วาล์วไอดี ไอเสีย อันไหนใหญ่กว่า

ทำไมช่วงนี้เครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์สตาร์ทติดยาก เครื่องสั่นกระตุก เสียงดังแปลก ๆ ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดจากวาล์วมอเตอร์ไซค์จม หรือวาล์วรั่ว แต่ก่อนที่จะมองหาวิธีแก้ไขปัญหา เราขอพาทุกคนมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า วาล์วมอเตอร์ไซค์นั้นมีกี่ประเภท?

โดยปกติแล้ววาล์วเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ประกอบไปด้วยวาล์ว 2 ประเภท คือ วาล์วไอดีและวาล์วไอเสีย ซึ่งวาล์วไอดีจะมีขนาดใหญ่กว่าวาวล์วไอเสีย ทำให้ไอดีไหลเข้ากระบอกสูบด้วยความดันบรรยากาศได้สะดวก 

โดยตำแหน่งการวางของวาล์วไอดีและวาล์วไอเสียจะอยู่ที่บริเวณฝาสูบเครื่องยนต์ ซึ่งหน้าที่ของวาล์วทั้ง 2 ประเภทนี้ คือ 

1. วาล์วไอดี เป็นวาล์วที่ป้อนอากาศเข้าไปในห้องเผาไหม้ เพื่อทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทติด

2. วาล์วไอเสีย เป็นวาล์วที่คายไอเสียจากจุดระเบิดออกทางท่อไอเสีย

และเมื่อเครื่องยนต์ถูกใช้งานไปในระยะหนึ่ง วาล์ว หลอดวาล์ว และบ่าวาล์ว จะเกิดการสึกหรอได้ และหากไม่ดูแลไส้กรองอากาศให้สะอาด จะทำให้ฝุ่นละอองในอากาศเข้ามาอยู่ในห้องเผาไหม้ ส่งผลให้วาล์วและบ่าวาล์วสึกหรอได้รวดเร็วกว่าปกติ ซึ่งทำให้เกิดอาการวาล์วจมหรือรั่วได้นั่นเอง

หากวาล์วรั่วจะเกิดอะไรขึ้น ?

ถ้ามีเชื้อเพลิงอยู่ภายในท่อไอดี และวาล์วเกิดอาการรั่ว จะทำให้เกิดการระเบิดในท่อไอดี ส่งผลให้เกิดความเสียหายที่เรียกกันว่า Back fire และถ้าหากวาล์วไอเสียรั่ว จะทำให้แคทตาไลติก (Catalytic) ละลาย และออกซิเจนเซ็นเซอร์เกิดความเสียหาย

อาการของการเกิดวาล์วรั่ว

- เครื่องยนต์สตาร์ทติดยาก ไม่มีกำลัง รอบเครื่องต่ำ 

- เครื่องยนต์เกิดอาการสวิง เครื่องสั่นและกระตุก

- สิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิงมากกว่าปกติ

- ไฟ Auto กระพริบ และขึ้นว่าออกซิเจนเซนเซอร์ทำงานผิดปกติ

วาล์วรั่ว มีวิธีแก้อย่างไร ?

เปลี่ยนหลอดวาล์ว บ่าวาล์วไอเสีย บ่าวาล์วไอดีใหม่ทั้งหมด โดยทำการถอดวาล์วเก่าออก และใส่วาล์วใหม่เข้าไป  โดยต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการปาดบ่าวาล์วให้ได้ตามองศาของวาล์ว

ดังนั้นสรุปได้ว่า วาล์วมีหน้าที่ทำให้เครื่องยนต์สตาร์ติดและคายไอเสียออกมาจากทางท่อไอเสีย ซึ่งถ้าหากวาล์วมีปัญหาเกิดขึ้นนั้น ควรทำการเปลี่ยนวาล์วใหม่ทั้งหมด เพื่อทำให้การเผาไหม้และการคายไอดีไอเสียออกมาอย่างสมบูรณ์ และทำให้เครื่องยนต์สามารถกลับมาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น เครื่องยนต์กลับมาสตาร์ทติดง่าย เครื่องยนต์หายเครื่องสั่นหรือกระตุก รอบเครื่องกลับมาเป็นปกติ และประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น เป็นต้น

