ญายปฏิปนฺโน เป็นสังฆคุณด้านใด

พระสงฆ์เป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นหลักสำคัญมากในการสืบต่อพระพุทธศาสนาซึ่งได้รับการเคารพยกย่องอย่างสูงโดยจัดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ คุณของพระสงฆ์โดยสรุปมี 9 ประการ เรียกว่า “สังฆคุณ” คือ

1. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว หมายถึง พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติตามทางสายกลาง (มัชฌิมปฏิปทา) ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติกลมเกลียวกับพระศาสนดา ไม่ปฏิบัติเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน

2. อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเข้าเป็นผู้ปฏิบัติตรง หมายถึง ไม่ปฏิบัติเป็นคนลวงโลก ไม่มีมายาสาไถย ปฏิบัติมุ่งตรงต่อข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ปฏิบัติตรงต่อพระศาสดา และเพื่อนพระสาวกด้วยกัน ไม่มีข้อลี้ลับที่จะปิดบังอำพรางไว้ในใจ

3. ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง หมายถึง ปฏิบัติไม่ผิดเพี้ยนไปจากหลักคำสอนของพระศาสดา ไม่ผิดไปจากธรรมเนียมอันดีงาม ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบแบบแผน

4. สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติสมควร หมายถึง สมควรที่จะได้รับความเคารพนับถือ เป็นผู้ปฏิบัติตั้งอยู่ในสังวร ปฏิบัติเป็นผู้ตื่นอยู่ คือรู้ถึงเหตุการณ์อันเป็นไปอยู่ ไม่งมงาย รู้จักประพฤติกิริยาทางกาย และวาจาต่อผู้อื่นโดยไม่ทะนงตนมีใจหนักแน่นเผื่อแผ่ มีใจกว้างไม่คับแคบ

5. อาหุเนยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย หรือผู้ควรแก่ของคำนับ หมายถึง เป็นผู้ที่สมควรได้รับของถวายและได้รับการแสดงความเคารพด้วยเครื่องสักการะเนื่องในเทศกาลต่าง ๆ

6. ปาหุเนยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ หมายถึง พระสงฆ์สาวกเป็นผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง และเป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ไม่ว่าท่านจะโคจรไปสู่ที่ใด ย่อมยังประโยชน์สุขและประโยชน์เกื้อกูลให้เกิด ณ ที่นั้น ผู้เลื่อมใสจึงเปิดประตูบ้านต้อนรับด้วยความปีติ ที่ได้พบเห็นอันถือเป็นมงคลในชีวิตอย่างหนึ่ง

7. ทกฺขิเณยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน หมายถึง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้บริสุทธิ์ สมควรที่จะได้รับของบริจาคทาน (ทักษิณาทาน) และจะต้องได้รับผลดีอย่างแน่นอน

8. อญฺชลิกรณีโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ หมายถึงพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เป็นผู้บริสุทธิ์ ย่อมตั้งอยู่ในฐานะที่ควรแก่กระทำอัญชลีคือการกราบไหว้ให้ความเคารพ ยกย่อง

9. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส แปลว่า เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า หมายถึง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร และเป็นผู้บริสุทธิ สมควรได้รับการกราบไหว้บูชาแล้วการบริจาคทานแก่ท่านย่อมมีอานิสงส์มาก ดุจผืนนาที่มีดินดีสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยอันเป็นธาติอินทรีย์ เมล็ดพืชที่หว่านหรือปลูกลงบนผืนดินนี้ย่อมผลิตผลอย่างสมบูรณ์

เต็มเม็ดเต็มหน่วย พระสงฆ์สาวกเหล่านี้จึงเป็นปฏิคาหก (ผู้รับ) ที่ยอดเยี่ยม เป็นที่ปลูกฝังความดีงามและเป็นที่รักษาไว้ซึ่งความดีงามทั้งปวง
พระสงฆ์สาวกที่มาในบทสังฆคุณ 9 บทนี้ ท่านหมายเอาพระอริยบุคคล 4 คู่ 8 บุคคล ซึ่งท่านเหล่านี้ล้วนตั้งอยู่ในมรรคผลทั้งสิ้น คือ

คู่ที่ 1 คือ พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล
คู่ที่ 2 คือ พระสกทาคามิมรรค พระสกทาคามิผล
คู่ที่ 3 คือ พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล
คู่ที่ 4 คือ พระอรหันตมรรค พระอรหันตผล
สังฆคุณ 9 จัดเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภทคือ

1. อัตตหิตคุณ คือ คุณความดีเฉพาะพระสงฆ์สาวก คุณอันนี้ได้แก่ สังฆคุณ 4 บท คือ สุปฏิปันโน (เป็นผู้ปฏิบัติดี) อุชุปฏิปันโน (เป็นผู้ปฏิบัติตรง) ญายปฏิปันโน (เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง) สามีจิปฏิปันโน (เป็นผู้ปฏิบัติสมควร)

2. ปรหิตคุณ คือ คุณที่จะพึงเกื้อกูลให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น คุณดังกล่าวได้แก่ สังฆคุณ 5 บทหลัง คือ อานุเนยฺโย (เป็นผู้ควรแก่ของถวาย) ปาหุเนยฺโย (เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ) ทักขิเณยฺโย (เป็นผู้ควรแก่การบริจาคทาน) อัญชลิกรณีโย (เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้)และอนุตตรัง ปุญญเขตตัง โลกัสสะ (เป็นเนื้อนาบุญของโลก)การที่ท่านจัดสังฆคุณไว้เพียง 2 ประเภทเช่นนี้ ก็เพราะคุณใน 4 บทต้นนั้น เป็นไปเฉพาะในตัวของพระสงฆ์สาวกเท่านั้น ซึ่งเป็นเครื่องแสดงถึงการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่เป็นส่วนบุคคล ใครปฏิบัติดีก็เป็นของผู้นั้น จะจำหน่ายจ่ายแจกหรือโอนไปให้ผู้อื่นไม่ได้ ส่วนคุณของพระสงฆ์ 5 บทหลัง เป็นคุณที่อาจเป็นเครื่องสงเคราะห์ผู้อื่นได้ เช่น เมื่อพระสงฆ์ได้รับความเคารพนับถือ กราบไหว้ ได้รับการสักการะแล้ว ท่านย่อมสงเคราะห์ตอบด้วยการแนะนำ สั่งสอน บอกทางแห่งความดีให้ เป็นต้น (ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. 2538 : 83-85
ไตรลักษณ์ (the Three Characteristics)

ไตรลักษณ์นี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณะ แปลว่า ลักษณะที่ทั่วไป หรือเสมอเหมือนกันแก่สิ่งทั้งปวง คำทั้งสองคือ “ไตรลักษณ์” และ “สามัญลักษณะ” มีความหมายเหมือนกันคือ ทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิต ล้วนตกอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ(ธรรมดา) ทั้ง 3 คือ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เสมอเหมือนกันหมดโดยไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ หลักของไตรหลักหรือสามัญลักษณะ มี 3 ประการดังนี้

1. อนิจจตา (Impermanence) คือ สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป เช่น ชีวิตของคนเรา หรือสรรพสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมโทรม และสลายไปในที่สุด ไม่ว่าสิ่งใดก็ตามเป็นอย่างนี้เสมอเหมือนกันหมด เพียงแต่ช้าหรือเร็วเท่านั้นหลักอนิจจังนี้ท่านสอนเพื่อจะได้ไม่ประมาท คือ เมื่อรู้ว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่แน่นอน มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แม้แต่ชีวิตของเราจะอยู่ไปนานเท่าไรก็ไม่แน่นอน ดังนั้นควรจะต้องมีความเพียรพยายาม ทำกิจหน้าที่ เพื่อทำให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งของตนเองและผู้อื่นให้สำเร็จ จะมัวรอช้าอยู่ไม่ได้ หลักอนิจจังมุ่งสอนไม่ให้ประมาท ที่ต้องไม่ประมาทนั้นก็โยงหลักความจริงที่ว่า การที่สิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไปนั้นมันเปลี่ยนแปลงไปอย่างเลื่อนลอย นั่นคือ

1) ชีวิตและกิจการของเราเปลี่ยนไป
2) มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยหมายความว่า ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไปนั้น จะเปลี่ยนไปในทางเสื่อมก็ได้ หรือเปลี่ยนไปในทางเจริญก็ได้ แล้วแต่เหตุปัจจัย หากเราต้องการความเจริญก็ต้องทำเหตุปัจจัยของความเจริญ เช่น มีความเพียร ความตั้งใจจริง ความอดทน เป็นต้น หากเราไม่ต้องการความเสื่อม เราก็หลีกเลี่ยง ละเลิก หรือกำจัดเหตุปัจจัยของความเสื่อม เช่น หลีกเลี่ยงอบายมุข เว้นการประพฤติทุจริต เป็นต้น
เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจว่า หลักอนิจจังนี้ ท่านไม่ได้สอนให้เรางอมืองอเท้ารออยู่เฉย ๆ แต่ท่านสอนเพื่อให้เราไม่ประสาท และให้
ทำให้ถูกจุด หรือตรงเหตุปัจจัย ดังนั้นผู้ที่จะได้ประโยชน์จากหลักอนิจจังนี้ต้องทำให้ได้ 3 ชั้นคือ

ชั้นที่ 1 ให้เกิดความไม่ประมาท เร่งทำกิจที่ควรทำ
ชั้นที่ 2 ให้ทำตามเหตุปัจจัยและแก้ไขปัญหาที่เหตุปัจจัย
ชั้นที่ 3 อยู่ด้วยปัญญาที่ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง สบาย และปล่อยวาง ไม่บีบคั้นตนเอง ดังนั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์ 3 ข้อคือ
ข้อ 1 ทำให้กระตือรือร้นมีชีวิตชีวา และชีวิตมีคุณค่า
ข้อ 2 ทำให้ทำกิจการงานอะไรก็ตามก็ประสบความสำเร็จ
ข้อ 3 ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง สบาย จิตใจผ่องใสมีความสุข

2. ทุกขตา (Stress and Confict) คือ ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัวเพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ความสมอยากแท้จริง หรือความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้อยากด้วยตัณหา และก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไปอยากเข้าไปยึดด้วยตัณหาอุปาทาน

กระแสที่ 1 คือทุกข์ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยของธรรมชาติ ถือว่าเป็นกระแสหลัก ซึ่งเป็นความจริงตามธรรมดาของมันอยู่ภายนอก เช่น ทุกข์เกิดจากความร้อน หนาว ความเจ็บป่วย เป็นต้น เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไปได้ เป็นไปตามธรรมชาติ
กระแสที่ 2 คือทุกข์ที่เกิดจากความอยากที่เกิดขึ้นภายในตัวของเราเอง เช่น ความอยากในกาม ความอยากเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ความไม่อยากให้เป็นอย่างโน้นอย่างนี้ เป็นต้น

ประเภทของทุกข์
1) ทุกข์ 2 อย่าง ได้แก่
1.1) ทุกขเวทนา คือ ความทุกข์ยากลำบาก ความเจ็บปวดทรมานที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ทุกขเวทนานี้แบ่งออกเป็น 10 ประเภทคือ
(1) สภาวทุกข์ คือ ทุกข์ประจำสังขาร ได้แก่ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย
(2) ปกิณณกทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ความเศร้าโศก ความเสียใจ น้อยใจ ความคับแค้นใจ เป็นต้น
(3) นิพัทธทุกข์ คือ ทุกข์เนืองนิตย์ เช่น ความหิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ร้อน หนาว เป็นต้น
(4) พยาธิทุกข์ คือ ทุกข์เกิดขึ้นจากโรคภัย จากศาสตราอาวุธ เป็นต้น
(5) สันตาปทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากความเร่าร้อนเพราะไฟ คือ กิเลส เช่น ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ แผดเผา
(6) วิปากทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากผลของกรรมชั่ว เช่น การถูกลงอาญา ถูกลงโทษทัณฑ์ต่าง ๆ เป็นต้น
(7) สหคตทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา
(8) อาชีวทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดเพราะการทำมาหาเลี้ยงชีพ เช่น ความระกำลำบาก ความเหน็ดเหนื่อย ความวิตกกังวล เป็นต้น
(9) วิวาทมูลกทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดจากการทะเลาะวิวาท ถกเถียง ชกต่อยกัน การเป็นศัตรูคู่อาฆาตกัน เป็นต้น
(10) ขันธทุกข์ ทุกข์ที่เกิดจากการรักษาขันธ์ 5 คือ มีทุกข์ก็เพราะมีขันธ์ 5 หากไม่มีขันธ์ 5 ก็ไม่มีทุกข์หรือทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น
1.2) ทุกขลักษณะ คือ สภาวะที่ทนอยู่ไม่ได้ของสิ่งทั้งปวง ความคงทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลง
ของร่างกาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่สามารถห้ามได้ ต้องแตกดับในที่สุด เช่น การทรุดโทรมคร่ำคร่าของบ้านเรือน เข้าของเครื่องใช้ต่าง ๆ เป็นต้น

2) ทุกข์ 3 อย่าง ได้แก่
2.1) ทุกขตา คือ ทุกข์ที่เป็นความรู้สึกทุกข์ ได้แก่ ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ หรือเรียกว่า “ทุกขเวทนา”
2.2) วิปริณามทุกขตา คือ ทุกข์เนื่องด้วยความผันแปร หรือทุกข์ที่เนื่องในความผันแปรของสุข คือความสุขที่กลายเป็นทุกข์หรือทำให้เกิดทุกข์ เพราะการกลับกลายผันแปรของมันเอง เช่นในภาวะปกติมีความไม่รู้สึกทุกข์ไป คนที่มีความสุขสบายมากเท่าใด หากความสุขสบายนั้นแปรผันไป จากไป ก็จะกลับหลายเป็นความทุกข์อย่างสาหัสรุนแรง
2.3) สังขารทุกขตา คือ ทุกข์ตามสภาพสังขาร ได้แก่สภาวะของตัวสังขารเองหรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากเหตุปัจจัย คือ
ขันธ์ 5 เป็นทุกข์คือ เป็นสภาพที่ถูกบีบคั้นด้วยปัจจัยที่ขัดแย้ง มีการเกิด เสื่อมและดับไป ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง เป็นไปตามกระแสของมัน เข้าไปยึดมั่นแล้วฝืนกระแสของมันและปฏิบัติต่อมันโดยขาดสติปัญญา

3. อนัตตตา (Soullessness or Non-silf) คือ ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมัน ในระดับต้น ๆ คือ ความยึดมั่นในตัวตน เริ่มตั้งแต่การรับรู้ กล่าวคือ ในวันหนึ่ง ๆ ชีวิตของเราก็คือการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส และได้รู้อารมณ์ด้วยใจแล้วก็มีความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ รัก โกรธ เกลียด อะไรต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ตามหลักพระพุทธศาสนา การรับรู้ของมนุษย์นั้นมี 2 แบบคือ

1) รับรู้แบบยินดียินร้าย หมายถึง ธรรมดาสิ่งทั้งหลายที่รับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของเรานี้ อาจจะมีความถูกใจและไม่ถูกใจ สิ่งไหนที่ถูกใจเรามากระทบเราก็เกิดความ “ยินดี” สิ่งไหนไม่ถูกใจก็ไม่ชอบ “ยินร้าย” พอความรู้สึกเหล่านี้เข้ากระทบก็จะเกิดปัญหา เกิดทุกข์ ว่าอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ อยากทำลายสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นต้น จึงก่อให้เกิดปัญหาแก่ตัวเราอยู่เรื่อยไป

2) รับรู้แบบเรียนรู้ หรือรับรู้ตามความเป็นจริง หมายถึง การรับรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยปัญญารู้จักรับรู้ในสิ่งที่ควรรับรู้ เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องโดยอาศัยปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง ไม่หลงงมงาย จิตใจก็ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ เช่น ไม่มีความโกรธความเกลียด ขุ่นมัว เศร้าหมองใจ เดือดร้อนใจ คับข้องใจ วิตกกังวล เป็นต้น

หลักของอนัตตา มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ไม่เป็นไปตามอำนาจของใคร
(2) ไม่มีแก่นสาร
(3) ว่างเปล่าวจากตัวตน
(4) ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
(5) ไม่มีอะไรหรือใครเป็นใหญ่กว่า
(6) ขัดแย้งกับตัวตนอย่างตรงกันข้าม

คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์

ญายปฏิปนฺโน เป็นสังฆคุณด้านใด

พุทธพจน์ ถือได้ว่าเป็นตัวแทนที่ชี้ถึงคุณค่าทางจริยธรรม 2 ประการของไตรลักษณ์ คือ

1. “สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความสงบวาง
แห่งสังขารเหล่านั้น เป็นสุข” พุทธพจน์ข้อนี้ชี้ให้เห็นคุณค่าในด้านการวางใจต่อสังขาร คือโลกและชีวิต ให้รู้เท่าทันว่า สิ่งทั้งหลายซึ่งเป็นสภาพปรุงแต่ง ล้วนไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน ต้องเปลี่ยนแปลงแปรปรวนไป ไม่อาจคงสภาพเดิมอยู่ได้ มิใช่ตัวตนที่จะบังคับบัญชาให้เป็นไปได้ตามความปรารถนา มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย และเป็นธรรมดาของมันนั่นเอง เมื่อรู้เช่นนี้ ก็จะมีทีท่าของจิตใจที่ถูกต้อง ไม่ยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งหลายแม้สิ่งทั้งหลายที่พบเห็นเกี่ยวข้องจะแปรปรวนเสื่อมสลายพลัดพรากสูญหายไป จิตใจก็ไม่ถูกครอบงำย่ำยีบีบคั้น ยังคงปลอดโปร่ง ผ่องใส เบิกบานอยู่ได้ ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันธรรมดา คุณค่าข้อนี้เน้นความหลุดพ้นเป็นอิสระของจิตใจ เป็นระดับโลกุตตระ เรียกว่า “คุณค่าด้านการทำจิต”

2. “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา, เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม (หรือจงบำเพ็ญกิจให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท)” พุทธพจน์ข้อนี้ ชี้ถึงคุณค่าด้านการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อความมีชีวิตที่เรียกว่า เป็นอยู่หรือดำเนินไปอย่างถูกต้องดีงามในโลกอันเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองและบุคคลอื่นและเพื่อให้เข้าถึงบรมธรรมที่เป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิตโดยให้รู้ตามความเป็นจริงว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งชีวิตและโลกล้วนเกิดจากองค์ประกอบทั้งหลายทั้งมวลกันขึ้น ดำรงอยู่ได้ชั่วคราว ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีความบีบคั้นกดอัดขัดแย้งแฝงอยู่ทั้งภายนอกและภายใน จะต้องทรุดโทรมแตกสลายเปลี่ยนแปลงกลายรูปไป ไม่อยู่ในอำนาจของความปรารถนา กระบวนการเปลี่ยนแปลงดำเนินไปตลอดเวลา เมื่อรู้เช่นนี้แล้วก็จะได้กระตือรือร้น กระตุ้นตนเองให้เร่งรัดขวนขวายทำสิ่งที่ควรทำ และเว้นสิ่งที่ควรเว้น ไม่ละเลย ไม่รอช้า ไม่ปล่อยเวลาและโอกาสให้สูญเปล่า เอาใจใส่แก้ไขสิ่งเสียหายที่ได้เกิดขึ้นระมัดระวังหนทางป้องกันทางที่จะเกิดความเสื่อมโทรม เสียหายต่อไป และสร้างสรรค์สิ่งดีงามความเจริญก้าวหน้า โดยไตร่ตรองพิจารณาและดำเนินการด้วยปัญญาอันรู้ที่จะจัดการตามเหตุปัจจัย ทำให้เกิดผลสำเร็จด้วยดีทั้งในแง่กิจที่ทำและจิตใจของตนคุณค่าข้อนี้เน้นด้านความไม่ประมาทเร่งรัดทำกิจ เป็นระดับโลกิยะ เรียกว่า “คุณค่าด้านการทำกิจ”

ประโยชน์จากการรู้ไตรลักษณ์ (กฎธรรมชาติ)

1. ทำให้เรามองเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง คือ สรรพสิ่งที่เกิดขึ้นมาได้อย่างไร แล้วจะเป็นอย่างไร เช่น ชีวิตของเราเมื่อเกิดมาแล้วจะต้องเป็นไปตามกฎ 3 ข้อคือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีสิ่งใดในโลกนี้หลีกพ้นได้ เป็นต้น เมื่อเข้าใจจะทำให้เราอยู่ในสภาพที่ไม่ประมาท เพียรพยามทำกิจการงานในอันที่จะก่อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เป็นต้น

2. ทำให้เรามองเห็นสรรพสิ่งครบทุกด้าน เช่น ชีวิตของคนเรามีการเกิด แก่ เจ็บ และตายในที่สุด เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นไปตามกฎธรรมชาติ เมื่อเราเข้าใจและมองรอบด้านอย่างนี้ จะทำให้ไม่เกิดความวิตกกังวล ทุกข์ใจ กับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ดีใจจนเกินไปเมื่อสมหวังและไม่เสียใจเกินไปเมื่อผิดหวังเข้าใจว่าสรรพสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นและตั้งอยู่เป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นไปตามกฎ 3 ข้อ เราก็ไม่เกิดความทุกข์ เป็นต้น

3. ทำให้เราไม่ยึดถือ “ตัวเรา” “ของเรา” มากเกินไป กล่าวคือ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลง (อนิจจัง) เพราะการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้คนเราเกิดความทุกข์ (ทุกขัง) เหตุที่เกิดทุกข์ก็เพราะการเข้าไปยึดติดอยู่กับตัวตนว่าเป็นของจริง จึงเกิดความอยากมีอยากเป็น ถือมั่นในความเป็นตัวเรา ของเรา (อนัตตา)ดังนั้นหลักอนัตตาจึงเป็นหลักที่ทำให้เราไม่เห็นแก่ตัว ลดความอยาก (ตัณหา) และความยึดมั่น (อุปาทาน) ลง โดยเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในสภาวะของธรรมชาติและกฎธรรมชาติ คนเราก็จะพ้นทุกข์จากความทุกข์ทั้งปวงได้

อริยสัจ 4 : สมุทัย : หลักกรรม : วัฏฏะ 3
วัฏฏะ 3 (the triple round, cycle)

วัฏฏะ หมายถึง วน, วงเวียน หรือหมุนเวียนกันไปไม่มีที่สิ้นสุด โดยมีองค์ประกอบเป็นเหตุปัจจัยกัน 3 ประการคือ

1. กิเลสวัฏฏ์ หมายถึง
วงจรกิเลส คือ ตัวสาเหตุผลักดันให้คิดปรุงแต่งกระทำการต่าง ๆ 2. กรรมวัฏฏ์ หมายถึง วงจรกรรม คือ กระบวนการกระทำหรือกรรมทั้งหลายที่ปรุงแต่งชีวิตให้เป็นไปต่าง ๆ
3. วิปากวัฏฏ์ หมายถึง วงจรวิบาก คือสภาพช่วิตที่เป็นผลแห่งการปรุงแต่งของกรรม และกลับเป็นปัจจัยเสริมสร้างกิเลสต่อไป
ได้อีกสภาพทั้ง 3 นี้ได้ชื่อว่าวงจร เพราะหมุนเวียนกันไปคือ กิเลสเกิดขึ้น เช่น เกิดความไม่รู้ (อวิชชา) เกิดตัณหา (ความอยาก) และเกิดความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) แล้วให้ทำกรรม (การกระทำ) ครั้งทำกรรมแล้ว ย่อมได้วิบากแห่งกรรม เมื่อได้รับวิบากแห่งกรรม กิเลสก็เกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ กว่าพระอรหันตมรรคจะตัดให้ขาดลงตราบใดที่กิเลสยังไม่หมด การหมุนเวียนเป็นกิเลส กรรมวิบากก็ต้องมีอยู่ และคนสัตว์เหล่านั้นต้องเวียนว่ายตายเกิด หมุนวนอยู่ในสังสารวัฏตลอดไป พร้อมกับต้องประสบสุข ๆ ทุกข์ ๆ อยู่เรื่อยไป ไม่มีที่สิ้นสุด

ปปัญจธรรม 3 (diversification)
ปปัญจธรรม หมายถึง กิเลสเครื่องเนิ่นช้า หรือกิเลสที่เป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริงหรือทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกทางตรงไปตรงมา หรือไม่สามารถแก้ปัญหาได้ถูกจุด ประกอบด้วย

1. ตัณหา คือ ความทะยานอยาก, ความปรารถนาที่จะบำรุงบำเรอ ปรนเปรอตนให้มีความสุข หรือความอยากได้อยากมี
2. ทิฏฐิ คือ ความคิดเห็น ความเชื่อถือ ลัทธิความเชื่อต่าง ๆ ทฤษฎี อุดมการณ์ต่าง ๆ ที่ยึดถือไว้โดยงมงาย หรือโดยอาการยกย่อง
เชิดชูว่าเป็นอย่างนี้เท่านั้น ไม่เป็นเป็นอย่างอื่น หรือเชื่อว่าสิ่งนี้เป็นจริงเท่านั้นอย่างอื่นเป็นเท็จหมด เป็นต้น ดังนั้นการปิดกั้นปัญญาของตนโดยไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น หรือความไม่เชื่อมั่นในสติปัญญาของผู้อื่น เชื่อในสิ่งที่ตนคิดว่าเป็นจริง ตลอดจนการบีบบังคับให้ผู้อื่นเชื่อถือตามตนเอง ถือว่าเป็นคนมีทิฏฐิ
3. มานะ คือ ความถือตัว หรือสำคัญตนว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่หรือด้อยกว่าผู้อื่น หรือความอยากเด่นอยากยกชูตนให้ยิ่งใหญ่ เข้าในลักษณะ “ยกตนข่มท่าน“ ถือว่าเป็นคนมีมานะลักษณะทั้ง 3 นี้ถือว่าทำให้ตนไม่เกิดปัญญา เป็นการปิดกั้นทางแห่งปัญญา จึงเป็นสิ่งที่ควรละเสีย

อัตถะ 3 (benefit, advantage)

อัตถะ หมายถึง ประโยชน์หรือคุณค่าที่เป็นจุดหมายของชีวิต แบ่งเป็น 3 ระดับคือ

1. ทิฏฐธัมมิกัตถะ หมายถึง ประโยชน์ในปัจจุบัน, ประโยชน์ในโลกนี้ หรือประโยชน์ชั้นต้น เป็นจุดหมายทันตาเห็น ที่สำคัญคือ
1.1 ความมีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง สง่างาม ไร้โรค ตลอดจนมีอายุยืนยาว
1.2 ความมีทรัพย์สินเงินทอง อย่างน้อยมีอาชีพการงาน พึ่งตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ ไม่มีหนี้สิน เป็นต้น
1.3 การมีครอบครัวที่มั่นคงผาสุก ตลอดจนวงศ์ตระกูลเป็นที่นับถือ
1.4 ความเป็นที่ยอมรับในสังคม มีสถานภาพดี มีชื่อเสียงเกียรติคุณ พรั่งพร้อมด้วยยศตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นเกียรติยศ บริวารยศ หรืออิสริยยศ เป็นต้น

2. สัมปรายิกัตถะ หมายถึง ประโยชน์เบื้องหน้า, ประโยชน์ในภพหน้า หรือประโยชน์ชั้นสูงขึ้นไป ที่สำคัญเช่น
2.1 การมีความสุขทางจิตใจ ด้วยศรัทธาในพระรัตนตรัย ซาบซึ้งในบุญกุศล และมั่นใจในการทำความดี
2.2 ความอิ่มใจมั่นใจในชีวิตของตนที่มีความประพฤติสุจริตดีงาม ได้ทำสิ่งที่ถูกต้อง
2.3 ความอิ่มใจในความมีชีวิตที่มีคุณค่าเป็นประโยชน์ ที่ได้เสียสละทำการสร้างสรรค์เกื้อกูลไว้แก่เพื่อนมนุษย์และสังคม
2.4 ความแกล้วกล้ามั่นใจ และปลอดโปร่งเบิกบานใจ เนื่องจากมีความรู้ มีปัญญาที่จะแก้ปัญหาและจัดทำดำเนินกิจการต่าง ๆให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
2.5 ความสบายใจมั่นใจในกรรมที่ได้ประกอบไว้อันเป็นบุญกุศลดีงามสุจริต เป็นหลักประกันชีวิตในภพหน้า สามารถจากโลกนี้ไปโดยไม่ต้องหวาดหวั่นกลัวภัยแห่งทุคติ

3. ปรมัตถะ หมายถึง ประโยชน์สูงสุด หรือจุดหมายสูงสุด คือพระนิพพาน คือความมีจิตใจที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ทั้งปวง บรรลุภาวะที่เรียกว่า นิพพาน ซึ่งเป็นอิสรภาพ สันติ และความสุขอย่างสูงสุด ที่เกิดจากความรู้แจ้งหยั่งเห็นความจริงแท้ของโลกและชีวิต มีจิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวไปตามโลกธรรม คือความผันผวนปรวนแปรเปลี่ยนแปลงของสิ่งทั้งหลาย ปลอดโปร่งผ่องใสเบิกบานเป็นสุขและสะอาดบริสุทธิ์ได้ตลอดทุกเวลา มีชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญาอย่างแท้จริง
อนึ่ง ประโยชน์หรือจุดหมายทั้ง 3 ระดับนี้ ยังสามารถแยกออกเป็น 3 ด้าน คือ

