อารยธรรมอินเดียที่ เกิดจาก ชนเผ่า ด รา วิ เดีย น

อารยธรรมอินเดีย เริ่มกำเนิดขึ้นในบริเวณที่อยู่ระหว่างแม่น้ำสินธุและแม่น้ำคงคา ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า “อนุทวีป”หรือเอเชียใต้

  อารยธรรมเกิดจากการหล่อหลอม ผสมผสานความเจริญของชนชาติต่างๆที่เข้าครอบครองบริเวณนี้จนเกิดเป็นอารยธรรมของอินเดียที่เป็นเอกลักษณ์ และเป็นต้นแบบของอารยธรรมในภูมิภาคอื่นๆของเอเชีย

      อารยธรรมอินเดีย อยู่ระหว่างแม่น้ำสินธุและแม่น้ำคงคา ชนชาติที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอารยธรรมของอินเดีย ได้แก่ พวกดราวิเดียน (Dravidian)หรือทราวิฑหรือมิลักขะ  เป็นชนพื้นเมืองเจ้าถิ่นเดิม อาศัยอยู่ก่อน มีผิวดำ รูปร่างเตี้ย จมูกกว้าง ริมฝีปากหนา เชื่อว่าเป็นเจ้าของอารยธรรมสมัยสินธุ ต่อมาพ่ายแพ้ต่อผู้รุกรานชาวอารยันจึงถูกนำลงเป็นทาส ที่ในภาษาสันสกฤตเรียกว่า “ทัสยุ” (Dasyus) เป็นที่ดูถูกในหมู่อารยันว่ามีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียด หยาบคายและป่าเถื่อน

      อารยัน (Aryan) หรืออริยกะ เป็นพวกอินโด-ยุโรเปี้ยน ผิวขาว รูปร่างสูงใหญ่ จมูกโด่ง ชำนาญการขี่ม้ายิงธนู ข้ามเทือก    เขาหิมาลัย คาราโครัม และฮินดูกูเข้ามารุกไล่เจ้าของถิ่นเดิม จนร่นถอยไปอยู่ปลายแดนแถบคาบสมุทรเดคคานและเขตทมิฬ แล้วตนเองเข้ายึดครองดินแดนตอนกลางไว้แทน

      อารยธรรมโบราณ                                                                                                                                                  เมืองโมเฮนโจดาโร (Mohenj Daro )และเมืองฮารัปปา(Harappa)บริเวณแม่น้ำสินธุ เมื่อประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชหรือ ประมาณ4,500 ปีมาแล้ว เรียกว่าอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (Indus Civilization)เป็นอารยธรรมโดยพวก

      ดราวิเดียน (Dravidian)หรือทราวิทเมืองทั้งสองแสดงให้เห็นถึงความเจริญแบบอารยธรรมเมืองมีการวางผังเป็นย่านใหญ่ๆ แต่ละย่านมีตรอกแคบๆ เป็นตัวเชื่อมมีป้อมหรือมีที่หมั่นประจำเมือง มีที่อาบน้ำสาธารณะ แสดงให้เห็นความเชื่อในการชำระล้างร่างกายให้บริสุทธิ์ก่อนประกอบพิธีกรรม มีระบบการระบายน้ำ มีย่านการค้าและยังพบรูปปั้นที่ทำจากดินเผา ประชากรพื้นเมือง เชื่อว่าเป็นชนเผ่าดราวิเดียน (Dravidian) เป็นชนเผ่าดั้งเดิมก่อนที่พวกอารยันจะอพยพเข้ามา

อารยธรรมอินเดียที่ เกิดจาก ชนเผ่า ด รา วิ เดีย น

                                                                     เมืองโมเฮนโจดาโร

อารยธรรมอินเดียที่ เกิดจาก ชนเผ่า ด รา วิ เดีย น

                                                                    เมืองฮารัปปา

สมัยประวัติศาสตร์

1.สมัยมหากาพย์  (อินโด-ยุโรเปียน) เกิดมหากาพย์ 2 เรื่อง คือ รามายณะของฤษีวาลมิกิ   เป็นเรื่องพระรามและนางสีดา

       มหาภารตะของฤษีวยา  สะท้อนในเรื่องการปกครอง เศรษฐกิจและความเชื่อมหาภารตะ เป็น เรื่องราวความขัดแย้งของพี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ  จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก  กล่าวกันว่านี่คือ    การต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะและฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้ ผลทำให้เกิดการปกครองแบบราชาธิปไตยจากกษัตริย์เป็นราชา ได้เปลี่ยนไปเป็นสมมติเทพ

อารยธรรมอินเดียที่ เกิดจาก ชนเผ่า ด รา วิ เดีย น

                                                                  รามายณะของฤษีวาลมิกิ

อารยธรรมอินเดียที่ เกิดจาก ชนเผ่า ด รา วิ เดีย น

                                                                         มหาภารตะของฤษีวยา 

2.สมัยจักรวรรดิ

              เป็นสมัยที่มีความสำคัญต่อการวางพื้นฐานของแบบแผนทางสังคม ศิลปะ วัฒนธรรมอินเดีย ที่ยังคงสืบเนื่องต่อมาถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 5 สมัย

2.สมัยจักรวรรดิ  เป็นสมัยที่มีความสำคัญต่อการวางพื้นฐานของแบบแผนทางสังคม ศิลปะ วัฒนธรรมอินเดีย ที่ยังคงสืบเนื่องต่อมาถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 5 สมัย

1) สมัยจักรวรรดิมคธ ตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกของลุ่มแม่น้ำคงคา เป็นแคว้นที่มีอำนาจมากที่สุดในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงสองพระองค์คือ พระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าอชาตศัตรู พระพุทธศาสนาได้กลายมาเป็นศาสนาของจักรวรรดิ

อารยธรรมอินเดียที่ เกิดจาก ชนเผ่า ด รา วิ เดีย น

                                                                         พระเจ้าพิมพิสาร

อารยธรรมอินเดียที่ เกิดจาก ชนเผ่า ด รา วิ เดีย น

                                       พระเจ้าอชาตศัตรู

2)สมัยจักรวรรดิเมารยะราชวงศ์เมารยะได้มีอำนาจขึ้นปกครองแทนราชวงศ์นันทะที่ปกครองแคว้นมคธ (พื้นที่ทางภาคเหนือของอินเดีย)กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงของราชวงศ์เมารยะคือ พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงนำหลักพระพุทธศาสนามาใช้ในการปกครอง และทำนุบำรุงพุทธศาสนาอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังให้อิสรภาพในการเลือกนับถือศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์ ทรงยกเลิกการแบ่งชั้นวรรณะ

อารยธรรมอินเดียที่ เกิดจาก ชนเผ่า ด รา วิ เดีย น

                                                                          พระเจ้าอโศกมหาราช

3) สมัยแบ่งแยกและการรุกรานจากภายนอกความเสื่อมอำนาจของราชวงศ์เมารยะมีผลกระทบต่ออินเดีย 2 ประการอาณาจักรใหญ่น้อยแบ่งแยกออกเป็นอิสระเกิดการรุกรานจาก เปอร์เชีย กรีก ผลทำให้เกิดการทอดทางวัฒนธรรมจากผู้รุกราน

4) สมัยคุปตะได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองของอินเดีย เนื่องจากพระเจ้าจันทรคุปต์มีความพยายามทำให้อาณาจักรรุ่งเรืองเหมือนอาณาจักรมคธในอดีต   มหาวิทยาลัยนาลันทา  มหาวิทยาลัยพาราณสี  การแพทย์ในสมัยนี้มีวิธีการผ่าตัด เรียนรู้การทำสบู่และปูนซีเมนต์  ชาวลังกามาสร้างวัดพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทขึ้น

5) สมัยมุสลิม  (จักรวรรดิโมกุล ( Mughul ) มุสลิมที่เข้ารุกรานอินเดีย มีเชื้อสายเติร์กจากเอเชียกลางเข้าปกครองอินเดียภาคเหนือ ตั้งเมืองเดลี เป็นเมืองหลวง เมื่อเข้ามาปกครองมีการบีบบังคับให้ชาวอินเดียมานับถือศาสนาอิสลาม ราษฎรที่ไม่นับถือศาสนาอิสลามจะถูกเก็บภาษี “จิซยา” ในอัตราสูง หากหันมานับถือจะได้รับการยกเว้น การกระทำของเติร์กส่งผลให้สังคมอินเดียเกิดความแตกแยกระหว่างพวกฮินดูและ มุสลิมจนถึงปัจจุบัน

ระบบวรรณะ ในคัมภีร์ 4 วรรณะ ดังนี้
1.วรรณะพราหมณ์ เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม 

               มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีขาว ซึ่งแสดงถึงความบริสุทธิ์

               มีหน้าที่ กล่าวมนต์ ให้คำปรึกษากับพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนสอนมนต์ให้แก่คนทั่วไป              

              ส่วนพวกที่เป็นนักบวชก็ทำหน้าที่สอนไตรเภทและประกอบพิธีทางศาสนา

2.วรรณะกษัตริย์ เกิดจากพระอุระของพระพรหม และถือว่าสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ 

               มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีแดงซึ่งหมายถึงนักรบ  ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันหรือขยายอาณาจักร รวมทั้งเป็นนักปกครอง เป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือคณะผู้ปกครองแบบสามัคคีธรรม

3.วรรณะแพศย์ เกิดจากโคนขา หรือ สะโพกของพระพรหมของพระพรหม

               มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือ สีเหลือง เป็นพวกแสวงหาทรัพย์สมบัติ  ได้แก่ พวกพ่อค้า คหบดี เศรษฐี และเกษตรกร

4.วรรณะศูทร เกิดจากพระบาท(เท้า) ของพระพรหม 

               มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีดำหรือสีอื่นๆที่ไม่มีความสดใสมีหน้าที่เป็นกรรมกร ลูกจ้าง
๕. จัณฑาล เป็นอีกวรรณะหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นพวกต่ำสุด

               คือ จัณฑาล ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ต่างวรรณะกัน ถือเป็นพวกจัณฑาล ซึ่งจะถูกรังเกียจและเหยียดหยาม ไม่มีคนในวรรณะอื่นคบหาสมาคมด้วย การถือวรรณะอย่างรุนแรงเช่นนี้ เป็นพื้นฐานอันสำคัญอย่างหนึ่งของสังคมอินเดีย

ปรัชญาและลัทธิศาสนาของสังคมอินเดีย

อินเดียเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลกตะวันออก ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนา และศาสนาเชน 

หลักคำสอนพระพุทธศาสนา และศาสนาเชน 

               เป็นผลมาจากการคิดไตร่ตรองทางปรัชญา เพื่อแสวงหาสัจจะการดำเนินชีวิตและหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

ส่วนหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีรากฐานมาจากคิดค้นสร้างระบบปรัชญา เพื่อสนับสนุนความเชื่อและความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้า  

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีการทำพิธีกรรมบวงสรวงพระเจ้า ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญในการปฏิบัติศาสนกิจเทพเจ้าของอินเดีย

ข้อใดเป็นอารยธรรมอินเดียที่เกิดจากเผ่าดราวิเดียน

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเผ่าดราวิเดียน ศูนย์กลางอยู่ที่เมือง โมเฮโจดาโร และเมืองฮารับปา

อารยธรรมอินเดียมีชนเผ่าที่สำคัญอะไรบ้าง

ชนกลุ่มส าคัญที่สร้างสรรค์อารยธรรมลุ่มน ้าสินธุ-คงคา(Indus-Ganges Civilization) หรือ อารยธรรมอินเดีย แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ 1) พวกดราวิเดียน(Dravidian) หรือ ทราวิฑ คือชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มน ้าสินธุราว 4,000 ปี มาแล้ว พวกนี้มีรูปร่างเตี้ย ผิวคล ้าและจมูกแบน คล้ายกับคนทางตอนใต้ในอินเดียบางพวกปัจจุบัน ...

สมัยพระเวทอยู่ในอารยธรรมใด

เป็นอารยธรรมของชนเผ่าอินโด-อารยัน (Indo-Aryan) เป็นช่วงที่ ชาวอารยันได้อพยพเข้าสู่ชมพูทวีปโดยอพยพมาจากแถบทาง ตะวันตกเฉียงเหนือบริเวณเอเชียกลาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณ ที่ราบลุ่มแม่น ้าสินธุและคงคาโดยขับไล่ชนพื้นเมืองดั้งเดิม คือ ชาว ทราวิฑ(ดราวิเดียน)(Dravidian)ให้ถอยร่นลงไปทางตอนใต้ของ อินเดีย

ข้อใดคืออารยธรรมที่ตกทอดมาจากชาวอารยัน

ชาวอารยันคาดว่าได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมหลายอย่างจากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ชาวอินโดอารยันเป็นผู้วางรากฐานระบบวรรณะในประเทศอินเดียเพื่อปกครองชาวดราวิเวียนที่อาศัยในลุ่มบริเวณเเม่น้ำสินธุ สันนิษฐานว่าระบบวรรณะรับอิทธิพลมาจากประมวลกฎหมายฮัมมูราบี ที่แบ่งชนชั้นออกเป็นสามชนชั้น คือ ปกครอง ทั่วไป และทาส