ความร่วมมือระหว่างประเทศ สรุป

             อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้มีความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของคำว่า “ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการและความร่วมมือเพื่อการพัฒนา” ขอให้ข้อมูลว่า “ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา” หรือ Development Cooperation หมายถึงความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance: ODA  ตามที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD)

ความหมาย
           ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคม ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตของกลุ่มสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือกลุ่มคนไทยด้วยกันในประเทศไทย ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับคนลาวถือว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ และความขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมโลก
ความร่วมมือระหว่างประเทศ สรุป

ที่มา : http://www.siangtai.com/new/index7.php?name=hotnews&file=readnews&id=6622

ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐดังที่กล่าวข้างต้นนั้น อาจมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
             1. ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจกระทำอย่างเป็นทางการโดยรัฐ หรือโดยตัวแทนที่ชอบธรรมของรัฐ เช่นการประชุมสุดยอด การดำเนินการทางการฑูต การแถลงการณ์ประท้วง การยื่นประท้วงต่อองค์การสหประชาชาติ หรืออาจเป็นการกระทำไม่เป็นทางการ เช่น การก่อการร้าย การกระทำจารกรรม การโจมตีประเทศหนึ่งโดยสื่อมวลชนของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งไม่ได้กระทำการในนามของรัฐ เป็นต้น
             2. ความสัมพันธ์ในลักษณะร่วมมือหรือขัดแย้ง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น หากไม่ร่วมมือก็ขัดแย้ง ความสัมพันธ์ในลักษณะขัดแย้ง เช่น สงคราม การแทรกแซงบ่อนทำลาย การขยายจักรวรรดินิยม การผนวกดินแดนของอีกประเทศหนึ่ง ส่วนความร่วมมือ ได้แก่ การกระชับความสัมพันธ์ทางการฑูต การร่วมเป็นพันธมิตร การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและวัฒนธรรมเป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ต่าง ๆ นี้อาจมีลักษณะผสมผสานกันได้ เช่น บางครั้งรุนแรง บางครั้งนุ่มนวล บางครั้งเป็นทางการ บางครั้งกึ่งทางการ หรือบางครั้งร่วมมือในเรื่องหนึ่งแต่ขัดแย้งในอีกเรื่องหนึ่ง เป็นต้น

