Iphone global standardization strategy ภาษาไทย

International Strategy คือ กลยุทธ์ข้ามชาติที่บริษัทแม่จะเป็นผู้ควบคุมบริษัทสาขาในทุกประเทศด้วยมาตรฐานเดียวกัน ตามแนวคิดการบริหารบรรษัทข้ามชาติแบบ Ethnocentric โดยบริษัทลูกจะมีหน้าที่เพียงแค่ผลิตสินค้า ทำการตลาด และบริการหลังการขายเท่านั้น

โดยกลยุทธ์ข้ามชาติแบบ International Strategy จะนิยมใช้สำหรับสินค้าหรือบริการที่มีมาตรฐานเดียวกันและเหมือนกันทั่วโลกทำให้ไม่จำเป็นต้องปรับสินค้าให้เข้ากับแต่ละท้องถิ่น และในธุรกิจที่ต้องเก็บความลับทางการค้าที่สำคัญซึ่งบริษัทไม่สามารถถ่ายทอดความรู้หรือให้กับบริษัทลูกได้

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เห็นได้ชัดเจนที่มีกลยุทธ์ในลักษณะ International Strategy ก็คือสิ่งที่ใกล้ตัวใครหลายคนอย่าง iPhone และ iPad โดย Apple นั่นเอง

ข้อดีของ International Strategy ก็คือข้อเสียในตัว เนื่องจากแนวคิดการบริหารบริษัทข้ามชาติแบบ Ethnocentric และการเน้นขายสินค้าที่เหมือนกันหมดทั่วโลกเพราะเน้นความเป็นสากล ทำให้สินค้าไม่สามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะของลูกค้าได้เหมือนกับกลยุทธ์แบบ Multidomestic Strategy และ Regional Strategy

อย่างไรก็ตาม ข้อเสียดังกล่าวก็ไม่ได้สำคัญกับสินค้าที่ไม่ได้ต้องการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน เพราะเป็นสินค้าที่มีประโยชน์แบบเดียวกันทั่วโลกอย่าง สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลาย ๆ ชนิด


วิธีดำเนินงานของ International Strategy

อย่างที่บอกว่า International Strategy คือ กลยุทธ์ที่เน้นความเป็นสากลที่ผลิตภัณฑ์ทั่วโลกทั้งหมดเหมือนกัน ทำให้โดยทั่วไปบริษัทที่ใช้กลยุทธ์แบบ International Strategy มีวิธีการดำเนินงานในแต่ละส่วนของห่วงโซ่คุณค่าหรือ Value Chain ดังนี้ 

กิจกรรมสนับสนุนของ Value Chain (Support Activities) และกิจกรรมหลักของ Value Chain (Primary Activities) ในส่วน Upstream จะถูกควบคุมโดยบริษัทแม่ ซึ่งประกอบด้วย

  1. Inbound Logistics (โลจิสติกส์ขาเข้า)
  2. Operations (การผลิตหรือการดำเนินงาน)
  3. Outbound Logistics (โลจิสติกส์ขาออก)
  4. Procurement (การจัดซื้อ)
  5. Technology Development (การวิจัยและพัฒนา)
  6. Human Resource Management (การจัดการทรัพยากรมนุษย์)
  7. Firm Infrastructure (กิจกรรมพื้นฐานขององค์กร)

ส่วนบริษัทลูกจะจัดการได้เพียงกิจกรรมหลัก (Primary Activites) ในส่วนของ Downstream ซึ่งประกอบด้วย

  1. Marketing and Sales (การตลาดและการขาย)
  2. Services (การให้บริการ)

อย่างไรก็ตาม แม้จะบอกว่าบริษัทลูกสามารถจัดการเรื่องเหล่านี้ได้ แต่ถ้าหากเป็นเรื่องใหญ่หรือเรื่องสำคัญก็จะต้องได้รับความเห็นชอบจากบริษัทแม่ก่อนอยู่ดี

จะเห็นว่าทั้งหมดที่บริษัทแม่จะควบคุมบริษัทสาขาทั่วโลกตามวิธีการดำเนินงานแบบ International Strategy คือ เรื่องเกี่ยวกับการผลิตและเรื่องขององค์กรนั่นเอง หรือพูดง่ายให้เข้าใจง่าย ๆ คือบริษัทแม่ควบคุมทุกอย่างยกเว้นการายและบริการหลังการขาย

