คนไทยมีนามสกุลครั้งแรกในรัชสมัยใด

เดิมคนไทยไม่ได้มีนามสกุล จะมีเพียงชื่อเรียกเท่านั้น ในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงทรงโปรดให้มีการตั้งนามสกุลเหมือนกับประเทศอื่นๆ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 และมีการพระราชทานนามสกุลให้แก่หลายครอบครัวที่เรียกว่า นามสกุลพระราชทานจำนวน 6,432 นามสกุล และหลายครอบครัวก็ตั้งนามสกุลตามชื่อของผู้นำของครอบครัวนั้น หรือตามถิ่นที่อยู่อาศัยของครอบครัวนั้น

การตั้งนามสกุล
เมื่อมีพระราชบัญญัติขนามนามสกุลฯ ขึ้น ราษฎรไทยจึงต้องตั้งนามสกุลสำหรับใช้ในครอบครัวหรือตระกูลของตน โดยมีความนิยมหลายอย่างด้วยกัน ดังนี้

-ตั้งตามชื่อของบรรพบุรุษ (ปู่ ย่า ตา หรือยาย)
-ข้าราชการที่มีราชทินนาม มักจะนำราชทินนามมาตั้งเป็นนามสกุลของตน เช่น หลวงพิบูลสงคราม (แปลก) ใช้นามสกุล "พิบูลสงคราม"
-ตั้งตามสถานชื่อตำบลที่อยู่อาศัย
-ชาวไทยเชื้อสายจีนอาจแปลความหมายจาก "แซ่" ของตน หรือ ชื่อแซ่นำหน้านามสกุล

ข้อกำหนดตามกฎหมายในการจดนามสกุลใหม่หรือเปลี่ยนนามสกุล
-ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี
-ต้องไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการี หรือผู้สืบสันดาน
-ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลพระราชทานของพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
-ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
-มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม
-ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า "ณ" นำหน้าชื่อสกุล
-ห้ามเอานามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระปรมาภิไธยมาใช้เป็นชื่อสกุล

ที่มา : http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,447.0.html
 




เดิมคนไทยไม่ได้มีนามสกุล จะมีเพียงชื่อเรียกเท่านั้น ในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ จึงโปรดให้มีการตั้งนามสกุลเหมือนกับประเทศอื่นๆ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ และมีการพระราชทานนามสกุลให้แก่หลายครอบครัวที่เรียกว่า นามสกุลพระราชทานจำนวน ๖,๔๓๒ นามสกุล และหลายครอบครัวก็ตั้งนามสกุลตามชื่อของผู้นำของครอบครัวนั้น หรือตามถิ่นที่อยู่อาศัยของครอบครัวนั้น

นามสกุลแรกของประเทศไทย คือ “สุขุม” ซึ่งรัชกาลที่ ๖ พระราชทานให้ เจ้าพระยายมราช หรือ ปั้น สุขุม เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๖ จึงนับว่านามสกุล “สุขุม” จึงเป็นนามสกุลหมายเลข ๑ ของประเทศไทย

เดิมทีคนไทยไม่มี “นามสกุล” มีเพียงชื่อเรียกเท่านั้น นามสกุล เพิ่งมีใช้เมื่อสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้มีการตั้งนามสกุล และมีการพระราชทานนามสกุลให้แก่หลายครอบครัวที่เรียกว่า นามสกุลพระราชทาน

ส่วนประชาชนทั่วไปที่ตั้งนามสกุลเองมีธรรมเนียมนิยมดังนี้ ตั้งตามชื่อบรรพบุรุษ (ปู่ ย่า ตา หรือยาย), ตั้งตามราชทินนามของตน หรือบรรพบุรุษ, ตั้งตามสถานชื่อตำบลที่อยู่อาศัย เป็นต้น

นามสกุลของชาวโคราช สมัยแรกๆ ก็มีลักษณะดังกล่าว คือบ่งชี้ภูมิประเทศของถิ่นกำเนิดเป็นสำคัญ ดูได้จาก “ส่วนท้าย” ของนามสกุล

ดังต่อไปนี้

1.“กลาง” เดิมคือ มณฑลลาวกลาง เช่น นามสกุล ขอใยกลาง, จงจุลกลาง

พระยากำธรพายัพทิศ ได้พิจารณาว่าสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอทับที่วัดร้างอยู่ เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อสถานที่จึงได้เสนอขอเปลี่ยนจากอำเภอกลาง เป็นอำเภอโนนวัด

ต่อมา พ.ศ. 2487  นายชม วัลลิภากร เป็นนายอำเภอโนนวัด ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอโนนวัด เป็นอำเภอโนนสูง สืบถึงปัจจุบัน

  1. “กระโทก” ในอดีตมีฐานะเป็นด่าน คือด่านกระโทก เช่น นามสกุล ข้องกระโทก, โฮกระโทก

ต่อมามีราชการพิจารณาว่า คำว่า “กระโทก” มีสำเนียงและความหมายไม่เหมาะสม เพื่อให้เป็นไปตามความหมายเชิงประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้รำลึกถึง “วีรกรรม” ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่ทรงรบได้ชัยชนะ ณ ที่แห่งนี้จึงได้เปลี่ยนนามอำเภอใหม่ว่า “อำเภอโชคชัย”

  1. “ขุนทด” หมายถึง “ด่าน” มีขุนทดเป็นผู้ปกครองดูแล เช่น นามสกุล พาทขุนทด, ผูกขุนทด

สันนิษฐานว่าเป็นช่วงของแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากพระยายมราชให้เป็นผู้ปกครองดูแล “ด่าน” นี้เป็นด่านแรก ยังมีหน้าที่เก็บภาษีอากรส่งให้เมืองนคราชสีมา

  1. “จันทึก” เดิมเป็นเมืองหน้าด่านในดินแดนแถบภาคอีสาน ชื่อว่า “เมืองจันทึก” เช่น เผือกจันทึก, ฝาดจันทึก

ต่อมาเมื่อได้ตั้งเมืองนครราชสีมาขึ้นดูแลหัวเมืองต่างๆ ทางที่ราบสูง จึงเปลี่ยนเป็นเมืองหน้าด่านเรียกว่า “ด่านจันทึก” เมื่อยกเลิกด่านแล้ว ได้เปลี่ยนเป็นอำเภอ เรียกว่า “อำเภอจันทึก” เนื่องจากบ้านจันทึกและบ้านหนองบัวตั้งอยู่ในเขตดงพญาเย็น (พญาไฟ) มีไข้ป่า (มาลาเรีย) ชุกชุม เป็นที่เกรงกลัวของข้าราชการยิ่งนัก จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บ้านสีคิ้ว แล้วเปลี่ยนชื่ออำเภอจันทึกเป็นอำเภอสีคิ้ว จนถึงปัจจุบัน

  1. “ไธสง” มาจากคำว่า “พุทไธสง” เช่น นามสกุล น้อยไธสง, ตลุกไธสง

เมืองพุทไธสง เป็นเมืองเก่า ต่อมาได้ร้างไป ในสมัยการปกครองแบบมณฑณขึ้นต่อเทศาภิบาลเมืองแปะ

ต่อมา พ.ศ. 2342 รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้เพี้ยศรีปาก เป็นพระยาเสนาสงคราม เจ้าเมืองคนแรกของพุทไธสงและได้ยกฐานะเปนอำเภอพุทไธสง ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในเขตการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์

  1. “สันเทียะ” เดิมเรียกว่า “แขวงสันเทียะ” เช่น นามสกุล ถนอมสันเทียะ, ขอสันเทียะ

เล่ากันว่าเดิมเป็นที่อยู่ของชาวกัมพูชา ที่มาอาศัยต้มเกลือสินเธาว์ เพื่อนำไปขาย เพราะคำว่า “สันเทียะ” ภาษาเขมร แปลว่า ที่ต้มเกลือสินเธาว์ และมีผู้เพิ่มเติมว่า “สันเทียะ” อาจมาจากสภาพพื้นดินทั่วไปของอำเภอที่เป็นดินเค็ม

หรือมาจากสภาพภูมิศาสตร์ในภาษาลาว คำว่า “สันเทียะ” แปลว่า  บ้านที่ตั้งอยู่ยนสันโนนที่ดินและเนื่องจากพื้นดินเป็นดินปนทราย เมื่อถึงฤดูฝนจะชื้นแฉะไปทั่วทั้งหมู่บ้าน

  1. “สูงเนิน” เดิมเรียกว่า เมืองเสมา เช่น นามสกุล ดีสูงเนิน, ฝากสูงเนิน

เมืองเดิมตั้งอยู่ที่ตำบลสูงเนิน ครั้นสร้างเมืองนครราชสีมาจึงย้ายมาอยู่เมืองใหม่ เมืองเสมา จึงกลายเป็นเมืองเก่า ต่อมาเปลี่ยนฐานะเป็นอำเภอได้ตั้งชื่อใหม่ตามชื่อที่ตั้งที่ว่าการอำเภอว่า อำเภอสูงเนิน

ที่กล่าวมานี้เป็นการสังเกตจาก “ส่วนท้าย” ของนามสกุล มีความหมายถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ หากยังมี “ส่วนหน้า” และ “ส่วนกลาง” ของนามสกุลชาวโคราชที่บ่งชี้วัฒนธรรมด้านอื่นๆ ด้วย

นามสกุลแรกของไทยคืออะไร

ประเทศไทย คือ “สุขุม” ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานให้เจ้าพระยายมราช หรือ ปั้น สุขุม เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ จึงนับว่านามสกุล “สุขุม” จึงเป็นนามสกุลแรกของประเทศไทย

คนสมัยก่อนตั้งนามสกุลจากอะไร

ส่วนประชาชนทั่วไปที่ตั้งนามสกุลเองมีธรรมเนียมนิยมดังนี้ ตั้งตามชื่อบรรพบุรุษ (ปู่ ย่า ตา หรือยาย), ตั้งตามราชทินนามของตน หรือบรรพบุรุษ, ตั้งตามสถานชื่อตำบลที่อยู่อาศัย เป็นต้น นามสกุลของชาวโคราช สมัยแรกๆ ก็มีลักษณะดังกล่าว คือบ่งชี้ภูมิประเทศของถิ่นกำเนิดเป็นสำคัญ ดูได้จาก “ส่วนท้าย” ของนามสกุล

ข้อใด คือนามสกุลแรกในประเทศไทยและตรงกับรัชกาลใด

นามสกุลแรกของประเทศไทย คือ “สุขุม” ซึ่งรัชกาลที่ ๖ พระราชทานให้ เจ้าพระยายมราช หรือ ปั้น สุขุม เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๖ จึงนับว่านามสกุล “สุขุม” จึงเป็นนามสกุลหมายเลข ๑ ของประเทศไทย

การใช้นามสกุลครั้งแรกนั้นเกิดขึ้นตรงกับกรุงรัตนโกสินทร์ในยุคใด และนามสกุลแรกของไทยคือนามสกุลใด

นามสกุลหมายเลข ๑ ที่ทรงพระราชทาน คือ นามสกุล “สุขุม” พระราชทานเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๖ ต้นสกุลคือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) แสดงเพิ่มเติม