ประกันสินเชื่อจำเป็นต้องทำไหม

เรื่องสำคัญที่ทำให้หลายคนกังวลคือค่าเบี้ยประกัน MRTA มักจะค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่เป็นเงินจำนวนหลายหมื่นถึงหลักแสนเลยทีเดียว จริงๆ แล้วประกัน MRTA มีทางเลือกในการลดความคุ้มครองบางอย่างที่ช่วยให้เราสามารถประหยัดค่าเบี้ยประกันและยังคงได้รับประโยชน์หลักๆ อยู่ด้วย ซึ่งเราควรเลือกความคุ้มครองและค่าเบี้ยที่เหมาะกับสถานการณ์ของตนเอง

– เลือกความคุ้มครองเต็ม 100% ของวงเงินกู้ หรือ บางส่วนของวงเงินกู้ เช่น 70% หรือ 80% ของวงเงินกู้ หากเลือกความคุ้มครองแบบไม่เต็มวงเงินนั้น กรณีที่ผู้กู้เสียชีวิต ทุนประกันอาจไม่ครอบคลุมหนี้ทั้งหมด ทายาทจะต้องรับภาระส่วนที่เหลือ

– เลือกความคุ้มครองตลอดระยะเวลาตามสัญญาเงินกู้หรือ เลือกทำประกันเฉพาะช่วงที่จำนวนเงินกู้ยืมสูงๆ เช่น สัญญาเงินกู้ 30 ปี ทำประกัน MRTA ระยะเวลา 10 หรือ 15 ปี โดยหลักในการพิจารณาควรดูว่าหลังจากประกันครบกำหนด ภาระหนี้ที่เหลืออยู่ ควรอยู่ในระดับที่ไม่ทำให้ทายาทที่จะรับภาระต่อไม่เดือดร้อน เพราะหากผู้กู้เสียชีวิตในขณะที่ยอดสินเชื่อยังสูงอยู่ บริษัทประกันจะเป็นผู้รับภาระในการจ่ายหนี้แทน ทำให้ภาระส่วนนี้ไม่ต้องตกมาที่ทายาท แต่หากผู้กู้เสียชีวิตหลังประกันครบกำหนดอายุแล้วในขณะที่ภาระหนี้ไม่สูงมาก ทายาทก็น่าจะสามารถรับผิดชอบภาระส่วนนี้ได้โดยไม่ลำบาก

 

เรื่องต้องรู้ก่อนซื้อประกัน MRTA


ธนาคารไม่สามารถบังคับขายประกัน MRTA: ผูู้ขอสินเชื่อสามารถเลือกทำหรือไม่ทำก็ได้ ไม่มีการบังคับตามกฎหมายแต่อย่างใด โดยสถาบันการเงินไม่สามารถบังคับขายประกัน MRTA และไม่สามารถนำไปเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาการให้สินเชื่อได้

เบี้ยประกันสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้: หากประกัน MRTA มีระยะเวลาเอาประกันตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ผู้ขอสินเชื่อสามารถนำค่าเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ โดยประกัน MRTA มีการจ่ายเบี้ยประกันเพียงครั้งเดียวในปีแรก ดังนั้นเบี้ยประกันดังกล่าว จึงสามารถนำไปลดหย่อนภาษีในปีแรกที่จ่ายเบี้ยประกันได้

ชำระหนี้หมดก่อน ขอเวนกรมธรรม์ได้: หากผู้กู้ชำระหนี้หมดก่อนระยะเวลาคุ้มครองของประกัน MRTA ผู้กู้สามารถขอเวนคืนกรมธรรม์ประกัน MRTA ได้ตามมูลค่าเงินสดคงเหลือ่ในกรมธรรม์ หรือหากไม่ได้ทำเรื่องขอเวนคืนกรมธรรม์ กรณีผู้กู้เสียชีวิตก่อนกรมธรรม์หมดอายุ ผู้รับผลประโยชน์สามารถขอรับสินไหมทดแทนคืนได้

รีไฟแนนซ์ได้ ไม่ต้องยกเลิกประกัน: หากต้องการรีไฟแนนซ์ ผู้กู้สามารถเลือกได้ว่าจะขอเวนคืนกรมธรรม์ประกัน MRTA หรือเลือกเปลี่ยนชื่อผู้รับผลประโยชน์จากสถาบันการเงินเก่าเป็นสถานบันการเงินใหม่ได้

 

ความจำเป็นในการซื้อประกัน MRTA


การพิจารณาความจำเป็นควรเริ่มจากตอบคำถามว่าบ้านหลังที่ขอสินเชื่อนี้จำเป็นสำหรับการอยู่อาศัยของครอบครัวหรือไม่ หากจำเป็นเช่นเป็นที่อยู่อาศัยหลักของครอบครัว ก็แสดงว่ามีความเสี่ยงและควรทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อบ้าน MRTA

ทั้งนี้อาจพิจารณาร่วมกับเงินเก็บ รวมทั้งประกันชีวิตอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วด้วย ว่าหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น ครอบครัวสามารถผ่อนชำระต่อจากคุณได้หรือไม่ หากมีเงินเก็บหรือทุนประกันชีวิตมากพอ หรือสมาชิกในครอบครัวมีรายได้เพียงพอ ก็อาจเลือกทำประกันคุ้มครองวงเงินกู้เพียงบางส่วนหรืออาจไม่จำเป็นต้องทำประกัน MRTA เลยก็เป็นได้

เพราะเราไม่รู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับเราในอนาคต การกู้สินเชื่อและทำประกันคุ้มครองวงเงินเอาไว้ก็ช่วยให้เราอุ่นในได้เปราะหนึ่งนะครับ บางกรมธรรม์มีความคุ้มครองในกรณีที่เราบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ไม่สามารถประกอบอาชีพ หรือพิการไม่สามารถกลับไปทำมาหากินได้ครับ โดยบริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบภาระหนี้สินเชื่อที่คงค้างทั้งหมด

ในที่นี้น้องสมหวังไม่ได้อยากให้เกิดร้ายนี้ขึ้นนะครับ เพียงแต่จะอธิบายว่า การมีประกันคุ้มครองสินเชื่อนี้จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาครับ เห็นว่า บางบริษัทประกันก็มีเงื่อนไขประกันคุ้มครองสินเชื่อช่วยคุ้มครองผู้กู้ในวงเงินรักษาพยาบาลหากเกิดอุบัติเหตุ 20,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งด้วยนะ

ประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ เป็นแผนประกันภัยที่จะช่วยประกันความเสี่ยงให้ทั้งกับผู้ขอสินเชื่อและธนาคารได้ รวมถึงคนในครอบครัวของผู้ขอสินเชื่อเอง ก็ไม่ต้องรับภาระหนักในการชำระหนี้ภายหลัง

หากคุณกำลังมีคำถามว่า ประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อคืออะไรกันแน่? จะตัดสินใจทำดีหรือไม่? บทความนี้ มาทำความรู้จักกับประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อให้มากขึ้น พร้อมความคุ้มค่าจากการทำประกันประเภทนี้

หัวข้อหลัก

ประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA) คืออะไร?

ในการขอสินเชื่อเพื่อบ้านกับธนาคาร จะมีประกันอยู่ 2 ประเภทหลักๆ ที่ต้องทำความรู้จัก นั่นคือ ประกันอัคคีภัย ที่จะช่วยคุ้มครองตัวบ้านและทรัพย์สินภายในบ้าน และประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ที่จะช่วยประกันความเสี่ยงให้ทั้งกับผู้กู้และธนาคารได้

ประกันสินเชื่อจำเป็นต้องทำไหม

ประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ หรือ ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน (Mortgage Reducing Term Assurance : MRTA ) เป็นประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองกับผู้ขอสินเชื่อ ในกรณีที่ผู้ขอสินเชื่อเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรในขณะที่กำลังผ่อนชำระสินเชื่อบ้านอยู่ โดยประกันจะคุ้มครองวงเงินกู้ 100% หรือบางส่วนที่ 70-80% ตามที่ผู้ขอสินเชื่อเป็นผู้เลือก

เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันกับผู้ขอสินเชื่อ บริษัทประกันจะเป็นผู้ชำระหนี้ที่เหลืออยู่ให้กับทางธนาคารตามทุนประกันที่ระบุเอาไว้ในสัญญา จึงช่วยให้ทายาทของผู้ขอสินเชื่อไม่ต้องรับภาระหนักในการชำระหนี้ต่อ 

รูปแบบการคุ้มครองของประกันสินเชื่อบ้าน

ในการเลือกทำประกันสินเชื่อบ้าน ผู้ขอสินเชื่อสามารถเลือกได้ทั้งวงเงินและระยะเวลาคุ้มครองได้ตามต้องการ โดยแบ่งความคุ้มครองออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

1. คุ้มครองแบบคงที่

เป็นรูปแบบการคุ้มครองเต็มวงเงินในทุนประกันตลอดระยะเวลาการคุ้มครอง โดยผู้ขอสินเชื่อสามารถเลือกได้เองว่าจะให้คุ้มครองเต็ม 100% ของวงเงินกู้ หรือคุ้มครองบ้างส่วนที่ 70-80% ได้ ซึ่งก็จะมีผลต่อเบี้ยประกันที่เพิ่มลดตามการคุ้มครอง

แต่การเลือกความคุ้มครองบางส่วนที่ไม่เต็มวงเงิน ก็จะทำให้ทุนประกันชำระหนี้ได้ไม่หมด ทำให้ทายาทของผู้ขอสินเชื่อต้องรับภาระในส่วนที่เหลือต่อ

2. คุ้มครองแบบลดหลั่นตามยอดหนี้คงเหลือ

เป็นรูปแบบการคุ้มครองของประกันที่จะลดลงตามยอดหนี้คงเหลือ ที่ผู้ขอสินเชื่อสามารถเลือกระยะเวลาและทุนประกันในการคุ้มครองได้เอง ไม่ว่าจะเป็น 5 ปี, 10 ปี, 15 ปี จนถึง 30 ปี โดยทุนประกันและความคุ้มครองจะลดลงเรื่อยๆ ตามยอดหนี้ที่ลดลงในแต่ละปี 

จะเลือกการคุ้มครองของประกันสินเชื่อบ้านแบบไหนดี?

หากว่าคุณต้องการทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ เพื่อให้คุ้มครองความเสี่ยงจากเหตุไม่คาดฝันในอนาคต แต่ยังไม่รู้จะเลือกความคุ้มครองแบบไหนดี หลักๆ ให้พิจารณาที่เบี้ยประกันและความคุ้มค่าในการคุ้มครอง 

โดยการคุ้มครองแบบคงที่ จะให้ทุนประกันเท่าเดิมไปตลอดระยะเวลาเอาประกัน เช่น ทุนประกัน 2 ล้านบาท ระยะเวลาเอาประกัน 30 ปี ไม่ว่าจะเกิดเหตุในช่วงปีไหน ก็จะยังได้ทุนประกันจำนวนเต็มตามสัญญา เป็นต้น แบบนี้จะมีเบี้ยประกันที่สูงกว่าแต่ได้รับการคุ้มครองในวงเงินที่สูง

และการคุ้มครองแบบลดหลั่นตามยอดหนี้คงเหลือ ในแต่ละปีทุนประกันจะลดลงไปตามยอดหนี้คงเหลือ ซึ่งจะให้ความคุ้มครองเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันเท่ากับจำนวนเงินกู้ที่ลดลง แบบนี้จะมีเบี้ยประกันที่ถูกกว่า

ถ้าหากว่าจะเลือกแบบไหนที่คุ้มค่ากว่า ก็จะขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยงและความจำเป็นของผู้กู้แต่ละคน โดยค่าเบี้ยประกันก็จะขึ้นอยู่กับเพศ อายุ และ ระยะเวลาความคุ้มครอง ยิ่งมีระยะเวลาคุ้มครองนานขึ้น ค่าเบี้ยประกันก็จะสูงขึ้นตาม

จุดเด่นของประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ

  • ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านถูกลง เนื่องจากการทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อช่วยลดความเสี่ยงทั้งในฝั่งธนาคารและผู้ขอสินเชื่อ รวมถึงระยะเวลาเอาประกันภัยมากขึ้น ก็จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษตามที่ทางธนาคารกำหนด
  • ชำระเบี้ยประกันเพียงครั้งเดียวเท่านั้น จ่ายเป็นก้อนเดียวจบตอนที่เริ่มขอสินเชื่อ ซึ่งจะรวมอยู่ในยอดเงินกู้ที่ทางธนาคารอนุมัติด้วย
  • นำไปลดหย่อนภาษีได้ โดยจะต้องทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ สำหรับกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาเอาประกันภัยตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ก็จะสามารถนำเบี้ยประกันที่จ่ายในปีที่ชำระ ไปลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาได้สูงสุดถึง 100,000 บาท
  • คุ้มครองภาระหนี้สินที่จะตกเป็นของทายาท ทำให้คนในครอบครัวของผู้ขอสินเชื่อไม่ต้องรับภาระหนักในการผ่อนชำระสินเชื่อภายหลัง เนื่องจากทางธนาคารจะได้รับชำระหนี้ต่อจากบริษัทที่รับทำประกันจนครบตามสัญญา
  • เป็นประกันที่ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้ขอสินเชื่อ โดยผู้ขอสินเชื่อมีสิทธิในการเลือกซื้อประกันภัยจากธนาคารได้ตามความความสมัครใจ และปฏิเสธได้หากไม่เป็นไปตามความต้องการของตนเอง (อ้างอิงตามประกาศของ คปภ. พ.ศ. 2561)
  • ประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อสามารถยกเลิกหรือเวนคืนได้ โดยการยกเลิกจะไม่กระทบกับดอกเบี้ยเงินกู้ และได้รับเงินส่วนต่างคืนตามอัตราเวนคืนในกรมธรรม์
  • ไม่ต้องทำประกันใหม่หากรีไฟแนนซ์ เมื่อรีไฟแนนซ์ไปที่ธนาคารอื่น สามารถเปลี่ยนชื่อผู้รับผลประโยชน์เป็นธนาคารใหม่ได้โดยที่ไม่ต้องทำประกันใหม่

การทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ เหมาะกับใครบ้าง?

การเลือกทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ จะมีความคุ้มค่าต่อผู้ขอสินเชื่อแต่ละบุคคลมากน้อยแตกต่างกันไปตามความจำเป็น แล้วใครบ้างที่เหมาะกับการประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ?

ผู้ที่เป็นเสาหลักในครอบครัวที่แบกรับภาระหนี้สิน

ให้พิจารณาดูว่า คุณเป็นเสาหลักในการหาเลี้ยงครอบครัว และรายได้หลักของครอบครัวมาจากคุณใช่หรือไม่ 

หากคำตอบคือใช่ การทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อก็จะช่วยลดภาระหนักให้กับคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นคู่สมรส ลูก พ่อแม่ พี่น้อง ให้ไม่ต้องสานต่อภาระหนี้สินต่อในระยะยาว

ผู้ที่ต้องการส่งต่อให้บ้านหลังนี้เป็นทรัพย์สินของคนในครอบครัว

พิจารณาดูว่า อยากให้บ้านหลังที่กำลังผ่อนชำระกับธนาคารหลังนี้ เป็นมรดกส่งต่อให้กับลูกหลานหรือคนในครอบครัวได้อาศัยต่อไปหรือไม่ 

หากคำตอบคือใช่ การทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อก็จะช่วยในการชำระหนี้ให้กับธนาคารต่อจากคุณในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน ทำให้บ้านหลังนี้ไม่ต้องถูกขายต่อเพื่อนำมาชำระหนี้ที่ค้างอยู่ และเป็นทรัพย์สินของคนในครอบครัวต่อไป

เลือกทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อกับ ธอส.

หากคุณต้องการขอสินเชื่อเพื่อบ้านและทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้านร่วมด้วย ธนาคารอาคารสงเคราะห์มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้าน สำหรับชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA) มาเสนอให้กับคุณ

โดยเรามีสินเชื่อสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และปานกลาง หรือกลุ่มผู้มีรายได้สูง เราก็มีผลิตภัณฑ์พร้อมโปรโมชั่นหลากหลาย ที่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างเหมาะสม

หากคุณสนใจขอสินเชื่อบ้านจาก ธอส. สามารถทำการกรอกข้อมูล เพื่อขอคำแนะนำด้านสินเชื่อ และให้เจ้าหน้าที่ธนาคารติดต่อกลับ >>> ได้ที่นี่

เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ที่คอยให้คำแนะนำ พร้อมเปรียบเทียบและหยิบยื่นข้อเสนอด้านสินเชื่อที่ดีที่สุดให้กับคุณ ติดต่อเราได้ที่