สินทรัพย์ไม่มีตัวตน งบการเงิน

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible assets) เช่นสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ค่าความนิยม (เป็นผลต่างของราคาซื้อกิจการที่สูงกว่าราคาสินทรัพย์สุทธิทางบัญชี)

การบัญชีสำหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน มีปัญหาเช่นเดียวกับสินทรัพย์ถาวาร คือราคาที่จะบันทึกเป็นสินทรัพย์ครั้งแรก การตัดเป็นค่าใช้จ่ายและการปรับปรุงลดราคาบัญชี ในกรณีที่สินทรัพย์มีค่าลดลงมากเป็นการถาวร ความมีอยู่จริงของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เป็นต้น

เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน ซึ่งมีความแตกต่างกันในลักษณะอายุการใช้ประโยชน์ ความเกี่ยวพันกับการดำเนินงาน และการตัดบัญชี อาจพิจารณาจากหลักเกณฑ์ต่างๆดังต่อไปนี้

1. ประโยชน์ที่จะได้รับ สินทรัพย์บางอย่างอาจทราบถึงประโยชน์ที่กิจการจะได้รับในอนาคตอย่างแน่นอน แต่สินทรัพย์บางอย่างไม่อาจทราบถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นโดยตรงได้

2. วิธีได้มาซึ่งสินทรัพย์ สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนบางรายการซื้อจากกิจการหรือบุคคลอื่นโดยเฉพาะ บางรายการซื้อรวมกับสินทรัพย์อื่น บางกรณีได้จากการรวมกิจการ หรือบางกรณีได้จากการพัฒนาสินทรัพย์นั้นเอง

3. ระยะเวลาที่จะได้รับประโยชน์ สินทรัพย์บางรายการให้ประโยชน์แก่กิจการภายในระยะเวลาที่จำกัด โดยกฏหมายหรือสัญญา หรือเกี่ยวพันกับบุคคลและภาวะเศรษฐกิจ แต่บางรายการไม่มีระยะเวลาให้ประโยชน์ที่แน่นอน

4. การแยกออกจากกิจการ สินทรัพย์บางรายการอาจจำหน่ายจ่ายโอนไปได้ แต่บางรายการไม่อาจแยกจากกิจการได้โดยเด็ดขาด

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน จำแนกตามอายุการใช้ประโยชน์ได้ 2 ประเภทดังนี้

1. สินทรัพย์ที่มีอายุการใช้ประโยชน์จำกัดโดยกฏหมาย ข้อตกลง หรือสภาพของสินทรัพย์นั้น เช่นสิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ สินทรัพย์เหล่านี้จะต้องตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายตามอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์

2. สินทรัพย์ที่มีอายุการให้ประโยชน์ไม่จำกัด เช่นค่าความนิยมและเครื่องหมายการค้า สินทรัพย์เหล่านี้ควรตัดบัญชีเป็นค่าใช้จายให้หมดไปเช่นเดียวกัน

1. เพื่อให้ทราบความถูกต้องของราคาสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน

2. เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของนโยบายการตัดบัญชีสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน

3. เพื่อให้ทราบว่าการซื้อ การขาย การขออนุญาตให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์และการตัดบัญชีสินทรัพย์ที่ไม่ตัวตนมีการอนุมัติโดยถูกต้อง

4. เพื่อให้ทราบว่ารายได้ที่เกิดจากสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนมีการบันทึกโดยถูกต้อง

5. เพื่อให้ทราบว่าได้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับราคาสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนและการตัดบัญชีโดยถูกต้อง

ราคาสินทรัพย์ไม่มีตัวตนและการตัดบัญชี

(หมายเหตุ: ตามมาตรฐานการบัญชีเก่า)

สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนบันทีกราคาที่กิจการได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้นจากกิจการหรือบุคคลอื่น หรือต้นทุนในการพัฒนาสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนขึ้นเอง ในกรณีหลังนี้ ถ้าไม่ปรากฏว่ากิจการจะได้รับประโยชน์จากรายจ่ายนั้น หรือไม่ทราบระยะเวลาที่จะได้รับประโยชน์อย่างแน่นอน ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในปีที่มีการจ่ายเงิน