1. อัตตัตถะ หมายถึง ประโยชน์ตน คือ ประโยชน์ 3 ระดับที่กล่าวข้างต้นนั้นที่พึงกระทำให้เกิดแก่ตนเอง หรือพัฒนาชีวิตของตนเองให้สามารถบรรลุถึง
2. ปรัตถะ หมายถึง ประโยชน์ผู้อื่น คือ ประโยชน์ที่พึงช่วยเหลือให้ผู้อื่นหรือเพื่อนมนุษย์ได้บรรลุถึง ด้วยการชักนำให้เขาพัฒนาชีวิตของเขาเองขึ้นไปจึงถึงตามลำดับ
3. อุภยัตถะ หมายถึง ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือ ประโยชน์ร่วมกัน หรือประโยชน์แก่สังคมทั้งหมด โดยเฉพาะสภาพและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่พึงช่วยกันสร้างสรรค์บำรุงรักษา อันจะเกื้อหนุนให้ทั้งตนและผู้อื่นเข้าถึงจุดหมายทั้ง 3 ระดับนั้นโดยทั่วไปมนุษย์มีศักยภาพที่จะฝึกตนให้บรรลุประโยชน์ทั้ง 3 ระดับ และมีหน้าที่ที่จะต้องบำเพ็ญประโยชน์ทั้ง 3 ด้าน ทุกคนจึงต้องฝึกฝนตนเอง และพึงปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว

อริยสัจ 4 : นิโรธ : อัตถะ 3

อัตถะ 3 (benefit, advantage)

อัตถะ หมายถึง ประโยชน์หรือคุณค่าที่เป็นจุดหมายของชีวิต แบ่งเป็น 3 ระดับคือ

1. ทิฏฐธัมมิกัตถะ หมายถึง ประโยชน์ในปัจจุบัน, ประโยชน์ในโลกนี้ หรือประโยชน์ชั้นต้น เป็นจุดหมายทันตาเห็น ที่สำคัญคือ
1.1 ความมีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง สง่างาม ไร้โรค ตลอดจนมีอายุยืนยาว
1.2 ความมีทรัพย์สินเงินทอง อย่างน้อยมีอาชีพการงาน พึ่งตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ ไม่มีหนี้สิน เป็นต้น
1.3 การมีครอบครัวที่มั่นคงผาสุก ตลอดจนวงศ์ตระกูลเป็นที่นับถือ
1.4 ความเป็นที่ยอมรับในสังคม มีสถานภาพดี มีชื่อเสียงเกียรติคุณ พรั่งพร้อมด้วยยศตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นเกียรติยศ บริวารยศ หรืออิสริยยศ เป็นต้น

2. สัมปรายิกัตถะ หมายถึง ประโยชน์เบื้องหน้า, ประโยชน์ในภพหน้า หรือประโยชน์ชั้นสูงขึ้นไป ที่สำคัญเช่น
2.1 การมีความสุขทางจิตใจ ด้วยศรัทธาในพระรัตนตรัย ซาบซึ้งในบุญกุศล และมั่นใจในการทำความดี
2.2 ความอิ่มใจมั่นใจในชีวิตของตนที่มีความประพฤติสุจริตดีงาม ได้ทำสิ่งที่ถูกต้อง
2.3 ความอิ่มใจในความมีชีวิตที่มีคุณค่าเป็นประโยชน์ ที่ได้เสียสละทำการสร้างสรรค์เกื้อกูลไว้แก่เพื่อนมนุษย์และสังคม
2.4 ความแกล้วกล้ามั่นใจ และปลอดโปร่งเบิกบานใจ เนื่องจากมีความรู้ มีปัญญาที่จะแก้ปัญหาและจัดทำดำเนินกิจการต่าง ๆให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
2.5 ความสบายใจมั่นใจในกรรมที่ได้ประกอบไว้อันเป็นบุญกุศลดีงามสุจริต เป็นหลักประกันชีวิตในภพหน้า สามารถจากโลกนี้ไปโดยไม่ต้องหวาดหวั่นกลัวภัยแห่งทุคติ

3. ปรมัตถะ หมายถึง ประโยชน์สูงสุด หรือจุดหมายสูงสุด คือพระนิพพาน คือความมีจิตใจที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ทั้งปวง บรรลุภาวะที่เรียกว่า นิพพาน ซึ่งเป็นอิสรภาพ สันติ และความสุขอย่างสูงสุด ที่เกิดจากความรู้แจ้งหยั่งเห็นความจริงแท้ของโลกและชีวิต มีจิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวไปตามโลกธรรม คือความผันผวนปรวนแปรเปลี่ยนแปลงของสิ่งทั้งหลาย ปลอดโปร่งผ่องใสเบิกบานเป็นสุขและสะอาดบริสุทธิ์ได้ตลอดทุกเวลา มีชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญาอย่างแท้จริง
อนึ่ง ประโยชน์หรือจุดหมายทั้ง 3 ระดับนี้ ยังสามารถแยกออกเป็น 3 ด้าน คือ

1. อัตตัตถะ หมายถึง ประโยชน์ตน คือ ประโยชน์ 3 ระดับที่กล่าวข้างต้นนั้นที่พึงกระทำให้เกิดแก่ตนเอง หรือพัฒนาชีวิตของตนเองให้สามารถบรรลุถึง
2. ปรัตถะ หมายถึง ประโยชน์ผู้อื่น คือ ประโยชน์ที่พึงช่วยเหลือให้ผู้อื่นหรือเพื่อนมนุษย์ได้บรรลุถึง ด้วยการชักนำให้เขาพัฒนาชีวิตของเขาเองขึ้นไปจึงถึงตามลำดับ
3. อุภยัตถะ หมายถึง ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือ ประโยชน์ร่วมกัน หรือประโยชน์แก่สังคมทั้งหมด โดยเฉพาะสภาพและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่พึงช่วยกันสร้างสรรค์บำรุงรักษา อันจะเกื้อหนุนให้ทั้งตนและผู้อื่นเข้าถึงจุดหมายทั้ง 3 ระดับนั้นโดยทั่วไปมนุษย์มีศักยภาพที่จะฝึกตนให้บรรลุประโยชน์ทั้ง 3 ระดับ และมีหน้าที่ที่จะต้องบำเพ็ญประโยชน์ทั้ง 3 ด้าน ทุกคนจึงต้องฝึกฝนตนเอง และพึงปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว

อริยสัจ 4 : มรรค : มรรคมีองค์ 8

ญายปฏิปนฺโน เป็นสังฆคุณด้านใด

มรรคมีองค์ 8 (the Noble Eightfold Path)

มรรค คือแนวทางการปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือการบรรลุความหลุดพ้น มรรคเป็นประมวลหลักความประพฤติปฏิบัติหรือระบบจริยธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนาเป็นคำสอนภาคปฏิบัติที่จะช่วยให้ดำเนินชีวิตไปสู่จุดหมายเป็นผลสำเร็จขึ้นมาในชีวิตจริง
ประกอบด้วยมรรคมีองค์ 8 คือ

1. สัมมาทิฏฐิ (Right Understanding) หมายถึง ความเห็นชอบ เช่น รู้ว่าสิ่งไหนควรทำสิ่งไหนไม่ควรทำ เห็นว่าการทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว เห็นว่ามีผู้ทำความดีต่อเรา เราก็ทำดีตอบ รู้จักการตอบแทนผู้มีพระคุณ เป็นต้น

2. สัมมาสังกัปปะ (Right Thought) หมายถึง การดำริชอบ ได้แก่ คิดในสิ่งที่ดี ไม่คิดโลภอยากได้ของเขา ไม่คิดหลงมัวเมาต่อบายมุข ไม่คิดโกรธเคืองพยาบาทจองเวรผู้อื่น ไม่คิดทำร้ายหรือเบียดเบียนคนอื่นหรือสัตว์อื่นให้ได้รับความทุกข์ ความเจ็บปวดทรมาน เป็นต้น

3. สัมมาวาจา (Right Speed) หมายถึง การเจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต หรือไม่พูดชั่ว 4 ประการ คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ และพูดในสิ่งที่เป็นจริง มีประโยชน์ ไพเราะอ่อนหวาน พูดมีสาระ และพูดถูกกาลเทศะ เป็นต้น

4. สัมมากัมมันตะ (Right Action) หมายถึง การกระทำชอบ ได้แก่ การประพฤติตามกายสุจริต 3 คือ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ลักทรัพย์หรือเอาทรัพย์สินคนอื่นมาเป็นของเรา ไม่ประพฤติผิดในกาม

5. สัมมาอาชีวะ (Right Livelihood) หมายถึง การเลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ การเว้นจากมิจฉาชีพ ประกอบแต่สัมมาชีพ คืออาชีพที่สุจริต อาชีพที่ดีงาม ไม่เป็นอาชีพที่สร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่น เช่น การหลอกลวง การปล้น การบังคับขู่เข็ญ การค้ายาเสพติด เป็นต้น

6. สัมมาวายามะ (Right Effort) หมายถึง ความพยายามชอบ ได้แก่ ความเพียรพยายามในสิ่งที่ดีงามถูกต้อง นั่นคือความพยายามสำรวมระวังตนมิให้ทำความชั่ว เพียรละความชั่วที่เกิดขึ้นในตน เพียรพยายามทำความดีให้เกิดขึ้นในตน และเพียรพยายามรักษาคุณความดีที่เกิดขึ้นในตนให้อยู่ในตนตลอดไป

7. สัมมาสติ (Right Mindfulness) หมายถึง ความระลึกชอบ คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาให้เห็นในสิ่งทั้งหลายที่ปรากฏตาม
สภาพความเป็นจริงของสิ่งนั้น ได้แก่ การพิจารณาร่างกาย จิต และความรู้สึกของตนให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริงรวมทั้งการตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรมทั้งหลายที่มีอยู่ตามสภาพของธรรมนั้น ๆ

8. สัมมาสมาธิ (Right Concentration) หมายถึง การตั้งใจชอบ คือ การใช้สมาธิที่ถูกทาง การตั้งใจกระทำในสิ่งที่ดีงามทั้งหลาย เช่นการตั้งใจศึกษาเล่าเรียนการตั้งใจประกอบกิจการงานให้ประสบความสำเร็จหรือบรรลุจุดมุ่งหมาย ในขั้นสูงสุด คือการใช้สมาธิเพื่อจุดหมายในทางหลุดพ้น เป็นไปเพื่อปัญญาที่รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง

๒.๒ อริยสัจ 4 : มรรค : ปัญญา 3

ปัญญา 3 (wisdom, knowledge, understanding)

ปัญญา หมายถึง ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความเข้าใจ, ความรู้แจ้ง คือ ความรอบรู้ทั้งตนเอง และวิชาการต่าง ๆ สิ่งแวดล้อม สังคม และความเป็นไปของโลกอย่างชัดเจน กระบวนการที่ทำให้เกิดปัญญา มี 3 วิธีคือ

1. สุตมยปัญญา คือปัญญาเกิดจากการฟัง อันได้แก่ ฟังการอบรม ฟังการบรรยาย ฟังการอภิปราย ฟังการเสวนา ฟังการระดม สมอง การอ่านตำราหรือเอกสารต่าง ๆ การได้ดูได้ฟังจากสื่อต่าง ๆ เป็นต้น

2. จิตตามยปัญญา คือปัญญาเกิดจากความคิด เป็นความคิดที่เป็นระบบถูกต้อง ความคิดที่ละเอียดลึกซึ้ง ความคิดแบบแยบคาย ความคิดรอบด้านที่เรียกว่า ความคิดแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมาย

3. ภาวนามนปัญญา คือปัญญาเกิดจากการอบรมตนเองโดยเน้นกระบวนการศึกษาจิตและกายอย่างชัดแจ้ง เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต เมื่อทราบว่าใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว ก็ให้การฝึกจิตควบคุมจิต จนกระทั่งมีความสงบ สามารถนำไปตรึกตรองเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างแตกฉาน เป็นระบบ สงบ ไม่วุ่นวาย ทำงานได้ผล มีประสิทธิภาพ มีความสุข

๒.๓ อริยสัจ 4 : มรรค : สัปปุริสธรรม 7

ภสัปปุริสธรรม 7 (virtues of a gentleman)

สัปปุริสธรรม หมายถึง ธรรมของสัตบุรุษ หรือธรรมที่ทำให้เป็นสัตตบุรุษ คำว่า “สัตบุรุษ” หมายถึง คนดี นักปราชญ์ หรือบัณฑิตสัปปุริสธรรม จึงหมายถึง คุณธรรมที่ทำให้คนเป็นคนดี มี 7 ประการคือ

1. ธัมมัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักเหตุ คือ รู้หลักการและกฎเกณฑ์ของสิ่งทั้งหลาย ที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินกิจการงานต่าง ๆ รู้และเข้าใจในสิ่งที่ตนจะต้องประพฤติปฏิบัติตามเหตุผล เช่น รู้ว่า ตำแหน่งฐานะ อาชีพการงานของตน มีหน้าที่และความรับผิดขอบอย่างไร มีอะไรเป็นหลักการ จะต้องทำอะไรอย่างไร จึงจะเป็นเหตุให้บรรลุถึงผลสำเร็จที่เป็นไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบนั้น ๆ ดังนี้เป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุดคือ รู้เท่าทันกฎธรรมหรือหลักความจริงของธรรมชาติเพื่อปฏิบัติต่อโลกและชีวิตอย่างถูกต้อง มีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของโลกและชีวิตนั้น

2. อัตถัญญุตา หมายถึง รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล คือ รู้ความหมาย และความมุ่งหมายของหลักการที่ตนปฏิบัติ เข้าใจวัตถุประสงค์ของกิจการที่ตนกระทำ รู้ว่าที่ตนทำอยู่อย่างนั้น ดำเนินชีวิตอย่างนั้น เพื่อประสงค์ ได้ประโยชน์อะไร หรือควรจะได้บรรลุถึงผลหรือเป้าหมายอย่างไร ที่ให้มีหน้าที่ ตำแหน่ง ฐานะ การงานอย่างนั้น เขากำหนดความมุ่งหมายอะไร กิจการงานที่ตนกระทำอยู่ในขณะนี้ เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอย่างไรบ้าง เป็นผลดีหรือผลเสีย เป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุด คือ รู้ความหมายของคติธรรมดา และประโยชน์ที่เป็นจุดหมายแท้จริงของชีวิต

3. อัตตัญญุตา หมายถึง รู้ตน คือ รู้ตามเป็นจริงว่า ตัวเรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความถนัด ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น เป็นอย่างไร มีลักษณะแบบไหน และนำมาประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสมกับตน และกระทำให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของตนก็จะทำให้สัมฤทธิ์ผลตลอดจนรู้จักปรับปรุงแก้ไขตนเองให้เจริญก้าวหน้าและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป

4. มัตตัญญุตา หมายถึง รู้ประมาณ คือ รู้จักความพอดี เช่น รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร รู้จักประมาณในการใช้จ่ายทรัพย์รู้จักความพอเหมาะพอดีในการพูด ในการปฏิบัติกิจการงานต่าง ๆ ตลอดจนรู้จักประมาณในการพักผ่อนหลับนอนและการสนุกสนานรื่นเริงต่าง ๆ ทำกิจการทุกอย่างด้วยความเข้าใจในวัตถุประสงค์เพื่อผลที่ดีอย่างแท้จริง มิใช่เพื่อเห็นแก่ความพอใจ ความชอบใจ หรือเอาแต่ใจตนเองเพียงอย่างเดียว

5. กาลัญญุตา หมายถึง รู้กาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และรู้ระยะเวลาที่พึงใช้ในการประกอบกิจการต่าง ๆ รู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสมในแต่ละกิจการที่ตนกระทำ เช่น แบ่งเวลาเรียน เวลาทำงาน เวลาอ่านหนังสือ เวลาเล่น เวลาพักผ่อน เป็นต้น นอกจากนั้นจะต้องเป็นคนที่ตรงต่อเวลารับผิดชอบต่อเวลาที่ตนกำหนดที่ตนได้วางแผนไว้ เพื่อผลสำเร็จที่มีต่อตนเองอย่างแท้จริง

6. ปริสัญญุตา หมายถึง รู้ชุมชน คือ รู้จักถิ่น รู้จักชุมชน รู้ในสิ่งที่ควรประพฤติปฏิบัติต่อท้องถิ่นของตน มีความรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่นหรือชุมชนของตน เข้าใจและปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นหรือชุมชน ไม่รังเกียจหรือดูหมิ่นเหยียดหยามท้องถิ่นหรือชุมชนของตน ควรให้การสงเคราะห์ ช่วยเหลือหรือบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นหรือชุมชนของตน เป็นต้น

7. ปุคคลัญญุตา หมายถึง รู้บุคคล คือ รู้จักและเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ว่าแต่ละคนมีบุคลิกลักษณะ อุปนิสัย ความรู้ความสามารถ และคุณธรรมที่แตกต่าง กัน ควรจะรู้จักปฏิบัติต่อแต่ละบุคคลอย่างไร เช่นไร บุคคลไหนควรคบไม่ควรคบ บุคคลไหนที่เราควรให้ความเคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนบุคคลไหนที่เราควรให้คำแนะนำ สั่งสอน ช่วยเหลือ เป็นต้นหากต้องการเป็นคนดีของสังคม ให้เป็นที่ยอมรับนับถือจากบุคคลอื่น ควรปฏิบัติตนตามหลักของสัปปุริสธรรม 7 ประการนี้ จึงจะได้ชื่อว่า “มีคุณสมบัติของความเป็นคนดีที่สมบูรณ์”

๒.๔ อริยสัจ 4 : มรรค : บุญกิริยาวัตถุ 10

บุญกิริยาวัตถุ 10 (bases of meritorious action)

บุญกิริยาวัตถุ หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, หนทางทำความดี หรือเรื่องที่จัดว่าเป็นการทำบุญ คำว่า “การทำบุญ” คือ การทำความดีด้วยวิธีการต่าง ๆ มี 10 ประการคือ

1. ทานมัย หมายถึง ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ หรือการบริจาคทรัพย์และสิ่งของช่วยเหลือคนที่ยากจนหรือด้อยกว่าและบำเพ็ญเพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นต้น
2. สีลมัย หมายถึง ทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ด้วยกายและวาจา
3. ภาวนามัย หมายถึง ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือการฝึกอบรมจิตใจให้เจริญด้วยสมาธิ และปัญญา
4. อปจายนมัย หมายถึง ทำบุญด้วยการประพฤติตนเป็นคนสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่หรือผู้มีพระคุณหรือบุคคลดีมีศีลธรรม
5. ไวยาวัจมัย หมายถึง ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ ให้บริการ บำเพ็ญประโยชน์
6. ปัตติทานมัย หมายถึง ทำบุญด้วยการให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการทำความดี หรือการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น
7. ปัตตานุโมทนามัย หมายถึง ทำบุญด้วยการพลอยยินดีในการทำความดีของผู้อื่น หรือผู้อื่นทำดีพลอยอนุโมทนาด้วย
8. ธัมมัสสวนมัย หมายถึง ทำบุญด้วยการฟังธรรม ศึกษาหาความรู้ที่ปราศจากโทษ
9. ธัมมเทศนามัย หมายถึง ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์
10. ทิฏฐุชุกัมม์ หมายถึง ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้อง รู้จักมองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

๒.๕ อริยสัจ 4 : มรรค : อุบาสกธรรม 7

อุบาสกธรรม 7

ญายปฏิปนฺโน เป็นสังฆคุณด้านใด

อุบาสกธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญของอุบาสก คือ ถ้าปฏิบัติให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น ถึงขั้นเป็นอุบาสกอุบาสิกา คือผู้ใกล้ชิดพระศาสนาอย่างแท้จริง ควรตั้งตนอยู่ในธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญของอุบาสก มี 7 ประการคือ

