Induction motor หลักการทํางาน

ส่วนประกอบของมอเตอร์เหนี่ยวนำ3เฟส

        มอเตอร์เหนี่ยวนำ  3 เฟส  เป็นมอเตอร์ที่นิยมใช้งานกันทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะมอเตอร์เหนี่ยวนำ  3 เฟส ชนิดที่มีโรเตอร์แบบกรงกระรอก มีข้อดี คือ ไม่มีแปรงถ่าน  ทำให้การสูญเสียเนื่องจากความฝืดมีค่าน้อยมีตัวประกอบกำลังสูงการบำรุงรักษาต่ำการเริ่มเดินทำได้ไม่ยากความเร็วรอบค่อนข้างคงที่  สร้างง่าย  ทนทาน  ราคาถูก  และมีประสิทธิภาพสูงแต่มีข้อเสีย  ได้แก่  การเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบของมอเตอร์ทำได้ยาก  ปัจจุบันได้มีการพัฒนาชุดควบคุมอินเวอร์เตอร์ใช้สำหรับปรับความเร็วรอบของมอเตอร์และเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย

        มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ  เป็นเครื่องกลไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล  ในการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกลนี้  พลังงานไฟฟ้าไม่ได้นำเข้าสู่ที่โรเตอร์โดยตรง  แต่ได้จากการเหนี่ยวนำ (Induction) จึงนิยมเรียกมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับว่า  มอเตอร์เหนี่ยวนำ  (Induction Motor)

        มอเตอร์เหนี่ยวนำ  3 เฟส  แบ่งออกได้  แบบ  ได้แก่  แบบโรเตอร์กรงกระรอก (Squirrel cage Rotor) และโรเตอร์แบบพันขดลวด (Wound Rotor) มอเตอร์ทั้งสองแบบนี้จะมีส่วนประกอบที่เหมือนๆ กัน คือ ส่วนที่อยู่กับที่  แต่จะแตกต่างกันเฉพาะส่วนที่เคลื่อนที่เท่านั้น 

Induction motor หลักการทํางาน

  ส่วนที่อยู่กับที่  ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้            

1.  โครงมอเตอร์  (Frame) ทำจากเหล็กหล่อเหนียว หรือเหล็กเหนียวเป็นรูปทรงกระบอกกลวงมีฐานเป็นขาตั้ง  ด้านข้างตัวมอเตอร์จะมีกล่องสำหรับต่อสายไฟ (Terminal Box) โครงทำหน้าที่จับยึดแกนเหล็กที่พันขดลวดให้แน่นอยู่กับที่  และรองรับน้ำหนักทั้งหมดของมอเตอร์ที่ผิวด้านนอกของโครงจะออกแบบให้มีครีบ  เพื่อช่วยในการระบายความร้อนของมอเตอร์

Induction motor หลักการทํางาน

  รูปที่ 8.2 โครงมอเตอร์เหนี่ยวนำ เฟส

2.  แกนเหล็กสเตเตอร์ (Stator core) ทำมาจากแผ่นเหล็กบางๆ อัดซ้อนกันและยึดติดเข้ากับโครงของมอเตอร์  มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก  และด้านในทำเป็นสลอต ไว้สำหรับพันขดลวด  นอกจากนี้แกนเหล็กยังทำหน้าที่เป็นทางเดินของวงจรแม่เหล็ก

Induction motor หลักการทํางาน

รูปที่ 8.3  แกนเหล็กสเตเตอร์และขดลวดสเตเตอร์ของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส

3.  ขดลวดสเตเตอร์ (Stator Winding) ซึ่งเป็นขดลวดทองแดงที่พันอยู่ในสลอตของแกนเหล็กสเตเตอร์  และเป็นลวดทองแดงที่เคลือบด้วยฉนวนไฟฟ้าอย่างดี  เมื่อพันเสร็จแล้วจะอาบด้วยน้ำมันวานิชและอบให้แห้งอีกครั้งหนึ่งมอเตอร์เหนี่ยวนำ  3 เฟส ที่สเตเตอร์มีขดลวดพันอยู่ 3 ชุด หรือ 3 เฟส  ซึ่งแต่ละเฟสจะทำมุมห่างกัน 120 องศาไฟฟ้า และขดลวดแต่ละเฟสจะต่ออนุกรมกันเหมือนกับขดลวดอาร์เมเจอร์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ  แต่ละเฟสมีกลุ่มของขดลวดอีก เช่น  มอเตอร์ที่มี 36 สลอต (Slot) 4 ขั้วแม่เหล็ก (Pole) 3 เฟส (Phase)จำนวนสลอตต่อขั้ว (Slot/Pole) จะมีค่าเท่ากับ 9 สลอต  ดังนั้นจำนวนกลุ่มของขดลวดในหนึ่งขั้วแม่เหล็กต้องเท่ากับ 9 ขด  และแบ่งจำนวนกลุ่มของขดลวดต่อหนึ่งเฟสจะมีค่าเป็น 3 ขด  ในการพันขดลวดทั้งสามขดของแต่ละเฟสนี้จะพันลงสลอตเรียงกันไป 3สลอต  และการพันขดลวดทั้ง 9 ขดในหนึ่งขั้วจะพันเรียงกันไป 9 สลอต

Induction motor หลักการทํางาน

        ก.  กลุ่มของขดลวดต่อเฟส        ข.  กลุ่มของขดลวด 3 เฟสต่อหนึ่งขั้ว

 เมื่อพันขดลวดจนครบทั้ง 36 ขดแล้ว  จะสังเกตเห็นว่าในหนึ่งสลอตจะมีขดลวด 2 ขด  ซึ่งเป็นด้านของขดลวดที่ต่างกัน เรียกว่า การพันขดลวดแบบสองชั้น (Two Layer) เป็นที่นิยมพันกันโดยทั่วไป

                เนื่องจากลักษณะการพันขดลวดสเตเตอร์ของมอเตอร์จะเหมือนกับขดลวดอาร์เมเจอร์ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ  ซึ่งระยะพิตช์ (Pitch) ของขดลวดสามารถแบ่งออกได้เป็น แบบ ได้แก่ ขดลวดที่มีระยะพิตช์เต็ม (Full Pitch) และระยะพิตช์เศษส่วน (Fractional Pitch or Short Pitch)

                การพันขดลวดของมอเตอร์เหนี่ยวนำ  3 เฟส ส่วนมากพันขดลวดเป็นแบบพิตช์เศษส่วน  ซึ่งมีข้อดีดังนี้

1)  เพื่อลดค่าลีคเกจรีแอกแตนซ์  ทำให้มอเตอร์มีค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์สูงขึ้น

2)  การพันขดลวดมีความแข็งแรงขึ้น  เนื่องจากความกว้างของขดลวดแคบลง

3)  ประหยัดขดลวดทองแดงที่ใช้พันมอเตอร์

4)  ลดกำลังไฟฟ้าสูญเสียในขดลวดทองแดง (Copper Losses)

4.  ฝาปิดหัวท้าย (End Plate) ทำจากเหล็กหล่อเหนียวหรือเหล็กเหนียว  ฝาปิดนี้จะถูกยึดติดอยู่กับโครงมอเตอร์ด้วยสลักเกลียว  มีแบริ่งอยู่ตรงกลางสำหรับรองรับเพลา  เพื่อให้โรเตอร์ หมุนอยู่ในแนวศูนย์กลางพอดี

Induction motor หลักการทํางาน

รูปที่ 8.5  ฝาปิดหัวท้าย

ส่วนที่เคลื่อนที่มีอยู่  แบบ  ได้แก่ โรเตอร์แบบกรงกระรอกและโรเตอร์แบบพันขดลวด  ซึ่งโรเตอร์ทั้งสองแบบนี้  ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ  คือ  แกนเหล็กโรเตอร์                     

ขดลวดทองแดง  ใบพัด  และเพลา

1.  โรเตอร์กรงกระรอก  (Squirrel cage  Rotor) ประกอบด้วยแกนเหล็กที่ทำมาจากแผ่นเหล็กบางๆ มีลักษณะกลมอัดซ้อนกันโดยมีเพลาร้อยทะลุเพื่อยึดให้แน่น  ที่ผิวของโรเตอร์นี้จะมีสลอตไปตามทางยาวและในสลอตจะมีแท่งตัวนำทองแดงหรืออะลูมิเนียมฝังอยู่โดยรอบ  ที่ส่วนปลายของแท่งตัวนำจะเชื่อมติดกับวงแหวนโลหะ  ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกรงกระรอก  ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกว่า โรเตอร์แบบกรงกระรอก  ในปัจจุบันตัวนำที่ฝังอยู่ในสลอตของโรเตอร์จะใช้วิธีหล่อตัวนำที่เป็นโลหะผสมหรืออะลูมิเนียมเข้าไปเลย  รวมทั้งหล่อวงแหวนตัวนำที่มีครีบช่วยระบายความร้อนเชื่อมเข้ากับปลายตัวนำแต่ละด้านของโรเตอร์ด้วย

Induction motor หลักการทํางาน

Induction motor หลักการทํางาน

รูปที่ 8.6โรเตอร์แบบกรงกระรอก

2.  โรเตอร์พันขดลวด (Wound Rotor) เป็นโรเตอร์ที่มีส่วนประกอบคล้ายกับโรเตอร์กรงกระรอก  แตกต่างกันตรงที่ตัวนำที่ใช้จะพันด้วยขดลวดทองแดงเคลือบด้วยฉนวนไฟฟ้าอย่างดี  จำนวน 3 ชุด  หรือ 3 เฟส  พันอยู่ในสลอต   แต่ละเฟสจะวางทำมุมห่างกัน 120 องศาไฟฟ้า  และต้องพันขดลวดให้มีจำนวนขั้วแม่เหล็กเท่ากับจำนวนขั้วแม่เหล็กที่สเตเตอร์ด้วย  ขดลวดทั้ง 3 ชุดจะต่อกันแบบสตาร์ (Star) และปลายอีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับสลิปริง(Slip ring) 3 วงที่ติดอยู่บนเพลาด้านหนึ่ง  ซึ่งจะมีแปรงถ่านสัมผัสอยู่  เพื่อต่อไปยังอุปกรณ์ควบคุมภายนอก (ตัวต้านทานปรับค่าได้)

ดังนั้นมอเตอร์เหนี่ยวนำ  3 เฟส  ที่มีโรเตอร์แบบนี้จึงนิยมเรียกว่า สลิปริงมอเตอร์(Slip ring Motor)  และการควบคุมความเร็วของมอเตอร์ทำได้โดยการเพิ่มหรือลดค่าความต้านทานภายนอกที่ต่อผ่านทางสลิปริง  มอเตอร์เหนี่ยวนำ  3 เฟสที่มีโรเตอร์แบบพันขดลวดจะให้แรงบิดเริ่มเดินสูง  เมื่อมอเตอร์หมุนเข้าสู่ความเร็วปกติ  สลิปริงจะถูกลัดวงจร  ทำให้โรเตอร์ทำงานแบบกรงกระรอก

Induction motor หลักการทํางาน
   รูปที่ 8.7โรเตอร์แบบพันขดลวด

หลักการทำงานของมอเตอร์เหนี่ยวนำ3เฟส

        เมื่อจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส ให้กับขดลวดสเตเตอร์ของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กหมุนขึ้นที่ขดลวดสเตเตอร์  โดยจะหมุนตัดกับตัวนำโรเตอร์ที่วางอยู่ในสลอตที่โรเตอร์  ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำและกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำในตัวนำของโรเตอร์               ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นที่โรเตอร์ผลรวมของเส้นแรงแม่เหล็กที่สเตเตอร์กับเส้น เส้นแรงแม่เหล็กรอบตัวนำที่โรเตอร์ทำให้เกิดแรงบิดขึ้นที่ตัวนำและทำให้โรเตอร์หมุนไปตามทิศทางของสนามแม่เหล็กหมุนที่สเตเตอร์ ซึ่งการเกิดสนามแม่เหล็กหมุนและการเกิดแรงบิดที่โรเตอร์ได้อธิบายไว้ในหน่วยที่ 1 แล้ว

                8.2.1  การทำงานของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส โรเตอร์แบบกรงกระรอก 

                เมื่อป้อนกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟสให้กับขดลวดสเตเตอร์จะเกิดสนามแม่เหล็กหมุนขึ้นที่สเตเตอร์ด้วยความเร็วซิงโครนัส () สนามแม่เหล็กหมุนนี้จะเคลื่อนที่ตัดขดลวดที่โรเตอร์ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นที่ตัวนำบนโรเตอร์  แต่ตัวนำบนโรเตอร์นี้ได้ถูกลัดวงจรไว้  ทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลที่ตัวนำนี้  ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กที่โรเตอร์เกิดขั้วเหนือและขั้วใต้ขึ้น                      ในโรเตอร์เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นที่สเตเตอร์ผลรวมของเส้นแรงแม่เหล็กที่สเตเตอร์กับเส้นแรงแม่เหล็กรอบตัวนำที่โรเตอร์ทำให้เกิดแรงบิดขึ้นที่โรเตอร์  และทำให้โรเตอร์หมุนไปได้และมีทิศทางตามทิศทางของสนามแม่เหล็กหมุนที่สเตเตอร์

Induction motor หลักการทํางาน

 

 รูปที่ 8.8 การเกิดแรงบิดที่ตัวนำของโรเตอร์

คุณลักษณะและการนำไปใช้งาน

พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วรอบและแรงบิดของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส ที่มีโรเตอร์แบบกรงกระรอกในสภาวะที่ขับโหลดเต็มพิกัด ดังแสดงในรูปที่ 8.10 จะพบว่าแรงบิดในสภาวะปกติที่โหลดเต็มพิกัดคือ T และแรงบิดในสภาวะที่โรเตอร์หยุดนิ่งเท่ากับ 1.5 เท่าของแรงบิดเต็มพิกัด สำหรับแรงบิดเบรกดาวน์จะมีค่าประมาณ 2.5 เท่าของแรงบิดเต็มพิกัด

Induction motor หลักการทํางาน

รูปที่8.10 กราฟความสัมพันธ์ระหว่างแรงบิดกับความเร็วรอบของมอเตอร์

ที่โหลดเต็มพิกัดความเร็วรอบของมอเตอร์จะเท่ากับ Nrแต่ถ้าแรงบิดของโหลดเพิ่มขึ้นความเร็วจะลดลง จนกระทั่งมอเตอร์สร้างแรงบิดได้เท่ากับแรงบิดของโหลด ในสภาวะดังกล่าวมอเตอร์ยังคงหมุนไปได้ แต่เมื่อใดก็ตามที่แรงบิดของโหลดเกินกว่า 2.5 เท่าของแรงบิดเต็มพิกัด ซึ่งเรียกว่าแรงบิดเบรกดาวน์ จะทำให้มอเตอร์หยุดหมุนอย่างรวดเร็ว เพราะว่ามอเตอร์ไม่สามารถสร้างแรงบิดขึ้นมาเท่ากับแรงบิดของโหลดได้  สำหรับมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟสที่มีขนาดเล็กกว่า 10 kW  ความเร็วที่แรงบิดเบรกดาวน์จะมีค่าประมาณ 80 % ของความเร็วซิงโครนัส  แต่ถ้าเป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีพิกัดมากกว่า 1000 kW ความเร็วที่แรงบิดเบรกดาวน์จะมีค่าประมาณ 98% ของความเร็วซิงโครนัสมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส โรเตอร์แบบกรงกระรอกส่วนมากจะนำไปใช้เป็นต้นกำลังขับเครื่องกลชนิดต่างๆ ในงานอุตสาหกรรมเช่น เครื่องกลึง เครื่องไส เครื่องกัด เครื่องเจียระไนราบและตั้ง ขับปั้มไฮดรอลิกส์ ขับปั้มน้ำ ขับคอมเพรสเซอร์และงานอื่นๆ เนื่องจากมีคุณลักษณะให้แรงบิดในการเริ่มเดินที่ดี และมีความเร็วรอบค่อนข้างคงที่ ส่วนมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส โรเตอร์แบบพันขดลวดจะใช้กับงานหนัก ใช้ความต้านทานภายนอกช่วยในการเริ่มเดินจะได้แรงบิดในตอนเริ่มเดินสูงสุดและกระแสเริ่มเดินจะลดลง

การต่อใช้งานมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส โดยที่สเตเตอร์ของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟสมีขดลวดพันอยู่ 3 ชุด คือเฟส A, B และ C สามารถนำมาต่อใช้งานได้ 2 แบบ คือ การต่อใช้งานแบบสตาร์และแบบเดลตา การจะต่อมอเตอร์ใช้งานแบบใดจะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับแรงดันไฟฟ้าที่แผ่นป้ายของมอเตอร์และระบบไฟฟ้าของประเทศนั้นๆ ดังแสดงในรูปที่ 8.11

Induction motor หลักการทํางาน

Induction motor หลักการทํางาน
                  
Induction motor หลักการทํางาน
 

                                                                                              ก. การต่อขดลวดแบบสตาร์                               ข. การต่อขดลวดแบบเดลตา

รูปที่8.11การต่อมอเตอร์ใช้งานแบบสตาร์และเดลตา

การกลับทางหมุนมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส โรเตอร์แบบกรงกระรอกและโรเตอร์แบบพันขดลวด มีวิธีการกลับทางหมุนที่เหมือนกันคือสลับสายจ่ายไฟเข้ามอเตอร์คู่ใดคู่หนึ่ง ดังแสดงในรูปที่ 8.12เป็นการสลับสายจ่ายไฟเข้ามอเตอร์ขั้ว L2 กับ L3

Induction motor หลักการทํางาน

        ก. การต่อใช้งานหมุนตามเข็มนาฬิกา 

Induction motor หลักการทํางาน

        ข. การต่อใช้งานหมุนทวนเข็มนาฬิกา

รูปที่ 8.12  การกลับทางหมุนมอเตอร์ 3 เฟส

การควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส เมื่อพิจารณาจากสมการของความเร็วสนามแม่เหล็กหมุนจะได้

Induction motor หลักการทํางาน

     จะเห็นได้ว่ามีตัวแปรอยู่ 2 ตัว ที่ทำให้ความเร็วรอบของสนามแม่เหล็กหมุนหรือความเร็วซิงโครนัสเปลี่ยนแปลงได้คือจำนวนขั้วแม่เหล็ก (P) และความถี่ (f) ของแหล่งจ่ายที่ป้อนให้กับมอเตอร์  สำหรับจำนวนขั้วแม่เหล็กจะเป็นปฏิภาคผกผันกับความเร็วซิงโครนัส คือ เมื่อจำนวนขั้วแม่เหล็กมาก ความเร็วซิงโครนัสจะน้อย แต่เมื่อจำนวนขั้วแม่เหล็กน้อยความเร็วซิงโครนัสจะมาก การปรับความเร็วรอบด้วยวิธีนี้มี 2 แบบคือแบบคอนซีเควนโพล กับแบบใช้ขดลวดหลายชุด การเปลี่ยนแปลงจำนวนขั้วแม่เหล็ก ความเร็วรอบของมอเตอร์ที่ได้จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นๆ ไม่เรียบสม่ำเสมอส่วนความถี่จะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับความเร็วซิงโครนัส เมื่อความถี่มาก ความเร็วซิงโครนัสจะมากตาม ในทางตรงกันข้ามถ้าความถี่ลดลงความเร็วซิงโครนัสก็จะลดลงด้วย การปรับความเร็วรอบของมอเตอร์ด้วยวิธีนี้ โดยการใช้อินเวอร์เตอร์ในการเริ่มเดินมอเตอร์ สามารถปรับความถี่หรืออัตราส่วน v/f ได้ตามต้องการ ความเร็วของมอเตอร์จะเปลี่ยนแอย่างสม่ำเสมอ และสามารถปรับเพิ่ม – ลดแรงบิดได้อีกด้วยซึ่งอินเวอร์เตอร์ที่นิยมใช้งานในปัจจุบันจะเป็นแบบ PWM (Pulse width modulation )