บริษัทลูกในแต่ละประเทศตามกลยุทธ์บริหารธุรกิจระหว่างประเทศแบบ International Strategy จะมีหน้าที่เพียงแค่ผลิตตามที่สั่ง เพื่อนำสินค้าไปวางขาย และทำการตลาดเท่านั้น

ชื่อแบรนด์และชื่อของสินค้าไม่ใช่คำที่คิดขึ้นมาลอยๆ โดยปกติแล้วการตั้งชื่อสินค้ามักจะถูกวางแผนมาอย่างดี เพราะชื่อปังๆ นั้นส่งผลต่อยอดขายและภาพลักษณ์ของแบรนด์เป็นอย่างมาก การตั้งชื่อสินค้าให้เป็นที่จดจำของผู้คนจึงนับเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า “Naming Strategy” ที่นักการตลาดต้องเรียนรู้และใช้งานให้เป็น

เพราะนอกจากจะช่วยในแง่ของการจดจำแล้ว ชื่อสินค้ายังสามารถถ่ายทอดเรื่องราว จุดยืนและภาพลักษณ์ของแบรนด์เพื่อทำให้ลูกค้าเข้าใจในแบรนด์และสินค้านั้นๆ ได้มากขึ้นอีกด้วย จนอาจกล่าวได้ว่า กลยุทธ์การตั้งชื่อสินค้าเป็นหัวใจที่ทำให้แบรนด์แข็งแกร่ง และเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกวงการธุรกิจเพื่อสร้างความแตกต่างในตลาดได้

กลยุทธ์การตั้งชื่อสินค้าที่แบรนด์ต่างๆ เลือกใช้มีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน เช่น การตั้งชื่อให้มีความคล้องจอง การตั้งชื่อให้ง่ายต่อการจดจำ หรือการตั้งชื่อแบบนับลำดับ เพื่อบ่งบอกว่าสินค้านั้นๆ มีการ ‘อัปเกรด’ ขึ้นมา ซึ่งเราจะเห็นได้บ่อยๆ ในวงการเทคโนโลยี ที่สินค้ามีการปรับปรุงและออกใหม่แทบทุกปี อย่างสมาร์ตโฟน Samsung Galaxy S Series และ iPhone ไปจนถึงระบบปฏิบัติการ Windows 

แต่คุณเคยสงสัยกันหรือไม่ ทำไมรุ่นโทรศัพท์มือถือของ Apple จึงไม่มี iPhone 9 แต่ข้ามไปเป็น iPhone X (ในแง่หนึ่ง ตัว X มีความหมายว่า 10) และนับต่อมาที่ iPhone 11-13 หรือเพราะเหตุใด รุ่นถัดจาก Windows 8 ของ Microsoft จึงเป็น Windows 10 แทนที่จะเป็น Windows 9!

จากการพยายามลองหาข้อมูลในหลายๆ แหล่ง ว่าทำไมแบรนด์ไอทีจึงตั้งชื่อสินค้าแบบ ‘ข้ามรุ่น’ เราก็พบเหตุผลที่แบรนด์ออกมาชี้แจงเองโดยตรง และมีข้อสันนิษฐานอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกด้วย ลองไปดูกันว่า มีเหตุผลใดกันบ้าง

1. เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

บริษัท Microsoft ได้ประกาศว่า ที่เปลี่ยนจาก Windows 8 ไปเป็น Window 10 เนื่องจากการเรียกว่า Windows 9 นั้น จะทำให้เกิดความสับสน เพราะพวกเขามี Windows 95 และ Windows 98 และสองรุ่นนี้เริ่มต้นด้วย 9 อยู่แล้ว นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ Microsoft ต้องข้ามจากเลข 9 ไปใช้เลข 10 แทน

2. เพื่อให้คนรู้สึกว่าเป็นสินค้าที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เป็นนวัตกรรมที่ล้ำหน้า

