เงิน ถุงแดง ปรากฏ ขึ้นในยุค สมัย ใด


เงิน ถุงแดง ปรากฏ ขึ้นในยุค สมัย ใด

รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง วินิตา ดิถียนต์
ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์

เมื่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เงินทองในท้องพระคลังมีไม่มาก เพราะมีรายจ่ายมากมายทั้งด้านสร้างบ้านเมืองและในการทำศึกตลอดรัชกาล เมื่อถึงรัชกาลที่ ๒ ก็ถึงกับขาดแคลน จนบางครั้งไม่พอจ่ายค่าเบี้ยหวัดขุนนาง ต้องจ่ายเป็นผ้าลายบ้าง เป็นทองบ้าง แก้ขัดไปก่อน เจ้านายหลายพระองค์ต้องทรงขวนขวายหารายได้ส่วนพระองค์มาให้พอใช้จ่าย หนึ่งในนั้นคือพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

ในฐานะพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ไม่อาจเสด็จออกพ้นสยามไปค้าขายยังประเทศจีนเองได้ แต่ก็ทรงหาทางออกผ่านทางข้าหลวงเดิมคนหนึ่ง มีชื่อไทยว่านายโต และชื่อจีนว่าอึ้งเต๋า เป็นบุตรของพระพิชัยวารี (อึ้งมั่ง) ตั้งบ้านเรือนอยู่แถวกุฎีจีน

นายโตเป็นที่สนิทสนมไว้วางพระทัย ถึงกับทรงใช้ให้เป็นตัวแทนไปค้าสำเภาที่เมืองจีน นายโตก็ได้ทำการค้าแทนพระองค์ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ประสบความสำเร็จดีเลิศ นำเงินทองกลับมาถวายเป็นพระราชทรัพย์มากมายถึงขั้นร่ำรวย จนสมเด็จพระราชบิดาทรงเรียกกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ว่า “เจ้าสัว”

ส่วนนายโตเองก็ได้เจริญในราชการขึ้นเป็นลำดับจนบั้นปลายชีวิตได้เป็นเจ้าพระยานิกรบดินทร์ เมื่อมาถึงรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามสกุลให้เชื้อสายของท่านว่า "กัลยาณมิตร" ด้วยทรงถือว่าเป็นกัลยาณมิตรในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เงินกำไรส่วนที่เป็นของนายโตเองมีมากมายขนาดไหนเห็นได้จากท่านสามารถสร้างพระพุทธไตรรัตนนายก หรือพระพุทธรูปซำปอกง ของวัดกัลยาณมิตร ตลอดจนตัววัดกัลยาณมิตรได้ใหญ่โตงดงาม เป็นที่เคารพนับถือของชาวไทยเชื้อสายจีน จนถึงทุกวันนี้

เงินกำไรจำนวนมหาศาลที่สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ได้มาเป็นเงินส่วนพระองค์นี้ มิได้ทรงใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงส่วนพระองค์ หรือยกให้พระราชโอรสธิดา ผู้เขียนเคยได้ยินเชื้อพระวงศ์ในราชสกุลที่สืบมาจากรัชกาลที่ ๓ กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจที่สายราชสกุลในรัชกาลที่ ๓ จนทรัพย์สินเงินทองมากกว่าสกุลอื่นๆ เพราะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯมิได้ทรงนำเงินส่วนพระองค์มาเป็นมรดกตกทอด แต่ทรงนำไปใส่ถุงแดง แยกเป็นถุง ถุงละ ๑๐ ชั่ง ตีตราปิดปากถุง เก็บไว้ในหีบกำปั่นข้างห้องพระบรรทมตลอดรัชกาล

เงิน ถุงแดง ปรากฏ ขึ้นในยุค สมัย ใด

ส่วนหนึ่งของเงินถุงแดงนี้ ทรงเก็บไว้เพื่อสร้างและทะนุบำรุงวัดวาอารามต่างๆ ทั้งในพระนครและภายนอก อีกส่วนหนึ่งก็ทรงยกให้แผ่นดิน มีพระราชดำรัสว่า "เอาไว้ไถ่บ้านไถ่เมือง" หมายถึงว่า ถ้าต้องเพลี่ยงพล้ำกับข้าศึกศัตรูแล้ว จะได้นำเงินนี้ออกมาใช้กอบกู้บ้านเมือง

เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๓ มีเงินในพระคลังข้างที่เหลือจากใช้ในราชการแผ่นดินจำนวน ๔๐,๐๐๐ ชั่ง (๓,๒๐๐,๐๐๐ บาท) ซึ่งสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงขอไว้ ๑๐,๐๐๐ ชั่ง (๘๐๐,๐๐๐ บาท) เพื่อสร้างวัดวาอารามที่ค้างไว้ให้แล้วเสร็จ ส่วนที่เหลือนั้นถวายพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ตามแต่จะทรงใช้

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นครองราชย์ ในส่วนเงินแผ่นดินที่ทรงได้รับจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ นั้น มีจำนวนมากกว่าที่อ้างถึงอีก ๕,๐๐๐ ชั่งเศษ รวมทั้งหมดเป็น ๔๕,๐๐๐ ชั่งเศษ (หรือประมาณ ๓,๖๐๐,๐๐๐ บาท

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเกี่ยวกับเงินถุงแดง น่าประหลาดตรงที่ว่า เมื่อเวลาผ่านไปอีกหลายสิบปี จนถึง ร.ศ. ๑๑๒ ก็เกิดเป็นความจริง เมื่อไทยถูกฝรั่งเศสปรับโทษเป็นเงิน ๓ ล้านฟรังค์ เป็นเงินมากมายมหาศาลจนท้องพระคลังมีไม่พอ สยามก็ได้ ‘ เงินถุงแดง ‘ ส่วนนี้ไปสมทบ ไถ่บ้านเมืองเอาไว้ได้จริงๆ

สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยบ้านเมืองยิ่งกว่าเรื่องส่วนพระองค์ จวบจนวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ เมื่อประชวรหนักใกล้เสด็จสวรรคต ก็มิได้ทรงพะวงกับเรื่องอื่นนอกจากความสงบสุขของแผ่นดิน ถึงกับพระราชทานพระบรมปัจฉิมโอวาทแก่ขุนนางข้าราชบริพารที่เข้าเฝ้า ไว้เป็นครั้งสุดท้ายว่า

"การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิด ควรจะเรียนเอาไว้ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว"

น่าประหลาดอีกเช่นกันว่า ทรงมีสายพระเนตรกว้างไกลในอนาคตอย่างแม่นยำเช่นเดียวกับเรื่องเงินถุงแดง พระบรมปัจฉิมโอวาทข้อนี้ยังใช้ได้ทันสมัยเมื่อนึกถึงปัญหาความแตกแยกในสังคมไทยในปัจจุบัน แม้เวลาล่วงเลยหลังจากเสด็จสวรรคตมาถึง ๑๖๙ ปีแล้วก็ตาม

Show



  • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • เงินถุงแดง
  • รัชกาลที่ 3

สมัย ร.4 เรือฝรั่งเข้ามาค้าในต้นสมัย การซื้อขายกับฝรั่ง ฝรั่งยังใช้เงินจีน 3 เหรียญ เทียบกับเงินไทย 5 บาท โดยประทับตรามงกุฎที่เงินเหรียญจีน โธ่! เรื่องนิยายถุงแดง

9 ส.ค.2565- รองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต นักวิชาการเคลื่อนไหว ต่อต้านรัฐบาลประยุทธ์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องเล่าที่โม้มากๆ เรื่องเงินถุงแดงที่เก็บไว้ในสมัย ร.3 ว่าเป็นเงินเหรียญนกเม็กซิโก เพราะสมัย ร.4 เรือฝรั่งเข้ามาค้าในต้นสมัย การซื้อขายกับฝรั่ง ฝรั่งยังใช้เงินจีน 3 เหรียญ เทียบกับเงินไทย 5 บาท โดยประทับตรามงกุฎที่เงินเหรียญจีน โธ่! เรื่องนิยายถุงแดง

ทั้งนี้เงินถุงแดง ที่ดร.ธำรงศักดิ์ ระบุถึง คือ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่ได้จากการค้าสำเภาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเก็บหอมรอมริบไว้เป็นส่วนพระองค์โดยเก็บใส่ถุงผ้าสีแดง ไว้ข้างที่ (ข้างพระแท่นที่บรรทม) เรียกว่า “เงินข้างที่” ซึ่งต่อมามีจำนวนมากเข้า ก็เก็บไว้ในห้องข้างๆ ที่บรรทม จึงเรียกว่า “คลังข้างที่” และดูเหมือนจะเป็นคำเรียกกันแต่ในราชสำนักมาจนสมัยรัชกาลที่ ๔ จึงเรียกปรากฏกันเป็นทางราชการและต่อมาในรัชกาลที่ ๕ จึงตั้ง กรมพระคลังข้างที่ ขึ้น

ประวัติศาสตร์จารึกว่า เงินถุงแดง การค้าขายกับต่างประเทศของไทยแต่โบราณมา เท่าที่อ่านจากเอกสารต่างๆ ทราบว่า มีเป้าหมายใหญ่อยู่ที่เมืองจีนมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย หรือก่อนหน้านั้นเสียอีก ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงมีประวัติว่าค้าขายกับโปรตุเกส ฮอลันดา สเปน ญี่ปุ่น เปอร์เซีย อาหรับ ฝรั่งเศส ฯลฯ การค้าขายกับต่างประเทศมาซบเซาไปเมื่อ พ.ศ. 2310 ที่เสียกรุงศรีอยุธยา แต่ก็เริ่มฟื้นฟูขึ้นอีกในสมัยกรุงธนบุรี โดยใช้ บางกอก เป็นท่าเรือแห่งใหม่แทนกรุงศรีอยุธยา โดยเริ่มค้ากับจีนฮอลันดา และอังกฤษ ต่อเนื่องมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์

ความอับเฉาทางเศรษฐกิจสืบเนื่องมาจากช่วงเวลาที่เสียกรุงจนถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ทำให้รายได้ของบ้านเมือง ไม่ค่อยจะพอเพียงกับรายจ่าย อีกทั้งยังต้องเตรียมกองทัพไว้ในการศึกทั้งทางด้านพม่า และเขมรอีกด้วย เมื่อครั้งที่ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงกำกับราชการ กรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมพระตำรวจว่าความฎีกานั้น ได้ทรง “ค้าสำเภา” ด้วยสำเภาหลวง สำเภาของพระองค์เอง และชักชวนเจ้านาย กับขุนนางต่างๆ ค้าสำเภาด้วย ปรากฏตัวเลขว่า เมื่อ พ.ศ.2364 ไทยมีเรือที่ค้าขายกับจีนถึง 82 ลำ และที่ค้ากับประเทศอื่นๆ อีก 50 ลำ เงินกำไรที่ได้จากการค้า พระองค์ท่านได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระราชบิดา เพื่อทรงใช้สอยในราชการแผ่นดิน จนพระราชบิดาเรียกขานพระนาม พระเจ้าลูกยาเธอว่า “เจ้าสัว” ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์

เงินจากการค้า และที่เหลือจากทูลเกล้าฯ ถวายกับทรงใช้ราชการอย่างอื่นๆ ก็ทรงทำบุญกุศลต่างๆ แล้วเก็บเข้า ถุงแดง ไว้

เงินถุงแดง ส่วนใหญ่น่าจะเป็นเหรียญทอง (ทองคำ) ของต่างประเทศ ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 – สมัยรัชกาลที่ 1 ยังใช้ระบบเงินพดด้วงและเบี้ยอยู่ โดยยังไม่มีเงินเหรียญและธนบัตรเหมือนปัจจุบัน เงิน 1 เฟื้องแลกได้ 300 เบี้ย ต่อมาแขกอินเดียจากเมืองสุหรัตเอาเบี้ยมาขาย ทำให้แลกได้เฟื้องละ 350 เบี้ย ต่อมาจึงมีประกาศทางการว่า จะซื้อขายเบี้ยให้ซื้อขายเฟื้องละ 400 เบี้ย แต่หากจะซื้อขายของให้คิดเฟื้องละ 300 เบี้ย

ยังไม่ทราบกันว่า ถุงแดง แต่ละถุงมีเหรียญบรรจุอยู่มูลค่าถุงละเท่าไร แต่ปรากฏหลักฐานต่อมา ตามที่หม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัยดิศกุล ทรงนิพนธ์ไว้ในเรื่อง “เหตุการณ์ ร.ศ.112 และเรื่องเสียเขตแดนใน ร.5” มีความว่า

“….ฝรั่งเศสไม่ต้องการให้ไทยจ่ายค่าเสียหายเป็นธนบัตร หากว่าต้องการเป็น “เงินกริ๋ง ๆ” คราวนี้ก็ต้องเทถุงกันหมด เงินถุงแดงข้างพระที่ที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ทรงเก็บไว้ ด้วยมีพระราชดำรัสว่า “เอาไว้ถ่ายบ้านถ่ายเมือง” ก็ได้ใช้จริงคราวนี้ ผู้ใหญ่เล่าว่า เจ้านายในพระราชวัง เอาเงินถวายกันจนเกลี้ยง ใสถุงขนออกจากในวังทางประตูต้นสน ไปลงเรือทางท่าราชวรดิฐกันทั้งกลางคืนกลางวัน….”

เงิน ถุงแดง ปรากฏ ขึ้นในยุค สมัย ใด

เงิน ถุงแดง ปรากฏ ขึ้นในยุค สมัย ใด

Tagsธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์นิยายถุงแดงร.3อาจาม.รังสิตเงินถุงแดง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อาจารย์รัฐศาสตร์ ฟันธง สิ่งที่รัฐทหารศักดินาเกลียด คือเลือกตั้งแล้วได้คนแบบชัชชาติ

รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต นักวิชาการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลประยุทธ์ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า รู้มั้ยทำไมรัฐทหารศักดินาจึงเกลียดเลือกตั้งตลอดมา เพราะเลือกตั้งแล้วได้คนแบบผู้ว่า ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

เห็น 'ชัชชาติ' ใส่ชุดสีกากี! อาจายร์ม.รังสิตโวยสัญลักษณ์ฝ่ายอนุรักษ์นิยม นักการเมืองจะใส่ชุดอะไรก็ได้

รองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊กว่า ความผิดพลาดของการสร้างประชาธิปไตยตั้งแต่เริ่มต้นปฏิวัติ 2475

นักวิชาการ3นิ้วฟันธง!ถ้าไม่มีรัฐประหาร 2549 ทศวรรษ 2550 จะสร้างมอเตอร์เวย์สำเร็จทั้ง 13 สาย

ถ้าไม่มีรัฐประหาร 2549 ทศวรรษ 2550 ก็จะเป็นทศวรรษสร้างมอเตอร์เวย์ให้สำเร็จทั้ง 13 สาย ตามแผนของชาติ ที่ต้องการใช้เงินงบประมาณเพียง 5-6 แสนล้านบาท

นักวิชาการสามนิ้วโพสต์ล่อเป้า เบื่อมั้ย! ไปเที่ยวกรุงเทพ ต่างจังหวัดทีไร มักจะต้องเข้าวัดทุกครั้งไป

-รองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต นักวิชาการสามนิ้ว โพสต์เฟซบุ๊กว่าเบื่อมั้ย! ไปเที่ยวกรุงเทพ&ต่างจังหวัดทีไร มักจะต้องเข้าวัดทุกครั้งไป!

เงินถุงแดงเก็บไว้ใช้เมื่อใด

ทางรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช จึงต้องทรงนำเอา" เงินถุงแดง " ที่เก็บมาตั้งแต่สมัยของรัชกาที่ 3 มาใช้จ่ายในยามขับขันเช่นนี้ จึงช่วยกู้วิกฤตให้ทางสยามในเรื่องภัยคุกคามของฝรั่งเศสให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

ถุงเงินแดงในสมัยรัชกาลที่ 3 คืออะไร

เงินถุงแดง คือ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่ได้จากการค้าสำเภาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้ารัชกาลที่ ๓ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงเก็บหอมรอมริบไว้เป็นส่วนพระองค์โดยเก็บใส่ “ถุงผ้าสีแดง” ไว้ข้างที่ (ข้างพระแท่นที่บรรทม) เรียกว่า “เงินข้างที่” ซึ่งต่อมามีจำนวนมากเข้า ก็เก็บไว้ในห้องข้างๆ ที่บรรทม ...

คำว่า “เงินถุงแดง” นี้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่าอะไร

ต่างๆ แล้วเก็บเข้าถุงแดงไว้ พระราชทรัพย์เหล่านี้บรรจุไว้ในถุงผ้าสีแดง และเก็บไว้ในพระคลังข้างที่มาตลอด รัชกาล เงินที่อยู่ในถุงสีแดงเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่าเงินถุงแดง” และได้ถูกนำออกมาใช้เป็นเงินไถ่ บ้านไถ่เมือง ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวงในสมัยรัชกาลที่

ใครเป็นผู้แต่งเรื่องออมไว้ใส่ถุงแดง

“เงินถุงแดง” อิสรภาพไทยแลกด้วยค่าไถ่ 3 ล้านฟรังก์ ร.ศ. 112 หาเงินจากไหนให้ฝรั่งเศส.