1. ไม่ขาดการเยี่ยมเยือนพบปะพระภิกษุ
2. ไม่ละเลยการฟังธรรม
3. ศึกษาในอธิศีล คือฝึกอบรมตนให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติรักษาศีลขั้นสูงขึ้นไป
4. พรั่งพร้อมด้วยความเลื่อมใส ในพระภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็น เถระ (ภิกษุบวชครบ 10 พรรษาขึ้นไป) ปานกลาง (ภิกษุบวชครบ
5 พรรษาแต่ไม่เต็ม 10 พรรษา) และนวกะ (ภิกษุบวชไม่ครบ 5 พรรษา)
5. ฟังธรรมโดยมิใช่จะตั้งใจคอยจ้องจับผิด หรือหาช่องทางที่จะติเตียน
6. ไม่แสวงหาทักขิไณยนอกหลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสดงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา หรือไม่ทำบุญกับบุคคลนอกศาสนา
7. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นเบื้องต้น คือ ช่วยทำนุบำรุงและช่วยกิจการพระพุทธศาสนา

อริยสัจ 4 : มรรค : มงคล 38 : มีศิลปวิทยา

ศิลปวิทยา

ศิลปะ หมายถึง ความเป็นผู้ฉลาดหรือสามารถในทางหัตถกรรม
ศิลปวิทยา หมายถึง ความรู้ความสามารถจัดแจง หรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความละเอียดบรรจง งดงามสะดุดตาสะดุดใจเป็นที่ต้องการของคนทั่วไป ศิลปะ จึงหมายถึง การฝีมือ มีฝีมือทางการช่าง การแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาให้ปรากฏได้อย่างงดงามน่าดูน่าชม และทำให้เกิดความซาบซึ้งตรึงใจ สะเทือนใจ ประทับใจ หรือการละเล่นหรือการแสดงต่าง ๆ ที่ผู้เล่นหรือแสดงออกมาได้อย่างอ่อนซ้อยสวยงาม ตลอดจนความเชี่ยวชาญในการงานต่าง ๆ นั่นคือ การฝีมืออย่างยอดเยี่ยมศิลปวิทยามี 2 อย่าง

1. ศิลปวิทยาสำหรับพระภิกษุสงฆ์ เช่น การตัดเย็บจีวร กลยุทธในการแนะนำสั่งสอน เพื่อให้พุทธศาสนิกชนรู้จริงเห็นจริงตามความเป็นจริง
2. ศิลปวิทยาสำหรับคฤหัสถ์ เช่น การวาดภาพ การก่อสร้างอาคารสถานที่ การปกครอง งานช่างต่าง ๆ เป็นต้นศิลปะ เกิดจากการใช้ความนึกคิด ใช้ฝีมือของผู้มีอัธยาศัยที่ละเอียดอ่อน รักความดี รักความสวยงาม เพื่อสร้างความดีงามและความพึงพอใจให้เกิดมีขึ้น ศิลปะมี 3 ลักษณะคือ

1. ศิลปทางกาย คือ เชี่ยวชาญชำนาญทำสิ่งของต่าง ๆ ได้อย่างยอดเยี่ยม เช่น ช่างเขียนภาพ ช่างปั้น ช่างทอผ้า ช่างก่อสร้าง ช่างออกแบบ เป็นต้น
2. ศิลปทางวาจา คือ มีความเชี่ยวชาญในการพูด ทำให้เกิดความสุขใจเศร้าใจ และสะเทือนใจได้ตามสภาพการณ์ในขณะนั้น ๆ คือ มีวาทะศิลป์ที่ยอดเยี่ยม
3. ศิลปทางใจ คือ ฉลาดในการคิดพิจารณาอย่างมีสติปัญญา สามารถควบคุมความนึกคิดให้ดำเนินไปตามขั้นตอนอย่างถูกต้องและมีประโยชน์
การมีศิลปะ เป็นการบ่งบอกถึงความเป็นคนมีบุญกุศลในตัวเอง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ได้รับเกียรติยศ การยกย่องสรรเสริญ และความสุขความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตัวเอง ทำให้เกิดความประทับใจ พึงพอใจแก่ตัวเองและผู้อื่น การมีศิลปะจึงเป็นสิ่งที่ต้องการ
ของทุกคน เป็นสิ่งที่มีคุณค่าเมื่อใช้ให้เหมาะสมและใช้อย่างถูกต้องใช้อย่างก่อให้เกิดประโยชน์ ใช้อย่างคนมีสติปัญญาคอยควบคุม ไม่ใช้
ไปตามอารมณ์ที่ชั่วร้าย ซึ่งจะเป็นพิษ เป็นภัย เป็นอันตรายแก่ตัวเองและผู้อื่น ดังนั้น พระบรมศาสดาจึงได้ตรัสว่า ความเป็นผู้มีศิลปะ เป็นมงคลสูงสุด

พบสมณะ

ญายปฏิปนฺโน เป็นสังฆคุณด้านใด

สมณะ แปลว่า ผู้สงบ คือ มีกายสงบเรียบร้อยไม่ว่าจะยืน จะเดิน นั่ง นอน เป็นที่น่าเลื่อมใส เมื่อพบเห็นแล้วก็เกิดความศรัทธาเลื่อมใส เกิดความสุขใจ เบิกบานใจ มีวาจาที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดแต่ในสิ่งที่เป็นมงคลพูดแต่ในสิ่งที่ไม่เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่นพูดแต่ในสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์แนะนำแต่ในสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง มีจิตใจสงบ คิดแต่ในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ มีความเมตตากรุณาต่อตัวเองและผู้อื่นมีความจริงใจและบริสุทธิ์ใจต่อผู้อื่น มีกายวาจาใจที่มีการฝึกฝนอบรมเป็นอย่างดี มีการดำเนินชีวิตด้วยความสันโดษ กินน้อยใช้น้อย รักรักความสงบ ฝึกปฏิบัติเพื่อมุ่งไปสู่ความสงบ เพื่อระงับกิเลส

สมณะ หมายถึง บรรพชิต หรือนักบวช ผู้ซึ่งละเว้นจากความชั่วทุกอย่าง มุ่งทำแต่ความดี มีความสำรวมระมัดระวังในเรื่องความชั่ว ไม่ตกอยู่ในอำนาจของความชั่ว การพบเห็นสมณะผู้ที่มีความสงบเรียบร้อยมีความหมายดังนี้

1. การเข้าไปหาสมณะด้วยกิจที่ควรบางอย่าง เช่น การเข้าไปถามปัญหาธรรม การเข้าไปหาเพื่อขอคำแนะนำในการดำเนินชีวิตในทางที่ถูกที่ควร

2. การอุปัฏฐาก การบำรุงสมณะด้วยปัจจัย 4 มี อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัยตามควรแก่สมณะบริโภคที่ไม่เป็นการเบียดเบียนตัวเองและผู้อื่นให้เกิดความเดือดร้อน

3. การระลึกถึงสมณะ การนึกถึงคุณงามความดีของท่าน ทำให้เกิดความสุขกายสุขใจเมื่อได้ระลึกถึงท่าน ทำให้ได้บุญโดยไม่ต้องลงทุนเป็นวิธีทำบุญที่เหมาะสมกับทุกขณะเวลา

4. การได้ฟังธรรมจากท่านโดยตรง ทำให้เกิดความซาบซึ้ง ทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับธรรมหรือธรรมชาติที่ดีที่เหมาะสมกับมนุษย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง

5. การได้เห็นสมณะ คือ การได้เห็นด้วยตาอันเต็มเปี่ยมไปด้วยความศรัทธาเลื่อมใส มีจิตใจที่เป็นสุข เป็นมงคลแก่ตนเอง ทำให้เกิดพลังกายพลังใจในการทำคุณงามความดีการได้พบเห็นสมณะเป็นเหตุให้ได้เห็นตัวอย่างที่ดีจากการฝึกปฏิบัติจากการศึกษาค้นคว้าจากการดำเนินชีวิตที่สันโดษ มักน้อย กินน้อย ใช้น้อย ใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายแล้วได้คุณค่าที่มีประโยชน์มากที่สุดให้แก่ชีวิต และได้รับอนุเคราะห์จากท่านดังนี้ คือ

1. ท่านห้ามไม่ให้ทำความชั่วทุกอย่าง
2. ท่านให้ตั้งอยู่ในความดีความถูกต้อง
3. ท่านอนุเคราะห์ด้วยน้ำใจที่บริสุทธิ์และดีงาม
4. ได้มีโอกาสมีเวลาทำสิ่งที่ได้ฟังแล้วให้แจ่มแจ้งให้เข้าใจที่ถูกต้อง
5. ท่านได้บอกทางสวรรค์ได้บอกทางแห่งความเจริญให้นำมาปฏิบัติ
การได้พบเห็นสมณะ ผู้สงบผู้เพรียบพร้อมไปด้วยศีลาจาริยาวัตรดังที่กล่าวมาแล้ว จึงเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่ง ๆ กว่าการแนะนำสั่งสอน
ทำให้เป็นบุญแก่ผู้พบเห็น ทำให้เป็นตัวอย่างแบบอย่างที่ดีแก่สังคม พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า การได้พบเห็นสมณะ เป็นมงคลสูงสุด

การฟังธรรมตามกาล

ญายปฏิปนฺโน เป็นสังฆคุณด้านใด

คำว่า “ตามกาล” หมายถึง เวลาที่สมควร เวลาที่เหมาะสม โอกาสที่มาถึง และเป็นโอกาสที่ดีที่เหมาะสมด้วย ซึ่งเป็นอุดมฤกษ์ การฟังธรรมตามกาล หมายถึง การได้ฟังธรรมตามเวลาที่สมควร หรือตามโอกาสที่มาถึง เช่น ได้ฟังธรรมในวันธรรมสวนะ 8 ค่ำหรือ 15 ค่ำ นอกจากนี้ยังหมายถึงการได้ฟังธรรม ได้ปฏิบัติธรรม ได้ศึกษาเล่าเรียนธรรมและวิชาการต่าง ๆ ตามยุคตามสมัยและให้ทันกับวิชาการของแต่ละสมัยอย่างเหมาะสมอีกด้วย เพราะตามความเป็นจริงแล้ว ธรรมหรือธรรมชาติ หรือวิชาการต่าง ๆ ส่วนหนึ่งก็จะมีความถูกต้องเหมาะสมกับทุกยุคทุกสมัยไม่มีการเปลี่ยนแปลง และอีกส่วนหนึ่งก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยไม่มีความแน่นอน เพราะฉะนั้น เพื่อจะให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ดำรงคงอยู่ได้อย่างเหมาะสมกับทุกยุคทุกสมัย ส่วนหนึ่งก็ต้องยึดเอาสิ่งที่ดีที่สุดและถูกต้องที่สุดเอาไว้และอีกส่วนหนึ่งก็ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับยุคสมัยและความเป็นจริงในเวลานั้น

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการฟังธรรมตามกาล

1. ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง ย่อมได้เรียนรู้สิ่งที่ยังไม่เคยได้เรียนรู้ ย่อมเป็นคนทันสมัย
2. สิ่งที่เคยได้ฟัง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้บรรลุความจริงอันสูงสุดได้
3. ได้ไต่ถาม ได้แก้ข้อสงสัย ได้บรรเทาความสงสัย ได้ปรับเปลี่ยนความเห็นผิดเสียได้
4. กำจัดมิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดเป็นถูก ความเห็นถูกเป็นผิดให้เป็นสัมมาทิฏฐิ คือ ทำความเห็นให้ถูกต้อง
5. จิตใจของผู้ฟังย่อมผ่องใส ย่อมเบิกบาน ย่อมพ้นทุกข์ ย่อมเข้มแข็ง ย่อมเกิดปัญญา

การฟังธรรมตามกาล เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนที่มีความรู้และไม่มีความรู้ ที่ยังไม่มีความรู้ก็จะได้รู้ขึ้น ที่มีความรู้อยู่แล้วก็จะได้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น ได้ศึกษาวิชาการที่ทันต่อยุคสมัย ก็ทำให้มีความรู้ที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการนำเอาไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเวลาการฟังธรรมตามกาล การปฏิบัติธรรมตามกาล การศึกษาวิชาการให้เหมาะสมกับกาลเวลา การทำธุรกิจการงานที่เหมาะสมกับกาล การรับประทานอาหารให้ตรงเวลา การนอนการตื่นให้ตรงเวลา การกระทำเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์มากกว่ามีโทษ

การสนทนาธรรมตามกาล

ุการสนทนา ได้แก่ การพูดจาหารือกัน การปรึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน การคุยกันการเสนอวิชาการการนำเสนอผลสรุปจากการพิสูจน์ทดลองวิชาการใหม่ ๆ ในแต่ละยุคสมัยหรือการสนทนากันในรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับยุคสมัยนั้น ๆ เป็นต้นว่า การนำเอาจริยธรรมในระดับสูงมาประพฤติปฏิบัติให้เข้มข้นขึ้น เพื่อให้บรรลุปรมัตถธรรม

ตามกาล หมายถึง ตามเวลาในแต่ละยุคสมัย ตามเวลาที่เหมาะสมที่สมควรในยุคสมัยนั้น ๆ กล่าวคือ ตามกาลเวลาที่เหมาะสม
ในแต่ละยุคสมัย ให้ทันต่อกาลเวลา ให้ทันต่อเหตุการณ์ในขณะเวลานั้น ทำให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ในแต่ละยุคสมัย การสนทนาธรรมตามกาล หมายถึง การสนทนาปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน การศึกษาค้นคว้าพิสูจน์ทดลอง หาวิชาการหาความรู้ใหม่ ๆ แล้วนำมาเสนอนำมาอภิปราย นำมาแนะนำสั่งสอนกัน เพื่อให้วิชาการทันต่อเหตุการณ์ของแต่ละยุคสมัยให้เหมาะสมกับยุคสมัยนั้น ๆ เพื่อให้รู้จักธรรมชาติ หรือธรรมะให้ดีให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จะได้รู้ว่าธรรมชาติ หรือธรรมะประเภทไหนเป็นแก่นแท้ของธรรมชาติมีความถูกต้องมีความเป็นจริงตลอดไปโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติหรือธรรมะประเภทไหนมีการเปลี่ยนแปลงไปตาม
ยุคตามสมัย ธรรมชาติประเภทไหนเป็นสิ่งที่ดีที่เหมาะสมกับมนุษย์ธรรมชาติประเภทไหนเป็นสิ่งที่ไม่ดีไม่เหมาะสมสำหรับมนุษย์
ธรรมชาติที่ดีสำหรับมนุษย์จะได้นำมาปฏิบัติ ธรรมชาติที่ไม่ดีไม่เหมาะสมสำหรับมนุษย์ จะได้ละเว้นไม่เกี่ยวข้องอีก
การสนทนาธรรมตามกาล จึงเป็นสิ่งที่เป็นมงคลสำหรับมนุษย์ เป็นธรรมะที่เหมาะสมกับทุกยุคทุกสมัย เป็นธรรมะ ที่ทำให้มนุษย์
เจริญรุ่งเรืองสามารถแสวงหาค้นคว้าหาสิ่งที่ใหม่ ๆ วิชาการที่ใหม่ ๆ เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงตัวเองให้เหมาะสมกับยุคสมัย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้มนุษย์ดำรงคงเผ่าพันธุ์อยู่ในโลกหรือในจักรวาลนี้ได้ ดังนั้นพระบรมศาสดาจึงตรัสว่า การสนทนาธรรมตามกาล เป็นมงคลสูงสุด

๒.๖ พุทธศาสนสุภาษิต

ญายปฏิปนฺโน เป็นสังฆคุณด้านใด

ธมฺมจารี สุขํ เสติ
ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข

กรมการศาสนา (2534) ได้อธิบายพุทธศาสนสุภาษิตบทนี้ไว้ ความว่า ผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ย่อมมีใจหนักแน่นมั่นคง เป็น
อิสระจากกิเลส ทำแต่สิ่งที่ควรทำ กล่าวแต่คำที่ควรพูด คิดแต่เรื่องที่ควรคิด เขาจึงอยู่เป็นสุขผู้ประพฤติธรรม ต้องมีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา รวมถึงผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่โดยซื่อสัตย์สุจริต เป็นผู้ทำสิ่งเลวร้ายให้กลายเป็นดี เกลียดธรรมที่เป็นไปเพื่อความแตกแยก ยินดีในธรรมที่เป็นไปเพื่อความสามัคคี มีความคงมั่นไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์เช่นเดียวกับภูเขาหินที่ฝังรากลึกลงไปในดินไม่กระเทือนเพราะถูกลมพัดฉะนั้น ดังนั้น ความเป็นอยู่ของผู้ประพฤติธรรมจึงอยู่เป็นสุขผู้ที่ต้องการความสุข อยากอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน ก็ต้องเร่งประพฤติธรรม เริ่มตั้งแต่การประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นต้นไป

ปมาโท มจฺจุโน ปทํ
ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย

อุบัติเหตุร้ายแรง เกิดขึ้นเพราะความประมาท การดำเนินชีวิตผิดพลาดก็เกิดเพราะความประมาทความเลินเล่อเผลอสติ ความมัวเมา และการดูหมิ่น ชื่อว่าความประมาท คนเลินเล่อเผลอสติ ขับรถก็ประสบอุบัติเหตุ ขับเรือ ขับเครื่องบินก็ประสบอุบัติเหตุ ในวันหนึ่ง ๆ มีอุบัติเหตุร้ายแรงเกิดขึ้นเพราะความประมาทของคนเพียงไม่กี่คน เช่น รถไฟชนกัน รถสิบล้อชนรถโดยสาร เครื่องบินชนกันกลางอากาศ นั้นหมายถึงความสูญเสียมหาศาล นอกจากอุบัติเหตุดังกล่าวแล้ว อัคคีภัยเผาผลาญชีวิตและทรัพย์สินซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะความเผลอของเจ้าหน้าที่หรือเจ้าของบ้าน เจ้าของโรงงาน ทำความสูญเสียทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน ความมัวเมาในอบายมุข มัวเมาในทรัพย์สมบัติ มัวเมาในวัย และการดูหมิ่นดูแคลนคนอื่น ล้วนแต่เป็นทางพินาศนำความย่อยยับแม้แต่ความตายมาถึงตนทั้งนั้นบุคคลจึงไม่ควรประมาท พึงเอาใจใส่ต่อคำเตือนที่ว่า “ระวัง” ให้ดี แล้วท่านจะปลอดภัย (กรมการศาสนา, 2534)

สุสฺสุสํ ลภเต ปญฺญํ
ผู้ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา

ในการสนทนา หรือในการฟังเรื่องสลักสำคัญ ถ้าตั้งใจฟังจะได้ความรู้ความฉลาดขึ้นการสนทนาของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป ถ้าคู่สนทนาเป็นผู้อาวุโสมีประสบการณ์มากกว่า มีความรู้หรือคุณวุฒิสูงกว่า คนฉลาดย่อมเลือกที่จะเป็นผู้ฟังมากกว่าเป็นผู้พูด เพราะธรรมดาผู้พูดย่อมนำประสบการณ์ของตนออกมาตีแผ่ถือเป็นผู้ให้ ส่วนผู้ฟังเป็นผู้รับ ยิ่งตั้งใจฟังเท่าไรก็ยิ่งได้ความฉลาดหลักแหลมเพิ่มขึ้นเท่านั้น บางเรื่องหากศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจะต้องใช้เวลาถึง 3 วัน หรืออ่านหนังสือจนนับด้วยร้อยหน้าพันหน้า แต่พอให้รับการถ่ายทอดจากบุคคลอื่นแต่เพียงเวลาอันสั้น อาจแตกฉานยิ่งกว่าศึกษาด้วยตนเองเป็นเวลานานเสียอีกมีคำที่นักปราชญ์กล่าวไว้ว่า “การเป็นนักฟังที่ดี ดีกว่าเป็นนักพูดที่ดี” (กรมศาสนา, 2534)

โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์ และสาระสังเขปของพระอภิธรรมปิฎก

ญายปฏิปนฺโน เป็นสังฆคุณด้านใด

พระอภิธรรมปิฎก คือประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรมที่ว่าด้วยปรมัตถธรรมหรือปรมัตถสัจ คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพานรวมทั้งปุคคลบัญญัติซึ่งเป็นสมมติสัจ โดยประมวลเป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคล เหตุการณ์และสถานที่ แบ่งเป็น 7 คัมภีร์ คือ

(1) ธัมมสังคณี
(2) วิภังค์
(3) ธาตุกถา
(4) ปุคคลบัญญัติ
(5) กถาวัตถุ
(6) ยมก
(7) ปัฏฐาน

โครงสร้างของพระอภิธรรมปิฎก พระอภิธรรมปิฎก สังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก ปัฏฐาน
เนื้อหาสาระ

1. ธัมมสังคณี ว่าด้วยการจัดสรรสภาวธรรมเข้าเป็นหมวดแม่บท เรียกว่า มาติกา แล้วนำไปจำแนกโดยพิสดารพอสมควร สภาวธรรมแม่บท หรือมาติกา นั้นมี 3 นัย 2 นัยแรกจัดสรรตามนัยพระอภิธรรม นัยที่ 3 จัดสรรตามนัยพระสูตร

2. วิภังค์ ว่าด้วยการจำแนกมาติกาในคัมภีร์ธัมมสังคณี ทั้งติกมาติกา 22 หมวดและทุกมาติกา 100 หมวด โดยพิสดาร แบ่งเป็น 18 วิภังค์

3. ธาดตุกถา ว่าด้วยคำอธิบายเรื่องขันธ์ 5 อายตนะ 12 และธาตุ 18 โดยนำมาติกาของคัมภีร์นี้จำนวน 105 บท และ
มาติกาจากคัมภีร์ธัมมสังคณี จำนวน 266 บท มาแสดงด้วยนัยต่าง ๆ (จำนวน 14 นัย) เพื่อหาคำตอบว่า สภาวธรรมบทนั้น ๆ สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์เท่าไร เข้าได้กับอายตนะเท่าไร และเข้าได้กับธาตุเท่าไร เข้าไม่ได้กับขันธ์เท่าไร เข้าไม่ได้กับอายตนะเท่าไร และเข้าไม่ได้กับธาตุเท่าไร

4. ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยการบัญญัติ (การประกาศ แสดง หรือชี้แจง) ในเรื่อง 6 เรื่อง คือ
(1) ขันธบัญญัติ การบัญญัติเรื่องขันธ์
(2) อายตนบัญญัติ การบัญญัติเรื่องอายตนะ
(3) ธาตุบัญญัติ การบัญญัติเรื่องธาตุ
(4) สัจจบัญญัติ การบัญญัติเรื่องสัจจะ
(5) อินทริยบัญญัติ การบัญญัติเรื่องอินทรีย์
(6) ปุคคลบัญญัติ การบัญญัติเรื่องบุคคล ซึ่งเป็นสมมติสัจ

5. กถาวัตถุ ว่าด้วยการโต้วาทะเพื่อชี้แจงแสดงเหตุผลให้เห็นว่า วาทกถา (คำแสดงลัทธิ) ของฝ่ายปรวาที (พวกภิกษุในนิกายที่แตกไปจากเถรวาท ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช) จำนวน 226กถาล้วนผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากพระพุทธพจน์ดั้งเดิมที่ภิกษุฝ่ายเถรวาทยึดถือปฏิบัติอยู่วิธีการโต้วาทะใช้หลักตรรกศาสตร์ที่น่าสนใจมากนับเป็นพุทธตรรกศาสตร์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด และมีในที่นี้เท่านั้น

6. ยมก ว่าด้วยการปุจฉา – วิสัชนา สภาวธรรม 10 หมวด ด้วยวิธีการยมก คือการถาม – ตอบ เป็นคู่ ๆ ซึ่งเป็นวิธีการ
เฉพาะของคัมภีร์ยมก และวิธีการยมก ซึ่งเป็นการถาม – ตอบ เป็นคู่ ๆ นั้น ประกอบด้วยการถาม – ตอบ 2 แบบ คือ
(1) อนุโลมปุจฉา (ถามตามลำดับ) และวิสัชนา
(2) ปฏิโลมปุจฉา (ถามย้อนกลับ) และวิสัชนา

7. ปัฏฐาน ว่าด้วยการจำแนกสภาวธรรมแม่บทหรือมาติกา ทั้ง 122 หมวด 266 บท ของคัมภีร์ธัมมสังคณี ด้วยปัจจัย 24 ชนิด
มีเหตุปัจจัย เป็นต้น ตามวิธีการของปัฏฐานโดยเฉพาะ

พุทธปณิธาน 4 ในมหาปรินิพพานสูตร
มหาปรินิพพานสูตร แปลว่าพระสูตรว่าด้วยมหาปรินิพพานหมายถึงการดับขันธ์ของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดสำหรับพุทธศาสนิกชนทั้งหลายพระสูตรนี้เป็นบันทึกประมวลลำดับเหตุการณ์และพระธรรมเทศนาในขบวนเสด็จจาริกแสดงธรรมครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ตลอดจนเหตุการณ์ในวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน การถวายพระเพลิง การแจกพระบรมสารีริกธาตุ และการสร้างพระสถูปสันนิษฐานกันว่า พระสูตรนี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์ครั้งปฐมสังคายนาจัดทำขึ้น นับเป็นพระสูตรที่ยาวที่สุด

พุทธปณิธาน 4

ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังเวฬุวคาม (หมู่บ้านไม้มะตูม) ในกาลเป็นที่มหาปรินิพพาน พระองค์ได้ตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์จำพรรษารอบเมืองเวลาสีได้ตามอัธยาศัย ในระหว่างพรรษาทรงประชวร แต่ทรงเห็นว่า ยังไม่ได้ลาอุปัฏฐาก ยังไม่ได้ลาภิกษุสงฆ์ยังไม่สมควรปรินิพพาน จึงทรงขับไล่อาพาธด้วยความเพียร อธิษฐานตั้งพระหฤทัยให้ดำรงชีวิตอยู่ และเมื่อหายประชวรแล้ว พระอานนท์เข้าไปเฝ้ากราบทูลความกังวลใจที่เห็นทรงประชวร ได้ตรัสตอบพระอานนท์แล้ว และเมื่อพระอานนท์ออกไปจากที่เฝ้าแล้ว มารได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ ที่ประดับ ได้กราบทูลให้พระองค์ปรินิพพาน พระองค์ได้ตรัสพระวาจาโต้ตอบกับมารตามลำดับ ดังนี้

“มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายผู้สาวกของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติ ตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว แต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาท (วาทะ หรือลัทธิต่าง ๆ ของเจ้าลัทธิอื่นนอกพระพุทธศาสนา) ที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้”

“มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่ภิกษุณีทั้งหลายผู้สาวิกาของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน แต่ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนกทำให้ง่ายไม่ได้ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้”“มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่อุบาสกทั้งหลายผู้สาวกของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วยังบอกแสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้”

“มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่อุบาสิกาทั้งหลายผู้สาวิกาของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้”

“มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่พรหมจรรย์ (คำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นที่รวมลงในไตรสิกขา) ของเรายังไม่บริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี กระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว”

“มารผู้มีบาป ท่านจงอย่ากังวลเลย อีกไม่นาน การปรินิพพานของตถาคตจะมีจากนี้ไปอีก 3 เดือน ตถาคตจะปรินิพพาน”เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสโต้ตอบกับมารแล้ว พระองค์ได้ทรงปลงอายุสังขาร ณ ปวาลเจดีย์นั้น ด้วยปลงพระหฤทัยว่าต่อไปนี้อีก 3
เดือน จะเสด็จปรินิพพาน จากพระดำรัสของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในมหาปรินิพพานสูตรนี้ แสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงมีปณิธานที่เรียกว่าพุทธปณิธานทั้งสิ้น 4 ประการ ได้แก่

ประการที่ 1 ตราบเท่าที่ภิกษุยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นต้น พระองค์จะไม่ปรินิพพาน
ประการที่ 2 ตราบเท่าที่ภิกษุณียังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นต้น พระองค์จะไม่ปรินิพพาน
ประการที่ 3 ตราบเท่าที่อุบาสกยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นต้น พระองค์จะไม่ปรินิพพาน
ประการที่ 4 ตราบเท่าที่อุบาสิกายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นต้น พระองค์จะไม่ปรินิพพาน
พุทธปณิธานทั้ง 4 ประการนี้ สมควรอย่างยิ่งที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะได้นำมาศึกษา และประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและเพื่อเป็นปฏิบัติบูชาต่อพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งมีพระมหากรุณาคุณต่อชาวโลกอย่างแท้จริง

อัตตา – อนัตตา
ศัพท์ว่า อัตตา แปลว่า ตัวตน, อาตมัน มีคำอธิบายว่า ปุถุชนย่อมยึดมั่นมองเห็นขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่ามีอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ 5 โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง และเป็นศัพท์ที่มีความหมายตรงกันข้ามกับศัพท์ว่า อนัตตา

ศัพท์ว่า อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวตน มีคำอธิบายว่า ลักษณะที่เป็นอนัตตาคือไม่ใช่ตัวตน ได้แก่
1. เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อย ๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่าง ๆ
2. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง
3. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใคร ๆ
4. เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่น ๆ
5. โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้นต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา

เมื่อบุคคลได้ทราบถึงความเป็นอัตตา และ อนัตตา ดังนี้แล้ว จะได้คลายความกำหนัดยึดมั่นถือมั่นในตัวตน เราเขา พิจารณาเห็นในสภาพที่เป็นอนัตตา คือหาตัวตนเป็นแก่นสารมิได้ หมั่นประพฤติประกอบอยู่ในคุณงามความดี ดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามหลักธรรมของศาสนา กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของสังคม ซึ่งจะนำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูลทั้งแก่ตนเอง บุคคลอื่น สังคม และประเทศชาติโดยรวม