สำหรับ Apple เอง ก็ได้มีการเปิดเผยว่า การเปิดตัว iPhone X มีจุดมุ่งหมายคือการฉลองครบรอบ 10 ปีนับตั้งแต่ผลิต iPhone รุ่นแรก ทางแบรนด์จึงตัดสินใจใช้เลขโรมัน X ซึ่งหมายถึงเลข 10 ทั้งยังต้องการทำให้คนเห็นว่า แบรนด์กำลังมอบสิ่งที่แตกต่างและล้ำหน้าไปจากเดิมอีกด้วย

ส่วนค่ายคู่แข่งอย่าง Samsung เอง ก็มีการ ‘ข้ามรุ่น’ เช่นกัน โดยเมื่อปีที่แล้ว Samsung ได้ออก Galaxy S20 ซึ่งไม่ได้หมายถึงรุ่นที่ 20 ของซีรีส์ S แต่หมายถึงการเปิดตัวในปี 2020 พร้อมเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดนั่นเอง โดยข้ามจาก S10 ที่เปิดตัวเมื่อปี 2019 ไปเลย และเมื่อต้นปี 2021 Samsung ก็ได้ปล่อยตัว Galaxy S21 ตามด้วยภาพโมเดลของ S22 ที่เพิ่งหลุดออกมาเมื่อไม่กี่วันก่อนเช่นกัน โดยที่ไม่มีการกลับไปนับ S11 ต่อแต่อย่างใด

3. หลีกเลี่ยงเลขไม่เป็นมงคล เพื่อรักษาความเชื่อมั่นของลูกค้า

ข้อสุดท้ายนี้ต้องบอกว่า โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน เพราะจากที่เราลองหาข้อมูลมา มีบางเว็บไซต์วิเคราะห์ว่า ที่ Microsoft ข้ามมาเปิดตัว Windows 10 และ Apple ตัดสินใจอัปเกรดจาก iPhone 8 เป็น iPhone X ก็เพราะในความเชื่อของบางประเทศนั้น เลข 9 คือเลขไม่เป็นมงคล! อย่างเช่นในวัฒนธรรมญี่ปุ่น เลข 9 ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียงคล้ายคำว่า “ความทุกข์ทรมาน” และเลข 9 ในอียิปต์โบราณ มีคำว่า “เก้าคันธนู” ซึ่งเป็นตัวแทนของศัตรูของอียิปต์

อย่างไรก็ตาม เลข 9 ในไทยนั้นกลับตรงกันข้าม เพราะเรามักตีความถึงความก้าวหน้า คล้ายๆ กับวัฒนธรรมจีน ที่ถือว่าเลข 9 เป็นตัวเลขที่ดีเพราะออกเสียงเหมือนคำว่าอายุยืน เป็นสัญลักษณ์ของเวทมนตร์และพลัง 

ด้วยความที่เลข 9 ในบางประเทศหรือบางวัฒนธรรมอาจมีความหมายไม่ดีนัก จึงมีคนวิเคราะห์ว่า สงสัยสองแบรนด์ใหญ่จะหลีกเลี่ยงตัวเลขนี้ เพื่อป้องกันสินค้าขายไม่ดีแน่ๆ 

ไม่ว่าจะด้วยความเชื่อ จิตวิทยา หรือการตลาด แต่ก็ทำให้แบรนด์ดังๆ ใช้วิธีตั้งชื่อรุ่นสินค้าแบบข้ามรุ่นกันพอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์เช่นนี้ไม่ควรใช้บ่อยจนเกินไป เพราะจะทำให้แบรนด์ขาดความเป็นเอกภาพและทำให้คนสับสนได้ ฉะนั้น แบรนด์จำเป็นต้องคำนึงถึงจุดนี้และควรใช้มันให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่สุด

นอกจากแบรนด์ทั้งสามที่เราเล่ามา คุณเห็นสินค้าอะไรที่ตั้งชื่อ ‘ข้ามรุ่น’ อีกบ้าง ลองมาแชร์กัน!

อ้างอิง
https://bit.ly/3i3Hy8A
https://bit.ly/3EQw8yT
https://bit.ly/3i4chCB
https://bit.ly/3lYM3Co

#missiontothemoon 
#missiontothemoonpodcast
#business
#marketing

ติดตามความเคลื่อนไหวและเนื้อหาน่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ https://missiontothemoon.co/