ความร่วมมือระหว่างประเทศ สรุป

ที่มา : http://www.chaoprayanews.com/2009/02/06/ในหลวง-การต่างประเทศ/

ขอบเขตของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีขอบเขตที่ครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
             1. ความสัมพันธ์ทางการเมือง หมายถึง กิจกรรมข้ามพรมแดนเพื่อมีอิทธิพลหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตลอดจนการตัดสินใจขององค์การหรือรัฐบางต่างประเทศ เช่น การดำเนินการทางการฑูต การทหาร การแสวงหาพันธมิตร การแทรกแซงบ่อนทำลายประเทศอื่น การใช้กำลังบีบบังคับ การกำหนดและดำเนินนโยบายต่างประเทศ เป็นต้น กิจกรรมบางเรื่องอาจไม่เป็นกิจกรรมการเมืองโดยตรง แต่หากมีวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น ก็ถือเป็นกิจกรรมการเมืองเช่นกัน เช่น การแลกเปลี่ยนทีมนักปิงปองระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2514 มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองเนื่องจากประเทศทั้งสองต้องการใช้กีฬาเป็นเครื่องมือผ่อนคลายความตึงเครียด และรื้อฟื้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ หลังจากเป็นศัตรูกันมาตลอด กิจกรรมเช่นนี้เรียกว่า การเมืองระหว่างประเทศ
             2. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ หมายถึง กิจกรรมการแลกเปลี่ยนทรัพยากรด้านบริการหรือวัตถุเพื่อตอบสนองความต้องการในการอุปโภคของผู้แลกเปลี่ยน เช่น การซื้อขายสินค้า การให้ทุนกู้ยืม การธนาคาร เป็นต้น เนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรแตกต่างและไม่เท่าเทียมกัน และยังต้องการทรัพยากรของประเทศอื่นหรือบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกามีทรัพยากรน้ำมัน แต่ยังต้องการรักษาน้ำมันสำรองในปัจจุบันจึงซื้อน้ำมันจากประเทศเม็กซิโก และประเทศอาหรับ ความต้องการทรัพยากรซึ่งกันและกันเช่นนี้ทำให้เกิดความสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากร (วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เกษตรกรรม เทคโนโลยี บริการ ฯลฯ) โดยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าโดยการซื้อขาย ให้ แลกเปลี่ยน ยืม ก็ตาม โดยมีกฎเกณฑ์หรือแนวทางปฏิบัติบางประการทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร การปิดล้อมทางเศรษฐกิจ การตั้งกำแพงภาษี การกำหนดอัตราหุ้นและดอกเบี้ย เป็นต้น ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเช่นนี้ เรียกว่า เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
             3. ความสัมพันธ์ทางสังคม หมายถึง กิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา การศาสนา วัฒนธรรม การพักผ่อนหย่อนใจ การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมข้ามขอบเขตพรมแดนของรัฐ เช่น การส่งฑูตวัฒนธรรมหรือคณะนาฎศิลป์ไปแสดงในประเทศต่าง ๆ การเผยแพร่ศาสนาโดยตัวแทนทางศาสนาของประเทศอื่น การเผยแพร่ศิลปะของประเทศหนึ่งในประเทศอื่น เป็นต้น
             4. ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย เมื่อมีการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ข้ามเขตพรมแดนของรัฐมากขึ้น เพื่อให้กิจกรรมดังกล่าวดำเนินไปโดยเรียบร้อยและมีระเบียบแบบแผน ประเทศต่าง ๆ จึงได้กำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือแนวทางปฏิบัติที่แต่ละประเทศพึงยึดถือปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ขึ้น กฎเกณฑ์หรือระเบียบนี้อาจปรากฏในรูปข้อตกลงลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เป็นต้นว่า สนธิสัญญา อนุสัญญา กติกาสัญญา กฎบัตร ความตกลง ฯลฯ หรืออาจเป็นความเข้าใจกันซึ่งแต่ละฝ่ายยึดถือปฏิบัติโดยไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ ซึ่งเรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีต่างเรียกว่า กฎหมายระหว่างประเทศทั้งสิ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้รัฐ หรือตัวแสดงอื่น ๆ ระหว่างประเทศได้ประพฤติปฏิบัติตนตามกติกาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างกัน และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมโลก ซึ่งครอบคลุมความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการเมือง เช่น สนธิสัญญาทางพันธมิตร สนธิสัญญาทางไมตรี กฎบัตร สหประชาชาติ ด้านเศรษฐกิจ เช่น สนธิสัญญาจัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศ ข้อตกลงเรื่องการค้าและพิกัดภาษี ด้านสังคม เช่น สิทธิมนุษยชน การแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและวัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี เช่น ความตกลงเรื่องการค้นคว้าในอวกาศ เป็นต้น
             5. ความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ประเภทนี้มุ่งให้มีการแลกเปลี่ยนพัฒนาความรู้และความช่วยเหลือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น มีการร่วมมือกันค้นคว้าทดลองและวิจัยในบริเวณทวีปแอนตาร์กติกา การร่วมมือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์หลายประเทศ เพื่อกำจัดโรคภัยไข้เจ็บสำคัญ เช่น โรคมะเร็ง การร่วมมือกันส่งเสริมพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การให้รางวัลระหว่างประเทศ จัดการประชุมสัมมนาระหว่างประเทศ เป็นต้น

ความร่วมมือระหว่างประเทศ สรุป

http://megaclever.blogspot.com/2008/07/blog-post_6269.html

ความร่วมมือระหว่างประเทศ สรุป

รูปแบบความร่วมมือระหว่างประเทศมีอะไรบ้าง

องค์กรระหว่างประเทศ.

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

วัตถุประสงค์หลักที่สำคัญ มีดังนี้ 1. เพื่อรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ 2. เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างประชาชาติ โดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิอันชอบธรรม

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศส่งผลต่อโลกอย่างไร

1. พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าทวิภาคี 2. สนับสนุนการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก 3. ลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกทางด้านการค้า การค้าบริการ และการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก โดยให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก

องค์การระหว่างประเทศมีความสำคัญอย่างไร

บทบาทขององค์การระหว่างประเทศ คือ ช่วยวางระเบียบวาระในระดับสากล เป็นตัวกลางในการเจรจาทางการเมือง จัดให้มีพื้นที่สำหรับการริเริ่มทางการเมือง และกระตุ้นการสร้างพันธมิตร ตลอดจนกำหนดประเด็นโดดเด่นต่าง ๆ เพื่อช่วยให้รัฐบาลกำหนดลำดับความสำคัญ