แต่หากพบปัญหาใดเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่เรากล่าวมาข้างต้น ควรรีบนำรถเข้าศูนย์เพื่อให้ช่างตรวจสอบอย่างละเอียด ด้วยความห่วงใยจาก 35 ยนตรการ

คำว่า วาวล์  ( valve ) แปลเป็นไทยคือ ลิ้น ซึ่งเป็นชิ้นส่วนหนึ่งที่บรรจุอยู่ในเครื่องยนต์ ถือว่าเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญมากชิ้นหนึ่ง จะมีด้วยกัน 2  ลักษณะ คือ วาวล์ทางด้านไอดีและไอเสีย จะมีขนาดและรูปร่างอาจจะเหมือนกันหรือแตกต่างกันแล้วแต่การออกแบบรถยนต์รุ่นนั้นๆ และการที่จะมีจำนวนเท่าไร ก็แล้วแต่การออกแบบรถยนต์รุ่นนั้นๆเช่นกัน

วาวล์จะถูกติดตั้งอยู่ในฝาสูบซึ่งจะเป็นห้องเผาไหม้ในเครื่องยนต์ จะมีการปล่อยไอดีไหลเข้าและปล่อยไอเสียไหลออกหลังจากการเผาไหม้แล้ว ระยะการเปิดและปิดขึ้นอยู่กับการคำนวนของรถยนต์รุ่นนั้นๆซึ่งจะมีการทำงานกับชิ้นส่วนต่างๆมากมายแต่ตัวของวาวล์จะทำหน้าที่เพียงแค่ปิด - เปิดเท่านั้น การออกแบบของวาวล์จะต้องทนต่อความร้อนได้ดีเพราะเป็นผลจากการเผาไหม้นั่นเอง

การเปลี่ยนแปลงของระยะห่างวาวล์สามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น การสึกหรอของวาวล์ , การสึกหรอของบ่าวาวล์  คราบเขม่าซึ่งเป็นผลมาจากการเผาไหม้ หรือแม้กระทั่งการเลือกใช้ประเภทของเชื้อเพลิง เป็นต้น

หากระยะห่างผิดปกติไปจากเดิมส่งผลกระทบต่อเครื่องยนต์หลายอย่างเป็นต้นว่า ระยะห่างวาวล์มีมาก ก็จะเกิดเสียงดังมิหนำซ้ำระยะการเปิดวาวล์ก็น้อยลงเมื่อเป็นเช่นนี้การเผาไหม้ก็ทำใด้ไม่ดีพอกำลังที่ได้ทั้งแรงม้าและแรงบิดก็ตกลง  การบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงย่อมมีมากขึ้นตามลำดับ  แต่ถ้าระยะห่างวาวล์มีน้อยก้ไม่เป็นผลดีอีกเช่นกัน เพราะการเปิด-ปิดน้อยก็รับอากาศเข้าได้น้อยคายไอเสียก็ได้น้อยส่งผลให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ กำลังเครื่องยนต์ก็ตก มลพิษเกิดมากส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตอีก ในบางครั้งทำให้ความร้อนขึ้นสูงมากกว่าปกติ หากรถยนต์ของท่านถึงระยะทางที่กำหนดแล้ว  ควรเข้ารับการตรวจพร้อมการปรับตั้งก็จะดีอย่างมากต่อรถยนต์ของคุณ

