ข่าวอาหารเป็นพิษ ต่างประเทศ

กระทรวงสาธารณสุข เผยเครือข่ายอาหารระหว่างประเทศ แจ้งเตือนประเทศออสเตรเลียเรียกคืนผักสลัดบรรจุในถุงพลาสติก 25 รายการ หลังตรวจพบปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ

ข่าวอาหารเป็นพิษ ต่างประเทศ

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย กระทรวงสาธารณสุข ได้รับการแจ้งเตือนภัยทางอาหารจากฝ่ายเลขานุการของเครือข่ายอาหารปลอดภัยระหว่างประเทศ (INFOSAN Secretariat) เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 (เวลา 05.00 น.) ว่าประเทศออสเตรเลียมีการเรียกคืนสินค้าประเภทผักสลัดบรรจุในถุงพลาสติกที่ผลิตโดยบริษัท Tripod Farmers Pty Ltd. จำนวน 25 รายการ เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อ Salmonella anatum ซึ่งเป็นเชื้อก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ในสินค้าที่ส่งไปขายในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย

นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่อว่า หลังได้รับแจ้งเตือนภัย กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย ได้ประสานกับด่านอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อติดตามตรวจสอบและสกัดกั้นการนำเข้าสินค้าดังกล่าวแล้ว หากเจอให้อายัดสินค้าทันที รวมทั้งจัดทำเอกสารชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและดำเนินการ ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการหรือผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าไปแล้ว ขอให้ติดต่อผู้จำหน่ายหรือตัวแทนจำหน่ายสินค้า เพื่อส่งคืนสินค้าหรือทำลาย ไม่ควรนำมาบริโภคหรือปรุงเป็นอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่ไม่ผ่านความร้อนก่อนรับประทาน เช่น สลัดผักสด เพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้

สำหรับ เชื้อซัลโมเนลลา เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษที่พบได้บ่อย อาการโดยทั่วไปของผู้ป่วยคือ ถ่ายอุจาระเป็นน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ไข้สูง หนาวสั่น ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่ได้รับ ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาทันที แต่ละปีประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ ปีละ 1 แสนกว่าคน ในปี 2559ตั้งแต่ต้นปีถึง 1 กุมภาพันธ์ พบผู้ป่วยแล้ว 9,444 คน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต 

ช็อกจอร์แดน - วันที่ 30 ก.ค. บีบีซี และ จอร์แดนไทมส์ รายงานว่า ชาวจอร์แดนมากกว่า 800 คน ต้องถูกหามส่งโรงพยาบาล เนื่องจากอาหารเป็นพิษ หลังกิน ชาวาร์มาไก่ หรือ เนื้อไก่ย่าง จากร้านอาหารเดียวกันที่เขตไอน์ อัล-บัสรา ชานกรุงอัมมนา เมืองหลวงของจอร์แดน ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 27 ก.ค.

REUTERS

นายซาอัด จาเบอร์ รัฐมนตรีสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้ป่วย 826 คน ติดเชื้อแบคทีเรียแคมไพโลแบคเตอร์ ในจำนวนนี้ 321 คน ยังอยู่ในโรงพยาบาลด้วยอาการทรงตัว 4 คน อยู่ในไอซียู ทั้งหมดพูดตรงกันว่าชาวาร์มาไก่มาจากร้านเดียวกัน ส่วนผู้เสียชีวิต 1 ราย คือเด็กชาย 5 ขวบ หลังมีอาการหัวใจล้มเหลว แม้ว่าแพทย์พยายามฟื้นคืนชีพแต่ไม่สำเร็จ

สื่อท้องถิ่นรายงานว่า ร้านอาหารดังกล่าวเลหลังชาวาร์มาไก่ด้วยการลดพิเศษครึ่งราคา ทำให้ลูกค้าแห่กันมาซื้อเยอะกว่าปกติ คณะผู้ตรวจสอบสาธารณสุขเดินทางไปร้านอาหารต้นเรื่อง พบว่า ตู้แช่เนื้อไก่ทำงานผิดปกติ และ ลูกจ้างเตรียมอาหารนอกตู้แช่โดยไม่ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัย

AFP

เนื้อไก่จึงเน่าเสียและปนเปื้อน ท่ามกลางอากาศร้อนจัดของประเทศ ด้วยอุณหภูมิเกิน 40 องศาเซลเซียส และผลการทดสอบห้องปฏิบัติการพบแบคทีเรียในเนื้อไก่ จึงสั่งปิดร้านอาหาร ทำลายเนื้อไก่เน่าเสียราว 150 กิโลกรัม ที่ยึดมาได้ พร้อมควบคุมเจ้าของร้านอาหารและลูกจ้าง 2 คน ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวน

นักวิชาการจุฬาฯ แนะ “เนื้อไก่”แหล่งโปรตีนสมบูรณ์ ช่วยสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันและสารภูมิคุ้มกันต่างๆ ป้องกันเชื้อโรคจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ร่างกาย ชี้บริโภคโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม ส่งผลดีต่อสุขภาพของคนทุกวัย แนะวิธีเลือกซื้อ

สหภาพนักศึกษาแห่งชาติอิหร่านแถลงว่า นักศึกษาจำนวนมากของมหาวิทยาลัย Karazmi และมหาวิทยาลัย Ark เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เจ็บปวดตามร่างกาย และประสาทหลอน และยังมีนักศึกษาจากอีกอย่างน้อย 4 มหาวิทยาลัยที่ล้มป่วยลงพร้อมๆ กัน

นักศึกษาที่ไม่ได้ป่วยต่างพากันบอยคอตต์ไม่กินข้าวในโรงอาหารเพื่อประท้วงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

แม้เจ้าหน้าที่อิหร่านจะอธิบายว่า สาเหตุที่นักศึกษาล้มป่วยเกิดจาก “แบคทีเรียในน้ำ” แต่ทางสหภาพนักศึกษาเชื่อว่าพวกเขาถูก “วางยาพิษ” อย่างจงใจ

“เหตุการณ์ลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้วที่มหาวิทยาลัยอิสฟาฮาน ซึ่งทำให้เหตุผลของภาครัฐฟังไม่ขึ้น” สหภาพนักศึกษาระบุในถ้อยแถลงผ่าน Telegram

สำนักข่าว Arab News รายงานว่า คลินิกในมหาวิทยาลัยหลายแห่งปิดให้บริการชั่วคราว หรือไม่มียาที่จะรักษาภาวะขาดน้ำ (dehydration) ซึ่งทำให้นักศึกษายิ่งเชื่อว่าพวกเขาถูกวางยาเพื่อสกัดไม่ให้เข้าร่วมการชุมนุมประท้วงใหญ่ 3 วันที่จะสิ้นสุดในวันพุธ (7 ธ.ค.) เพื่อตอบโต้เรื่องที่รัฐบาลอ้างว่าได้ยุบหน่วย “ตำรวจศีลธรรม” ลงแล้ว

ตำรวจศีลธรรม หรือ Gasht-e-Ershad เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2006 เพื่อบังคับใช้กฎการแต่งกายที่เข้มงวดสำหรับสตรี โดยภายหลังการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านเมื่อปี 1979 เป็นต้นมา ผู้หญิงอิหร่านทุกคนก็ถูกกำหนดให้ต้องสวมผ้าคลุมศีรษะในที่สาธารณะ

อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจศีลธรรมเริ่มถูกสังคมตั้งคำถามอย่างหนัก หลังเกิดกรณีที่ มะห์ซา อามินี (Mahsa Amini) หญิงวัย 22 ปี ถูกจับฐานคลุมฮิญาบไม่เรียบร้อยเมื่อเดือน ก.ย. และเสียชีวิตในอีก 3 วันให้หลังระหว่างที่ถูกตำรวจศีลธรรมควบคุมตัว

การจบชีวิตอย่างไร้คำอธิบายของ อามินี ได้จุดกระแสประท้วงใหญ่ทั่วอิหร่าน ซึ่งนอกจากจะมีการเดินขบวนตามท้องถนนแล้ว นักแสดงหญิงชื่อดังชาวอิหร่านบางคน เช่น Hengameh Ghaziani และ Katayoun Riahi ก็ออกมาร่วมแสดงจุดยืนด้วยการแชร์ภาพถ่ายตนเองขณะไม่สวมฮิญาบในที่สาธารณะด้วย

แม้จะเผชิญกระแสลุกฮือของประชาชน ทว่ารัฐบาลอิหร่านก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะยอมอ่อนข้อให้มากนัก โดยหลังจากที่มีข่าวว่าตำรวจศีลธรรมถูกยุบไปแล้ว ภาครัฐก็ออกมาชี้แจงเพิ่มเติมว่าเรื่องดังกล่าว “ยังไม่ยืนยันอย่างเป็นทางการ”

ที่มา : New York Post

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฝืนไม่ไหว! อิหร่านประกาศยุบ ‘ตำรวจศีลธรรม’ หลังคนลุกฮือประท้วงใหญ่นานกว่า 2 เดือน

อิหร่านประกาศยุบหน่วยงาน “ตำรวจศีลธรรม” หลังเกิดเหตุประชาชนออกมาชุมนุมประท้วงทั่วประเทศนานกว่า 2 เดือน โดยมีสาเหตุจากกรณีของ มะห์ซา อามินี (Mahsa Amini) หญิงสาวซึ่งเสียชีวิตระหว่างถูกตำรวจศีลธรรมเข้าจับกุมฐานคลุมฮิญาบไม่เรียบร้อยเ