การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ภาษาซี

การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ภาษาซี

ที่มา :: (https://www.krui3.com/content/putchar-puts/)
——————————————————————————————————————————

การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ภาษาซี

        1. ประวัติความเป็นมาของภาษาซี
การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ภาษาซี

        2. ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษาซี
การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ภาษาซี

        3. แนวคิดในการเขียนโปรแกรม
การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ภาษาซี

        4. โครงสร้างของภาษาซี
การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ภาษาซี

        5. คอมเมนต์ในภาษาซี
การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ภาษาซี

        6. กฎการตั้งชื่อ
การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ภาษาซี

——————————————————————————————————————————

การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ภาษาซี

          ภาษาซีเป็นภาษาที่ใช้งานได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลายระดับ ตั้งแต่ไมโครคอมพิวเตอร์ไปจนถึงเมนเฟรม  และเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่น สามารถรวบรวมคำสั่งหลาย ๆ คำสั่งเข้าเป็นคำสั่งเดียว ทำให้โค้ดสั้นกะทัดรัด   อีกทั้งมีลักษณะเป็นภาษาโครงสร้างที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน โดยเน้นที่ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นหลักสำคัญ  ทำให้เข้าใจแนวคิดการพัฒนาโปรแกรมได้เป็นอย่างดี  จึงเหมาะกับผู้ที่เริ่มเขียนโปรแกรมเพื่อฝึกการเขียนโปรแกรมอย่างเป็นขั้นตอน  การแนะนำภาษาซี เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรมภาษาซี และทำให้มองภาพรวมของภาษาซีได้โดยย่อ ทั้งในเรื่องประวัติความเป็นมาของภาษาซี  ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษาซี  แนวคิดในการเขียนโปรแกรม  โครงสร้างของภาษาซี คอมเมนต์ในภาษาซี และกฎการตั้งชื่อ  ก่อนการลงมือเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาซีให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพต่อไปนั้น นักเรียนควรที่จะทำการศึกษา และสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของภาษาซีให้เข้าใจก่อน เพื่อให้ทราบถึงแนวความคิดพื้นฐาน  จนสามารถสรุปเนื้อหาบทเรียน มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง การแนะนำภาษาซี และสามารถนำความรู้ นำทักษะการเขียนโปรแกรมไปใช้ต่อไปได้อย่างถูกต้อง

——————————————————————————————————————————

ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างในการเขียนโปรแกรมที่ชัดเจน ซึ่งมีรูปแบบของโครงสร้างโปรแกรม ดังนี้

การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ภาษาซี

รูปภาพที่ 1 โครงสร้างของภาษาซี

1. ส่วนหัวของโปรแกรม

ส่วนหัวของโปรแกรมนี้เรียกว่า Preprocessing Directive ใช้ระบุเพื่อบอกให้คอมไพเลอร์กระทำการ ใด ๆ ก่อนการแปลผลโปรแกรม ในที่นี่คำสั่ง #include ใช้บอกกับคอมไพเลอร์ให้นำเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุ คือ stdio.h เข้าร่วมในการแปลโปรแกรมด้วย โดยการกำหนด preprocessing directives นี้จะต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ

คำสั่งที่ใช้ระบุให้คอมไพเลอร์นำเฮดเดอร์ไฟล์เข้าร่วมในการแปลโปรแกรม สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ

  • #include <ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์> คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุจากไดเรกทอรีที่ใช้สำหรับเก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ (ปกติคือไดเรกทอรีชื่อ include)
  • #include “ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์” คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟที่ระบุ จากไดเร็คทอรีเดียวกันกับไฟล์ source code นั้น แต้ถ้าไม่พบก็จะไปค้นหาไดเร็คทอรีที่ใช้เก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ

2. ส่วนของฟังก์ชั่นหลัก

ฟังก์ชั่นหลักของภาษาซี คือ ฟังก์ชั่น main() ซึ่งโปรแกรมภาษาซีทุกโปรแกรมจะต้องมีฟังก์ชั่นนี้อยู่ในโปรแกรมเสมอ จะเห็นได้จากชื่อฟังก์ชั่นคือ main แปลว่า “หลัก” ดังนั้น การเขียนโปรแกรมภาษซีจึงขาดฟังก์ชั่นนี้ไปไม่ได้ โดยขอบเขตของฟังก์ชั่นจะถูกกำหนดด้วยเครื่องหมาย { และ } กล่าวคือ การทำงานของฟังก์ชั่นจะเริ่มต้นที่เครื่องหมาย { และจะสิ้นสุดที่เครื่องหมาย } ฟังก์ชั่น main() สามารถเขียนในรูปแบบของ void main(void) ก็ได้ มีความหมายเหมือนกัน คือ หมายความว่า ฟังก์ชั่น main() จะไม่มีอาร์กิวเมนต์ (argument) คือไม่มีการรับค่าใด ๆ เข้ามาประมวลผลภายในฟังก์ชั่น และจะไม่มีการคืนค่าใด ๆ กลับออกไปจากฟังก์ชั่นด้วย

3. ส่วนคำสั่ง/ชุดคำสั่งภาษาโปรแกรม

เป็นส่วนของการเขียนคำสั่ง เพื่อให้โปรแกรมทำงานตามที่ได้ออกแบบไว้

ตัวอย่างโปรแกรมภาษาซี

#include <stdio.h>

main()
{
    printf("Hello world!\n");
}

โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมเพื่อแสดงข้อความอย่างง่าย “Hello world!” ออกทางหน้าจอ เราได้ใช้ฟังก์ชันต่างๆ จากไลบรารี่ stdio.h ของภาษา C ที่สามารถให้เราทำสิ่งต่างๆ ได้ แสดงข้อความออกทางจอภาพหรือรับค่าจากคีย์บอร์ด

Hello world!

นี่เป็นผลลัพธ์การทำงานของโปรแกรมซึ่งจะแสดงผลข้อความ “Hello world!” ออกทางหน้าจอ คุณสามารถเปลี่ยนเป็นชื่อของคุณเองแล้วดูผลลัพธ์


สิ่งสำคัญที่ควรรู้

Blocks

บล็อค คือสิ่งที่กำหนดขอบเขตและควบคุมการทำงานของโปรแกรม ซึ่งจะใช้เครื่องหมาย { และสิ้นสุดด้วย } ในภาษา C บล็อคนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น บล็อคของฟังก์ชัน บล็อคของคำสั่งควบคุม หรือบล็อคย่อยในโปรแกรม และนอกจากนี้บล็อคยังสามารถซ้อนกันได้

#include <stdio.h>

int sum(int a, int b)
{
    return a + b;
}

main()
{
    int x = 3, y = 4;

    if (x < y)
    {
        printf("%d\n", sum(x, y));
    }

    printf("Summation program\n", sum(x, y));
}

ในตัวอย่าง เป็นการใช้บล็อคในภาษา C

Comment

Comment เป็นส่วนของโค้ดที่ไม่มีผลต่อการทำงานของโปรแกรม มันถูกใช้เพื่ออธิบายโปรแกรมสำหรับมนุษย์เข้าใจ ในภาษา C เราสามารถคอมเม้นท์ได้สองวิธี คือ การคอมเมนต์แบบหนึ่งบรรทัดและแบบหลายบรรทัด

// Multiple lines comment example
#include <stdio.h>

main()
{
    /* This is my comment
    This another line comment */
    printf("Hello C language\n");
}

ในตัวอย่าง การคอมเมนต์แบบหนึ่งบรรทัด เราจะใช้เครื่องหมาย Double slash (//) และตามด้วยสิ่งที่เราต้องการคอมเมนต์ และการคอมเมนต์หลายบรรทัด มันจะละเว้นทุกอย่างหลังจากการปรากฏครั้งแรกของเครื่องหมาย Slash star (/*) และสิ้นสุดที่ Star slash (*/)

Semicolon

เซมิโคลอน (Semicolon) (;) เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เพื่อแบ่งแยกคำสั่งภายในโปรแกรม ซึ่งมันหมายถึงการจบคำสั่งนั้นๆ เซมิโคลอนใช้ในภาษาต่างๆ และมันเป็นสิ่งที่บังคับ เพื่อให้ตัวคอมไพเลอร์ของภาษาสามารถแยกแยะคำสั่งในการทำงานได้

int a;
int b = 5; b = 2;
printf("%d", a + b);

ในตัวอย่างเรามีสี่คำสั่ง บรรทัดแรกเป็นการประกาศตัวแปร บรรทัดที่สองคุณจะเห็นสองคำสังอยู่ในบรรทัดเดียวกันและมันสิ้นสุดด้วยเซมิโคลอน บรรทัดที่สามจะแสดงค่าผลรวมของตัวแปร a และ b


Keyword

เป็นกลุ่มคําที่ถูกสงวนไว้โดยเราไม่สามารถใช้คําเหล่านี้ในการประกาศเป็นชื่อตัวแปร หรือฟังก์ชัน นี่เป็น Keyword มาตราฐานในภาษา C

auto break case char
const continue default do
double else enum extern
float for goto if
int long register return
short signed sizeof static
struct switch typedef union
unsigned void volatile while

Keyword เหล่านี้มีหน้าที่การทำงานที่แน่นอนซึ่งขึ้นกับวัตุประสงค์ของมัน int, short, float, double ใช้เพื่อประกาศตัวแปร ในขณะที่ if for while เป็นคำสังในการควบคุมการทำงานของโปรแกรม

การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ภาษาซี