสดุดังกล่าวจะสลายไปภายในเวลา 3 สัปดาห์ แต่หากใช้วัสดุเย็บแผลอื่นๆ แพทย์จะนัดหมายล่วงหน้าเพื่อตัดไหมออกภายหลัง

ความเสี่ยงหลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

หลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นหลายอย่าง ส่วนมากมักเกิดขึ้นได้ยาก ภาวะข้างเคียงที่เป็นไปได้มีดังนี้

  • การติดเชื้อ ลิ้นหัวใจใหม่อาจเกิดการติดเชื้อและอักเสบขึ้นได้ (เยื่อบุหัวใจอักเสบ) ซึ่งจะสร้างความเสียหายแก่หัวใจของผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันภาวะนี้ ระหว่างการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อลดความเสี่ยงนี้
  • การอุดตัน มักจะเกิดขึ้นกับลิ้นหัวใจเทียม โดยผู้ป่วยจะได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดหากมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้สูง
  • ภาวะสมองขาดเลือด หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน
  • ลิ้นหัวใจใหม่หมดสภาพ หรือเสียหาย มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี ที่เปลี่ยนเป็นลิ้นหัวใจชีวภาพ
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ป่วยที่เกิดภาวะเช่นนี้ประมาณ 25% จะเป็นภาวะชั่วคราว และ 1-2% ของผู้ป่วยที่เป็นจำต้องใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ (อุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้ถ่านสอดเข้าใต้ผิวหนังที่หน้าอกเพื่อช่วยให้หัวใจเต้นตามปกติ)

ในบางกรณี ภาวะข้างเคียงที่เกิดขึ้นมีความอันตรายอย่างมาก ข้อมูลวิจัยเมื่อไม่นานมานี้พบว่า "ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจประมาณ 2% จะเสียชีวิตในช่วง 30 วันแรกหลังการผ่าตัด"

แพทย์สรุปไว้ว่า ความเสี่ยงดังกล่าวมีน้อยกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากไม่ทำการรักษากับภาวะทางหัวใจเสียอีก ทำให้การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเป็นกระบวนการรักษาที่นับว่า "มีประสิทธิภาพที่สุดอยู่ดี"

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตหลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

1. การมีเพศสัมพันธ์หลังการผ่าตัดหัวใจ

หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยล้าและหายใจลำบากมากขึ้น นั่นย่อมส่งผลต่อชีวิตคู่ของผู้ป่วยแน่นอน แต่หลังจากนั้น เมื่อร่างกายฟื้นตัวอาการดังกล่าวจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ

ผู้ป่วยสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ทันทีที่พร้อม แต่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงท่าที่มีความเสี่ยง หรือท่าที่ต้องออกแรงเยอะ เพื่อไม่ให้กระทบกับบาดแผลผ่าตัด

สำหรับบางคน ประสบการณ์การป่วยหนักอาจส่งผลต่อความรู้สึกทางเพศด้วย โดยเฉพาะผู้ชายที่ความเครียดทางอารมณ์สามารถส่งผลไปสู่การเสื่อมสมรรถนะทางเพศได้ 

หากผู้ป่วยกังวลเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็สามารถปรึกษากับคู่สมรส กลุ่มช่วยเหลือ หรือแพทย์ประจำตัวได้

2. การขับรถหลังการผ่าตัด

หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถเดินทางด้วยการนั่งรถได้ แต่แพทย์จะห้ามไม่ให้ผู้ป่วยขับรถจนกว่าเวลาจะผ่านไป 6 สัปดาห์นับจากวันที่ออกจากโรงพยาบาล

3. การกลับไปทำงาน

การกลับไปทำงานขึ้นอยู่กับประเภทของงานที่ผู้ป่วยทำอยู่ หากไม่มั่นใจให้ปรึกษา หรือสอบถามกับศัลยแพทย์ก่อน โดยทั่วไปผู้ป่วยจะสามารถกลับไปปฏิบัติหน้าที่ได้หลังจากการพักฟื้น 6-8 สัปดาห์ นับจากวันที่ออกจากโรงพยาบาล

แต่หากเป็นงานประเภทแรงงานควรใช้เวลาพักฟื้นอย่างน้อย 3 เดือนก่อนจะกลับไปทำงาน ซึ่งต้องปรึกษาหารือกับผู้ดูแล หรือแผนกสุขภาพที่ทำงานของผู้ป่วยในเรื่องนี้ด้วย

หลังผ่าตัดลิ้นหัวใจแล้ว นอกจากวินัยในการไปพบแพทย์ตามนัดแล้ว ใช่ยาตามที่แพทย์สั่งแล้ว ผู้ป่วยยังควรปรับการใช้ชีวิตใหม่ เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงการรับประทานของมัน ของทอด อาหารไขมันสูง 

พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึก หลีกเลี่ยงความเครียด รวมทั้งการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม  เพื่อให้หัวใจมีความแข็งแรงและทำงานได้ดีขึ้น 

ดูแพ็กเกจตรวจหัวใจ ตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล

กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

Webmd.com, Heart-valve-surgery (https://www.webmd.com/heart-disease/aortic-valve-replacement-surgery), 17 December 2019.

NHS.UK, Heart-valve-surgery (https://www.nhs.uk//conditions/aortic-valve-replacement/what-happens/), 17 December 2019.

Medlineplus.gov, Heart-valve-surgery (https://medlineplus.gov/ency/article/002954.htm), 17 December 2019.

Mayoclinic.org, Heart-valve-surgery (https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/heart-valve-surgery/about/pac-20384901), 16 December 2019.

Hopkinsmedicine.org, Heart-valve-surgery (https://www.hopkinsmedicine.org/health/treatment-tests-and-therapies/heart-valve-repair-or-replacement-surgery), 17 December 2019.

British Heart Foundation, Heart Valve Surgery (https://www.bhf.org.uk/informationsupport/treatments/valve-heart-surgery), 16 December 2019.

ดูแหล่งข้อมูลเพิ่ม


บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน