หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากอะไร

►ส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการใจสั่น ใจหวิวๆ เป็นลมหน้ามืดหมดสติ หรือมีอาการเนื่อยร่วมด้วย หรือมีอาการหัวใจกระตุก รู้สึกไม่สะบายในอก

สาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

►ส่วนใหญ่เกิดจากไฟฟ้าหัวใจ ร่างกายจะมีหัวใจที่เป็นอวัยวะที่สามารถสร้างไฟฟ้าได้เอง จะเกิดขึ้นจากการที่หัวใจสร้างไฟฟ้าช้าผิดปกติหรือสร้างไฟฟ้าเร็วผิดปกติ หรือมีจะดกำเนิดจากที่ที่ไม่ควรจะดำเนิดมา

►สาเหตุส่วนใหญ่ นอกจากตัวหัวใจเอง อาจจะมีปัจจัยภายนอก เช่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ 

เบื้องต้นการทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง การทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยการติดอุปกรณ์ไว้ที่หัวใจและแขน ขา ทั้งสองข้าง และมีแผ่นกระดาษที่ปริ้นออกมา แล้วทำให้เราเห็นเป็นคลื่นไฟฟ้า หรืออาจมีการเอาอุปกรณ์ติดไปบ้านให้ไปทำกิจวัตรประจำวัน แล้วติดไว้อาจจะ 24 ชั่วโมง หรือ 48 ชั่วโมง หรือแล้วแต่เครื่อง หรืออาจจะมีการเจาะเลือดหาสาเหตุอื่นๆ หรืออาจจะมีการเดินสายพานดูสมรรถภาพหัวใจ หรืออาจะมีการทำคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ เพื่อดูว่าการทำงานของหัวใจเป็นอย่างไร

นอกจากนั้นแล้วสุดท้ายถ้าเกิดยังหาสาเหตุไม่พบ อาจจะมีการทำการสวนหัวใจเข้าไปดูภาวะการเดินวงจรของไฟฟ้าในหัวใจ

การรักษา เช่น ยา หรือปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นที่มีอาการให้ใจสั่นเหล่านี้ ก็ต้องงดที่สาเหตุ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ งดดื่มกาแฟ อะไรเหล่านี้  แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ก็จะมีการสวนหัวใจเข้าไป แล้วก็จี้ที่มันลัดวงจรนั้น ถ้าสาเหตุเกิดจากภวะหัวใจขาดเลือด เราก็จะรักษาภาวะหัวใจขาดเลือด หรือถ้าสาเหตุนั้นแก้ไขไม่ได้ เช่น ไฟฟ้าเต้นผิดปกติเต้นรัวก็จะต้อง ซ็อตหัวใจ ก็อาจจะต้องใส่อุปกรณ์ เข้าไปในหัวใจแล้วก็ช็อตไฟฟ้า อย่างไรก็แล้วแต่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่ก็เป็นโรคที่มีอันตรายน้องถึงอันตรายมาก อย่างไรก็แล้วแต่ก็ต้องส่งมาปรึกษาอายุรแพทย์โรคหัวใจ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ การที่หัวใจเต้นไม่ปกติ อาจเร็วไปหรือช้าไป เกิดจากมีจุดหรือตำแหน่งในหัวใจเกิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติหรือมีการลัดวงจรของไฟฟ้าในหัวใจ ทำให้เกิดการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ไม่ดี ทำให้เสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว และหลอดเลือดสมองอุดตัน

หากคุณมีอาการเหล่านี้…
เจ็บหน้าอก” เกิดจากหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทำให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ
เป็นลมหมดสติ” เกิดจากหัวใจเต้นช้าหรือเร็วผิดปกติ ทำให้หน้ามืดเป็นลมหมดสติ
เกิดลิ่มเลือดในหัวใจ” เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดแดงใหญ่หรือเส้นเลือดแดงต่างๆ ในร่างกาย

หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากอะไร
หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากอะไร

หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากอะไร
หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากอะไร

หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากอะไร
หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากอะไร

วิธีการตรวจวินิจฉัย

หากมีอาการดังกล่าว หรือเสี่ยงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยได้โดย

หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากอะไร
หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากอะไร
ตรวจคลื่นหัวใจ (EKG) ขณะมีอาการ
หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากอะไร
หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากอะไร
ติดเครื่องบันทึกคลื่นหัวใจ (Holter Monitoring Test) เป็นเวลา 24 – 48 ชั่วโมง
หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากอะไร
หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากอะไร
ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)
หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากอะไร
หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากอะไร
ตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (Echocardiogram)

** สำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิดนั้น ควรหมั่นดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอและเข้ารับการตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี **

หลายๆ คนเคยมีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย ใจสั่น เจ็บหน้าอก อย่าคิดว่าเป็นเรื่องปกติ หรือมองข้ามไป เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของ “ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ” โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และเครียด อาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้


รู้จักภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) คือ ภาวะที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เร็วเกินไปหรือช้าเกินไปทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อาจพบอาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหงื่อออกมาก วิงเวียน หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม เป็นต้น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคหัวใจ หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก และอาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้



หัวใจเต้นปกติ กับ หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นอย่างไร?

หัวใจปกติ จะเต้นอย่างสม่ำเสมอ ด้วยความเร็วที่เปลี่ยนไปตามกิจกรรมของร่างกาย โดยในขณะพักหัวใจจะเต้นประมาณ 60 -100 ครั้งต่อนาที ในขณะเดินหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นประมาณ 100 - 120 ครั้งต่อนาที และมากกว่า 120 ครั้งต่อนาทีในขณะวิ่ง อย่างไรก็ตามนักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังเป็นประจำ อาจมีชีพจรในขณะพักระหว่าง 50 - 60 ครั้งต่อนาที

หัวใจเต้นผิดปกติ คือ ภาวะใดที่เกิดความผิดปกติขึ้นในการนำไฟฟ้าของหัวใจโดยหัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ และมีจังหวะสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดและเสียชีวิตได้ โดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของหัวใจเต้นผิด ปกติเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ หัวใจเต้นช้าผิดปกติ และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผู้ป่วยบางรายอาจมีความผิดปกติทั้งอัตราการเต้น และจังหวะการเต้นของหัวใจก็ได้ เช่น เต้นๆ หยุดๆ และเต้นเร็ว ในบางรายอาจมีเต้นช้าสลับกับเต้นเร็วก็ได้


ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีกี่ชนิด ?

หัวใจเต้นผิดปกติมีไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด แต่ละชนิดจะมีกลไกการเกิด สาเหตุการเกิด อาการ วิธีการรักษา รวมถึงการพยากรณ์โรคที่แตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของหัวใจเต้นผิดปกติเป็นสองแบบใหญ่ๆ คือ

  • หัวใจเต้นช้าเกินไป (Bradyarrhythmia) คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจช้าน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที
  • หัวใจเต้นเร็วเกินไป (Tachyarrhythmia) คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที

โดยแบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้

  • หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) หัวใจจะเต้นไม่เป็นจังหวะและเร็วผิดปกติ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมอง ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้มาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ผู้ที่มีโรคหัวใจ เป็นต้น
  • ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ (Supraventricular Tachycardia) อัตราการเต้นของหัวใจเร็วผิดปกติมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที
  • ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที
  • Heart Block หัวใจจะเต้นช้าผิดปกติ และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
  • หัวใจจะเต้นเร็วผิดปกติและไม่เป็นจังหวะ (Ventricular Fibrillation) เป็นสาเหตุทำให้หมดสติและเสียชีวิตกะทันหัน หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลา ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้น้อย

อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภท ความรุนแรง หรือความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ บางรายอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใดๆ แต่บางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที) หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (น้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที) เจ็บหน้าอก หายใจหอบ วิงเวียนศีรษะ เหงื่อออกมาก หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม หมดสติ เป็นต้น

ผู้ที่มีอาการข้างต้นอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเสมอไป แต่หากมีอาการเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุของอาการต่อไป


หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากอะไร

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีปัจจัยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ ความเครียด ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ อาทิ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือแม้แต่ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ รวมทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่วนมากผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหา


ตรวจวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การจะรู้ว่าเรามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่นั้น แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ และการตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสอบจังหวะการเต้นของหัวใจเบื้องต้น หรืออาจทดสอบเพื่อหาปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังนี้

เมื่อหัวใจเต้นผิดจังหวะควรทำอย่างไร

วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับผู้ป่วยเป็นสำคัญว่าป่วยเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในแบบใด ได้แก่ การให้ยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ การช็อกไฟฟ้าหัวใจเพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นปกติ การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยสายสวนหัวใจชนิดพิเศษ สวนเข้าไปบริเวณเส้นเลือดดำที่ขาหนีบ

อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นอย่างไร

หัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ การที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ โดยอาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าในหัวใจหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุด ...

หัวใจเต้นผิดจังหวะมีอันตรายไหม

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmia) คือ ภาวะที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ อาจเต้นเร็วหรือช้าเกินไป จนทำให้ประสิทธิภาพการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง และอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตัน ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต

หัวใจเต้นผิดจังหวะ กี่ครั้ง

หัวใจเต้นผิดจังหวะมีไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด แต่ละชนิดจะมีกลไกการเกิด สาเหตุ อาการ การพยากรณ์โรคและวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ หัวใจเต้นช้าเกินไป (Bradyarrhythmia) คือเต้นช้าน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที หัวใจเต้นเร็วเกินไป (Tachyarrhythmia) คือเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที