อารยธรรมอินเดียเป็นบ่อเกิดศาสนาต่างๆ ยกเว้นข้อใด

ที่ตั้งอารยธรรมอินเดีย

ที่ตั้ง อินเดียมีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย ดินแดนทางตอนเหนือและตอนใต้ถูกแบ่งแยกจากกันด้วยที่ราบสูงเดคคาน เป็นผลให้ทั้งสองเขตมีความแตกต่างกันทั้งด้านภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ การประกอบอาชีพ และการหล่อหลอมอารยธรรม

ตอนเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาหิมาลัยที่หนาวเย็นและสูงชันกั้นไม่ให้อินเดียติดต่อกับดินแดน อื่นได้สะดวก อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีช่องแคบไคเบอร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือที่ติดต่อกับดินแดนนอื่นทางตะวัน ตกได้ เช่น เปอร์เซีย กรีก และโรมัน ดังนั้นบริเวณอินเดียตอนเหนือจึงรับและผสมผสานอารยธรรมที่เข้ามาทางช่องแคบ ไคเบอร์ ทั้งที่มาจากการติดต่อค้าขายและรุกรานของชาติอื่นๆ เช่น พวกอารยันและมุสลิม

ตะวันตกและตะวันออก เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ แม่น้ำคงคา และแม่น้ำสาขาของแม่น้ำทั้งสองที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่กาประกอบ เกษตรกรรม โดยเฉพาะแม่น้ำคงคา ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัยและนำความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่ในลุ่ม แม่น้ำ จึงเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชาวอินเดีย และเป็นบ่อเกิดของศาสนา ความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ในอารยธรรมอินเดีย เช่น ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ อนึ่ง ความอุดมสมบูรณ์ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำต่างๆ ทำให้ชนต่างชาติพยายามรุกรานและยึดครองอินเดียตลอดมา

ตอนกลาง เป็นเขตที่ราบสูงเดคคานที่แห้งแล้งและทุรกันดาร เพาะถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสูงซึ่งขวางกั้นการติดต่อระหว่างอินเดียเหนือและ อินเดียใต้ แต่ก็นับเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญของอินเดีย เพราะเป็นพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวอินเดีย และยังคงอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรป่าไม้และแร่ธาตุต่างๆ

ตอนใต้ ไม่สามารถติดต่อกับดินแดนทางตอนเหนือได้สะดวก แต่สามารถติดต่อกับดินแดนอื่นๆนอกประเทศได้ง่าย เนื่องจากมีที่ราบแคบๆ ยาวขนานกับชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียทั้ง 2 ฝั่ง ประชากรในแถบนี้มีการติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนอารยธรรมกับดินแดนอื่น เช่น อียิปต์ เมโสโปเตเมีย ลังกา และดินแดนในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อารยธรรมของชาวอินเดียใต้จึงมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากชาวอินเดียทางตอนเหนือ

ภูมิอากาศ อินเดียมีภูมิอากาศแห้งแล้งเพราะฝนตกน้อยประมาณปีละ 4 เดือน และมีอากาศร้อนจัด ปีใดฝนตกน้อยกว่าปกติ การเพาะปลูกจะไม่ได้ผลและเกิดความอดอยาก ในเขตตรงข้าม ปีใดที่ฝนตกมากเกินไปจะเกิดอุทกภัย พืชผลได้รับความเสียหาย อนึ่ง ปีที่มีอากาศร้อนจัดมากๆ เช่น อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสขึ้นไปมักจะเกิดภัยแล้ง พืชผลส่วนใหย่ไม่อาจต้านทานความแห้งแล้งได้เพราะอากาศขาดความชุ่มชื้น สภาพภูมิอากาศจึงมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและความเชื่อของชาวอินเดียวึ่ง ต้องพึ่งพาธรรมชาติ ดังเช่นการบูชาแม่น้ำคงคาว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่นำความชุ่มชื้นและ อุดมสมบูรณ์มาให้ อนึ่ง ลักษณะภูมิอากาศยังทำให้ชาวอินเดียมีความอดทนในการต่อสู้กับความยากลำบาก ด้วยวิธีการต่างๆ พร้อมกับการยอมรับชะตากรรมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

2.การพัฒนาอารยธรรมอินเดียโบราณของกลุ่มต่างๆ

ความหลากหลายทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ส่งเสริมให้ชนชาติต่างๆ ขยายอิทธิพลเข้ามาครอบครองอินเดีย เป็นผลให้เเกิดการผสมผสานและหล่อหลอมอารยธรรมของชนชาติต่างๆ ที่เข้ามาปกครองอินเดีย ชนชาติที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอารยธรรมอินเดียโบราณ ได้แก่ พวกดราวิเดียน หรือทราวิฑ (Dravidian) และอารยัน (Aryan)

ดราวิเดียน อารยธรรมอินเดียโบราณเกิดขึ้นในลุ่มแม่น้ำสินธุ (อยู่ในแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน) เมื่อประมาณ 2500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือประมาณ 4500 ปีมาแล้ว  เรียกกันทั่วไปว่าอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (Indus Civilization) จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่ามีศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่บริเวณเมืองโมเฮ นโจดาโร (Mohenjo Daro)    และเมืองอารัปปา (Harappa) ในเขตลุ่มแม่น้ำสินธุ เชื่อกันว่าเป็นอารยธรรมของพวกดราวิเดียนซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในเขตนี้

ลักษณะเด่นของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ มีความเจริญในลักษณะสังคมเมือง มีการวางผังเมืองที่เป็นระเบียบ บ้านเรือน แต่ละหลังมีห้องน้ำ และมีท่อระบายน้ำเชื่อมต่อกับท่อระบายน้ำของเมือง นอกจากนี้บ้านบางหลังยังก่อสร้างสูงถึง 3 ชั้น วัสดุก่อสร้างทำด้วยอิฐซึ่งมีคุณภาพดีและมีขนาดเท่ากันทุกก้อน เหล่านี้ล้วนแสดงถึงภูมิปัญญาด้านสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างของพวกดราวิเดียนในอดีต

ชาวลุ่มแม่น้ำสินธุยุคนี้ดำรงชีวิตด้วยการค้าและการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม หลักฐานที่พบจากการขุดค้นแสดงว่าพวกเขามีการติดต่อค้าขายกับดินแดนเมโสโปเตเมียตั้งแต่ราว 2300 ปีก่อนคริสต์ศักราช สินค้าที่ผลิตเพื่อจำหน่าย ได้แก่ ผ้าฝ้าย เครื่องปั้นดินเผาเขียนลวดลาย เครื่องทองแดงและทองเหลือง และเครื่องประดับที่ทำด้วยทองและเงิน นอกจากนี้ พวกเขายังรู้จักประดิษฐ์อักษรของตนเอง และมีความเชื่อทางศาสนา โดยนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ทั้งคน สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งของต่างๆ

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเสื่อมสลายตั้งแต่ประมาณ 2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วมเมือง และโรคระบาด หรืออาจถูกรุกรานจากชนชาติอื่น (อารยัน) ที่มีอำนาจเหนือกว่า

อารยัน อารยัน เป็นอินโด-ยูโรเปียนเผ่าหนึ่ง เป็นพวกนักรบและมีอาชีพเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน ได้รุกรานเข้ามาทางตะวันตกเฉยงเหนือของอินเดียตั้งแต่ประมาณ 1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือ 3500 ปีมาแล้ว จากนั้นได้เข้าครอบครองลุ่มแม่น้ำสินธุและขยายเข้าไปในลุ่มแม่น้ำคงคา ทำให้ชาวพื้นเมืองเดิมหรือพวกดราวิเดียนต้องถอยลงไปทางตอนใต้ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมัทราส (Madras) หรือเมืองเชนไน (Chennai) ปัจจุบัน

หลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงอารยธรรมอารยันยุคแรกหรือยุคพระเวทตอนต้น (ประมาณปี 1500-1000 ก่อนคริสต์ศักราช) คือ คัมภีร์พระเวท ซึ่งเป็นทั้งบทสวดสรรเสริญบูชาเทพเจ้า หลักปฏิบัติในพิธีกรรมทางศาสนาและหลักปรัชญาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมสำคัญอีก 2 เรื่องคือมหากาพย์เรื่องมหาภารตะ และรามายณะ ซึ่งให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันต่างๆ ของอินเดียโบราณโดยเฉพาะด้านการปกครอง สังคม และศาสนา อนึ่ง ภาษาที่ใช้ในวรรณกรรมเหล่านี้ คือ ภาษาสันสกฤตซึ่งเป็นภาษาของพวกอารยัน ดังนั้นภาษาสันสกฤตจึงแพร่หลายสืบทอดต่อมาถึงปัจจุบัน

ในระยะแรก พวกอารยันมีการปกครองในลักษณะนครรัฐ แต่ละรัฐเป็นอิสระต่อกัน บางแห่งมีหัวหน้าเผ่าเป็นผู้ปกครองและบางแห่งมีกษัตริย์ปกครอง แต่เนื่องจากอารยันเป็นชนชั้นปกครองและเป็นพวกอินโด-ยูโรเปียนจึงไม่ต้องการให้มีการผสมผสานทางเชื้อชาติกับชาวพื้นเมืองเดิมซึ่งแตกต่างจากตน พวกเขาได้กำหนดโครงสร้างของสังคมโดยจำแนกกลุ่มคนเป็น 4 วรรณะคือ วรรณะพราหมณ์ ซึ่งเป็นวรรณะสูงสุดผู้ประกอบพิธีกรรมและสืบทอดศาสนา รองลงมา คือ วรรณะกษัตริย์ เป็นชนชั้นปกครองหรือนักรบ วรรณะที่ 3 คือ วรณะแพศย์ เป็นสามัญชนทั่วไป และวรรณะศูทร ได้แก่ ชาวพื้นเมืองซึ่งทำหน้าที่รับใช้วรรณะอื่นๆ นอกจากนี้ยังห้ามไม่ให้มีการแต่งงานข้ามวรรณะ หากมีการฝ่าฝืน บุตรของผู้ที่แต่งงานข้ามวรรณะจะต้องเป็น พวกจัณฑาล ซึ่งมีสถานะต่ำที่สุด และไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมในสังคมของวรณะอื่นๆ

ศาสนาของพวกอารยันคือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่นับถือเทพเจ้าสำคัญ 3 องค์คือ พระศิวะหรือพระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่มีอำนาจสูงสุด พระวิษณุหรือพระนารายณ์ซึ่งจะอวตารลงมาเกิดในโลกมนุษย์เพื่อดับทุกข์เข็ญ และพระพรหมผู้สร้างโลก พราหมณ์เป็นผู้ที่ติดต่อกับเทพเจ้าได้ด้วยการประกอบพิธีกรรมและร่ายบทสวดมนต์บูชาเทพเจ้าตามคัมภีร์พระเวท ดังนั้นจึงมีบทบาทสำคัญในสังคมอินเดีย อนึ่ง ศาสนายังสอนให้คนยอมรับเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ทำให้ชาวอินเดียยอมรับชะตากรรมของตนในโลกปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงการดำรงอยู่ในวรรณะที่ถูกกำหนดมาตั้งแต่เกิด แล้วมุ่งทำความดีเพื่อจะได้หลุดพ้นจากวัฏสารนับว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีอิทธิพลสำคัญต่อการหล่อลหอมความคิด ความเชื่อ และวิถีชีวิตของชาวอินเดียมาก

หลังยุคพระเวท (ประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือสมัยพุทธกาล) ได้เกิดอารยธรรมสำคัญขึ้นคือศาสนาพุทธและศาสนาเชน ชาวอินเดียบางส่วนได้หันไปเสื่อมใสศาสนาทั้งสอง ศาสนาพุทธกำเนิดในบริเวณที่เป็นประเทศเนปาลปัจจุบันเมื่อปี 543 ก่อนคริสต์ศักราช และเจริญรุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (273-232 ก่อนคริสต์ศักราช) จากนั้นก็แพร่หลายในดินแดนอื่นๆ เช่น ศรีลังกา เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย

ประมาณปี 413-322 ก่อนคริสต์ศักราช อินเดียถูกรุกรานจากชนต่างชาติคือ เปอร์เซียและกรีก ต่อมาพวกเขาได้สถาปนาจักรวรรดิของพวกอารยันครั้งแรกในสมัยราชวงศ์เมารยะ (322-185 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ในช่วงคริสต์ศักราช กษัตริย์ของชาวอารยันแห่งราชวงศ์คุปตะ (ค.ศ.320-535) สามารถสถาปนาจักรวรรดิปกครองดินแดนของตนและพัฒนาความเจริญด้านต่างๆ ของอารยธรรมอินเดีย เป็นต้นว่า ศาสนา การศึกษา สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม วรรณกรรม กฎหมาย วิทยาการด้านการแพทย์ คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ ฯลฯ อารยธรรมเหล่านี้ได้แพร่หลายเข้าไปในดินแดนอื่นๆ และกลายเป็นรากฐานของอารยธรรมในดินแดนนั้นๆ ด้วย เช่น อารยธรรมไทย เขมร ฯลฯ

หลังจากนั้น อินเดียก็ถูกพวกมุสลิมซึ่งเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือรุกรานและปกครองนานหลายร้อยปีจนกระทั่งสูญเสียอำนาจให้แก่อังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 18 แม้ว่าอินเดียถูกรุกรานและปกครองโดยชนชาติอื่นหลายกลุ่มนานหลายศตวรรษและทำให้อารยธรรมอินเดียมีลักษณะผสมผสานมากขึ้น แต่อารยธรรมสำคัญของพวกอารยันคือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และระบบวรรณะก็ยังคงเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของอารยธรรมอินเดียสืบนื่องต่อมา