กรณีซื้อสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนโดยเฉพาะ ราคาทึนของสินทรัพย์นั้นได้แก่ เงินสดที่กิจการจ่ายไป ราคาตลาดของสินทรัพย์อื่นที่ใช้แลกเปลี่ยน มูลค่าปัจจุบันของหนี้สินที่เกิดขึ้น หรือราคาตลาดของหุ้นที่ออกให้เพื่อแลกเปลี่ยน ถ้ากิจการซื้อสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนกับสินทรัพย์อื่น ให้ตีราคาสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนตามราคาตลาด หรือใช้ผลต่างระหว่างราคาซื้อกิจการกับราคาสินทรัพย์ประเภทที่กำหนดราคาทุนได้ ในกรณ๊ที่กิจการรับโอนสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนอื่นมาพร้อมกับค่าความนิยมซี่งไม่ทราบประโยชน์ที่จะได้รับลแน่นอน ให้แยกราคาสินทรัพย์อื่นนั้นออกจากค่าความนิยม

ตามหลักการบัญชี (หมายเหตุ โปรดตรวจสอบ มาตรฐานการบัญชีมีการเปลี่ยนแปลง) สินทรัพย์ที่ไม่ตัวตอนจะหมดค่าไปในอนาคต ดังนั้น จะต้องมีการตัดบัญชีค่าความนิยมเป็นค่าใช้จ่ายภายในระยะเวลาที่กิจการจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์นั้น เกณฑ์ในการพิจารณาระยะเวลาประโยชน์ที่จะได้รับ ได้แก่

1. กฏหมาย หรือเงื่อนไขของสัญญา

2. เงื่อนไขที่ให้ขยายระยะเวลาหรือต่ออายุใช้ประโยชน์

3. ผลกระทบของการล้าสมัย ความเสียหายทางการตลาด การแข่งขัน และสาเหตุทงเศรษฐกิจอื่นๆ ต่ออายุการใช้ประโยชน์

4. ประโยชน์จากการใช้สินทรัพย์ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำงานให้แก่กิจการ

5. ปฏิกริยาของคู่แข่งขันและบุคคลอื่นเป็นผลทำให้ฐานะการได้เปรียบของกิจการลดน้อยลง

6. ระยะเวลาที่จะได้รับประโยชน์ไม่แน่นอน และประโยชน์ที่จะได้รับไม่อาจคาดคะเนได้

7. ระยะเวลาที่จะได้รับประโยชน์ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆหลายอย่าง

จากการวิเคราะห์ข้อพิจารณาข้างต้น จะทำให้ทราบถึงระยะเวลาที่จะตัดบัญชีสินทรัพย์ไม่มีตัวตนให้หมดไป วิธีการตัดให้ใช้วิธีเส้นตรง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าวิธีอื่นให้ผลที่ถูกต้องกว่า กิจการควรทบทวนระยะเวลาที่ตัดบัญชีเป็นครั้งคราว หากปรากฏว่าอายุการใช้ประโยชน์เปลี่ยนแปลงไป

1. การซื้อ การจำหน่าย การตัดบัญชี ต้องได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการ

2. ต้องมีการบันทึกสินทรัพย์ที่ไม่ตัวตนไว้ในบัญชีรายละเอียดหรือทะเบียน

3. กำหนดนโยบายการหักราคาสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายประจำไว้โดยแน่นอน

4. มีการสอบทานว่ารายได้จากสินทรัพย์เป็นจำนวนเหมาะสมหรือไม่ และสินทรัพย์ยังมีค่าอยู่จริงหรือไม่

วิธีการตรวจสอบสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

1. วิเคราะห์บัญชีสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

2. ตรวจสอบหลักฐานประกอบรายการเพิ่มระหว่างปี

3. ตรวจสอบรายได้จากสินทรัพย์

4. ตรวจสอบการตัดบัญชีสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

ตัวอย่างสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

ค่าความนิยม (Goodwill)

โดยทั่วไปเข้าใจว่า ค่าความนิยม หมายถึง ชื่อเสียงของกิจการที่ตั้งมานาน การที่มีลูกค้าติดต่อมาก และความสามารถทำกำไรในอัตราสูงกว่าปกติ ในทางบัญชี ค่าความนิยม เกิดขึ้นเมื่อมีการซื้อขายหรือควบรวมกิจการ กิจการที่ซื้อ/รับโอน จะบันทึกค่าความนิยมเป็นจำนวนเท่ากับส่วนที่สูงกว่าราคาซื้อขายกับมูลค่าของสินทรัพย์สุทธิที่ตีราคาใหม่แล้ว

สิทธิบัตร (Patents)

พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ให้กรมทะเบียนการค้า (ปัจจุบัน กรมทรัพย์สินทางปัญญา) มีอำนาจหน้าที่รับจดทะเบียนการประดิษฐ์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ และออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้มีการค้นคว้าวิจัยและประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี และออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์และเป็นการก้าวหน้าเทคนิตในเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมในประเทศ และให้ผู้ประดิษฐ์และผู้อออกแบบผลิตภัณฑ์ได้รับความคุ้มครองผลงานที่ทำขึ้น โดยห้ามมิให้บุคคลอื่นลอกเลียนแบโดยมิให้ค่าตอบแทน

เครื่องหมายการค้า (Trademarks)

เครื่องหมายการค้าเป็นการให้ความคุ้มครองแก่เครื่องหมายซึ่งใช้หรือจะใช้กับสินค้า โดยมุ่งให้ความคุ้มครองชื่อเสียงของเจ้าของผู้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น เครื่องหมายการค้ามีระยะเวลาการคุ้มครอง 10 ปี แต่อาจต่ออายุได้

เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นจำนวนเงินไม่มาก กิจการโดยทั่วไปจะบันทึกเป็นค่าใช้จายในปีที่จ่ายจริง ในกรณีที่ต้นทุนการได้มาซึ่งเครื่องหมายการค้าเป็นจำนวนเงินมาก เช่นซื้อเครื่องหมายการค้าจากกิจการอื่น อาจถือเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

สัมปทาน (Franchises)

สัปทานเป็นสิทธิพิเศษที่ทางราชการให้แก่กิจการเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอยู่ในความควบคุมของทางราชการ เช่น การสาธารณูปโภค การทำเหมืองแร่ เป็นต้น โดยผู้ที่ได้รับสัมปทานต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขบางอย่างที่ทางราชการกำหนดไว้ ผู้รับสัมปทานจะต้องเสียค่าธรรมเนียมล่วงหน้าจำนวนหนึ่งหรือเสียค่าธรรมเนียมรายปี

ราคาซึ่งลงไว้ในบัญชีสัมปทาน ได้แก่ ราคาซื้อหรือค่าใช้จ่ายในการขอสัมปทาน ค่าธรรมเนียมล่วงหน้า ส่วนค่าธรรมเนียมรายปีลงเป็นค่าใช้จ่ายของแต่ละปี การตัดบัญชีสัมปทานเป็นค่าใช้จ่ายต้องตัดให้หมดไปภายในอายุของสัมปทาน

(โปรดอ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับสิทธิบัตร ลิขสิทธิ เครื่องหมายการค้า ได้ที่เว็บไซด์กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ประวัติ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่ : http://www.ipthailand.go.th/th/faq/item/ประวัติกรมทรัพย์สินทางปัญญา.html

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง : http://www.ipthailand.go.th/th/dip-law-2.html )

การแสดงรายการในงบแสดงฐานะทางการเงิน

สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนแสดงด้วยราคาทุนหักด้วยจำนวนที่ตัดเป็นค่าใช้จ่ายแล้ว โดยระบุชื่อของสินทรัพย์ไว้ และแจ้งนโยบายการตัดบัญชีไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

อ้างอิง/เครดิต :

การสอบบัญชี พยอม สิงห์เสน่ห์

สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน มีอะไรบ้าง

สินทรัพย์ไม่มีตัวตนแยกออกเป็น สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุการใช้งานจำกัดตามข้อบังคับของกฎหมายหรือตามสัญญา เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สิทธิการเช่า สัมปทาน รายชื่อลูกค้า สัญญาต่างๆ และสินทรัพย์ที่ไม่จำกัดอายุการใช้งาน เช่น เครื่องหมายการค้า ค่าความนิยมที่สามารถระบุได้ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุการใช้งานจำกัด ได้แก่

สินทรัพย์ไม่มีตัวตนต้องมีคุณสมบัติตามข้อใด

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่ใช่ตัวเงิน แต่สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ ไม่สามารถจับต้องได้ อยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการ และจะให้ผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต

สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ มีอะไรบ้าง

Intellectual Design Group.
สิทธิบัตร ( Patent ).
ลิขสิทธิ์ ( Copyrights ).
สิทธิการเช่า ( Leasehold ).
สัมปทานและการอนุญาตให้ใช้สิทธิ ( Franchises and Licening ).
เครื่องหมายการค้าและยี่ห้อการค้า ( Trademark and Tradename ).
ค่าความนิยม ( Goodwill ).

ข้อใดจัดเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Asset) คือ สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้และไม่มีกายภาพตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สัมปทาน เป็นต้น