จริงอยู่ว่ารถยนต์สมัยใหม่  มีขบวนการที่ซับซ้อน  จะต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษ  ช่างจะต้องมีทักษะที่สูง  มีคู่มือประกอบในการปฏิบัติ  ใช้เวลานานในการปรับตั้งมากในแต่ละตัวและแต่ละครั้ง  ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงทั้งค่าแรงและค่าอะไหล่  จนบางครั้งไม่ค่อยกล้าทำกันเท่าใดนัก  สมัยก่อนจะมีการปรับตั้งวาวล์ตั้งแต่  1000 กม. แรก และ ทุกๆ 10000 กม. ถัดมา แต่เดียวนี้ตรวจสอบและปรับตั้งประมาณ 100000 กม. ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเป็นวาวล์แบบไฮโดรลิคแทบไม่ต้องทำการใดๆอีกด้วย  สำหรับรถยนต์ที่ใช้ก๊าซการปรับตั้งวาวล์จะต้องรับการตรวจเช็คอย่างเคร่งครัด  ตามที่ระบุอยู่ในคู่มือการใช้รถครับ ( oem ) เช่น ลีโม่ และโคโรลล่า CNG แต่สำหรับมีการติดตั้งเองนั้น ควรกระทำตามช่างที่ติดตั้งแนะนำครับ

หากมีการกระทำตามกำหนด  จะส่งผลดีต่อเครื่องยนต์อย่างยิ่งในบางครั้งจะใด้ความรู้สึกอย่างชัดเจนเลยทีเดียว  ปัญหาบางปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์แล้วหาสาเหตุไม่เจอ  เปลี่ยนอะไหล่แล้วก็มากมายอาการขัดข้องก็ยังมีอยู่   ในความเป็นจริงแล้ว  อาจถูกมองข้ามกันไปว่าสาเหตุแท้จริงแล้วอาจเกิดจากการที่วาวล์มีปัญหา  คือ  ระยะห่างไม่ถูกต้องก็เป็นได้  ดังนั้น การที่เจ้าของรถมีความเอาใจใส่กับรถยนต์ของตนเองหรือทำตามคำแนะนำของผู้ผลิตรถยนต์  สำหรับการตั้งวาวล์ทุกระยะนั้นมีแต่สิ่งดีครับผม

ในที่นี้ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่ารถยนต์ประเภทใด  อย่างไร  จะปรับตั้งวาวล์เท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับการออกแบบเครื่องยนต์รุ่นนั้นๆครับ     

และไม่แน่ใจว่าปัจจุบัณมีการระบุอยู่คู่มือการใช้รถหรือไม่     แต่ถึงอย่างไรการปรับตั้งวาวล์ควรมิควรแล้วแต่เจ้าของรถทุกท่านครับ  ท้ายนี้ขอให้ผู้อ่านทุกท่านมีความสุข  สวัสดีครับ...      

ทำไมวาล์วไอเสียเล็กกว่าไอดี

การไหลของไอดีและไอเสีย ส่วนด้านของไอเสียนั้นเราจะใช้ขนาดที่เล็กกว่า เพราะว่าจังหวะคายไอเสีย เพื่อที่จะออกจากระบอกสูบ ไอเสียจะมีแรงดันมาจากกำลังอัดและแรงระเบิด

ไอดี กับไอเสีย ต่างกันอย่างไร

วาล์วไอดี คือ วาล์วที่กดเปิดช่องรับอากาศจากภายนอกมาเพื่อเข้าสู่กระบวนการติดของเครื่องยนต์ วาล์วไอเสีย คือ วาล์วที่เปิดและปล่อยไอเสียที่จุดระเบิดคลายออกทางท่อไอเสีย

ขนาด วาล์ว Scoopy

วาล์วไอเสีย Scoopy-i (21มิล) แท้ศูนย์ฮอนด้า (ราคา/1ชิ้น) ขนาด21 มิล 14721-KVY-900.

วาล์วไอดีจะเปิดรับไอดีในจังหวะใด

จังหวะดูด ลูกสูบจะเคลื่อนที่ลงและวาล์วในไอดีจะเปิดออก ไอดีจะถูกดูดเข้ากระบอกสูบจากสภาพสุญญากาศภายในกระบอกสูบ เมื่อลูกสูบเคลื่อนลงต่ำสุดวาล์วไอดีก็จะปิดครับ จังหวะอัด ลูกสูบเคลื่อนที่จากจุดต่ำสุดขึ้นไป (วาล์วไอดีและไอเสียปิดอยู่) ไอดีในกระบอกสูบจะถูกอัดให้มีปริมาตรเล็กลง